บุญญารัตน์ เบญจรงค์ สร้างความแตกต่างด้านงานดีไซน์ ในสไตล์มินิมอล เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานในชีวิตประจำวัน
การอนุรักษ์ลวดลายและกรรมวิธีแบบดั้งเดิมเป็นสิ่ง ที่่ต้องรักษาไว้แต่การจะทำให้เบญจรงค์กลับเข้ามาอยู่ใน วิถีชีวิตของคนปัจจุุบันนับเป็นสิ่งที่ท้าทาย คุณบุุญญารัตน์ ลิ้มวัชราวงศ์แห่งบริษัท รอยัล เบญจรงค์ จำกัด ผู้โดดเด่นในวงการเบญจรงค์ไทยที่่มีแนวคิดนำ เบญจรงค์มาปรับรูปลักษณ์ ใหม่ด้วยดีไซน์ที่่ ดูทันสมัย ผ่านเทคนิคการเขียนลายไทยแบบ ไม่่เต็มพื้นที่่ของผลิตภัณฑ์ตามสไตล์มินิมอลที่่มีลวดลายน้อย สร้างความแตกต่างให้สินค้าจนได้รับความนิยมจากองค์กร ต่าง ๆ นำ ไปเป็นของที่่ระลึกอันทรงคุณค่าที่่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน โดยมีผลิตภัณฑ์ที่่ได้รับความนิยม เช่น ตุ๊กตาเซรามิกสัตว์ 12 ราศี 12 ปีนักษัตร ชุดแก้วมัค โถเบญจรงค์ ชุดกาน้ำชา แก้วกาแฟ เป็นต้น ล่าสุด “นาฬิกาช้างไทย” เป็นผลิตภัณฑ์ที่่ร่วมกัน ออกแบบกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ สร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Thai-IDC) กิจกรรม พัฒนาศักยภาพด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ และศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง ด้วยแนวคิดที่สื่อถึงความเป็นไทย ในสไตล์โมเดิร์น โดยการ ประยุุกต์เขียนลายที่่ดููร่วมสมัยและลดทอนลวดลายให้มี ความเรียบง่าย สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่่ มีทั้้งแบบแขวนและกำลังพัฒนาแบบตั้งโต๊ะเพื่อสร้างทางเลือก ให้ลูกค้า ตั้งเป้าว่าจะสามารถจัดจำหน่ายได้ใน พ.ศ. 2564 จากหลักสูตรนี้้ยังได้นำความรู้มาต่อยอดพัฒนา บรรจุุภัณฑ์ให้มีคุณภาพสอดรับกับตัวผลิตภัณฑ์ที่่มีความร่วมสมัย ในรูปแบบกล่องจั่วปัง ที่่มีความแข็งแรง สวยงาม เสริมความพรีเมี่ยมแบบมินิมอลให้กับงานเบญจรงค์ของทางร้าน อนาคตคาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งบรรจุุภัณฑ์เพิ่มเติมจาก กล่องผ้าไหมที่่ทางร้านใช้อยู่ในปัจจุุบัน สำหรับการจัดจำหน่ายของ บุญญารัตน์เบญจรงค์ มีทั้งรูปู แบบขายส่งและขายปลีก ลูกค้าหลักกว่าร้อยละ 70 คือ หน่วยงานราชการธนาคาร โรงแรม และองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ส่วนการขายปลีก นอกจากออกบูธแสดงสินค้าแล้วยังมีการ จำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์เฟสบุ๊กและการจำหน่ายหน้าร้าน ก้าวต่อไปของ บุญญารัตน์ เบญจรงค์ จะยังคง สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์คอลเลกชั่นใหม่ เพิ่มเติม โดยอาจจะมีรููปแบบ วัสดุุที่่ใช้และเทคนิคใหม่ มาปรับใช้บนพื้นฐานเบญจรงค์รูปลักษณ์ใหม่ที่่มีความร่วมสมัย เน้นการใช้้งานจริงในวิถีชีวิตปัจจุบัน ร่วมกับสร้างช่องทาง การตลาดใหม่ ๆ ที่่ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงงานเบญจรงค์ ได้มากขึ้น คุณบุญญารัตน์ ลิ้มวัชราวงศ์ บริษัท รอยัล เบญจรงค์ จำกัด : 136 ซอยวิภาวดีรังสิต 19 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 : 08 8160 8888 : https://www.facebook.com/BoonyaratBenjarong/ , https://www.benjarong.net/ ที่มา : รายงานประจำปี 2563 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
30 เม.ย. 2021
"บางกอกสุวรรณภูมิ" ประเภท Collection ผลงานจาก อภิชัยเบญจรงค์มงคลศิลป์
