"ดีพร้อม" รายงานผลการจัดพิธีเปิดงานซอฟต์พาวเวอร์ สาขาแฟชั่นและอาหาร ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 20 ธันวาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 (ครั้งที่ 10) พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะกรรมการจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการที่ได้รับจัดสรรงบกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์เป้าหมาย ซึ่งในส่วนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รายงานผลดำเนินโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร โดยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ได้จัดพิธีเปิดตัวโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี เร่งเดินหน้านโยบาย One Family One Soft Power : OFOS สอดรับการส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) เพื่อให้สอดรับกับนโยบายดังกล่าว นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินโครงการผ่าน 4 กิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย 1) ยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย 2) การพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย 3) ยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน และ 4) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังได้สานต่อความสำเร็จด้วยแผนงานระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2567-2570) คาดสร้างงานและอาชีพกว่า 75,000 ตำแหน่ง เพิ่มรายได้ให้กับเศรษฐกิจของประเทศกว่า 3,500 ล้านบาท อีกทั้ง ดีพร้อมได้ดำเนินโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาแฟชั่น ประกอบด้วย 1) โครงการการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการฝึกอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น 4 ประเภท ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับ หัตถอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ความงาม ประกอบด้วยหลักสูตร Online 10 หลักสูตร และ Onsite 17 หลักสูตร และ 2) โครงการการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล ซึ่งเป็นการสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์เสริมภาพลักษณ์สินค้าอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยสู่เวทีโลกผ่านงาน “ShowPow” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 23 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานครร่วมชูอัตลักษณ์ ผสานดีไซน์ร่วมสมัย พร้อมร่วมเสวนาด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น ตลอดจนการจำหน่ายสินค้าเพื่อทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นรวมกว่า 100 แบรนด์ เสริมด้วยกิจกรรมเวิร์คช้อปสอนแต่งหน้าให้ความรู้ด้านความงาม และการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้า (AI Branding) ยังมีกิจกรรมไฮไลต์พบกับคู่จิ้นนักแสดงซีรีย์ชื่อดัง ที่พร้อมใจมาร่วมสร้างสีสันภายในงาน และยังมีความบันเทิงต่าง ๆ ตลอดการจัดงานด้วย
21 ม.ค. 2568
นายกฯ เปิดงานซอฟท์พาวเวอร์อาหาร ก.อุตฯ เดินหน้าสร้างอาชีพกว่า 75,000 ตำแหน่ง เพิ่มรายได้กว่า 3.5 พันล้านบาท
กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2567 - นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดตัวโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร เดินหน้านโยบาย One Family One Soft Power : OFOS สอดรับการส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) พร้อมด้วย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ศาสตราจารย์ ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เข้าร่วมงาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญของซอฟต์พาวเวอร์ในฐานะเครื่องมือที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านนโยบาย One Family One Soft Power : OFOS ด้วยการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ 14 สาขา ได้แก่ ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ ออกแบบ กีฬา ศิลปะ ศิลปะการแสดง หนังสือ อาหาร แฟชั่น เฟสติวัล เกม ดนตรี ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม Wellness โดยมีต้นน้ำที่สำคัญคือการสร้างคน ต้องมีการสร้าง “นักรบซอฟต์พาวเวอร์” ให้ได้มากที่สุด และปลายน้ำด้วยการนำเอกลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมสร้างสรรค์ของไทยเป็นอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของไทยไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารไทยถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ที่ทรงพลังที่สุด เพราะอาหารไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่ใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน แต่ยังเป็นตัวแทนของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความคิดสร้างสรรค์ ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของคนไทยได้อย่างชัดเจนจากรากฐานสู่ความยั่งยืน ซึ่งสอดรับกับนโยบายของ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ผ่านแผนการดำเนินงานระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2567-2570) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารไทยในหลากหลายมิติ ด้วยการเชื่อมโยงระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่สมบูรณ์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารไทย เป้าหมายสำคัญของแผนงานนี้คือการสร้างโอกาสให้กับคนไทยทุกระดับ ตั้งแต่การสร้างงานและอาชีพกว่า 75,000 ตำแหน่ง ไปจนถึงการเพิ่มรายได้ให้กับเศรษฐกิจของประเทศ รวมมูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) วางแนวทางการสร้างและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ อันประกอบด้วย 5 เสาหลัก คือ 1) ศึกษาและพัฒนาทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 2) พัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย 3) พัฒนาธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถของซอฟต์พาวเวอร์ไทย 4) ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ระดับสากล 5) สนับสนุนปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหารของดีพร้อม ประกอบไปด้วยการดำเนินงานใน 4 กิจกรรมสำคัญ ดังนี้ 1) การยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพอาหาร พร้อมได้ใบรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพผู้ปรุงอาหารมืออาชีพ (เชฟ) ได้ 2) การพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ด้วยการคัดเลือกชุมชนเป้าหมาย เพื่อนำมาเสริมองค์ความรู้สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนให้มีศักยภาพสู่การเป็น 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ต่อไปในอนาคต 3) การยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องมาตรฐาน และส่งเสริมให้ชุมชนใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าให้แก่อาหารชุมชน รวมถึงส่งเสริมการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรแต่ละภูมิภาคในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า และ 4) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพธุรกิจอาหาร ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างชื่อเสียงให้กับอาหารไทยในเวทีโลก แต่ยังเป็นของขวัญปีใหม่ สำหรับพี่น้องคนไทยทุกคน ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนไทย ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงยังช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) โดยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเพิ่มมูลค่าการส่งออกอาหารไทยในตลาดโลก ตอกย้ำถึงความสำคัญของอาหารไทยในระดับสากล ซึ่งโซนไฮไลต์ภายในงาน ประกอบด้วย โซน 8 Food Station ที่นำเสนอ 16 เมนูสุดพิเศษ โดยเชฟเซเลบริตี้ชื่อดัง ที่มารังสรรค์เมนูที่อยู่ในหลักสูตรพัฒนาเชฟให้ได้ชิมกันในงาน โซนศูนย์อัจฉริยะด้านอาหาร นำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบแปรรูปจากชุมชน ที่แสดงถึงนวัตกรรมและศักยภาพของอาหารท้องถิ่น โซนร้านอาหารเชฟชุมชนอาหารถิ่นอาหารไทย (Local Chef Restaurant) เสิร์ฟจริง ชิมจริง กับ 4 เมนูเด็ดที่รังสรรค์โดยชุมชนดีพร้อมตัวอย่างจาก 4 ภาค อีกทั้งยังมีโซนนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืนที่นำเสนอเครื่องดื่มสุดสร้างสรรค์จากมืออาชีพ รังสรรค์เมนูสูตรพิเศษ เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้สัมผัสความโดดเด่นของเครื่องดื่มที่มีรสชาติที่หลากหลาย นอกจากการเปิดตัวโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหารแล้ว ภายในงานยังได้จัดให้มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กับ หน่วยงานภาคีเครือข่ายอีก 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1) สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2) คณะกรรมการอาชีวศึกษา 3) กรมอนามัย 4) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 5) สถาบันคุณสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) 6) สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และ 7) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เพื่อผลักดันซอฟต์พาวเวอร์อาหารไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก โดยเฉพาะในด้านการสร้างมาตรฐานคุณภาพอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสนับสนุนการส่งออกสินค้าอาหารไทย นายเอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย
21 ม.ค. 2568
“รมว.เอกนัฏ” โชว์ “ดีพร้อม” หนุนซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย ในงาน ShowPow ต้อนรับปีใหม่ ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น นำภูมิปัญญาไทยสู่สากล
กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงาน Showpow พร้อมด้วย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เข้าร่วมงาน ณ EM Glass ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส” โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (Local Wisdom) ซึ่งเป็นศักยภาพของคนไทยและทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งอาหารท้องถิ่นไทย ผ้าไทย มวยไทย ศิลปะการแสดงไทย ดนตรีไทย ผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย และสุราชุมชน เพื่อยกระดับสินค้าทั้งด้านมาตรฐาน และดีไซน์ให้ทันสมัย โดดเด่น แตกต่าง และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก รวมทั้งจะสนับสนุนการสอดแทรกทุนทางวัฒนธรรมในภาพยนตร์ไทยและสื่อทุกรูปแบบ อีกทั้งยังมีภารกิจสำคัญที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง การขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม การส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผนวกกับนโยบายการเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ โดยได้มอบหมาย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งบูรณาการกับภาคเอกชนภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า การสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ตามนโยบายการส่งเสริมและยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Culture) เพื่อส่งเสริม Soft Power ของประเทศของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 12 ด้าน 14 คณะ ประกอบด้วย ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ ออกแบบ กีฬา ศิลปะ ศิลปะการแสดง หนังสือ อาหาร แฟชั่น เฟสติวัล เกม ดนตรี ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม Wellness เพื่อให้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยมีความแข็งแรงและยั่งยืน ซึ่งหลักการพื้นฐาน คือ รัฐบาลต้องเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริม และให้ภาคเอกชนได้ใช้ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และความคล่องตัวของตัวเองในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า โดยมีต้นน้ำที่สำคัญคือการสร้างคน ต้องมีการสร้างคนให้ได้มากที่สุด ภายใน 4 ปี (พ.ศ. 2570) ตั้งเป้าว่าจะมีการสร้างคนที่มีทักษะสูงและมีความคิดสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ ประมาณ 20 ล้านคน เรียกว่าเป็น “นักรบซอฟต์พาวเวอร์” ทำให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้ กลางน้ำด้วยการเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์พาวเวอร์ เช่น การสร้างบุคลากรหน้าใหม่ ๆ เข้ามาในวงการ การมีกองทุนสนับสนุนต่าง ๆ และปลายน้ำด้วยการนำวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของไทยไปสู่ตลาดโลก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) หรือ ดีพร้อม ได้ขานรับนโยบายดังกล่าว ด้วยการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ออกแบบผสมผสานความร่วมสมัย คงอัตลักษณ์ ความเป็นไทย รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญา โดยได้บูรณาการร่วมกับภาคเอกชน ผ่านการดำเนิน “โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล” ในกลุ่มผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมแฟชั่นไทย จำนวน 4 สาขา ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ความงาม อัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่นให้มีองค์ความรู้ และสามารถนำอัตลักษณ์ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่มีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเชื่อมโยง Influencer ร่วมสร้างสรรค์เนื้อหาและการเล่าเรื่อง (Storytelling & Content) สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับแบรนด์สินค้าแฟชั่น และเผยแพร่ผ่านช่องทางของ Influencer และผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ รวมทั้งเร่งหาโอกาสทางการตลาดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่น ผ่านการจัดงานแสดงศักยภาพและสื่อสารภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่น Creative Soft Power Fashion Community ภายใต้ชื่องาน “ShowPow” นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงาน “ShowPow” มีกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ประกอบด้วย การแสดง Showcase แฟชั่นโชว์แสดงผลงานสร้างสรรค์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเหล่าดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ พร้อมทั้งการเสวนาด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น การจำหน่ายสินค้าเพื่อทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่น รวมกว่า 100 แบรนด์ เสริมด้วยกิจกรรมเวิร์คช้อปสอนแต่งหน้าให้ความรู้ด้านความงาม และการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้า (AI Branding) นอกจากนี้ ยังมีเหล่า Influencer ตบเท้าเข้าร่วมไลฟ์แนะนำ และร่วมจำหน่ายสินค้าสร้างความคึกคักและกระตุ้นยอดขายภายในงานอีกด้วย ยังไม่เพียงเท่านี้ยังมีกิจกรรมไฮไลท์พบกับคู่จิ้นนักแสดงซีรีย์ชื่อดังอย่าง ต้าห์อู๋-ออฟโรด เข้าร่วมในวันที่ 19 ธันวาคมนี้ ที่บรรดาแฟนคลับพร้อมใจมาร่วมสร้างสีสันภายในงาน และยังมีความบันเทิงต่าง ๆ ตลอดการจัดงาน โดยงานดังกล่างจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 19 – 23 ธันวาคม 2567 ณ EM Glass ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่ใจกลางสุขุมวิทที่เต็มไปด้วยเหล่าบรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมต้อนรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เทศกาลแห่งการมอบของขวัญ เทศกาลแห่งความสุข ซึ่งเป็นโอกาสให้กับแบรนด์ในการสร้างการรับรู้ สร้างยอดขาย และยกระดับนำพาแบรนด์แฟชั่นไทยสู่ Hero Brand ในระดับสากลโดยคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมภาพลักษณ์ และสร้างรายได้ให้แบรนด์แฟชั่นไทยไม่น้อยกว่า 20% อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และต่อยอดธุรกิจในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน "ดีพร้อม ขอเชิญชวนผู้บริโภคร่วม ช้อป ชม แชร์ สนับสนุนสินค้าแฟชั่นไทย ในงาน ShoWPow ระหว่างวันที่ 19 - 23 ธันวาคม 2567 ณ EM Glass ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ พบกับกิจกรรมและสินค้าราคาพิเศษมากมายภายในงาน พร้อมร่วมแชร์ประสบการณ์การซื้อสินค้า เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนซอฟต์พาว เวอร์ไทยสู่สากล" นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
21 ม.ค. 2568
นายกฯ มอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 เชิดชูเกียรติ 41 องค์กรต้นแบบทั่วประเทศ นำการปฏิรูปอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจไทยที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน
กรุงเทพฯ 18 ธันวาคม 2567 - นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) พร้อมด้วย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ "กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมงาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) ปีนี้เป็นปีที่ 32 ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกระดับที่มีความเป็นเลิศในแต่ละด้านตามประเภทรางวัลที่กำหนดในการส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีศักยภาพในทุกด้าน นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้ภาคอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม ได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทยทุกกลุ่มให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไปพร้อม ๆ กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความสำเร็จอย่างสมดุล ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส” ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ” ที่ “เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” ประกอบด้วย มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ มิติที่ 2 ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวมส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ชุมชน และสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตร มิติที่ 3 ความลงตัวกับกติกาสากล ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสู่อุตสาหกรรม สีเขียว เพื่อโอกาสทางธุรกิจมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก และมิติที่ 4 การกระจายรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน รางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) มีจำนวน 14 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล 2. รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น แบ่งเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทการเพิ่มผลผลิต 2) ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3) ประเภทการบริหารความปลอดภัย 4) ประเภทการบริหารงานคุณภาพ 5) ประเภทการจัดการพลังงาน 6) ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 7) ประเภทอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม และ 9) ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน 3. รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น แบ่งเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทการบริหารจัดการที่ดี 2) ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 3) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม และ 4) ประเภทบริหารธุรกิจสู่สากล นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในปีนี้ มีสถานประกอบการสมัครเข้ารับการคัดเลือกจำนวนทั้งสิ้น 162 ราย แบ่งเป็นรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมจำนวน 4 ราย รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 9 ประเภทรางวัล รวม 99 ราย และรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น 4 ประเภทรางวัล รวม 59 ราย โดยในแต่ละปีจะมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมให้กับสถานประกอบการเพียง 1 รางวัล ซึ่งคัดเลือกจากสถานประกอบการที่เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ประเภท และเป็นสถานประกอบการที่มีการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากลและมีความเป็นเลิศทั้งในด้านการผลิต การตลาด และการลงทุน มีการนำความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้ง การนำนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของตนเอง และสามารถสร้างการพัฒนาให้กับอุตสาหกรรมในภาพรวมได้อย่างชัดเจน ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกต้องผ่านหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดหลายด้าน โดยมีผู้ได้รับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 41 ราย ได้แก่ รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล ซึ่งผู้ได้รับรางวัลคือ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (โรงงานเกตเวย์) จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้รับเกียรติจาก นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการบรหิารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ขึ้นรับรางวัล ขณะที่รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น จำนวน 9 ประเภทรางวัล มีสถานประกอบการได้รับรางวัล 23 ราย และรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น จำนวน 4 ประเภทรางวัล มีสถานประกอบการได้รับรางวัล 17 ราย โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับรางวัลได้ที่ https://industryaward.industry.go.th/th นอกจากนั้น ในปีนี้กระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้มีรางวัลพิเศษมอบให้แก่สถานประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2567 คือ ทูตอุตสาหกรรมภาคเอกชน หรือ MIND Ambassador ซึ่งรางวัลนี้เปรียบเสมือนตัวแทนของกระทรวงอุตสาหกรรมจากภาคเอกชนที่จะเป็นต้นแบบการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมที่อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและส่งเสริม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนช่วยประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และบริการของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป “รางวัลอุตสาหกรรม เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่ทรงคุณค่า สมควรมอบให้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือก เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ประกอบการในอนาคต ซึ่งจะทำให้เกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งหวังให้มีสถานประกอบการสมัครเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานในด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมให้อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป” นายเอกนัฏ กล่าวปิดท้าย
