เยนเนรัลสตาร์ช แป้งมันสำปะหลังแปรรูปของไทย ส่งออกไกลทั่วโลก
กว่า 24 ปีที่บริษัท เยนเนรัลสตาร์ช จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตแป้งมันสำปะหลังแปรรูปของประเทศไทยบนเนื้อที่กว่า 2,500 ไร่ นับตั้งแต่การรับผลผลิตจากเกษตรนำเข้าสู่โรงงาน จนออกมาเป็นแป้งมันสำปะหลังคุณภาพสูง และสะอาดปลอดภัยพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกา อเมริกา ยุโรป และเอเซียเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตอย่างยั่งยืน คุณสุเทพ พระทอง ประธานกรรมการ บริษัท เยนเนรัลสตาร์ช จำกัด เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งการนำความรู้จากภายนอกเข้ามาเสริมอยู่เสมอ จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเทคโนโลยีสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียวในอุตสาหกรรมเป็าหมาย (Clean and Green Technology) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยได้รับคำปรึกษาแนะนำความรู้ในการนำเท๕โนโลยีการผลิตไปประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดของเสียในกระบวนการผลิต และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งความรู้เหล่านี้ บริษัทฯ ได้นำกลับมาปรับปรุงทั้งด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ และวิธีการทำงาน เช่น การปรับระบบฉีดล้างของเครื่องสกัด การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ การปรับปรุงบ่อย่อยสลายอินทรีย์ให้เป็นบ่อหมักก๊าซชีวภาพ จนสามารถลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 100 ล้านบาท/ปี และลดปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 ได้กว่า 10 ล้าน กก./ปี คุณสุเทพ พระทอง บริษัท เยนเนอรัลสตาร์ช จำกัด 99-100 ม.6 ถ.โชคชัย-ครบุรี (กม.19) ต.อรพิมพ์ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา 30250 โทรศัพท์ 0 4444 6111 โทรสาร 0 4444 4652 www.gsl-th.com ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2558
ไทยซิลค์ วิลเลจ ต่อยอดสู่ "ไทยซิลค์พลัส" ครีมบำรุงจากใยไหมสาหร่าย
บริิษัท ไทยซิลค์ วิลเลจ จำกัด ผลิจและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอย่างครบวงจร ตั้งแต่เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม และตัดเย็บ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงใหม่ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาเยี่ยมชมกระบวนการผลิต รวมทั้งซื้อผลิตภัณฑ์ในราคาโรงงาน คุณสุนทร วาณิชย์มงคล มีแนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยนวัตกรรม จึงได้เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างงมูลค่าเพิ่ม ภายใต้พัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูปของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยนำใยไหมและสารสกัดจากสาหร่ายไกมาพัฒนา "ซิลค์พลัสไวท์เทนนิ่ง" ซึ่งเป็นครีมที่มีประสิทธิภาพในการบำรุงและฟื้นฟูสภาพผิวต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดริ้วรอยทำให้ผิวหน้ากระจ่างใสและชุ่มชื้น นวัตกรรมนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของใยไหมที่เป็นเศษเหลือจากการทำผ้าไหมและสาหร่ายไกที่เป้นวัตถุดิบพื้นบ้านราคาถูกแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนที่เพาะเลี้ยงทั้งไหมและสาหร่าย รวมทั้งเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย คุณสุนทร วาณิชย์มงคล บริษัท ไทยซิลค์ วิลเลจ จำกัด 120/11 ม.3 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง ต.สันกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 50110 โทรศัพท์ 0 5333 8357, 0 5333 9022 โทรสาร 0 5333 8701 www.thaisilkvillage.com ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2558
'Mr.Leaf' สร้างดีไซน์ด้วยวัสดุธรรมชาติ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์รัก(ษ์)โลกที่แฝงความทันสมัย
