"BAAN LOM DAO organic farm (บ้านล้อมดาวออแกนิคฟาร์ม)"
ผู้ประกอบการที่ผ่าน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) "BAAN LOM DAO organic farm (บ้านล้อมดาวออแกนิคฟาร์ม)" ได้เข้าร่วม โครงการดังกล่าว กับทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (DIPROM Center4) จากการฝึกอบรม สิ่งที่ได้นำไปใช้ในกิจการ ได้แก่ เทคนิคการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ แนวคิดการสร้างธุรกิจเชิงนวัติกรรมให้เติบโต (Disruptive Trends and Innovation Mindset) รูปแบบใหม่ในการบริหารธุรกิจด้วย Lean Startup and Design Thainking การเขียนแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas :BMC) รอบรู้ ต้นทุน /บัญชี การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ บ้านล้อมดาวออแกนิคฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ อ.บ้านดุง อุดรธานี ความเงียบสงบ ได้ใช้ชีวิตเรียบง่าย และเข้าใจธรรมชาติอยู่อย่างธรรมชาติ และใช้ชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 089-8412819 (ครูปุ๊) 088-6217373 (ดาว)
18 ส.ค 2566
“สร้างความร่วมมือด้วยคุณธรรม” ค่านิยมที่ขับเคลื่อนคลัสเตอร์อุตสาหกรรมมันสำปะหลังให้ไปถึงเป้าหมาย
“สร้างความร่วมมือด้วยคุณธรรม” ค่านิยมที่ขับเคลื่อนคลัสเตอร์อุตสาหกรรมมันสำปะหลังให้ไปถึงเป้าหมาย ประเทศไทยส่งออกมันสำปะหลังหลายร้อยล้านตันต่อปี และมีตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นวัตถุดิบต้นน้ำของสินค้าอุปโภคและบริโภค ในชีวิตประจำวันของทุกคนหลายอย่าง เช่น เบเกอรี เจลาติน กระดาษ กาว ฯลฯ ทำให้คุณประไพพิศ เทพารส ผู้จัดการกลุ่มพลังงาน สังกัด สงวนวงษ์เอ็นเนอร์ยี และรองประธาน CDA ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมมันสำปะหลังในประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจบนตลาดโลก มีพาร์ทเนอร์ที่รู้ใจมีชัยไปกว่าครึ่ง ช่วงแรกที่สงวนวงษ์เอ็นเนอร์ยี ได้พลิกของเสียในกระบวนการผลิตแป้ง อย่างน้ำเสียและกากมันสำปะหลัง มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ต้องทดลองอยู่หลายครั้งจนกว่าจะลงตัว แต่พอได้รับการชักชวนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เพื่อเข้าร่วมกลุ่มคลัสเตอร์มันสำปะหลังและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง จึงเหมือนได้เพื่อนมาช่วยคิด ช่วยแชร์ไอเดีย แบ่งข้อมูล ข่าวสาร เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาธุรกิจไปด้วยกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกคนเดียวเหมือนเมื่อก่อน ไม่ใช่คู่แข่งแต่เป็นคู่ค้าคนสำคัญ การเข้าร่วมกลุ่มคลัสเตอร์มันสำปะหลัง นอกจากจะได้ทำงานร่วมกับสมาชิกภายในกลุ่มแล้ว ยังได้ทำงานร่วมกับตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent) หรือ CDA ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนใยแมงมุง คอยประสานงานและเชื่อมโยงทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในคลัสเตอร์ให้ขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน สร้างความเข้าใจให้สมาชิกว่าการเข้าร่วมกลุ่มคลัสเตอร์คือการสร้างเครือข่ายที่พร้อมจะสนับสนุนซึ่งกันและกันให้สามารถต่อสู้กับคู่แข่งต่างชาติได้ แม้หลายๆ ธุรกิจในกลุ่มจะผลิตสินค้าประเภทเดียวกันแต่ทุกคนกลุ่มคือคู่ค้า ไม่ใช่คู่แข่ง โดยมีหัวใจหลักในการทำงานร่วมกันภายใต้ค่านิยมที่ว่า “สร้างความร่วมมือด้วยคุณธรรม” คือภายในกลุ่มต้องมีความซื่อสัตย์และเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน จึงจะสามารถขับเคลื่อนกลุ่มให้เข้มแข็งได้ กำหนดแนวทางที่ชัดเจนและจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์ อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ทำให้คลัสเตอร์อุตสาหกรรมมันสำปะหลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือการกำหนด KPI และแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน มีการจัดอบรมในเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติการตามหัวข้อที่สมาชิกสนใจ เช่น การจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต การบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นจะมีการวัดผลผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่ได้จากการนำความรู้ไปปรับใช้จริง และถึงแม้สถานการณ์ในช่วงนี้จะไม่เอื้ออำนวยให้สมาชิกมารวมตัวกัน แต่ภายในกลุ่มก็ได้มีการปรับตัวมาประชุมและอบรมในรูปแบบออนไลน์แทน ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ตั้งเป้าหมายรันคลัสเตอร์อย่างต่อเนื่อง โดยในอนาคตทางกลุ่มตั้งเป้าหมายไว้ว่า อยากให้สมาชิกได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และเสริมสร้างธุรกิจให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนกลุ่ม เช่น การนำเทคโนโลยีทางด้าน Digital มาลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ซึ่งจะทำให้การดำเนินธุรกิจมีความมั่นคง แข็งแรง และยั่งยืนยิ่งขึ้น
03 มี.ค. 2565
ไม่ควรเป็นคู่แข่ง แต่ควรเป็นคู่ค้า เพื่อพัฒนาไปด้วยกัน
“สินค้าเหมือนกัน จำเป็นต้องแข่งกันเองหรือเปล่า…?” คำตอบก็คือ “ไม่จำเป็น” คุณธา สิทธา สุขกันท์ ประธานคลัสเตอร์อุตสาหกรรมข้าวคนอินทรีย์ มองว่าถึงแม้ในกลุ่มของเราจะทำข้าวอินทรีย์เป็นหลักเหมือนกัน แต่เราก็สามารถช่วยกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มให้ดีขึ้นได้ ในแบบที่เป็นคู่ค้า ไม่ใช่คู่แข่ง ขอแค่มีโฟกัสที่จะเดินไปในเส้นทางเดียวกัน “ข้าวอินทรีย์” เป็นจุดเริ่มต้นของการมารวมกลุ่มกันของชาวนา ที่อยากจะพัฒนาข้าวอินทรีย์อย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูก แปรรูป ส่งออก การหาตลาด รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานการผลิตข้าวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มาตรฐานของการผลิตข้าวเป็นสิ่งที่กลุ่มของเราให้ความสำคัญ ก่อนที่จะส่งผลผลิตออกไปได้นั้น จะต้องรู้ก่อนว่าตลาดของประเทศนั้นๆ มีมาตรฐานในการวัดแบบไหน เช่น การส่งออกข้าวไปที่อเมริกา ก็จะต้องยึดตามมาตรฐาน NOP หรือ Nation Organic Program (USDA) ซึ่งเป็นตลาดหลักๆ ของกลุ่มเรา