21 ม.ค. 2568
"ปลัดณัฐพล" นำทีมดีพร้อม รวมพลังร่วม 7 หน่วยงาน ขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมฮาลาลให้เติบโตในตลาดสากล ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 17 ธันวาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมการสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล ครั้งที่ 2 พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ คุณประเสริฐจิต ศรีนิลทา ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย นายชาตรี เวทสรณสุธี รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นางนุจรี ภักดีเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารกลุ่มงานธุรกิจรายย่อย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รศ.ดร. วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวอารดา ปาลาเลย์ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว ได้มีการเสนอแนวทางการสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล โดย สำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รวมไปถึงแนวทางเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล โดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ดีพร้อม เตรียมจัดกิจกรรมแถลงข่าวการสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอด การขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล "เรียนแล้ว รับรองได้ ลงทุนง่าย ขายส่งออกเป็น" ภายใต้แนวคิด สานพลังแหล่งเงินทุน รวมพลัง 7 หน่วยงาน สู่การขับเคลื่อน SMEs ฮาลาลไทย ก้าวไกลสู่ตลาดโลก ในวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ซึ่งภายในงานจะมีการออกบูธแสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองฮาลาล และบูธคลินิกสถาบันการการเงิน เพื่อดันอุตสาหกรรมฮาลาลจะเติบโตก้าวไกล เชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งเงินทุน เสริมแกร่งด้วยด้วยหน่วยงานส่งเสริมความรู้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ฮาลาลไทยทั่วประเทศ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมฮาลาลให้เติบโตในตลาดสากลอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
21 ม.ค. 2568
“ปลัดณัฐพล” นั่งหัวโต๊ะ หารือ ดีพร้อม ร่วม CISPI วางแผนพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารและแฟชั่น เดินหน้าปฏิรูปอุตสาหกรรม ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" ดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล
กรุงเทพฯ 17 ธันวาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อาหาร เกม แฟชั่น และผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ภูมิภาค พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางพิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล ประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์ (CISPI) คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์ ภายใต้การดำเนินงานของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการนำเสนอแผนการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพใน 3 อุตสาหกรรมนำร่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร แฟชั่น และเกม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในการสะท้อนความเป็นไทยและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ อีกทั้งได้หารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในการผลักดันด้านอุตสาหกรรมอาหาร ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1) การผลักดันมาตรฐานคุณภาพ และระบบ TRACEABILITY เพื่อสร้างความเชื่อมั่นตลอดห่วงโซ่อุปทานด้านอาหาร 2) การส่งเสริมอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดึงดูดตลาด และ 3) การพัฒนาหลักสูตรสร้างบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยการพัฒนาทักษะบุคลากรให้ครอบคลุมทั้งการผลิต การจัดการ และการตลาด และส่งเสริมความรู้ด้าน E-Commerce และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รวมไปถึงการผลักดันด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น ประกอบไปด้วย 1) นวัตกรรมผ้าไหม ใส่สบาย ใช้สะดวกตอบโจทย์ชีวิตประจำวันด้วยการพัฒนาผ้าไหมที่ใส่สบายและเหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยการใช้นวัตกรรมใหม่ เช่น การลดการยับและการซักง่าย เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา และ 2) โครงการร่วมสร้างแบรนด์แฟชั่นไทย ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกระทรวง สถาบันฯ และผู้ประกอบการในการพัฒนาแบรนด์ ใช้เอกลักษณ์ความเป็นไทย (Thainess) ในการสร้างแบรนด์ระดับโลก เน้นความโดดเด่นของแฟชั่นไทยในตลาดสากลผ่านการผสมผสานนวัตกรรมและวัฒนธรรมไทย
21 ม.ค. 2568
เลขารัฐมนตรีฯ พงศ์พล และรองอธิบดีสุรพล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน OTOP City 2024