คุณปรเมศร์ สายอุปราข เจ้าของแบรนด์ Mr.Leaf ที่ต่อยอดวัสดุธรรมชาติใบตองตึงมาเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าที่เพิ่มมูลค่าด้วยลวดลายใบตองที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ดี และมีความเหนียวทนทาน จนได้รับรางวัลรองงชนะเลิศอันดับที่ 2 ของโครงการกิจกรรมการประกวดผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (Cultural & Wisdom Talent) หลังจากเข้าร่วมโครงการ คุณปรเมศร์ให้เหตุผลว่า "เพราะธุรกิจหยุดนิ่งไม่ได้ ทำให้เรามองเห็นว่าคนอื่นเขาไปถึงไหนแล้วและยังได้แรงบันดาลใจในการพัฒนาสินค้าครั้งต่อไป ที่สำคัญโครงการยังเปรียบเหมือนกระจกสะท้อนให้เห็นว่ามีคนรับรู้ในสิ่งที่เราทำอยู่ นอกจากนี้เราได้ความรู้ทั้งเชิงพาณิชย์ว่าต้องปรับภาพลักษณ์อย่างไรให้ดูเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก แต่ยังคงความหรูหราได้ ส่วนมุมวิชาการก็ควรมีการการันตีหรือรับรองว่าวัตถุดิบเราดีอย่างไร อย่างตอนนี้ได้การการันตีจากศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบหรือ TCDC ว่าเรามีวัตถุดิบหรือ Material รายเดียวในโลก ปัจจุบันสินค้า Mr.Leaf มีจำหน่ายอยู่ที่ลอนดอนและอเมริกา ส่วนเมืองไทยมีจำหน่ายที่เอเชีนทีคและสวนจตุจักร ทั้งนี้ยังเตรียมเปิดแกลอรี่ที่เชียงใหม่อีกด้วยซึ่งภายภาคหน้าคุณปรเมศร์ มุ่งหวังเป้าหมายใหญ่ คือ การเป็นผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้าน Material โดยเฉพาะ คุณปรเมศร์ สายอุปราช Me.Leaf 239/2 ถ.จามเทวี ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง 52000 โทรศัพท์ 08 6182 3589 ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2558
ไทยเทครับเบอร์ คอร์ปอเรชั่นขยายการลงทุนในอาเซียน
บริษัท ไทยเทครับเบอร์ จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตยางแท่งมาตรฐาน STR (Standard Thai Rubber) โดยร้อยละ 95 เป็นการส่งตลาดประเทศ และจากความต้องการใช้ยางธรรมชาติอย่างต่อเนื่องของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีน กอปรกับเล็งเห็นคุณภาพของยางธรรมชาติและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ในปี 2549 บริษัท ไทยเทครับเบอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด สาขาปัตตานี จึงดำเนินการจัดตั้งฐานการผลิตเป็นสาขาที่ 3 ต่อจากสาขาที่จังหวัดสงขลาและตรัง อย่างไรก็ดี การอยู่ในพื้นที่ชายแดน บริษัทจึงประสบปัญหาขาดแคลนนักวิชาการที่จะให้ความรู้ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพการผลิต ปี 2555 บริษัทไทยเทครับเบอร์ฯ จึงร่วม "โครงการพัฒนาศักยภาพโรงงานผลิตยางในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้" ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และพบว่าปัญหาหลักๆ คือ ต้นทุนพลังงานไฟฟ้าสูง เวลาหยุดเครื่องจักร (downtime) ในแต่ละเดือนค่อนข้างสูงและปัญหาเรื่องกระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ แม้ด้านหนึ่ง คุณศุภเดช อ่องสกุล ผู้จัดการ บริษัท ไทยเทครับเบอร์ฯ สาขาปัตตานี มองว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องปกติของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป "แต่สำหรับบุคลากรของไทยเทครับเบอร์ ทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่ทางกรมฯ ส่งมาอบรมและให้คำปรึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งหลังผ่านโครงการดังกล่าว ตัวเลขที่ตรวจวัดทุกตัวมีการเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" คุณศุภเดชแสดงวิสัยทัศน์ว่า แม้ว่าอาเซียนจะเป็นแหล่งผลิตยางพาราของโลก แต่ปัญหาปริมาณแรงงานในภาคกรผลิตและจำนวนวัตถุดิบที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้การพัฒนาธุรกิจด้านนี้ของประเทศไทยใกล้ถึงขีดจำกัด ในปีที่ผ่านมา บริษัท ไทยเทครับเบอร์ฯ จึงไปตั้งโรงงานที่ประเทศอินโดนีเซีย และมีแผนจะขยายกิจการไปสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนต่อไป "ผมมองว่าต่อไปเมืองไทยคงไม่ได้ร่ำรวยเฉพาะจากธุรกิจที่อยู่ในประเทศ แต่คงไปรวยจากการลงทุนในต่างประเทศเหมือนญี่ปุ่นที่ไปลงทุนทั่วโลกแล้วส่งกำไรกลับบ้านเกิด ส่วนคนญี่ปุ่นก็ได้มาทำงานที่เมืองไทย ผมว่าในการสร้างงานของเมืองไทยเราต้องไปสร้างงานต่างประเทศ ต้องใช้ศักยภาพที่มีข้ามขั้นภายในประเทศไปสู่ระดับประเทศให้ได้ คุณศุภเดช อ่องสกุล ผู้จัดการ บริษัท ไทยเทครับเบอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 6 ม.2 ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี 94170 โทรศัพท์ : 074 0302 400-11 ที่มา : รายงานประจำปี 2555 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2555