ผู้ดูแลโครงการ : กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อภิชัยเบญจรงค์ เอกลักษณ์แห่งประติมากรรมจากลวดลายเบญจรงค์ เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องเบญจรงค์ที่สืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน ด้วยเสน่ห์ของเครื่องเบญจรงค์ ทำให้คุณอภิชัย สินธุ์พูล ผู้ริเริ่มธุรกิจ “อภิชัยเบญจรงค์ มงคลศิลป์” มีความสนใจในงานศิลปะแขนงนี้เป็นอย่างมาก เอกลักษณ์ที่โดนเด่นของอภิชัยเบญจรงค์ คือการนำเบญจรงค์แบบเดิมทั่วไปมาผสมผสาน ประยุกต์ให้เข้ากับความทันสมัยเกิดเป็นศิลปหัตถกรรมอันพิเศษ งดงามและทรงคุณค่า ช่องทางการติดต่อ นายอภิชัย สินธุ์พูล ที่อยู่ : 359/541 หมู่ที่ 5 หมู่บ้านมหามงคล 2 ซ.10 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โทร : 089-210-9331
31 ก.ค. 2020
"เจดีย์บรรจุพระธาตุ" ประเภทเชื่อมโยง ผลงานจาก เครื่องปั้นดินเผาคุณยายลายวิจิตรและเรือนรัตนะบุษย์
ผู้ดูแลโครงการ : กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม "เจดีย์บรรจุพระธาตุ ที่เป็นการบูรณาการระหว่างเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์ ของเกาะเกร็ด ฐานของเจดีย์ผลิตจากเครื่องปั้นดินเผาแกะสลักลายวิจิตร ผสมผสานกับงานอะคริลิคหล่อเป็นรูปทรงเจดีย์ แล้วปิดด้วยทองคำเปลว ร่วมกับการประดับเพชรพลอยกระจกลงยาเย็น สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยบรรจุพระธาตุไว้ด้านในสำหรับตั้งบูชาพร้อมตู้กระจกใส่อย่างสวยงาม" ช่องทางการติดต่อ เครื่องปั้นดินเผาคุณยายลายวิจิตร ที่อยู่ : 69 หมู่ 3 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โทร : 086-773-6564 (คุณถาวร) เรือนรัตนะบุษย์ ที่อยู่ : 201/587 ต.ลำผักกูด อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร : 086-971-9714 (คุณฐิฏิพันธุ์)
31 ก.ค. 2020
นาคราชปุระ ประเภท collection ด้วยผลงานที่ชื่อว่า "นาคราชปุระ"
ผู้ดูแลโครงการ : กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม "งานประติมากรรมนาคราชปุระ เกิดจากความเชื่อความศรัทธาจากรุ่นแม่สู่รุ่นลูก เป็นการรังสรรค์พญานาคที่มีความละเอียด งดงาม ผสมผสานศิลปะความเป็นไทยหลากหลายแขนง จากความเชื่อของเทพนาคราชผู้อารักษ์พระพุทธศาสนา โดยปั้นจากมวลสารศักดิ์สิทธิ์ผงหินพระธาตุเขาสามร้อยยอด สะท้อนศิลปวัฒนธรรมไทยอันทรงคุณค่า ถือได้ว่าพญานาคที่มีความงดงามแต่ละองค์ มีเพียงองค์เดียวในโลกอย่างแท้จริง" ช่องทางการติดต่อ นาคราชปุระ ที่อยู่ : 25/1 สุขสวัสดิ์ 30 แยก 8-2 แขวงบางประกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140 โทร : 084-446-4524 (คุณตุ๊ก)
31 ก.ค. 2020
"มณีแห่งศรีศาสดาราม" ผลงานจาก ศิลปะวิจิตรและน้อยบายศรี
ผู้ดูแลโครงการ : กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม "มณีแห่งศรีศาสดาราม เป็นการผสมผสานผลงานกันระหว่างศิลปะวิจิตร งานหล่อ งานปั้น ประดับตกแต่งด้วยคริสตัล ดิ้นทอง กะไหล่ทอง เชื่อมโยงด้วยบายศรีประดิษฐ์ ผลงานจากน้อยบายศรี ซึ่งเป็นบายศรีประดิษฐ์ ที่ทำจากผ้าลายใบตองเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และผลงานจากเบญจรงค์ลายน้ำทอง เครื่องเบญจรงค์จิ๋วที่มีความสวยสดงดงาม เป็นเอกลักษณ์ จัดทำเป็นผลงานนี้ขึ้นมาเพื่อให้เข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ที่มีพื้นที่จำกัด สะดวกต่อการขนส่ง เคลื่อนย้าย และสามารถนำไปเป็นของฝาก ของที่ระลึกได้อีกด้วย" ช่องทางการติดต่อ ศิลปวิจิตร ที่อยู่ : 28/350 หมู่บ้านมิตรไมตรี ซ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตจอมทอง 10150 โทร : 084-652-6279 (คุณพรเลิศ) FB : ศิลปะวิจิตร Line : 249350 Email : lerdmail@gmail.com น้อยบายศรี (บายศรีผ้าและพวงมาลัย) ที่อยู่ : 30 ซอยสุขสวัสดิ์ 28 แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140 โทร : 085-0753449 FB : NUIBAISRI Line : @skm9461t
