“อธิบดีณัฏฐิญา” เผยแผน “ดีพร้อม” ขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ผ่าน “NBT มีคำตอบ” รับนโยบาย "รมว. เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 17 มกราคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ในรายการ NBT มีคำตอบ เกี่ยวกับแผนการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ซึ่งดำเนินรายการโดยนายเจตน์ เลิศจรูญวิทย์ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ได้ดำเนินการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส"ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ผ่านการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และ ต่อยอด 2) โน้มน้าว โดยการจูงใจให้เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรม และ 3) เผยแพร่ โดยการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือในการเผยแพร่ ซึ่งขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ 5 เสาหลัก คือ 1) ศึกษาและพัฒนาทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 2) พัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย 3) พัฒนาธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถของซอฟต์พาวเวอร์ไทย 4) ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ระดับสากล และ 5) สนับสนุนปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้รับมอบหมายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาอาหารและสาขาแฟชั่น ในส่วนสาขาอาหารมีแผนการขับเคลื่อนผ่าน 4 กิจกรรมสำคัญ คือ 1) ยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพอาหาร เพื่อให้ได้ใบรับรองจากหน่วยงานที่มีมาตรฐาน เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ 2) พัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ด้วยการคัดเลือกชุมชนเป้าหมาย เพื่อนำมาเสริมองค์ความรู้ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนจนมีศักยภาพสู่การเป็น 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) 3) ยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ด้วยมาตรฐาน เทคโนโลยี นวัตกรรม และการใช้วัตถุดิบของแต่ละพื้นที่ และ 4) การใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) โดยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและเพิ่มมูลค่าการส่งออกอาหารไทยในตลาดโลก สำหรับสาขาแฟชั่น มุ่งเน้นการขับเคลื่อน 4 สาขา ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย (Apparel) อัญมณีและเครื่องประดับ (Jewelry) หัตถอุตสาหกรรม (Craft) และผลิตภัณฑ์ความงาม (Beauty) ผ่านกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีองค์ความรู้ สามารถนำอัตลักษณ์ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นให้มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับสู่การเป็น Hero Brand และการเป็นแบรนด์ระดับสากลต่อไป ตลอดจนส่งเสริมการขยายโอกาสทางการตลาดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นร่วมด้วย
28 ม.ค. 2025
ดีพร้อม จับมือ “ไทยเบฟ ????” ชวนมาเป็น"ฮีโร่" ร่วมเสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานราก สอดรับนโยบาย “รมว.เอกนัฏ”
กรุงเทพฯ 16 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในที่ประชุมร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ ดีพร้อม หารือร่วมกับไทยเบฟเพื่อผนึกกำลังร่วมกันต่อยอดการพัฒนาและยกระดับการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจชุมชนครอบคลุมทุกมิติทั้งในรูปแบบ ฮีโร่ หรือ Big Brother พี่ช่วยน้อง ในกลุ่มชุมชนเป้าหมาย เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงการใช้โมเดลวิสาหกิจเพื่อสังคมเข้าไปส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองโดยใช้แนวคิดการประกอบธุรกิจยุคใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เกิดการกระจายรายได้ในชุมชน ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ได้หารือในประเด็นของการนำน้ำมันที่ใช้แล้วจากการปรุงอาหารของบริษัทในเครือไทยเบฟ เข้าสู่กระบวนการผลิต เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน Sustainable Aviation Fuel (SAF) ต่อไป
28 ม.ค. 2025