แต่ถ้าส่งผลผลิตไปขายภายในประเทศไทย ก็จะต้องยึดตามมาตรฐาน Organic Thailand แน่นอนว่าก่อนที่ผลิตภัณฑ์จะได้รับการตรวจว่าตรงตามมาตรฐานของตลาดหรือไม่นั้น สมาชิกภายในกลุ่มของเราก็จะมีการตรวจแบบภายในกันเองก่อน ผ่านการบันทึกข้อมูลของฟาร์มให้ตรงตามหลักมาตรฐานอินทรีย์สากล ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ในการปลูก การป้องกันการปนเปื้อน หลังจากนั้นจึงจะเชิญผู้ตรวจภายนอกเข้ามาช่วยตรวจให้อีกครั้งหนึ่ง อย่างที่ผ่านมาก็จะมีผู้ตรวจประเมินจากประเทศเยอรมันเข้ามาตรวจเช็ก และรับรองตั้งแต่เอกสารระบบควบคุมภายในกลุ่ม (ICS) แปลงนา ไปจนถึงผลผลิตข้าว นอกจากนี้ผลของการบันทึกข้อมูลฟาร์ม ยังเป็นเหมือนข้อมูลส่วนกลาง ที่ช่วยให้คุณธาทราบอีกด้วยว่าในแต่ละพื้นที่จะปลูกข้าวประเภทไหน ผลิตข้าวได้ปริมาณเท่าไร และคาดการณ์ว่าจะเก็บเกี่ยวได้ช่วงเวลาไหน เมื่อเวลามีผู้ซื้อมาติดต่อขอซื้อผลผลิต คุณธาจะสามารถแนะนำได้ทันทีเลยว่าพื้นที่ตรงไหน มีผลผลิตตรงตามความต้องการของผู้ซื้อ การมารวมกลุ่มกันจนกลายเป็นคลัสเตอร์ นอกจากจะถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่ทำให้สมาชิกได้รับองค์ความรู้ในเรื่องของการผลิต จนได้ข้าวอินทรีย์กลับมาแบบ 100% ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่ต้องใช้สารเคมี แถมยังช่วยลดต้นทุนการผลิต ด้วยการใช้ปุ๋ยน้ำหมัก จุลินทรีย์สรรพสิ่งจากคุณธาแล้ว ภายในกลุ่มเรายังมีแผนงานในการลงไปเยี่ยมสมาชิกในทุกๆ จังหวัดปีละครั้ง เพื่อพูดคุย หาแนวทางพัฒนาและเพิ่มผลผลิต ให้สอดคล้องไปกับความต้องการของตลาดอีกด้วย “เป้าหมายหลักที่ทางกลุ่มของเราอยากผลักดันต่อไป คือการทำแปลงข้าวแข็งอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพราะข้าวแข็งเป็นเหมือนจุดเด่นของกลุ่มเรา แถมยังมีความต้องการทางตลาดค่อนข้างสูง เหมาะที่จะนำไปแปรรูป แล้วผลิตเป็นเส้นพาสต้า หรือเส้นราเมง เพื่อส่งออกให้อเมริกาและยุโรปต่อไป” หากเราสามารถพัฒนาผลผลิตให้ดี ตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดได้ สมาชิกในกลุ่มของเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมาแข่งกันขายอีกต่อไป เพราะผลผลิตของพวกเขาจะมีคนมาจับจองไปโดยปริยาย ซึ่งจุดนี้ก็จะทำให้ความตั้งใจที่อยากจะยกระดับตลาดข้าวอินทรีย์ไทยให้ไปไกลสู่สากล อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม… หลายคนอาจมองว่าการทำข้าวอินทรีย์ หรือเกษตรอินทรีย์ คือเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แต่สำหรับคุณธาเอง เขามองว่าการไม่ลงมือทำต่างหาก ที่จะทำให้ผลลัพธ์ไม่เกิดขึ้นจริง หากสมาชิกมีโฟกัสเดียวกัน พัฒนาไปพร้อมกัน ก็จะช่วยให้เราเข้าใกล้กับเป้าหมายได้ไม่ยาก
03 มี.ค. 2565
ทุเรียนนางยักษ์
ของฝากจากระยอง ยิ่งใหญ่ด้วยคุณภาพ
24 ม.ค. 2565
โอบบุญฟาร์ม
เกษตรอินทรีย์วิถีใหม่ ใช้ IOT ปลูกแตงโม
24 ม.ค. 2565
ไข่มุกเมล่อนฟาร์ม
แก้ปัญหาราคายางพาราตก ด้วยผลไม้
18 ม.ค. 2565
พลอยมณีฟาร์ม
ข้าวโพดหวานรับประทานดิบ ปลอกเปลือกอร่อยได้ทันใจ
17 ม.ค. 2565
ภูกะเหรี่ยงฟาร์ม
พลิกผืนดินบรรพบุรุษ สู่ผืนนาอัจฉริยะยุค New Normal