เอ็น.ซี.อาร์. รับเบอร์ อินดัสตรี้ จัดการทุกวิกฤตและโอกาสด้วย LEAN
คุณประเสริฐ บำรุงชัยชนะ ผู้อำนวยการฝ่ายโรงงาน บริษัท เอ็น.ซี.อาร์. รับเบอร์ อินดัสตรี้ จ????ากัด ผู้ประกอบการธุรกิจยางซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ส่งออกทั้งในและต่างประเทศ ให้ความเห็นว่าการที่ตลาด AEC รวมเป็นตลาดเดียวกันจะทำให้เกิดการแข่งขันสูงขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสในการขยายตลาด ซึ่งนอกจากแรงกดดันในการแข่งขันจากภายนอกคือกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว ผู้ประกอบการยังพบปัญหาภายใน เช่น วัตถุดิบและค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำราคาเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การนำระบบการบริหารจัดการที่ดีมาใช้พัฒนาองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจากการเข้าร่วม “กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ SMEs ด้วยระบบ LEAN เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต” กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นภายใน บริษัท เอ็น.ซี.อาร์. รับเบอร์อินดัสตรี้ อย่างชัดเจน “วิธีนี้ถูกจริตกับเรา เพราะ LEAN เน้นแก้ปัญหาในจุดใหญ่ ๆ แต่ขณะเดียวกันก็มองภาพรวมด้วยว่าอะไรเป็นหัวใจ อะไรที่จำเป็น LEAN ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้จริง ๆ ช่วยฝึกฝนแรงงานมีฝีมือ ช่วยให้พนักงานอยู่กับเรานานขึ้น รวมถึงเรื่องของการจัด Supply และการ จัดซื้อวัตถุดิบในราคาที่ถูก เราพบว่าระบบ LEAN เป็นคำตอบที่ใช่ โชคดีว่าหลังจากที่มีการปรับค่าแรง พนักงานก็ยินดีให้ความร่วมมือกับองค์กรไม่ปฏิเสธการทำงานมากขึ้น ทำงานเร็วขึ้น เพราะพวกเขาทราบดีว่าไม่เช่นนั้น องค์กรเราก็อยู่ไม่ได้ ต้องถือโอกาสนี้ขอบคุณพนักงานที่ให้ความร่วมมือกับองค์กรเป็นอย่างดี ยินยอมที่จะเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีปัญหาอะไร” การบริหารจัดการธุรกิจอย่างรวดเร็ว กระชับ มีประสิทธิผล และต้นทุนต่ำนับเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ว่ายุคสมัยใด หรือเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวการณ์ใด สำหรับ AEC ที่จะมีผลในอีก ๒ ปีข้างหน้า LEAN จึงเป็นเครื่องมือที่ดีเครื่องมือหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการยกระดับการบริหารและการจัดการภายในองค์กร คุณประเสริฐ บำรุงชัยชนะ ผู้อำนวยการฝ่ายโรงงาน บริษัท เอ็น.ซี.อาร์. รับเบอร์ อินดัสตรี้ จำกัด ๖๙, ๗๑-๗๓ ถ. บำรุงรัฐ แขวง/เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐ โทรศัพท์ : ๐ ๒๒๒๕ ๗๖๕๖-๗ เว็บไซต์ : www.ncr-rubber.com ที่มา : รายงานประจำปี 2555 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2555
ก้าวสู่ Service Provider มืออาชีพ ความรู้-ทักษะ-จิตบริการ
การบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ เปลี่ยนแปลงให้เท่าทันต่อโลกภายนอก ไม่เพียงแต่เป็นการมองจากภายในสู่ภายนอก (inside-out) เท่านั้น แต่การมองจากภายนอกเข้ามาในองค์กร (outside-in) ก็จะช่วยเพิ่มมุมมองที่แตกต่าง ผู้บริหารที่ดีจึงมักเปิดโลกทัศน์ของตนด้วยการรับฟังคำแนะนำจากที่ปรึกษามืออาชีพ ซึ่งเป็นโอกาสของผู้ดำเนินอาชีพที่ปรึกษา (Consultant)หรือผู้ประกอบการการให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Service Provider : SP) คุณรัชดา เทพนาวา เป็นผู้ประกอบการ Service Providerโดยได้เข้าร่วม ‘โครงการอบรมผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม’เพื่อเพิ่มพูนความรู้รอบด้านทั้งเทคนิควิศวการ การจัดการ การตลาด การเงิน การบัญชี ตลอดจนทักษะและจรรยาบรรณการให้คำปรึกษา เพื่อนำความรู้เหล่านั้นไปช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจเช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านอุตสาหกรรมยางพารา และด้านพลังงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมีผลในปี ๒๕๕๘ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากต้องปรับตัวเพื่อแข่งขัน SP ที่เตรียมพร้อมก็จะให้คำปรึกษาได้อย่างถูกทิศทาง “SP ก็ต้องมีการพัฒนาตนเองจากการเป็นนักบริการธุรกิจอุตสาหกรรมไปสู่ที่ปรึกษาเชิงลึก ซึ่งควรมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างน้อย ๑-๒ สาขาที่ไทยมีความโดดเด่น เช่น ธุรกิจเกษตรแปรรูป ธุรกิจการแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น รวมถึงทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ พร้อมด้วยจิตบริการ เพื่อรองรับการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมในตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” การดำเนินงานของคุณรัชดาจึงเป็นการเตรียมพร้อมพัฒนาศักยภาพตนเอง ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการเพื่อเดินเข้าหาโอกาสที่เกิดขึ้นจาก AEC มากกว่าจะเห็นเป็นอุปสรรค คุณรัชดา เทพนาวา บริษัท เจเอ็มทู จำกัด ๒๒๑ หมู่ ๖ ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ๙๐๑๑๐ โทรศัพท์ : ๐๘ ๑๕๙๙ ๔๙๒๐ ที่มา : รายงานประจำปี 2554 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2554
สหกรณ์ฯ สวนยางควนโพธิ์ พิสูจน์ยางไทยอันดับ 1
ประเทศไทยมีชื่อเสียงในการผลิตยางคุณภาพส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่เกษตรกรจำนวนมากขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งพันธุ์ยาง ต้นยาง กระบวนการได้มาซี่งน้ำยาง การทำยางแผ่น และการรมควัน เนื่องงจากขาดเงินทุนและเทคโนโลยีความรู้ใหม่ๆ โดยโรงงานผลิตยางแผ่นรมควันหลายแห่งของการเกษตรในชุมชนควนโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ก็ประสบปัญหาเดียวกันนี้ "เมื่อปี 2537 รัฐบาลมีนโบายส่งเสริมและพัฒนาอย่างจริงจัง จนทำให้มีโรงงานผลิตยางรมควันเพิ่มขึ้นมากถึง 700 แห่ง แต่พอผ่านมานานเกือบ 20 ปี เตาและอุปกรณ์ต่างๆ ก็เริ่งชำรุด ทำให้ผลผลิตที่ไม่ดีเท่าที่ควรปกติการรมควัน 3 คืน ก็สุกแล้ว แต่ถ้าเตามีปัญหาจะใช้เวลานานขึ้นและต้องใช้ฟืนมาก" คุณการีม ยูหันนัน ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางควนโพธิ์เล่าถึงสภาพการผลิตซึ่งการใช้เวลาและเชื้อเพลิงมากขึ้น ก็เท่ากับต้นทุนมากขึ้นนั่นเอง คุณการีม และสามชิกสหกรณ์อีกจำนวนหนึ่งจึงได้เข้าร่วม 'โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตยางในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้' ของศูนย์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เมื่อสองปีที่แล้ว และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาคุณภาพการผลิตยางรมควัน เช่น การใช้มอเตอร์อัดลมเพื่อเพิ่มความร้อนในเตา การสำรวจและซ่อมจุดชำรุดเพื่อให้เตาเก็บความร้อนได้ดีที่สุด เป็นต้น รวมถึงจัดหาช่างซ่อมบำรุงเตาที่มีความชำนาญ ทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น คุณการีมให้ความเห็นว่า หากยังต้องการรักษาการเป็นอันดับหนึ่งของผู้ส่งออกยางพาราโลก ควรต้องมีพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีคณะทำงานด้านปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะ ซี่งสวนยางแต่ละพื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีอายุการปลูกต่างกัน เทคโนโลยีการผลิตต่างกัน ย่อมต้องการการพัฒนาที่แตกต่างกันด้วย หากมีความรู้และมีกำลังพร้อม การค้าเสรีก็จะไม่ใช่สิ่งน่ากลัวสำหรับอุตสาหกรรมยาง คุณการีม ยูหันนัน ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางควนโพธิ์ 243 หมู่ 2 ต.ควนโพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล 91140 ที่มา : รายงานประจำปี 2554 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2554