สู้! ดีพร้อม เปิดทางรอดให้อุตสาหกรรมไทย ช่วยผู้ประกอบการสู้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ “Designing A Business Strategy” เพื่อปรับเปลี่ยน ต่อยอดธุรกิจเดิม แตกกอธุรกิจใหม่ เสริมแกร่งตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 16 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Designing A Business Strategy” ภายใต้กิจกรรมการส่งเสริมการบริหารจัดการความปลอดภัยในซัพพลายเชน (Supply Chain Security) และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้เข้าร่วมอบรม โดยมี นางสาวนันท์ บุญยฉัตร ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ กล่าวรายงาน ณ ห้อง Kensington Ballroom โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำการฝึกอบรมหลักสูตร “Designing A Business Strategy” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ที่เป็นความเสี่ยงภายใต้สถานการณ์ในการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อนำมากำหนดแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงแผนการดำเนินธุรกิจ ให้สามารถรองรับความเสี่ยงในด้านการผลิต และด้านการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างเหมาะสม ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการจัดอบรมครั้งนี้เป็นการนำร่องเพื่อจะเป็นแนวทางในการขยายผลต่อไป ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งสิ้นจำนวน 60 คน จาก 25 กิจการ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงตลาดที่มีความผันผวนและการแข่งขันสูง ทั้งทางด้านราคาและคุณภาพ จากคู่แข่งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อม สังคม และเทคโนโลยี เช่น สังคมสูงอายุขัย สินค้าทุ่มตลาด AI โดยหวังว่าโครงการนี้จะช่วยเสริมให้สถานประกอบการมีแผนการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องและรองรับความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อเสริมทางรอดให้ผู้ประกอบการไทยพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างทันท่วงที สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าและลูกค้า และดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
28 ม.ค. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” วางแนวทางพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่และกลุ่มทายาทธุรกิจ ผ่านเครือข่าย “DIPROM SMEs Network” ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 15 มกราคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่และกลุ่มทายาทธุรกิจ โดยมี นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรชัย รัตนตรัยภพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์โปรไฟล์ จำกัด ประธานกรรมการเครือข่าย DIPROM SMEs Network นายนิวัฒน์ มีมงคลเกียรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยฟอร์โมซาพลาสติก จำกัด ประธานเครือข่าย DIPROM SMEs Network คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และสมาชิกภายใต้เครือข่าย DIPROM SMEs Network เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) เครือข่าย DIPROM SMEs Network ได้รวบรวมผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่มีศักยภาพจากภาคการผลิต การค้าและบริการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของดีพร้อม เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจ โดยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อมุ่งสู่การค้าสากล ปัจจุบันมีสมาชิกในเครือข่ายกว่า 540 กิจการ โดยแบ่งเป็น 1) กลุ่มเชื่อมโยงธุรกิจ 2) กลุ่มพัฒนาศักยภาพของสมาชิก 3) กลุ่มสร้างความเข้มแข็งระหว่างสมาชิก และ 4) กลุ่มสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศสมาชิก ทั้งนี้ ในเครือข่ายเกิดการซื้อขาย แนะนำเชื่อมโยง ต่อยอดธุรกิจมากกว่า 1,000 ล้านบาท รวมถึงเกิดการพัฒนาสินค้านวัตกรรมร่วมกัน คิดเป็นมูลค่าทางการตลาดมากกว่า 10 ล้านบาทต่อปี การหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างดีพร้อม และเครือข่าย DIPROM SMEs Network สำหรับการดำเนินกิจกรรมพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ และกลุ่มทายาทธุรกิจ เพื่อหาแนวทางการบูรณาการร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึงแนวทางการสนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ และต่อยอดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
28 ม.ค. 2025
“ดีพร้อม” จับมือ จังหวัดมิเอะ จัด Business Matching หนุนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ขยายธุรกิจสู่สากล ตามนโยบาย "เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 17 มกราคม 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดีในงานสัมมนาและเจรจาจับคู่ธุรกิจจังหวัดมิเอะ (Mie Prefecture Seminar and Business Matching) พร้อมด้วย นายอิจิมิ คัตสึยูกิ ผู้ว่าราชการจังหวัดมิเอะ นางสาวศุธาศินี สมิตร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) คณะผู้บริหารจากจังหวัดมิเอะ ผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม Fuji (2) ชั้น 4 โรงแรม นิกโก กรุงเทพฯ การสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ให้สามารถขยายช่องทางการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) โดยเป็นการสนับสนุนความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการจากจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ผ่านแนวทางการดำเนินงาน "ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้" ซึ่งภายในงานมีการจัดกิจกรรมนำเสนอข้อมูลของจังหวัดมิเอะ และการเจรจาจับคู่ธุรกิจ จากหลากหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น พลาสติก ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ธุรกิจเกษตรแปรรูป ธุรกิจผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองและเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากฝั่งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยที่ผ่านมา ดีพร้อม และจังหวัดมิเอะได้ร่วมกันผลักดันความร่วมมือผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนเครื่องจักรแปรรูปอาหาร และการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม มิเอะ – ประเทศไทย (Mie – Thailand Innovation Center) ณ สถาบันอาหาร ทั้งนี้ การจัดงานดังกล่าว ยังถือเป็นวาระครบรอบ 10 ปี ที่ ดีพร้อม และจังหวัดมิเอะได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ให้สานต่อความร่วมมือ จนสามารถขยายธุรกิจสู่เวทีสากล ตลอดจนผลักดันภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ ให้เติบโตไปพร้อมกันอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
28 ม.ค. 2025
“ดีมาก????” : ดีพร้อม ปังไม่หยุด โชว์สร้างตัวตนจากผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ผ่านคนสร้างเรื่อง "พลิกธุรกิจชุมชนแบบก้าวกระโดดสู่ตลาดสากล" ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 15 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) ภาคกลางและภาคตะวันออก ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (DIPROM MIND ALL RISING COMMUNITY-DIMARC “ดีมาก”) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมด้วย นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 และนางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องราชาบอลรูมชั้น 11 อาคาร 2 โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร กิจกรรมดังกล่าว ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การพัฒนากระบวนการผลิต การยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน การบริหารจัดการ การพัฒนาการตลาด รวมถึงการสร้างอัตลักษณ์ ลักษณะเด่น สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงกับ Soft Power ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยผู้ประกอบการ SME วิสาหกิจชุมชน/OTOP และผู้ประกอบการชุมชนในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทั้งนี้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรพลิกธุรกิจชุมชนและท้องถิ่นด้วยการฉีกกฎการสร้างตัวตนผ่านคนสร้างเรื่อง ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญชื่อดังระดับประเทศ โดยมี 7 หัวข้อหลักที่น่าสนใจ อาทิ - Product Innovation : พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนอกกรอบ แต่ไม่นอกเทรนด์" โดย ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- Upcyling : ธุรกิจวิธีชุมชนที่ยังยั่งยืน โดย โค้ชสมศักดิ์ บุญคำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด- Story telling & Branding : แบรนด์ที่ใช่.. ไม่ต้องใหญ่ก็ชนะได้ โดย โค้ชทอปัด สุบรรณรักษ์ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารเพื่อความยั่งยืน และผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สายการบินไทยแอร์เอเชีย- แนวโน้มตลาดผ้า และการพัฒนาสินค้าผ้าและแฟชั่นโดย ผศ.ดร.อโนทัย ชลชาติภิญโญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น การออกแบบ การสร้างแบรนด์ และการตลาดแฟชั่น- Sustainable Products Design : ผลิตภัณฑ์ดีไซน์เพื่อความยั่งยืนโดย โค้ชใจ๋ ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ นักออกแบบ เจ้าของแบรนด์ Qualy ผลิตภัณฑ์ดีไซน์เพื่อความยั่งยืน ฝีมือคนไทยส่งออกไปทั่วโลก- “ดีไซน์ดีมาก: ของที่ระลึกไทยที่โลกจำ” Great Design: Iconic Thai Souvenirsโดยโค้ชศุภชัย แกล้วทนงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และศิลปินผู้มีชื่อเสียง ในฐานะ Art & Culture Design Consultant- Future Entrepreneur :ผู้ประกอบการผู้สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจในอนาคตโค้ชหมู รุ่งโรจน์ อาชาเทวัญ รองประธาน และประธานคณะกรรมการส่งเสริมการค้าการลงทุนในประเทศและชายแดน สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นอกจากนี้ยังมี- ธุรกิจชุมชนพัฒน์ DIPROM x TOYOTA : การนำความรู้และประสบการณ์การทำงานของโตโยต้ามาถ่ายทอดสู่ธุรกิจชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืนโดยคุณสบโชค จิรเสรีอมรกุล ผู้ดูแลโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ฝ่ายวางแผนองค์กร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด- Inspire Ignition – จุดประกายแรงบันดาลใจแห่งความสำเร็จโค้ชเมย์ ณฐมน ธนสินวรากร Influencer และผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแรงบันดาลใจ- กิจกรรมกลุ่ม (การสร้าง สร้างตัวตนผ่าน Story) workshop- กิจกรรมเชื่อมโยงโครือข่าย&เชื่อมโยงธุรกิจ- กิจกรรมให้คำปรึกษาพรีเซ็นต์แผนพัฒนาธุรกิจ/แมทชิ่ง จากนั้นมีการคัดเลือกเข้าสู่การแนะนำเชิงลึกซึ่งจะเป็นการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อไปในอนาคตตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
28 ม.ค. 2025
"อธิบดีณัฏฐิญา" เร่งเสริมแกร่ง SMEs ไทยด้วยการใช้ เครื่องมือตรวจประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมตัวสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่” ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 13 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การใช้ เครื่องมือในการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมการผลิตของไทย” ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยมี นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ณ ห้องไพลิน 1 ชั้น 2 โรงแรม แกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ เอเทรียม กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรระดับบริหารของดีพร้อม ได้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญ พร้อมกับได้รับความรู้ ความเข้าใจหลักการและรายละเอียดของเครื่องมือที่นำมาใช้กับ SMEs ในการประเมินศักยภาพของตนว่ามีความพร้อมที่จะก้าวสู่ Industry 5.0 ในระดับไหน ซึ่งในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นวิทยากร บรรยายความหมายและความสำคัญของ Industry 5.0 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดเพื่อประเมินระดับความพร้อมของ Industry 2.0 - 5.0 และ Industry Maturity Index ของประเทศไทย และนิยามความหมายของมิติย่อย 1 – 17 ในระดับความพร้อม 1 ถึง 6 เพื่อทราบถึงคุณลักษณะของสถานประกอบการในระดับความพร้อมต่าง ๆ ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการประเมินความพร้อมของสถานประกอบการเพื่อเข้าสู่ Industry 5.0 เพื่อเป็นการสนับสนุนการยกระดับภาคอุตสาหกรรมด้วยดิจิทัลและเป็นมาตรฐานกลางของประเทศในการชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยต่อไป
28 ม.ค. 2025
”อธิบดีณัฏฐิญา“ นำทีมดีพร้อม มุ่งพัฒนาเมนู Amazing Thai Taste สู่เชิงพาณิชย์ หนุนซอฟต์พาวเวอร์อาหารตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 15 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย พร้อมด้วย นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องอมรินทร์ ชั้น 3 สถาบันอาหาร การฝึกอบรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร ซึ่งดีพร้อมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการและเลขานุการร่วม คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ จึงได้กำหนดแนวทางด้วยการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA ของดีพร้อม ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และ ต่อยอด โดยการใช้ “ความคิดสร้างสรรค์” และ “เทคโนโลยี” เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ 2) โน้มน้าว โดยการจูงใจให้เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้น เช่น Storytelling การเล่าเรื่องราวที่มีคุณค่า มีความหมาย หรือมีนัยยะสำคัญ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ หรือสิ่งต่าง ๆ และ 3) เผยแพร่ โดยการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือในการเผยแพร่ เช่น Influencer ซีรี่ส์ ละครย้อนยุค เป็นต้น จึงเป็นที่มาของ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ที่จะยกระดับศักยภาพพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบที่สามารถนำอัตลักษณ์หรือวัตถุดิบของชุมชนในท้องถิ่นมาประยุกต์และสร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอดผลิตภัณฑ์อาหาร สามารถเชื่อมโยงธุรกิจ รวมถึงเผยแพร่อัตลักษณ์วิถีชุมชน อันจะเป็นการสร้างแรงดึงดูดและกระตุ้นการท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างชาติ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน สอดคล้องกับนโยบายในด้านการสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หลักสูตรในการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นการพัฒนาเมนู Amazing Thai Taste สู่เชิงพาณิชย์และการบริหารจัดการร้านอาหาร ประกอบด้วยองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) ด้านการยืดอายุและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 2) ด้านกฏ ระเบียบ และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ และ 4) ด้านการบริหารจัดการร้านอาหาร โดยมี คณะวิทยากรจากสถาบันอาหารและผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการให้ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาการประกอบกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