31 ก.ค. 2020
"Bangkok Times กาลเวลาแห่งบางกอก" ผลงานจาก สยามนาฬิกาและเบญจรงค์ลายน้ำทอง
ผู้ดูแลโครงการ : กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม “Bangkok Times” กาลเวลาแห่งบางกอก เป็นการบูรณาการระหว่างความชำนาญด้านการออกแบบนาฬิกาไม้ของสยามนาฬิกาที่มีแรงบันดาลใจมาจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ผสมผสานเชื่อมโยงกับการเขียนลวดลายเบญจรงค์ ที่มีความละเอียด ประณีต รังสรรค์ออกมาเป็นภาพรวมและเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร ที่เข้ากันจนเป็นผลงานที่โดดเด่น และสวยงามเป็นอย่างมาก ช่องทางการติดต่อ ซัน สยามนาฬิกา Xun Siamclock สำนักงานใหญ่ : 219 เพชรเกษม48แยก11 แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ หรุงเทพมหานคร 10160 Showroom : 14 ลาซาล32แยก4 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 Website : www.siamclock.com FB : Xun Siamclock Lind id : siriwanun Tel :0816526279 Email : xun@siamclock.com เบญจรงค์ลายน้ำทอง ที่อยู่: 8/8 หมู่ 6 ถ.หลวงพ่อวิหาร ต.บ้านใหม่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี โทร : 0618695511 (คุณมณฑา) Line @msbenjarong FB : @msbenjarongs Email : pop_pang@hotmail.com
31 ก.ค. 2020
เบญจรงค์ลายน้ำทอง ประเภท Collection ด้วยผลงานที่ชื่อว่า "ห้องรับแขก"
ผู้ดูแลโครงการ : กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม "เครื่องเบญจรงค์ งานด้านศิลปหัตถกรรมของไทย ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แสดงถึงเอกลักษณ์อันสวยสดงดงามของไทย ด้วยฝีมือช่างที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ทางด้านหัตถกรรมเบญจรงค์มาอย่างยาวนาน สืบทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น เป็นงานหัตถศิลปล้ำค่า ที่มีความสวยงามแสดงถึงวิถีวัฒนธรรม รสนิยม ตามความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทย" ช่องทางการติดต่อ เบญจรงค์ลายน้ำทอง ที่อยู่ : 8/8 หมู่ 6 ถ.หลวงพ่อวิหาร ต.บ้านใหม่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี โทร : 06 1869 5511 (คุณมณฑา) Line @msbenjarong FB : @msbenjarongs Email : pop_pang@hotmail.com
31 ก.ค. 2020
“SAA MU” แบรนด์ดีไซน์เสน่ห์ชนเผ่า พัฒนาแฟชั่นไทยสู่สากล
จากธุรกิจเบื้องหลังในฐานะโรงงานรับจ้างผลิตเสื้อผ้าเพื่อส่งออก (OEM) คุณธนกร สิทธิวงศ์วาณิช เจ้าของบริษัท โรงงานสมิทธิ์ การ์เมนท์ จำกัด ตัดสินใจปรับธุรกิจสู่เบื้องหน้า เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยนำเสน่ห์วัฒนธรรมการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ในเมืองไทย ผสมผสานไอเดียการออกแบบแฟชั่นจนสามารถสร้างสรรค์ผลงานเป็นเอกลักษณ์ภายใต้แบรนด์สินค้า “SAA MU” แม้มีศักยภาพในการผลิตและตัดเย็บ แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนธุรกิจและการสร้าง Branding คุณธนกรมองหาที่ปรึกษาในการชี้แนะและให้คำแนะนำ จึงเข้าร่วมกิจกรรม สร้างนักออกแบบ Co-Design