หัวใจของการสร้าง FinTech คืออะไร
FinTech (Financial Technology) คือ กลุ่มธุรกิจที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำให้การบริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การทำธุรกรรมรับ-จ่าย-โอนเงินออนไลน์ของธนาคาร หรือการวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นเพื่อช่วยการตัดสินใจของนักลงทุน โดยบริการเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปแบบของบริการออนไลน์แทบทั้งสิ้น ด้วยเหตุที่ FinTech เป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอบริการในช่องทางใหม่ ๆ หลักการที่เคยใช้ได้ดีในการสร้างสินค้าแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป วันนี้ เรามาดูกันว่า หัวใจของการสร้างสินค้าหรือบริการใน FinTech ให้ประสบความสำเร็จ มีอะไรบ้าง แก้ปัญหาได้ตรงจุด ต้องมองให้ออกว่าลูกค้ามีปัญหาอะไร แล้วเสนอวิธีการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ เราสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยสร้างพฤติกรรมการใช้บริการใหม่ ๆ ให้ผู้บริโภคได้ โดยดูจากตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น ตัดปัญหาเวลาทำการของธนาคารด้วยการทำธุรกรรมบน iBanking หรือลดเวลาการเดินทางไปห้างสรรพสินค้าด้วยการ Shopping Online ใช้งานง่าย เพราะการใช้ชีวิตทุกวันนี้ก็ยากพอแล้ว ลูกค้าจึงมองหาบริการที่ใช้งานได้ง่าย และให้ประสบการณ์ที่ดีระหว่างการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเว็บไซต์ที่เรียบง่าย เข้าถึงได้ทั้งจากเดสก์ท็อปและมือถือ ความสะดวกรวดเร็วในการติดตั้งแอปพลิเคชัน การใช้งานผ่าน user interface ที่เข้าใจง่าย สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะเป็นลูกค้าในช่วงอายุใด ๆ ก็ตาม มีความปลอดภัย เนื่องจาก FinTech เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางด้านการเงินไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ความปลอดภัยในการใช้บริการย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ระบบจะต้องมี ทั้งในด้านการรักษาข้อมูลของลูกค้ารวมไปถึงความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ลูกค้าเข้าถึงการบริการได้ง่าย ความสะดวกในการเข้าถึงการบริการถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ตัวอย่างที่เห็นชัดในปัจจุบันนี้ เช่น การสร้าง Mobile application เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย และสามารถเข้าใช้งานจากที่ใดก็ได้ เปรียบเสมือนจับเอาบริการหน้าร้านใส่ในมือของลูกค้า ซึ่งทุกวันนี้ ใคร ๆ ก็ใช้ smartphone ดังนั้น การสร้าง Mobile application จึงเป็นอีกหนึ่งบริการที่ไม่ควรมองข้าม ตรง life style ของกลุ่มเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น หากกลุ่มลูกค้าเป็นนักวิเคราะห์ ชอบอ่านตัวเลข ตีเส้นราคาหุ้น และวิเคราห์ข้อมูลในเชิงลึก การใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ดูจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม เนื่องจากการใช้งานบนแท็บเล็ตหรือมือถืออาจจะมีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน แต่หากเป็นบริการง่าย ๆ เช่น การชำระเงิน โอนเงิน หรือธุรกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมเหล่านี้บนมือถือก็จะให้ความคล่องตัวกับผู้ใช้งานมากกว่า มีระบบรองรับที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการบริการด้านใดก็ตาม ระบบจะต้องมีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และสามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าจำนวนมากได้อย่างเหมาะสม จะต้องมั่นใจว่าระบบยังสามารถให้บริการลูกค้าได้ แม้จะมีจำนวนลูกค้าหลาย ๆ ท่านเข้าใช้งานพร้อม ๆ กันก็ตาม อีกทั้งควรมีแผนสำรอง ในกรณีระบบหลักเกิดมีปัญหาใช้งานไม่ได้ด้วย ตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วการบริการที่ดีควรจะปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ เพื่อรักษากลุ่มลูกค้า นอกจากการนำ feedback มาพัฒนาและปรับปรุงบริการแล้ว การเห็นปัญหาและความต้องการในอนาคต ก็จะทำให้บริการของเราทันสมัยอยู่เสมอครับ ความสำเร็จของ FinTech อาจจะวัดได้จากหลายด้าน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การมุ่งที่จะแก้ปัญหาให้กับลูกค้า สามารถเป็นคำตอบในระยะยาวให้กับลูกค้าได้ โดยที่ลูกค้าไม่เลิกหรือเปลี่ยนไปใช้บริการเจ้าอื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
30 พ.ค. 2563
How to navigate the Digital Transformation Maze
Digital Transformation การดำเนินการเกี่ยวกับ Digital Transformation เป็นความพยายามครั้งยิ่งใหญ่สำหรับ บริษัท ทุกขนาด แต่อาจลำบากสำหรับองค์กรขนาดใหญ่โดยเฉพาะ การแปลงระบบดิจิตอลส่งผลกระทบต่อทั้งองค์กรและต้องการการเปลี่ยนแปลงจำนวนมากจากทุกไตรมาส ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้ Digital Transformation ที่ประสบความสำเร็จมีลักษณะอย่างไร มันไม่ใช่การกระทำที่ทำเสร็จแล้วที่ธุรกิจสามารถทำได้ แต่เป็นชุดของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป เช่นทาง One CIO การย้ายของ Rob Alexander เพื่อดูแลการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของทีม DevOps ของเขาเพื่อเร่งการสร้างซอฟต์แวร์ เขาเข้าใจถึงบทบาทสำคัญที่เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนและจะยังคงดำเนินต่อไปในด้านการธนาคารและพยายามที่จะดำเนินการใช้งาน Digital Transformation เพื่อให้องค์กรของเขาสามารถสร้างซอฟต์แวร์ได้อย่างยอดเยี่ยม วิธีการขับเคลื่อน Digital Transformation ไม่น่าแปลกใจสำหรับทุกคน ณ จุดนี้ว่าองค์กรดั้งเดิมกำลังรับมือกับการเปลี่ยนแปลงแบบดิจิทัล แต่การขับเคลื่อน Digital Transformation อาจเป็นเรื่องยากเนื่องจากส่วนหนึ่งของความจริงที่ว่ากิจการอาจจจะมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อยสำหรับแต่ละธุรกิจที่ดำเนินการในแต่ละรูปแบบ ในบทความนี้ผู้เขียน Barry Libert , Megan Beck และ Yoram Wind ได้วางกระบวนการห้าขั้นตอนของพวกเขาที่เรียกว่า PIVOT เพื่อช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่าเป็นระเบียบ - P คือจุดเริ่มต้นของธุรกิจคุณ - I คือ ทรัพย์สินทั้งหมดขององค์กรของคุณ - V คือ สร้างอนาคตใหม่ในฐานะเครือข่ายดิจิตอล - O คือ เครือข่ายของธุรกิจของคุณ - T คือ ติดตามความคืบหน้าของการริเริ่มเครือข่ายของคุณ คำถามที่ถามก่อนที่คุณใช้งาน Digital Transformation หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดของบทความนี้คือ Digital Transformationไม่ได้เป็นเพียงแค่ข้อตกลงเดียวเท่านั้น มันเป็นกระบวนการต่อเนื่องสำหรับองค์กรที่จะดำเนินการ คำถามที่สำรวจที่นี่นอกเหนือไปจากการประเมินทรัพยากรที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยีใหม่และท้าทายซึ่งจะให้คิดอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขากำลังทำอยู่ พวกเขาเริ่มต้นด้วยคำถามที่หลายคนอาจไม่คิดว่าจะถาม เช่น คุณทำการอัพเกรดดิจิตอลหรือ Digital Transformationหรือไม่? เพื่อนำไปสู่ Digital Transformation ซีอีโอต้องจัดลำดับความสำคัญ ในบทความนี้ผู้เขียน Laurent-Pierre Baculard กล่าวว่าการเป็นผู้นำทางดิจิทัลนั้นไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีการทำความเข้าใจ การเป็นผู้นำแบบดิจิทัลนั้นเกี่ยวกับ“ การสร้างองค์กรที่มีความคล่องตัวซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าการเปลี่ยนแปลงประเภทใดมีความสำคัญและตอบสนองอย่างรวดเร็วด้วยโซลูชั่นที่มีการแข่งขันสูงที่สุด” เขาแนะนำว่าซีอีโอจะมองภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงที่องค์กรของพวกเขาจำเป็นต้องได้รับและดำเนินการสามขั้นตอนสำคัญเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น กำหนดว่าการเปลี่ยนแปลงใดที่จำเป็นที่สุด ทีละขั้นตอนก่อนทำการเปลี่ยนแปลงและมอบอำนาจให้ผู้คนนองค์กร ไม่มีเรื่องไหนที่ง่าย เนื่องจากผู้เขียนแต่ละคนชี้ให้เห็นว่าการนำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ใช่งานเล็ก ๆ และมันจะดูแตกต่างจากองค์กรต่าง ๆ หรือแม้แต่กับองค์กรเดียวกันในเวลาต่างกันชิ้นส่วนที่สำคัญของปริศนานี้คือการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับDigital Transformation ก็คือ หัวข้อที่ควรค่าการดำเนินการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ซึ่งนำที่ประสบความสำเร็จจะไม่ต้องเกรงกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แต่จะทำอย่างดีที่สุดเพื่อนำทางแห่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อเตรียมพร้อมให้กับองค์กรเพื่อเข้าสู่อาณาจักรแห่งดิจิตอลนั่นเอง