กรุงเทพฯ 17 ธันวาคม 2567 - นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพิธีเปิดงาน OTOP City 2024 “มอบความสุขด้วยของขวัญล้ำค่า จากภูมิปัญญาไทย” โดยมี นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับการจัดงาน " OTOP City 2024 " ในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้ธีมงาน "มอบความสุขด้วยของขวัญล้ำค่า จากภูมิปัญญาไทย" เนื่องด้วยภูมิปัญญาและความปราณีตในการสร้างสรรค์ของไทยมีชื่อเสียงมายาวนาน แต่ละผลิตภัณฑ์มีอัตลักษณ์เฉพาะตน นำมาซึ่งการต่อยอดในการแสดงศักยภาพที่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากฝีมือของภูมิปัญญาคนไทย นอกจากนี้บรรยากาศภายในงานยังอ้างอิงจากเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาที่แสดงความเป็นท้องถิ่นไทยในแต่ละภูมิภาค ผสานกับสีสันส่งท้ายปีที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานของกิจกรรม และของรางวัลมากมาย ในแต่ละวัน โดยภายในงานมีโซนและกิจกรรมที่มีความหลากหลาย อาทิ 1. โซนนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. โซน OTOP Trader จังหวัด และ OTOP Traderประเทศไทย 3. โซน Health & SPA ได้สร้างสรรค์พื้นที่ภายในงานให้ทุกท่าน ได้พักผ่อนหย่อนใจไปกับบรรยากาศที่ผ่อนคลายสไตล์สปาไทย มีทั้งการนวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อผ่อนคลาย และการนวดเพื่อความงาม ซึ่งภายในโซนยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรคุณภาพดีให้ทุกท่านได้เลือกช้อป 4.โซนแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP 3-5 ดาว ที่ผ่านการคัดสรรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2566 กว่า 1,800 บูธ 5. โซนโอทอปชวนชิม มากกว่า 160 ร้านค้าทั่วประเทศ และยังมีไฮไลท์สำคัญ ได้แก่ โซนศิลปิน OTOP จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากศิลปิน OTOP ที่อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น, โซนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีและผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี, โซนผ้าไทยใส่ให้สนุก, โซน First Lady เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินนักร้องชื่อดังมาร่วมสร้างความบันเทิง ได้แก่ ตรี ชัยณรงค์, ไรอัล กาจบัณฑิต, เต๋า ภูศิลป์, เปาวลีและแหนม รณเดช รวมถึงการจับสลากรางวัลชิงโชค ไม่น้อยกว่า 20 รางวัลทุกวัน และในวันสุดท้ายของการจัดงาน ร่วมลุ้นรับรางวัลใหญ่ทองคำ มูลค่ากว่า 400,000 บาท ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ร่วมจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากศิลปิน OTOP ภายใต้แนวคิดการจัดงาน "Gift For You By DIPROM ของขวัญจากใจ ชาวดีพร้อม" โดยมีผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 52 ราย / 40 บูธ เข้าร่วมจำหน่ายและแสดงสินค้าภายในงานดังกล่าว ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมขอเชิญทุกท่านเที่ยวชมงานสุดยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี ช้อปสนุกกับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญารวบรวมที่สุดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจากทั่วไทย พลาดไม่ได้กับสุดยอดอาหารเลิศรสจากทั่วประเทศ พร้อมกิจกรรมความสนุกและศิลปินที่จะมามอบความสุขให้กับทุกท่าน ตั้งแต่วันที่ 14-22 ธันวาคม 2567 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
20 ม.ค. 2568
“ดีพร้อม” ประชุมคณะอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ ร่วมหารือการจัดประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 13 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการจัดการประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ ครั้งที่ 1/2567 (ครั้งที่ 5) พร้อมด้วย คณะอนุกรรมการจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Microsoft Teams การประชุมในครั้งนี้ เป็นการรายงานการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการจัดการประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ และร่วมหารือแนวทางจัดการประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี 2568 ซึ่งเป็นงาน Forum ระดับนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ โดยจะมีการนำเอาวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และแรงบันดาลใจจาก 11 สาขาอุตสาหกรรม สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ผ่านทักษะทางวัฒนธรรมและสังคม อันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย เพื่อก้าวเข้าสู่เวทีระดับสากล ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นการมุ่งเน้นวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ 1) สร้างความตระหนักรู้ด้านซอฟต์พาวเวอร์ 2) สร้างความเข้าใจต่อทิศทางการดำเนินการด้านซอฟต์พาวเวอร์ และ 3) ผลักดันบทบาทของซอฟต์พาวเวอร์ไทยในเวทีระดับสากล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการด้านซอฟต์พาวเวอร์ รวมถึงส่งเสริมศักยภาพทางการแข่งขันผ่านการเชื่อมโยงความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา อีกทั้งจะเป็นการสนับสนุนกลไกในการสร้างความร่วมมือส่งเสริมด้านซอฟต์พาวเวอร์ระหว่างประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ในระดับสากลต่อไป
20 ม.ค. 2568
เขย่าวงการโลจิสติกส์ไทย! จับตา 'ดีพร้อม' สยายปีกรุก “ภาคขนส่งสีเขียว” หนุนนโยบาย ”รมว.เอกนัฏ“ BCG-driven Enterprise โชว์ต้นแบบ 25 กิจการ ลดก๊าซเรือนกระจกกว่า 6,000 ตันคาร์บอน สร้างมูลค่าโดยรวมเกิน 200 กว่าล้านบาทต่อปี
กรุงเทพฯ 13 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดและมอบวุฒิบัตรในกิจกรรมการกระจายสินค้าของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมตามแนวทาง BCG Model ภายใต้โครงการการยกระดับ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน โดยมี นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องพระยา 1 ชั้น 3 โรงแรมเดอะควอเตอร์ เจ้าพระยา บาย ยูเอชจี คลองสาน นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาสังคมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสถานประกอบการโดยการพัฒนาองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด BCG เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นกติกาทางการค้าที่อุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้อง ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ดำเนินการตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” โดยได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งส่งเสริมและกำกับดูแลภาคอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อม ๆ กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนอย่างแท้จริง รวมถึงการดึงดูดการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีศักยภาพ ตลอดจนต้องการยกระดับเศรษฐกิจไทยไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ขานรับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมผ่านการดำเนินโครงการการยกระดับธุรกิจ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ด้วยการช่วยเหลือและยกระดับธุรกิจเอสเอ็มอี (SMEs) ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตให้มิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG-driven Enterprise) ลดต้นทุนการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงจากชีวมวล (Biomass) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ภายในสถานประกอบการ (Upcycled Product) รวมถึงได้ดำเนินการ “กระจายสินค้าของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมตามแนวทาง BCG Model” ซึ่งเป็นการพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตที่มีคลังสินค้าและ/หรือขนส่งของตนเอง และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (Logistics Service Provider) เช่น บริการขนส่ง คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศให้สามารถรวบรวมข้อมูลและเตรียมความพร้อมที่จะขอการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) พร้อมกับการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนขององค์กร โดยเฉพาะระบบการ Tracking รถขนส่งเพื่อติดตามเส้นทาง พฤติกรรมการขับขี่ และประสิทธิภาพการใช้รถ โดยมีสถานประกอบการผ่านการคัดเลือกจำนวน 25 ราย ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายผลการยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้กว่า 206 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 6,000 ตันคาร์บอนต่อปี ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความพร้อมที่จะยื่นขอใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นต์องค์กร (CFO) จำนวน 5 กิจการ นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ดีพร้อม ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ECO Move ระบบขนส่งลดคาร์บอนด้วยโลจิสติกส์เทคโนโลยีตามแนวทาง BCG Model ภายใต้กิจกรรมการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตสู่อุตสาหกรรมผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) การให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์สีเขียว (Green Transport) และการอบรมด้าน Green Logistics และมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ตาม ISO 14064-1 ผู้ประกอบการสามารถติดตามข่าวสารของ ดีพร้อม ผ่านช่องทาง DIPROM Service (www.diprom.go.th) นอกจากจะลดต้นทุนและลดของเสีย เปลี่ยนต้นทุนเป็นรายได้และกำไร พร้อมสร้างเครือข่ายใหม่ ๆ แล้ว ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมของประเทศไทย ส่งผลต่อการเข้าถึง มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศได้ไวยิ่งขึ้นอีกด้วย นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
17 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" จับมือ "EXIM BANK" เดินหน้านโยบาย "รมว.เอกนัฏ" สร้างธุรกิจสีเขียว ส่งเสริมผู้ประกอบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่อย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 11 ธันวาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นำโดย ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมคณะ ในประเด็นการร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ โดยมีคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการสร้างโอกาสความร่วมมือและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง ดีพร้อม และ EXIM BANK ซึ่งดีพร้อมเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง เพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยให้สามารถพัฒนาธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ให้ต่อยอดสู่สากลได้ ส่วนของ EXIM BANK ถือเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของไทยให้เติบโตในเวทีโลกอย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวในภาคการเงิน ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยในการสนับสนุนการเข้าสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ดีพร้อม และ EXIM BANK ได้เล็งเห็นโอกาสในการร่วมมือกันสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว อาทิ การอบรมเพิ่มองค์ความรู้ 2) การจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ในการสนับสนุนทางด้านการเงินและการวิเคราะห์คู่ค้า 3) การส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ โดยการเข้าไปช่วยวิเคราะห์ธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมผลักดัน และ 4) การส่งเสริมวิสาหกิจให้เติบโตบนพื้นฐานของความยั่งยืนผ่านการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศให้เพิ่มขึ้น ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
16 ม.ค. 2568