เพื่อพัฒนาแบรนด์สู่สากล และกิจกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ตลาดโลก หลังจบหลักสูตรได้นำแผนธุรกิจมาปรับใช้โดยคำนึงถึงการตลาดและการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า มีทิศทางการขายที่ชัดเจนและหาเอกลักษณ์ของตราสินค้าที่บ่งบอกความเป็นตัวตน นอกจากนี้ยังเรียนรู้เรื่องการออกแบบภายใต้แรงบันดาลใจที่เกิดจากการวิเคราะห์ความต้องการตลาดกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันแบรนด์ “SAA MU” เติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วง พ.ศ. 2559 - 2561 ธุรกิจมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยปีละ 200 - 500 เปอร์เซ็นต์ ตั้งเป้าขยายตลาดสู่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำพร้อมสร้างพันธมิตรการตลาดออนไลน์ และตลาดต่างประเทศ การเติบโตของธุรกิจส่งผลให้บริษัท โรงงานสมิทธิ์การ์เมนท์ จำกัด ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น สาขาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ และรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น Prime Minister’s Export Award: PM Export Award 2018 คุณธนกร สิทธิวงศ์วาณิช บริษัท โรงงานสมิทธิ์การ์เมนท์ จำกัด 9 ซอยโชคชัย 4 ซอย 14 แยก 1 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ 0-2530-5940, 08-0224-4422 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2018
หัตถกรรมใยตาล สินค้ามีระดับจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
จากจุดเริ่มของการรวมตัวของชาวบ้านในชุมชนเมื่อปี 2548 ภายใต้ชื่อ “กลุ่มโหนดทิ้ง” ได้สร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมใยตาลออกมาจำหน่าย ปัจจุบันมีการก่อตั้งเป็นบริษัท กลุ่มหัตถกรรมใยตาลสทิงพระ (กลุ่มโหนดทิ้ง) ภายใต้การบริหารงานของนายพีระศักดิ์ หนูเพชร และคุณพ่อ ซึ่งเป็นประธานชุมชน โดยมีวิสัยทัศน์ในการนำผลิต ภัณฑ์ของกลุ่มมาทำตลาดอย่างเป็นรูปธรรม และให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในวงกว้าง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด จึงได้เข้าร่วมโครงการ Digital OTOP ทำให้มีความรู้ด้านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาการตลาดด้วยการใช้สื่อดิจิทัล และเครือข่ายออนไลน์ในการต่อยอดธุรกิจ โดยกลุ่มได้ส่งผลงานประกวดด้านการตลาดผ่านสื่อดิจิทัลในงาน “Digital OTOP Top Thai by DIP” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ ถึงแม้บริษัทมีการจำหน่ายผ่านช่องทางดิจิทัลอยู่แล้ว ทั้งทางไลน์เพจและเว็บไซต์ แต่หลังจากได้เข้าร่วมโครงการ ทำให้มียอดสั่งซื้อจากลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณร้อยละ 20 นอกจากนั้นทางกลุ่มมีแผนที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทันสมัยทุก 3 เดือน เพื่อเป็นการตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น คุณพีระศักดิ์ หนูเพชร กลุ่มหัตถกรรมใยตาลสทิงพระ (กลุ่มโหนดทิ้ง) 15 หมู่ 4 จะทิ้งพระ ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา 90190 โทรศัพท์ 08 1891 4831, 08 1609 2863 โทรสาร 0 7420 5161 ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2015
กลุ่มจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก สอดสานอย่างมีดีไซน์
บ้านห้วยลึก อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งกระจูดตามธรรมชาติ ชาวบ้านละแวกนี้จึงยึดอาชีพจักสานกระจูดสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น จนเมื่อกำนันของหมู่บ้านนำผลงาน “สมุก” ซึ่งเป็นที่ใส่หมากพลูของชาวใต้โบราณ ไปประกวด และได้รับรางวัลกลับมา จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวบ้านต้องการที่จะเก็บรักษาภูมิปัญญานี้ไว้ไม่ให้สูญหายจึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มจักสานเส้นใยพืช (กระจูด) เมื่อ พ.ศ. 2538 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก โดยมีคุณปรีฑา แดงมา ผู้คลุกคลีกับงานหัตถกรรมประเภทนี้มาอย่างยาวนาน เป็นประธานกลุ่ม คุณชยาวัฒน์ แดงมา บุตรชายของคุณปรีฑาซึ่งรับหน้าที่ด้านการทำตลาด เล็งเห็นว่าหากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จะช่วยทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้เข้าไปขอความช่วยเหลือจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาให้คำแนะนำ และทำการฝึกสอน โดยเน้นการตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์แบบต่าง ๆ เช่น หมวก กระเป๋า ที่รองแก้ว ที่รองจาน แฟ้มเอกสาร กระเป๋าเดินทาง เบาะรองนั่ง และของใช้เบ็ดเตล็ด ซึ่งช่วยเพิ่มช่องทางการตลาด ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดเป็นที่รู้จักมากขึ้น “วิธีการทอลายกระจูดของบ้านห้วยลึกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงามอยู่แล้ว แต่ทางกลุ่มฯ ต้องการต่อยอดพัฒนากระจูดให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มากขึ้น เพื่อช่วยทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้ขอความช่วยเหลือจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี มาให้คำแนะนำ” คุณชยาวัฒน์ เล่าถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของกลุ่มฯหลังจากที่มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เริ่มจากนำกระจูดมาย้อมสีเพื่อเพิ่มความสดใส และเพิ่มความทันสมัยสวยงามด้วยวัสดุหลากชนิด เช่น ผ้าไหม ผ้าบาติก นิกเกิล กระดุมต่าง ๆ กะลามะพร้าว สายหนังหลากขนาด รวมทั้งใช้เทคนิคอื่น ๆ เข้ามาผสมผสาน เช่น เทคนิคสไตล์เดคูพาจ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ ทางกลุ่มฯ ได้นำสินค้าไปจำหน่ายที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ปรากฏว่าได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี รวมถึงมีลูกค้าชาวต่างชาติมาสั่งให้ผลิตเพื่อนำไปจำหน่ายต่อเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการจักสานกระจูดได้กลายเป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านห้วยลึกแทบทุกครัวเรือน สามารถพัฒนาฝีมือการจักสานออกมาได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลต่าง ๆ หลายประเภท ส่งผลให้สมาชิกมีกำลังใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และแน่นอนว่าทุกวันนี้ เมื่อเอ่ยถึงผลิตภัณฑ์จากกระจูด ชื่อแรกที่นึกถึงต้องเป็นหัตถกรรมจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก จังหวัดสุราษฎร์ธานี คุณชยาวัฒน์ แดงมา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กลุ่มจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก 31/1 หมู่ 6 ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี โทรศัพท์ : 0 7729 4008, 09 1825 6138 โทรสาร : 0 7729 4008 ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน
31 ธ.ค. 2014