28 ม.ค. 2025
"ดีพร้อม" จัดกิจกรรม Master Thai Chef Program เตรียมความพร้อมเชฟอาหารไทยสู่ความเป็นเชฟมืออาชีพ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 13 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมปฐมนิเทศเตรียมความพร้อมผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Master Thai Chef Program) โครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (งบกลาง) พร้อมด้วย นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวรายงาน ณ ห้อง Grand Ballroom ช้ัน 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร กิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ ประธานคณะกรรมการซอฟพาวเวอร์แห่งชาติ บรรยายถึงความเป็นมาการดำเนินโครงการภายใต้นโยบาย One Family One Soft Power (OFOS) ของรัฐบาล สำหรับโครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (งบกลาง) ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการ มีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับอาหารไทยให้เป็น Soft Power ที่ทรงคุณค่า ทั้งในเชิงวัฒนธรรม โดยการพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้เข้าร่วม การอบรมให้เป็นเชฟอาหารไทยมืออาชีพ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ พร้อมทั้งสร้างรายได้และโอกาสทางเศรษฐกิจในระดับชุมชนและประเทศ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการบุคลากรหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Master Thai Chef Program) มีผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 1,300 คน ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่ได้กำหนด โดยแบ่งเป็นรูปแบบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Online) จำนวน 90 ชั่วโมง และ การฝึกปฏิบัติ ณ สถานที่ (On Site) จำนวน 150 ชั่วโมง รวมจำนวน 240 ชั่วโมง ผ่านการถ่ายทอดความรู้จากทีมวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศผ่านการใช้วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฟ
28 ม.ค. 2025
“ดีพร้อม" ร่วมประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เร่งวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ ตามนโยบายของ "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 14 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สถาบันฯ ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้มีการรายงานให้ที่ประชุมฯ ทราบเกี่ยวกับสถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2567 มีมูลค่าการนำเข้า 19,606.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหลักที่นำเข้า คือ ทองคำ รองลงมา คือ เครื่องประดับแท้ พลอยสี และโลหะเงิน ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าลดลง คือ เพชร สำหรับมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 16,924.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 23.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อินเดีย และเยอรมนี ซึ่งการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกตลาดหลัก ตลอดจนได้รายงานรายได้จากผลการดำเนินงานประจำเดือนธันวาคม 2567 และเสนอให้ที่ประชุมร่วมพิจารณาเกี่ยวกับแผนปฏิบัติงานและแผนงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกันพิจารณาแผนบริหารความเสี่ยง โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงานของสถาบัน ทั้งปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาวะตลาดและแนวโน้มเศรษฐกิจ ความต้องการใช้บริการชองสถาบัน การเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ/การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี พฤติกรรมลูกค้า ภาวการณ์แข่งขันจากคู่แข่ง และวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เช่น การให้บริการตามภารกิจหลักของสถาบัน การปฏิบัติงานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิบัติงานด้านการตลาด เป็นต้น และพิจารณาแผนควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น ด้านการตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า ประเด็นด้านการบริหารโครงการ ประเด็นด้านการป้องกันการทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
28 ม.ค. 2025