30 พ.ค. 2563
IoT กับ 6 อุตสาหกรรมที่มุ่งหน้าสู่รูปแบบดิจิทัล
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างกำลังมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการบรรจุ Industrial Internet of Things หรือ IIoT ลงไปในแผนเทคโนโลยีแห่งชาติหรือเฟรมเวิร์กของแต่ละประเทศ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับเศรษฐกิจและสวัสดิภาพทางสังคม หลายประเทศที่กำลังมุ่งสู่ IoT ได้มีการพัฒนาศักยภาพของตัวเองในหลาย ๆ ด้านเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ภาพที่ชัดเจนคือประเทศเหล่านั้นมีการเพิ่มการลงทุนในเรื่องของบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาและนำโซลูชัน IIoT มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ สิ่งที่เป็นศูนย์รวมของแผนงานแห่งชาติหรือจุดร่วมเดียวกันที่เห็นได้บ่อยคือเรื่องของความริเริ่มด้านความอัจฉริยะ เช่น Smart Factory, Smart City หรือ Smart Grid เหล่านี้ล้วนได้รับการออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนความมีประสิทธิภาพและกระตุ้นการเติบโตให้กับเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง สมาคมอินเตอร์เน็ตเพื่ออุตสาหกรรม หรือ IIC (Industrial Internet Consortium) มีความสนใจอย่างยิ่งในการสร้างแอพพลิเคชัน IIoT ที่ช่วยปรับปรุงและสร้างความแข็งแกร่งให้กับส่วนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและประเทศทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงาน การดูแลสุขภาพ เกษตรกรรม การขนส่ง การผลิต และการศึกษา ซึ่งการทำให้เสาหลักด้านเศรษฐกิจเหล่านี้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และให้ผลิตผลที่ดี ก็จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ดีขึ้นเช่นกัน สิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความสนใจเรื่องนี้ก็คือ IIC ได้อนุมัติให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์ทดสอบ” (Testbeds) แห่งใหม่กว่า 40 แห่งขึ้นในเวลาอันรวดเร็วแค่ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ทดสอบเหล่านี้คือห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการทดสอบและพัฒนาแอพพลิเคชัน IIoT อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากศูนย์ทดสอบคาดว่าในปี 2018 จะมี 6 อุตสาหกรรมที่นำ IIoT มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง คือ 1. อุตสาหกรรมด้านพลังงาน การนำ IIoT มาใช้จะเพิ่มความฉลาดของระบบพลังงานและระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพลังงานจากท่อส่งอัจฉริยะ (Smart Pipelines) ถึงมิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meters) และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ทุกแง่มุมของการสร้างและส่งต่อพลังงานล้วนถูกทำให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น พึ่งพาอาศัยกันได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย เพื่อตอบสนองความกระหายพลังงานของโลก IIoT ไม่ได้เป็นแค่ความก้าวหน้าในการผลักดันด้านการกระจายพลังงานและการสื่อสารผ่านโครงข่ายหรือกริด แต่ยังเป็นการปรับปรุงกระบวนการดำเนินการหลัก ๆ ได้แก่ เรื่องของการตรวจสอบสถานะการทำงานได้จากระยะไกล การซ่อมบำรุงที่คาดการณ์ได้ การควบคุมที่ล้ำหน้า ความปลอดภัยรวมถึงการรักษาความปลอดภัย เราเรียกรวมกันว่า พลังงานอัจริยะ หรือ Smart Energy แต่ละองค์ประกอบของสิ่งที่กล่าวมาช่วยเรื่องของอัพไทม์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่อุปกรณ์หรือระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเต็มที่ ในเรื่องของประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสินทรัพย์ด้านพลังงาน ผ่านการใช้ซอฟต์แวร์ เซนเซอร์ การเชื่อมต่อ และการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ระบบการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นผ่าน IIoT จากการที่อายุคาดเฉลี่ยของคนทั่วไปเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพโดยเฉลี่ยสูงกว่า 10% ของ GDP ในระดับชาติของทั่วโลก ได้สร้างความกดดันให้กับรัฐบาลในการหาวิธีลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาสุขภาพในขณะที่ต้องปรับปรุงและขยายการดูแลสุขภาพประชากรให้ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง IIoT จึงเป็นหัวใจหลักในการปรับปรุงการนำเสนอบริการสำคัญด้านการดูแลสุขภาพผ่านการเชื่อมต่อและการแบ่งปันข้อมูล ซึ่งเป็นเหตุผลของการสร้างศูนย์ทดลอง Connected Care ของ IIC สมาชิกของศูนย์ดังกล่าวต่างมุ่งเน้นในการสร้างระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพผ่าน IIoT ในระบบเปิดไว้สำหรับสอดส่องดูแลผู้ป่วยที่อยู่ที่บ้านหรือที่อยู่ระยะไกล เพื่อให้ทางเลือกแก่ผู้ป่วยที่ต้องการพักอยู่ที่บ้าน โดยมีระบบบริหารจัดการจากระยะไกลที่มีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างดีไว้สำหรับคอยติดตามดูอาการของผู้ป่วยเรื้อรัง สิ่งนี้มอบศักยภาพในการสร้างโซลูชันในราคาเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ดูแลมีโอกาสดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพแม้จะอยู่นอกออฟฟิศก็ตาม 3. เกษตรกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจากการคาดการณ์ของสหประชาชาติ จำนวนประชากร 7,400 ล้านคนในปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นเป็น 11,000 ล้านคนภายในปี 2020 ซึ่งความสำเร็จในการทำเกษตรกรรมให้ได้ผลิตผลมากยิ่งขึ้น คืนสภาพได้ดี และมีความยั่งยืนนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการดำรงชีพ และ IIoT ก็เข้ามาอยู่แถวหน้าของความคิดในเรื่องนี้ ในศูนย์ทดสอบด้านการจัดการผลผลิตได้อย่างแม่นยำ (Precision Crop Management) ของสมาคมอินเตอร์เน็ตเพื่ออุตสาหกรรม หรือ IIC ผู้จำหน่ายได้ร่วมมือกันพัฒนาแนวทางที่ดียิ่งขึ้นในการสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้น พร้อมกับการลดต้นทุนเพื่อพยายามแก้ปัญหาความยากไร้ของโลก แนวทางดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการบูรณาการด้านภาพถ่ายทางอากาศและเทคโนโลยีเซนเซอร์ที่หลากหลาย เพื่อให้มีมุมมองเกี่ยวกับพืชผลในแบบ 360 องศา ได้ใกล้เคียงกับเวลาที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลตลอดเวลาแบบ 24/7 ผ่านเครือข่ายเซลลูลาร์และเครือข่ายเมช พร้อมให้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจจับความผิดปกติของพืชผลได้ก่อน เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที 4. การลดความสูญเสียในการขนส่งด้วยเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผู้คน การขนส่งนับเป็นศูนย์กลางที่ช่วยให้เศรษฐกิจหรือสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น และมีผลกระทบแผ่ขยายไปถึงเรื่องผลิตผล สุขภาพ และสภาพภูมิอากาศ ผู้ที่เข้าถึง IIoT ได้ก่อนนั้นมองว่า IIoT สามารถช่วยในเรื่องต่อไปนี้ได้ • สร้างระบบขนส่งที่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและดำเนินการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วในแบบเรียลไทม์ • เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความปลอดภัยของสาธารณะ ลดช่วงเวลาดาวน์ไทม์ และดูแลเรื่องของการบำรุงรักษาระบบหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ในเชิงป้องกันก่อนที่จะเกิดความขัดข้องกับชิ้นส่วนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ด้วยการวิเคราะห์และดำเนินการแก้ไขตามข้อมูลที่ได้จากตรวจสอบเซนเซอร์และเครื่องจักรที่อยู่แวดล้อม (ในเรื่องอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ฯลฯ) • ระบุเส้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากการวิเคราะห์ความสามารถ 5. ภาคการผลิตและระบบซัพพลายเชนกับการดำเนินงานที่ชาญฉลาดมากขึ้นจุดที่ให้ประโยชน์อย่างเห็นได้ชัดสำหรับการนำนวัตกรรมด้าน Internet of Things สำหรับภาคอุตสาหกรรมมาใช้ ก็คือในภาคการผลิตซึ่งปัจจุบันพัฒนาไปสู่โรงงานอัจฉริยะแห่งอนาคต (Smart Factory) IIoT ให้ความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพและผลลัพธ์ได้อย่างมากมายมหาศาล ทั้งในเรื่องของกระบวนการผลิตไปตลอดทั่วทั้งซัพพลายเชนด้วย IIoT กระบวนการผลิตจะควบคุมการทำงานได้ด้วยตัวเองจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีความชาญฉลาด สามารถดำเนินการแก้ไขเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุขัดข้องแบบที่ไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า โดยจะมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้เองโดยอัตโนมัติจากการนำข้อมูลเรียลไทม์มาใช้ และอุปกรณ์ดิจิทัลแบบพกพาทุกชิ้นในโรงงานจะต้องรายงานสถานะของอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ซ่อมอยู่ และสามารถใช้มือถือของเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการดำเนินงานได้แบบเรียลไทม์ โดยตัวเซนเซอร์ของอุปกรณ์สวมใส่จะติดตามตำแหน่งของพนักงานในโรงงานแต่ละคนได้ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น และที่กล่าวมาก็เป็นประโยชน์เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น 6. ห้องเรียนที่เชื่อมต่อกันได้ทั่วโลก และการเปลี่ยนโฉมหน้าของการศึกษา บทบาทในเชิงกลยุทธ์ของการศึกษาในการนำโซลูชัน IIoT มาช่วยให้บรรลุผลเป็นสิ่งที่ถ้าไม่พูดถึงคงจะไม่ได้ ทั้งนี้สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ล้วนเป็นผลกระทบจาก IIoT เนื่องจากห้องเรียนต่าง ๆ มีการเชื่อมต่อออนไลน์มากขึ้น และมีอุปกรณ์เชื่อมต่อมากขึ้นเช่นกัน เหล่านี้ช่วยให้นักเรียนเข้าถึงเนื้อหาได้ใกล้เคียงความจริงมากยิ่งขึ้น ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในหนังสือเรียน นอกจาก IIoT จะช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าการศึกษาแล้ว การศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอ IIoT ด้วยเช่นกัน ประเทศต่าง ๆ จะต้องขยายการลงทุนในเรื่องของ STEM Education (ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาแขนงต่าง ๆ อันประกอบไปด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) เพื่อผลักดันนวัตกรรม IIoT ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ปัจจุบัน การพึ่งพาอาศัย IIoT นี้เห็นได้ชัดในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะยังมีตำแหน่งงานว่างในภาคการผลิต แม้จะมีการจ่ายค่าจ้างสูงก็ตาม เนื่องจากขาดแรงงานที่มีคุณสมบัติ สำหรับประเทศไทยนั้น IoT เป็นเรื่องใหม่ที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสำคัญ โดยในส่วนของภาครัฐนั้น สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ริเริ่มโครงการ Phuket Smart City Innovation Park เพื่อพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองต้นแบบในการก้าวสู่ Smart City ซึ่งงานที่สำคัญอย่างหนึ่งของ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล คือ การจัดตั้งศูนย์ IoT Lab เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเทคโนโลยี IoT ของประเทศ loT Lab จะเป็นศูนย์กลางให้นักเรียน นักศึกษา รวมถึงผู้ประกอบการที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้และทดสอบการใช้งานของเทคโนโลยี IoT รวมถึงการจัดอบรมให้ความรู้ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับเริ่มต้น กลางไปจนถึงระดับสูงสุด ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกลุ่มเมคเกอร์คลับในจังหวัดภูเก็ต IoT Lab จึงเป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญของสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Economy ตามแผนงานของรัฐบาลที่จะผลักดันประเทศไทยก้าวสู่ Thailand 4.0
30 พ.ค. 2563
จับตา 8 เทรนด์เทคโนโลยี เปลี่ยนยุคธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่
วิถีชีวิตของเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทต่อผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความก้าวหน้า รวดเร็ว และเที่ยงตรง ทำให้เทคโลยีที่มีหลากหลายเริ่มเป็นที่น่าจับตามมองที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต วิถีชีวิตของเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทต่อผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความก้าวหน้า รวดเร็ว และเที่ยงตรง ทำให้เทคโลยีที่มีหลากหลายเริ่มเป็นที่น่าจับตามมองที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต ผลการสำรวจผลจาก Tech Breakthroughs Megatrend ซึ่งทำการสำรวจรูปแบบเทคโนโลยีกว่า 150 แบบทั่วโลกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทในการพลิกโลกเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีในอนาคตอีก 3-7 ปีข้างหน้า อันดับ 1 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI)Aiเรียกง่ายๆก็คือคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดและวิเคราะห์สิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล จนสามารถตอบโต้การสนทนาได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ถูกแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบเพราะการนำไปใช้งานของแต่ละองค์กรนั้นแตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าการบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงบางส่วนของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น แต่ในอนาคต ความก้าวหน้าและผลสำเร็จของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของโลกอินเทอร์เน็ตถูกนำมาใช้ประโยชน์มากกว่าในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้ทุกเรื่องจากการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมนุษย์ไม่มีวันทำได้ แต่ถึงกระนั้นความกังวลใจเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์เองได้อย่างอิสระของปัญญาประดิษฐ์ก็ถูกมองว่าอาจจะเป็นภัยต่อมนุษย์ เพราะกรอบจริยธรรม ความคิด หรือแม้กระทั่งการตอบสนองจะต้องถูกควบคุมอย่างดี เพื่อให้ปลอดภัยกับมนุษย์มากที่สุด ก่อนที่จะเริ่มการปฏิวัติวงการด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นั่นเอง อันดับ 2 โลกกึ่งเสมือนจริง (Augmented Reality หรือ AR)AR เทคโนโลยีโลกกึ่งเสมือนจริง ด้วยรูปแบบการผสมผสานเทคโนโลยีการมองเห็นกับโลกของความเป็นจริงมาเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการซ้อนเทคโนโลยีเข้ากับการมองของมนุษย์ปกติ ทำให้เกิดมุมมองใหม่ของการเรียกใช้เทคโนโลยีและจัดการระบบได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยปัจจุบันแม้ว่าจะยังเป็นแค่การทำงานอย่างง่าย ๆ เช่น การออกกำลังกายในลู่วิ่ง เมื่อสวมแว่น VR เข้าไปจะทำให้การวิ่งนั้นมองเห็นวิวทิวทัศน์ในสถานที่ที่เราต้องการได้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือจะเป็นการสวมใส่ VR ในการจัดของเพื่อตรวจนับสต๊อกสินค้าไปในตัว เป็นต้น ซึ่งอีกไม่นานเราจะเห็นการนำ AR ไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้านความบันเทิงและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายในอนาคต อันดับ 3 บล็อกเชน (Blockchain)บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีการร้อยต่อข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด โดยข้อมูลทุกบล็อกจะเป็นเหมือนสำเนาของตัวเอง เมื่อเกิดการแก้ไขจะทำให้ทุกบล็อกรับรู้การแก้ไขนั้น ๆ และมีประวัติเก็บไว้อย่างซับซ้อน โดยเนื้อแท้ของเทคโนโลยีจึงมีความปลอดภัยจากโครงสร้างที่เกิดขึ้น ซึ่งความสามารถของบล็อกเชนเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อถูกนำมาใช้งานในรูปของ Bitcoin หรือเงินเสมือนจริงที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ด้วยรูปแบบการบันทึกทุกกล่องเป็นสำเนาข้อมูลเหมือนกันหมด ทำให้บล็อกเชนมีความปลอดภัยมากกว่าการบันทึกด้วยมนุษย์หรือเครื่องมือบันทึกใด ๆ ที่มีอยู่เดิม และนั่นก็ทำให้บล็อกเชนได้รับความสนใจกับกลุ่มธุรกิจการเงินเช่นธนาคารเป็นอย่างมาก โดยเชื่อว่าบล็อกเชนจะเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่มีความปลอดภัยและรวดเร็วมากกว่าเทคโนโลยีการเงินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อันดับ 4 โดรน (Drones)โดรนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการบินที่ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถของการบินหลายระยะด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้โดรนเข้ามาแทนที่ในการบินหลากหลายระบบทั้งเล็กและใหญ่ เช่น จากเดิมที่ใช้เครื่องบินใส่ปุ๋ยและยาพืชไร่ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องโดรนที่บรรทุกปุ๋ยและยาบินเข้าพื้นที่แบบอัตโนมัติตามการวางโปรแกรมการบินเพื่อจัดการพื้นที่ได้อย่างไม่หลงลืม ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้โดรนในหลายรูปแบบ ทั้งทางการทหาร การช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งการขนส่ง ทำให้โดรนกลายเป็นเครื่องมือขนส่งที่ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางอากาศระยะไกลได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขนส่งคนหรือสิ่งของก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังไม่สามารถเกิดขึ้นจริงในเชิงพาณิชย์ แต่กระนั้นก็เริ่มมีการทดลองอย่างจริงจังในหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอีคอมเมิร์ซที่กลายมาเป็นระบบค้าขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน อันดับ 5 อินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT)เทคโนโลยี IoT เป็นสิ่งที่หลายคนพูดถึงกันมากที่สุด เพราะสามารถแทรกตัวเข้าไปได้แทบทุกอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีของการสื่อสารอุปกรณ์เท่านั้น โดยคาดหวังกันว่า IoT จะช่วยลดเวลาการจัดการทั้งหมดของมนุษย์ รวมไปถึงการดูแลความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้มีความปลอดภัย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ IoT ยังเป็นอุปกรณ์ที่จะเก็บข้อมูล รายงานสิ่งที่จำเป็นให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการตรวจสอบในระบบสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับได้ว่าการแทรกตัวเข้าไปของทุกอุตสาหกรรมยังมีต้นทุนที่ราคาไม่แพงเกินไป ด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ฝังเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ แต่หัวใจของการประมวลผลและคิดวิเคราะห์ยังคงใช้งานจากส่วนกลางเพื่อสนองตอบพฤติกรรมนั่นเอง อันดับ 6 หุ่นยนต์ (Robots)หุ่นยนต์เป็นเป้าหมายใหม่ของการทดแทนแรงงานในอนาคต เนื่องจากงานบางชนิดเป็นการใช้แรงงานที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ จนเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ด้วยค่าแรงที่ต่ำหรือปัญหาของพื้นที่ก็ตามแต่ ซึ่งในโลกอุตสาหกรรมหุ่นยนต์แขนกลที่ทำหน้าที่แทนหนุ่มสาวโรงงาน ทั้งการยกของจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งหรือทำงานซ้ำ ๆ แบบเดิมตามไลน์การผลิต มักใช้หุ่นยนต์แขนกลที่มีเพียงจังหวะหมุนของการผลิตเท่านั้น และนอกจากอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว หุ่นยนต์ยังสามารถเข้าไปแทนที่การทำงานในแง่มุมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ่นยนต์ดับเพลิง กู้ภัย หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ให้บริการ ทำให้ในอนาคต หุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์มากขึ้น อันดับที่ 7 โลกเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR)VR เป็นเทคโนโลยีที่อาจจะดูใกล้เคียงกับ AR หากมองแบบผิวเผิน แต่จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะวิธีการใช้หรือรูปแบบที่นำไปใช้ก็ตาม นั่นเพราะ VR เป็นสิ่งที่อยู่ในโลกเสมือนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ร่างกายเพียงตอบสนองกับสิ่งที่เห็นเพื่อฝึกฝนหรือเพื่อความบันเทิง โดยที่ไม่มีการซ้อนกันของโลกความเป็นจริงแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น การทำเครื่อง VR เพื่อฝึกบินเครื่องบินตามรุ่นต่าง ๆ ช่วยลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการฝึกบินบางส่วน หรืออีกตัวอย่างเป็นการฝึกผ่าตัดของแพทย์เพื่อความเชี่ยวชาญ แน่นอนว่าเครื่องเหล่านี้สร้างระบบครอบการรับรู้ของมนุษย์ทั้งหมดไว้เพื่อสร้างโลกเสมือนที่อาจจะใกล้เคียงหรือไม่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เป็นอยู่ก็เป็นได้ อันดับที่ 8 ระบบพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ อาจจะฟังดูเป็นเครื่องพรินเตอร์ที่วุ่นวายกับเรื่องหมึกไปสักหน่อย แต่แท้จริงแล้วเครื่องนี้กลับเป็นอะไรที่แตกต่างออกไป เนื่องจากฟีเจอร์การทำงานเป็นเหมือนการแกะสลักด้วยแบบดิจิทัลที่สั่งงานโดยคอมพิวเตอร์ ค่อย ๆ แกะเนื้อวัสดุออกตามที่ต้องการไปทีละขั้นทีละตอน เหมือนการขึ้นรูปวัสดุ และนั่นก็ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นที่หมายปองของนักออกแบบ เพราะเพียงเวลาไม่นาน แบบที่ร่างไว้ในคอมพิวเตอร์ก็จะถูกพรินต์ออกมาเป็นโมเดล 3 มิติที่จับต้องได้ทุกประการ ด้วยจุดเด่นของการทำงานที่ไม่จำกัดจำนวน และรวดเร็วเช่นที่พรินเตอร์จะพิมพ์ออกมาได้ ทำให้เครื่องพิมพ์เช่นนี้หลุดเข้าไปในหลากหลายอุตสาหกรรม แน่นอนว่าในวงการแพทย์ที่มีการออกแบบอวัยวะเทียมเพื่อทดแทนอวัยวะสำคัญที่ขาดหายไป การออกแบบด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติแล้วฉีดเซลล์เข้าไปเพื่อลดอาการต่อต้านก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทั้ง 8 นี้ต่างมีบทบาทของการพัฒนาและคุณประโยชน์ที่สามารถพลิกการใช้งานเครื่องมือในปัจจุบันของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าสิ่งที่จะต่อยอดในอนาคตจะมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป และท้ายที่สุด คนธรรมดาก็สามารถเอื้อมถึงได้นั่นเอง
29 พ.ค. 2563
ระบบการจัดการข้อมูลผลการวัดเพื่อประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพที่ดีกว่า
ระบบการตรวจวัดความแม่นยำสูงมีความสำคัญมากขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เพราะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพการผลิตชิ้นงานแต่ละชิ้น ซึ่งในช่วงระยะหลัง การตรวจวัดแบบ 100% ร่วมกับระบบการผลิตแบบออโตเมชั่นพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เนื่องจากนวัตกรรมการผลิตอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีรายละเอียดและมีความซับซ้อนในการผลิตสูง จำเป็นต้องมีการบันทึกผลการวัดและตรวจสอบตามช่วงเวลาเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการผลิตและเป็นข้อมูลในการรับประกันคุณภาพสินค้าเมื่อส่งมอบ การออกแบบระบบการจัดการข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ นั่นคือ 1. การเชื่อมต่อระบบ เครื่องจักรกล เครื่องมือและอุปกรณ์ จะสามารถประสานการทำงานวัดโดยสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบประมวลผลกลางได้ทันที ทำให้ข้อมูลการผลิตได้ครบถ้วน 100% ระบบเชื่อมต่อสัญญาณโดยตรงเข้ากับอุปกรณ์ประมวลผลหรือคอมพิวเตอร์ มีให้เลือกแบบ SPCหรือแบบไร้สายที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Wireless) ทำให้ผู้ควบคุมสามารถตรวจสอบข้อมูลได้แบบ Real Time 2. การจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการวัดและการตรวจสอบมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากถ้าข้อมูลเหล่านี้ผิดพลาด สูญหาย หรือจัดเรียงไม่เป็นระบบ อาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมคุณภาพการผลิตในช่วงเวลานั้นๆ ได้ ด้วยระบบData Management จะทำให้สามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเก็บสำรองในฐานข้อมูล การทำงานทั้งหมดจะได้รับการบันทึกอย่างเป็นขั้นตอนในกระบวนการผลิต และข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในการวางแผนการผลิตและควบคุมคุณภาพให้เป็นที่น่าเชื่อถือต่อไป 3. การวิเคราะห์ผลสถิติข้อมูลการผลิต หรือการจำลองระบบการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ (Statistical Process Control หรือ SPC) เพื่อกำหนดวิธีการตรวจสอบคุณภาพในการผลิตให้ได้รับความเชื่อถือ ลดปัญหาความผิดพลาดในการตรวจสอบคุณภาพ และวางแผนการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการผลิตชิ้นงานแต่ละประเภท ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการทำงาน ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตที่ดีกว่า มิตูโตโย หนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องมือวัดละเอียดอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก จึงได้ออกแบบระบบการจัดการข้อมูลผลการวัด สามารถตอบสนองการทำงานได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เชื่อมโดยตรงเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยสายสัญญาณ SPC, การเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ไร้สาย U-Wave (Wireless) และโปรแกรมการจัดการผลการวัดและการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดได้อย่างแม่นยำและสะดวกรวดเร็ว โดยการแสดงผลผ่านโปรแกรม Microsoft Excel นอกจากนี้ยังพัฒนา Data Management System ด้วยโปรแกรม MeasurLink ที่จะสามารถบริหารจัดการข้อมูลทั้งระบบได้อย่างครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด Reference : Blue Update Edition 20
29 พ.ค. 2563
Transformation with Industrial Internet of Things
แนวคิดของอุตสาหกรรม 4.0 มีอิทธิพลในการสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมเพื่อเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งเป็นการบูรณาการการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบ “The Internet of Things (IoT)” ทำให้กระบวนการผลิตตลอดทั้งซัพพลายเชนเชื่อมต่อกันบนโลกดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น What is the Industrial Internet of Things? Industrial Internet of Things หรือ IIoT คือ การนำเครื่องจักร ระบบการวิเคราะห์ขั้นสูง และคนมาทำงานร่วมกันผ่านโครงข่ายของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้เกิดระบบที่สามารถติดตาม เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนและแสดงผลข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ข้อมูลดังกล่าวสามารถช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาดและรวดเร็วยิ่งขึ้น What are the Benefits of IIoT? IIoT ช่วยปรับปรุงการเชื่อมต่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ยืดหยุ่น ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทที่มีความพร้อม เริ่มได้รับประโยชน์จาก IIoT ในการลดต้นทุนการผลิตจากการบำรุงรักษาที่คาดการณ์ล่วงหน้า (Predictive maintenance) การตรวจสถานะของเครื่องจักร (Monitor) และหลีกเลี่ยงการ Downtime ของระบบเพิ่มความปลอดภัยและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในส่วนอื่นได้ดียิ่งขึ้น ระบบเครือข่าย IIoT สามารถเชื่อมต่อข้อมูลขนาดใหญ่ของแต่ละหน่วยงาน ตั้งแต่ไลน์การผลิต ไปจนถึงระดับออฟฟิศและทุกคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะทำให้ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลจาก IIoT ได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญนำไปสู่การตัดสินใจในอนาคต การขยายตัวของ IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรมและโรงงานการผลิต (Industrial Internet of Thing – IIoT) ทั่วโลกมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลจากการศึกษาวิจัยข้อมูลทางการตลาดโดย Market and Market พบว่าในปี 2015 ตลาด IIoT มีมูลค่าตลาดโดยรวมสูงถึง 113 พันล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งคาดว่าภายในปี 2022 จะมีมูลค่ากว่า 195 พันล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 7.9% การเติบโตของ IIoT มีผลมาจากหลักการโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) และเทคโนโลยีการผลิตแบบออโตเมชั่นโดยการริเริ่มของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสที่มีการส่งเสริมการใช้โซลูชั่น IIoT ในยุโรป เช่นเดียวกันกับประเทศผู้นำอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ในขณะที่ประเทศจีนยังถือครองตลาดทางด้าน IIoT ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิค ในทิศทางเดียวกันตลาดในอินเดียคาดว่าน่าจะมีการเติบโตสูงขึ้น ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตลาด IIoT ได้แก่ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิคส์ และวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีคลาวน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว Key Components of IIoTการนำระบบ Internet of Thing (IoT) มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตนั้นจำเป็นจะต้องพัฒนาองค์ประกอบหลายประการ อาทิ การปรับปรุงเครื่องจักรกลและอุปกรณ์แบบเดิมให้รองรับเทคโนโลยี IIoT การเพิ่มอุปกรณ์ตรวจวัดและการเชื่อมต่อระบบการทำงานเข้าด้วยกัน รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การควบคุมและจัดการข้อมูลที่ได้รับทั้งโครงข่ายข้อมูล การใช้สมาร์ทเซนเซอร์ในการเชื่อมต่อสื่อสารถึงกันระหว่างเครื่องจักรกล (Machine-to-Machine M2M Communication) ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เครื่องจักรกลสามารถประเมินสถานะการทำงานที่ดีที่สุดและจดจำข้อมูล ตลอดจนการลำดับขั้นตอนการผลิตได้ด้วยตัวเองและการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้รับ (Big Data) ด้วยระบบการประมวลผลการผลิตแบบเรียลไทม์ (Manufacturing Execution Systems – MES) เข้ามาควบคุมติดตามและบันทึกผลการผลิตผ่านอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันแพลตฟอร์มการทำงานของระบบ IIoT ประกอบด้วย 3 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่ Sensors และ Sensor-Driven Computing คือด่านแรกในการเก็บข้อมูลที่ได้จากการผลิตและส่งไปยังส่วนของ Processor ซึ่งตัวเซนเซอร์ทำให้อุปกรณ์สามารถรับรู้สภาวะต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ความดัน แรงดันไฟฟ้า การเคลื่อนไหว และด้านเคมี Sensor-Driven Computing จะแปลงการรับรู้นี้เป็นข้อมูลเชิงลึก (Insights) โดยใช้ Industrial Analytics ในลำดับถัดไปที่ผู้ปฏิบัติงานและระบบสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ Processor หรือ Industrial Analytics เป็นตัวประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลหลาย ๆ ส่วนของเครื่องจักรในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ส่งคำสั่งไปยังเซนเซอร์ เป็นเสมือนเครือข่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลทุกจุดให้สามารถทำงานได้ทันที (Real time) Intelligent Machine Application ในอนาคตอันใกล้ผู้ผลิตเครื่องจักรจะไม่ผลิตเพียงแค่เครื่องจักรที่มีเฉพาะระบบกลไกเท่านั้น แต่จะรวมฟังก์ชั่นที่มีสมอง (Intelligence) อีกด้วย เพื่อควบคุมการผลิตอัตโนมัติผ่านซอฟท์แวร์ ซึ่งปกติผู้วางระบบจะทำบนระบบคลาวด์ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุม แก้ไข จัดการตรวจสอบการทำงานผ่านแอปพลิเคชั่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้น และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ประมวลผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อไป แอปพลิเคชันที่มาพร้อมกับเครื่องจะเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างรายได้ใหม่ในรูปแบบผสมระหว่างผลิตภัณฑ์และบริการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ง่ายต่อการผสานรวมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน Future and Challengesอย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบ Industrial IoT ซึ่งต้องอาศัยการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวอาจทำได้ยากและต้องใช้เวลา เนื่องจากในเครื่องจักรแต่ละเครื่องมีรูปแบบและระบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงถือเป็นความท้าทายของผู้พัฒนาระบบการเชื่อมต่อทั้งหมดให้สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และคำนึงถึงการเก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูล IIoT กำลังกลายเป็นกระแสการพัฒนาที่สำคัญส่งผลต่อความสำเร็จในธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต ภาคธุรกิจต่างพยายามผลักดันการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อตอบสนองให้ทันต่อความต้องการตลาดที่รวดเร็วผันผวนและเผชิญกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruptive Technology) อุตสาหกรรมที่นำ IIoT มาใช้งานสามารถปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิต ความปลอดภัยเพิ่มประสิทธิภาพ และให้ผลกำไรที่ดีกว่าในระยะยาว Reference : Blue Update Edition 20
29 พ.ค. 2563
อุตสาหกรรมในอนาคตจะมีลักษณะอย่างไร?
อุตสาหกรรมมีการเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิวัติ การมาถึงของเทคโนโลยีดิจิทัลได้นำไปสู่การทบทวนระบบการผลิตทั้งหมดและแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมา ทุกอย่างจะค่อยๆเปลื่ยนไปในหลายๆด้าน วันนี้เรามาดูกันว่าจะมีอะไรเปลื่ยนไปบ้าง 1. เทคโนโลยีดิจิตอลและการเชื่อมต่อ ในอนาคตอุตสาหกรรมทั้งหมดจะเชื่อมต่อกันภายในโรงงานเดียวกันและระหว่างโรงงาน เครื่องมือต่างจะสามารถแลกเปลื่ยนข้อมูลกัน ในแบบเรียลไทม์ซึ่งจะได้รับการวิเคราะห์เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้งานที่เหมาะสม "โรงงานแห่งอนาคตจะได้รับการจัดโครงสร้างแบบเครือข่ายใหม่ มันจะกลายเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เชื่อมต่อกันอย่างแท้จริง เพื่อที่เราจะสามารถเช็คปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นและการสร้าผลลัพท์ที่ดีที่สุด 2. หุ่นยนต์ร่วมกับมนุษย์ หุ่นยนต์ชนิดใหม่กำลังถูกผลิตออกมา พวกเขารู้จักกันในชื่อ "โคบอทส์" หรือ "หุ่นยนต์ทำงานร่วมกัน" ปัจจุบันหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานได้รับการออกแบบมาให้ทำงานคนเดียว Cobots เป็นหุ่นยนต์อัจฉริยะที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเสริมความสามารถของมนุษย์แบบที่เราเห็นกันในหนังที่มีฉากโรงงานต่างๆ ซึ่งในบางกรณีที่เราเห็นกับบ่อยๆคือมันช่วยยกของหรือช่วยวิเคราะห์กำไรและจัดการกับต้นทุนที่สูงแทนเราได้ 3. โลกเสมือนจริง การสร้างแบบจำลอง 3 มิติ จะช่วยออกแบบและจำลองผลิตภัณฑ์ได้สมจริงขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่ามันตรงกับความคิดที่เราคิดไว้ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตลาด ทำให้เกิดความแปลกใหม่และทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจในการซื้อได้ง่ายขึ้น และทั้ง 3 ลักษณะนี้คือแนวโน้นของอุตสาหกรรมในอนาคตซึ่งทำให้เราทำงานได้ขึ้นและสามารถตอบสนองความตอบการทางด้านการตลาดได้ดีขึ้นอีกด้วย ถ้าคุณเป็นคนนึงที่อยู่อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง คุณจำเป็นต้องเข้าถึงเทคโนโลยีด้วยเพราะพวกมันจะช่วยจัดการให้คุณสามารถต้นทุนต่างๆได้และทำให้คุณมีกำไรมากขึ้นอีกด้วย แหล่งที่มา
29 พ.ค. 2563
ธุรกิจดิจิตอลเป็นธุรกิจของทุกคน
ภายในปี 2020 จะมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากกว่า 7 พันล้านคนและธุรกิจและอุปกรณ์อย่างน้อย 30 พันล้านชิ้น กับผู้คนธุรกิจและสิ่งที่สื่อสารทำธุรกรรมและแม้กระทั่งการเจรจาต่อรองกับแต่ละอื่น ๆ ในโลกใหม่ที่เข้ามาในความเป็นอยู่ โลกของดิจิตอลธุรกิจ ธุรกิจดิจิทัลคือการสร้างการออกแบบธุรกิจใหม่ ๆ โดยการทำให้โลกดิจิตอลและโลกทางกายภาพเบลอ สัญญานี้จะนำพาผู้คนธุรกิจและสิ่งต่างๆที่ขัดขวางโมเดลทางธุรกิจที่มีอยู่ซึ่งรวมถึงผู้ที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตและยุคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สิ่งที่ทำให้ธุรกิจดิจิทัลแตกต่างจากธุรกิจอีเล็คทรอนิคส์คือการมีส่วนร่วมของสิ่งต่างๆเชื่อมต่อและชาญฉลาดกับผู้คนและธุรกิจ นี่อาจเป็นการนำหน่วยข่าวกรองและเซ็นเซอร์ต่างๆมาใช้ในเครื่องยนต์เครื่องบินเจ็ทเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการโดยสารของเจ็ตและเพื่อลดความจำเป็นในการบำรุงรักษาเครื่องบิน ในธุรกิจค้าปลีกธุรกิจดิจิทัลอาจเกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าแฟชั่นรายย่อยในโลกที่มีการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างรูปแบบดิจิทัลและทางกายภาพที่ผสมผสานขอบเขตระหว่างทั้งสอง ตัวอย่างเช่นลูกค้าจะเข้าสู่ร้านเครื่องแต่งกายขายปลีกลองทำเสื้อโค้ทและระบบจัดเก็บจะรู้เรื่องนี้ได้ จากนั้นพวกเขาจะฉายภาพของผู้ซื้อบนหน้าจอด้วยเสื้อคลุมและเสนออุปกรณ์เสริมหรือทางเลือกบางอย่างที่เหมาะกับเสื้อผ้าใหม่ตลอดเวลาโดยคำนึงถึงข้อ จำกัด ด้านราคาที่วางไว้โดยลูกค้าในกระบวนการคุยกัน การซื้อสินค้า อีกตัวอย่างหนึ่งคือความสามารถในการประเมินความเสี่ยงของพอร์ตสินเชื่อใหม่สำหรับธนาคารที่มีการรายงานข้อมูลเรียลไทม์โดยตรงจากสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการจัดหาเงินทุน กรณีเช่นนี้อาจเกิดขึ้นตัวอย่างเช่นในระหว่างการชนกันของรถ ระบบในรถยนต์จะไม่เพียง แต่ช่วยให้ผู้ให้การตอบแบบสอบถามทราบถึงความผิดพลาดและสภาพของผู้โดยสารและรถยนต์แล้วพวกเขาก็จะแจ้งให้ธนาคารทราบเพื่อประเมินผลงานความเสี่ยงในเวลาจริง สมมติว่าเจ้าของไม่อยู่ในสภาพที่จะชำระเงินได้หากพวกเขาไม่ได้ทำงานโดยตรงซึ่งจะบอกว่าธนาคารจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการผิดนัดเงินกู้ บางคนอาจสับสนกับอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆที่มีธุรกิจดิจิทัล อินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆมีบทบาทสำคัญในธุรกิจดิจิทัล แต่ก็มีมากกว่านี้ Internet of Things as, Gartner กำหนดให้เป็นเครือข่ายของวัตถุทางกายภาพที่มีเทคโนโลยีฝังตัวเพื่อสื่อสารและโต้ตอบกับสถานะภายในหรือสภาพแวดล้อมภายนอก ธุรกิจดิจิตอลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างการออกแบบธุรกิจใหม่ ๆ โดยการทำให้โลกดิจิตอลและโลกทางกายภาพเบลอ เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์และการเจรจาระหว่างธุรกิจและสิ่งต่างๆ เมื่อมีสิ่งต่างๆเริ่มเจรจากันเองรวมถึงผู้คนและธุรกิจที่เราเริ่มเห็นว่าเราเข้าสู่โลกใหม่และก่อกวนอย่างไร ในอดีตคนเป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆในธุรกิจ ในอนาคตสิ่งที่จะเป็นตัวแทนของตัวเองและจะเปลี่ยนวิธีการที่ธุรกิจมองเห็นโอกาสของมัน ความจริงแล้วธุรกิจดิจิทัลจะขัดขวางทุกอุตสาหกรรมและผู้บริหารธุรกิจ CIO และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจะต้องคิดอย่างแตกต่างเพื่อช่วยให้ธุรกิจของตนหลีกเลี่ยงการหยุดชะงัก นี่คือโลกใหม่ที่ทำให้คนรุ่นก่อนล้าสมัยในขณะที่สร้างโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้ที่สามารถมองเห็นโอกาสนี้ได้ ผู้บริหารธุรกิจที่เข้าใจเศรษฐกิจอุตสาหกรรมดิจิทัลในปี 2020 จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรของพวกเขาชนะในยุคใหม่นี้ ผู้นำทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีทักษะทางธุรกิจแบบดิจิตอล บทบาทใหม่ ๆ เช่นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ดิจิตอลจะกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาบทบาทผู้นำธุรกิจและซีไอโอทั้งหมดจะต้องพัฒนาความเป็นผู้นำและความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อกำหนดและดำเนินกลยุทธ์ดิจิทัล ในปี 2020 ทักษะด้านความเป็นผู้นำแบบดิจิตอลจะถูกสันนิษฐานสำหรับผู้นำธุรกิจทั้งหมดและเทียบเท่ากับทักษะการบริหารอื่น ๆ เช่นการเงิน ผู้นำธุรกิจที่ไม่ตอบสนองต่อความท้าทายของธุรกิจดิจิตอลจะพบว่าอาชีพของตัวเองเดินลอด ซีไอโอที่ไม่ตอบสนองต่อความท้าทายในการเป็นผู้นำอาจจบลงในฐานะผู้ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีด้านหลังเท่านั้น ในปี 2020 องค์กรธุรกิจดิจิตอลแห่งยุคใหม่จะประสานงานด้านสถาปัตยกรรมธุรกิจดิจิทัลที่สำคัญทางธุรกิจและด้านหลังไอที สัญญาของธุรกิจดิจิทัลคือความเป็นหนึ่งของแอพพลิเคชันและสินทรัพย์แบบดิจิทัลที่ทำงานร่วมกันเกือบจะช่วยให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วซึ่งจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ความจริงจะเป็นที่หลายพันล้านสิ่งทั้งปวงมนุษย์และธุรกิจที่เชื่อมต่อกันจะต้องมีวิศวกรรมที่ซับซ้อนการรวมและการประสานเพื่อให้บรรลุตามคำมั่นสัญญาในอนาคตของผู้คนธุรกิจและสิ่งต่างๆ เทคโนโลยีดิจิทัลผลักดันการปรับปรุงในกระบวนการทางธุรกิจแบบดั้งเดิมและระดับโมเดลทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่แตกต่างจะเป็น "ช่วงเวลาทางธุรกิจ" - ระดับการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลระดับที่สามที่สร้างขึ้นโดยต้องแข่งขันด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นและความคล่องตัว เทคโนโลยีเช่น Internet of Things และการพิมพ์ 3D จะช่วยให้กระบวนการทางธุรกิจดิจิตอลรูปแบบและช่วงเวลาใหม่ ตัวอย่างเช่นส่วนที่สำคัญที่ส่งมาจากแคนาดาอาจพบว่าตัวเองหยุดอยู่ที่ชายแดนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรตัดสินใจที่จะตรวจสอบสายการผลิตรถบรรทุกที่มีสินค้าของสหรัฐฯเพิ่มเติม ส่วนที่สำคัญจะรู้ว่ามันไม่ได้เคลื่อนไหวเพราะจะมีจีพีเอสและสติปัญญาบางอย่างที่ต้องรู้ว่ามันต้องอยู่ในจุดหมายปลายทางในเวลาที่สั้นกว่าที่เหลือไว้ด้วยความล่าช้า ส่วนนั้นจะสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพื่อหาส่วนอื่น ๆ เช่นตัวเองที่สามารถเปลี่ยนเส้นทางและเปลี่ยนเส้นทางที่ล่าช้าได้ ในขณะเดียวกันจะมีการจัดเตรียมการเปลี่ยนเส้นทางไปยังส่วนที่ล่าช้าไปยังลูกค้าที่ไม่มีเวลาที่ต้องการ องค์กรที่เก่งในระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมดิจิทัลจะเป็นองค์กรที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีและมีความซับซ้อนมากขึ้น เรื่องราวดิจิตอลของพวกเขาจะเขียนด้วยเทคโนโลยี แหล่งที่มา
29 พ.ค. 2563
สร้างความเชื่อมั่นในโลกดิจิทัล โดย Mark McDonald
บริษัทที่จัดตั้งขึ้นซึ่งต้องการมีความสัมพันธ์กับลูกค้าเข้าใจถึงความสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความมั่นใจว่าช่องดิจิตอลและการลงทุนที่พวกเขาทำจริงๆทำให้พวกเขาสามารถทำได้ ดิจิตอลเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำธุรกรรมของลูกค้าที่ตรงไปตรงมาเช่นการสั่งซื้อการแชร์และการมีปฏิสัมพันธ์ แต่มีประเภทอื่น ๆ ของ "ความต้องการของลูกค้า" ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่ซับซ้อนมากขึ้นและการดำเนินการที่อาจแตกต่างกันออกไปและช่องดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับลูกค้ามากที่สุดหรือให้ความสำคัญกับลูกค้าในลักษณะที่พวกเขาต้องการ สถานการณ์เหล่านี้มีมากขึ้น "ความเชื่อมั่น" และต้องการการปฏิสัมพันธ์แบบดิจิตอลที่แตกต่างกันเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่ลูกค้าต้องการและต้องการ อุตสาหกรรม การประกันภัยธนาคารและการดูแลสุขภาพตระหนักดีถึงความจำเป็นในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในทางตรงกันข้ามกับการทำธุรกรรมซ้ำ ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อได้ง่ายขึ้นมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยเมื่อความมั่นใจในการซื้อเป็นสิ่งสำคัญ ผู้นำในอุตสาหกรรมเหล่านี้มักชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของตนเป็นผู้ "ขายมากกว่าซื้อ" คู่แข่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมความเชื่อมั่นไม่ได้เป็นอีกบริษัทหนึ่ง แต่คือการไม่ปฏิบัติตนของลูกค้า แม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะโตแล้ว แต่โซลูชันดิจิทัลยังไม่สมบูรณ์ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ตัวอย่างเช่นดูที่App บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้านการประกันสุขภาพเว็บไซต์แผนบริการด้านสุขภาพหรือพอร์ทัลสำหรับการเกษียณอายุและคุณจะเห็นคำอุปมาที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมมากกว่าการใช้ความเชื่อมั่น ที่เข้าใจได้การกระทำมีความซับซ้อนและมีความล่าช้ามากระหว่างการซื้อและมูลค่า "เงินลงทุนในวันนี้สำหรับทศวรรษที่เกษียณอายุในอนาคต" เป็นตัวอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับ "การนำแนวทางปฏิบัติที่ดีและมีระเบียบวินัยในขณะนี้มาใช้ในอนาคต" การป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงในวันนี้เมื่อหนึ่งอาจไม่เคยตระหนักถึงการเรียกร้องเป็นขายยากเนื่องจากไม่มีตัวตนของ บางครั้งการทำอะไรจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความซับซ้อนได้ Trust + Confidence = การดำเนิน การธุรกิจที่ใช้ความเชื่อมั่นจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในรูปแบบอื่น ช่องทางดิจิทัลไม่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่ดีขึ้นหรือเร็วขึ้น เกี่ยวกับการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในแบบที่นำไปสู่การปฏิบัติ พิจารณาสามเทคนิคในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ความเรียบง่าย : ผู้บริโภคกำลังพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนโดยมีผลตอบแทนที่ไม่แน่นอนและการรับรู้การลงทุนล่วงหน้ามาก ลดความซับซ้อนของข้อเสนอมูลค่าเพิ่มความเข้าใจและความเชื่อมั่น การทำงานอัตโนมัติ : ระบบอัตโนมัติจะสร้างความมั่นใจเมื่อลบขั้นตอนโดยพลการในกระบวนการ เมื่อผลลัพธ์คาดการณ์ได้ผู้บริโภครู้ว่าสิ่งที่พวกเขามีอยู่ในปัจจุบันนี้สามารถคาดหวังได้ในอนาคต การรู้ข้อมูลส่วนบุคคลแบบ Peer-based : การรู้ว่าฉันยืนอยู่ที่ไหนเมื่อเทียบกับเพื่อนและรู้ว่าคนอื่นทำในสถานการณ์เดียวกันสร้างความมั่นใจว่าฉันไม่ใช่คนเดียว การกำหนดค่าส่วนบุคคลแบบ Peer-based ไม่จำเป็นต้องละเมิดนโยบายความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีความโปร่งใสเกี่ยวกับการสร้างข้อมูลการเปรียบเทียบแบบ peerความเชื่อมั่นในโลก ดิจิทัลประสบการณ์ดิจิทัลจำนวนมากยังไม่ได้ก้าวขึ้นสู่ความเชื่อมั่นที่ท้าทายแม้จะมีการสังเกตว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐานของมนุษย์และเหมาะสมกับงานนี้ แทนที่จะให้ประสบการณ์แบบดิจิทัลบ่อยเกินไป "consumerized" สมมติว่าการซื้อคือการซื้อ - การสร้างมากกว่าปั่นมากกว่ามูลค่าของลูกค้า ความเข้าใจที่ควรคำนึงถึง ทุกอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมดิจิทัล แต่เป็นระบบดิจิทัลในลักษณะของตัวเอง แหล่งที่มา
29 พ.ค. 2563
เทรนด์การตลาดออนไลน์ ที่คุณควรรู้ไว้
ลูกค้าของคุณต้องการอะไรลูกค้าของคุณคิดอย่างไรและลูกค้าของคุณมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในแต่ละปีในยุคดิจิตอลเราจะเห็นการเพิ่มขึ้นและการล่มสลายของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแนวโน้มและความทรงจำของสายฟ้าแลบและการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าที่บังคับให้โลกการตลาดออนไลน์มีวิวัฒนาการ ในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมนี้ฉันไม่สามารถช่วยได้ แต่ตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ และเทรนด์ใหม่ ๆ ช่วยรักษาความรู้สึกของฉันไว้ตลอดเวลาและป้องกันไม่ให้งานของฉันน่าเบื่อ ยังคงเป็นเรื่องง่ายสำหรับโอกาสที่จะลื่นในอดีตและบางครั้งก็ยากที่จะคาดเดาได้ว่าแนวโน้มใดจะปรากฏชัดในอนาคตอันใกล้หรือว่าพวกเขาจะพัฒนาได้เร็วเพียงใด ดังนั้นผมจึงชอบที่จะใช้เวลาสิ้นปีในการค้นคว้าและระดมความคิดเพื่อสร้างรายชื่อแนวโน้มที่ผมคิดว่าจะใช้การตลาดออนไลน์ทั่วโลกในปีหน้า นี่คือบางส่วนของแนวโน้มที่สำคัญที่สุดที่ฉันเห็นการพัฒนาในปี 2018 ประสบการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับภาพ ไม่มีใครคาดหวังว่าอุตสาหกรรมเครื่องเสียงจะระเบิดขึ้นในปี พ. ศ. 2560 ในปี พ. ศ. 2565 ลำโพงอัจฉริยะคาดว่าจะเป็นส่วนสำคัญในกว่าร้อยละ 55 ของครัวเรือนของสหรัฐและพวกเขาขายได้แล้วกว่า 20 ล้านเครื่องในปีนี้ คนเดียว คนเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับอุปกรณ์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันโดยใช้คำสั่งเสียงและฟังกลับไปหาผล ผู้บริโภคเริ่มทยอยใช้อินเตอร์เฟซที่ไม่จำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตทางกายภาพและจะมีผลกระทบอย่างมากต่อวิธีที่นักการตลาดสื่อสารกับพวกเขา ไมโครวินาที Google กำหนดช่วงเวลาสั้นๆ ให้เป็นช่วงเวลาที่กระตุ้นให้ลูกค้าใช้โทรศัพท์มือถือได้ทันทีไม่ว่าพวกเขาจะต้องการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างไปที่ไหนสักแห่งทำอะไรหรือซื้ออะไร ในปี 2018 แบรนด์ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเรียนรู้ทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาสั้น ๆ เหล่านี้จะมีความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จสูงสุด ต้องมีการวิจัยทางด้านประชากรศาสตร์และกลยุทธ์ด้านโทรศัพท์มือถือที่ลึกมากขึ้น แต่ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่เราคิดว่าเราจะเห็นได้ในการพัฒนาแบรนด์ในปัจจุบันจะง่ายขึ้น ข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นแนวโน้มที่สำคัญมานานหลายปี แต่ส่วนใหญ่ถูกจำกัด ไว้สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ขณะนี้มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์กว่า6 ล้านคนที่ทำงานเกี่ยวกับโครงการข้อมูลขนาดใหญ่และการเข้าถึงข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเรียนรู้ด้วยเครื่องและ AI ข้อมูลขนาดใหญ่จะมีให้ใช้งานได้มากขึ้นสำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ด้วยแพลตฟอร์มการโฆษณาและวิธีเข้าถึงด้านการตลาดที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ลงในโครงสร้างพื้นฐานตามปกติของพวกเขาจะเป็นการยากที่จะสามารถแข่งขันได้หากคุณไม่ได้แตะที่จุดข้อมูลลูกค้าจำนวนหลายพันที่พร้อมใช้งานขนาดใหญ่ การสื่อสารส่วนบุคคล อินเทอร์เน็ตเป็นสถานที่ที่วุ่นวายจึงง่ายต่อการหลงทางในการเล่นสับเปลี่ยน นั่นเป็นเหตุผลที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมใช้ประสบการณ์เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลรวมถึงการสื่อสารแบบตัวต่อตัวกับแบรนด์ เห็นได้ชัดว่าเป็นวิธีการอย่างหมดจดหนึ่งในหนึ่งที่ไม่ยั่งยืน แต่ที่ว่าทำไมแบรนด์ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นchatbots เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ Chatbots ได้เริ่มเติบโตขึ้นอย่างชาญฉลาดและสามารถปรับแต่งได้มากขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้นจากแบรนด์และผู้บริโภคเหมือนกัน ในตอนท้ายของปีพ. ศ. 2561 chatbot จะกลายเป็นบรรทัดฐานและเป็นเรื่องจำเป็นในทางปฏิบัติหากคุณต้องการให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ส่วนตัวที่มีขนาดใหญ่ นี่ไม่ใช่แนวโน้มที่เราจะต้องมุ่งหวังในปี 2018 แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันดีที่สุดในปัจจุบัน หากคุณยังไม่ได้ใช้นี่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการตรวจสอบกลยุทธ์ของคุณ แหล่งข้อมูล
29 พ.ค. 2563