13 ม.ค. 2565
ฟาร์มจิ้งหรีด ลุงดาบพิษณุโลก
RISMEP (Regional Integrated SME Promotion Mechanism) กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 75/6 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 02 202 4419 rismep@gmail.com
01 ธ.ค. 2564
ไร่ชาโชคจำเริญ ก้าวสู่มาตรฐาน NOP
ธุรกิจชาเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีศักยภาพ นอกจากผู้บริโภคในประเทศไทยแล้ว ยังสามารถส่งออกไปยังประเทศที่มีวัฒนธรรมการดื่มชาซึ่งมีมากมาย ทั้งในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และยุโรป ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ จึงส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมชา หรือ “คลัสเตอร์ชา” ในอำเภอแม่สลอง จังหวัดเชียงราย อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งการที่พื้นที่อำเภอแม่สลองอยู่บนยอดดอยสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร ผสมผสานกับภูมิปัญญาในการปลูกและวิธีเก็บชาของคนในพื้นที่ที่มีมายาวนานกว่า 40 ปี เอื้อให้เกิดผลิตผลที่ดี แต่หากเสริมด้วยความรู้ในการจัดการให้ตรงตามมาตรฐานที่ตลาดโลกต้องการ ย่อมมีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น คุณจำเริญ ชีวินเฉลิมโชติ ผ่านบททดสอบชีวิตมาอย่างโชกโชน ก่อนมาทำธุรกิจไร่ชาในปี 2518 และเริ่มดีขึ้นในปี 2532 หลังจากได้ไปศึกษาดูงานที่ไต้หวัน และพบว่าชาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถเก็บผลผลิตได้ปีละหลายครั้ง “ใบชาโชคจำเริญ” เน้นผลิตชาคุณภาพสูง โดยมีการผลิตและจำหน่ายชากว่า 10 ชนิด อาทิ ชาเขียวอู่หลง ชาต้งติ่ง ชาอู่หลงก้านอ่อนใหม่ ชาอู่หลงเบอร์ 12 ชามรกต เจียวกู่หลาน ชาโสมอู่หลง ชาชิงชิง อู่หลง และอีกมากมาย ในปีที่ผ่านมาใบชาโชคจำเริญที่ได้รับการส่งเสริมจาก ศภ.1 จึงเป็นผู้ประกอบการ 1 ใน 11 ราย ที่ได้รับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (National Organic Program : NOP ) ของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดอเมริกาและยุโรปได้ด้วยการดื่มชาที่มิได้เพียงแค่ดับกระหาย แต่ยังแสดงถึงวัฒนธรรมอันละเอียดอ่อน ดังนั้นนอกเหนือจากคุณภาพของชาแล้ว คุณจำเริญ ยังให้ความสำคัญกับความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ทั้งแบบกล่อง ซอง ขวด ที่เน้นลวดลายธรรมชาติแบบจีนโบราณ เหมาะสำหรับการมอบให้เป็นของฝากหรือชุดของขวัญที่มาพร้อมกับชุดชงชาซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาด นับเป็นหนึ่งในอีกหลายความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชาอย่างไม่หยุดยั้ง และเรียนรู้การต่อยอดธุรกิจที่มิได้จำหน่ายเพียง “ใบชา” หากแต่จำหน่าย “วัฒนธรรมการดื่มชา” ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย คุณจำเริญ ชีวินเฉลิมโชติ บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด 5 หมู่ที่ 1 ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 57110 โทร. 053 765 114-9, 08 1883 4875 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556