"อธิบดีดีพร้อม" นำทีมส่งมอบ "ถุง MIND ไม่ทิ้งกัน" ส่งต่อความห่วงใยของ “รมต.เอกนัฏ” นำอุตสาหกรรมรวมใจพร้อมให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วประเทศ
กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมขนย้าย "ถุงอุตสาหกรรมรวมใจ MIND ไม่ทิ้งกัน" ขึ้นรถบรรทุกเพื่อลำเลียงไปส่งมอบเป็นกำลังใจให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดชุมพร ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ซึ่งภายในถุงบรรจุสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น เป็นถุงยังชีพที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม เป็นกำลังใจให้กับผู้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดชุมพรในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการเตรียมมาตรการป้องกันให้พร้อมรับมือกับปัญหาภัยพิบัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชน
19 พ.ย. 2567
"ดีพร้อม" วิพากษ์ผลของคณะทำงานศึกษาปรับปรุงกฎหมายอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร โชว์นโยบาย "รมต.เอกนัฏ" แนวทางการช่วยเหลือ Disrupted Industries อุตสาหกรรมที่หยุดชะงัก และการส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่ยุค Digital Transformation
กรุงเทพฯ 14 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานศึกษาปรับปรุงกฎหมายเพื่อดูแลอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและไม่สามารถปรับตัวได้ทัน (Disrupted Industries) ภายใต้คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร โดยมี ว่าที่ร้อยตรีไพศาล เอกคณิต เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ ในโอกาสขอเข้าพบ พร้อมหารือแนวทางการแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมหลักที่ได้รับผลกระทบ ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การเข้าพบครั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้แจ้งวัตถุประสงค์ถึงการดูแลและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยศึกษาปัญหาของอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมทางการเกษตร ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและไม่สามารถปรับตัวได้ทัน รวมถึงพิจารณาศึกษากฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยรัฐที่ดูแลส่งเสริมการอุตสาหกรรม และเสนอแนะการปฏิรูปกฎหมายหรือการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่และบทบาทของดีพร้อม อีกทั้ง ได้เสนอผลการศึกษา และแนวทางการช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่หยุดชะงักด้วยการที่ดีพร้อมให้การช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ถูก Disrupt ผ่านการส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่ยุค Digital Transformation การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม ด้วยการ Upskill/Reskill บุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้สามารถยกระดับการประกอบการให้มีความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่เป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการไทยผ่านระบบนิเวศเศรษฐกิจโดยใช้ Digital Economy การจัดสรรเงินกองทุน การส่งเสริมการเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม และการผลักดัน Low Carbon Industry รวมถึงการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ สศอ.ควรสร้าง Digital Economy เป็น Ecosystem Economy ถ่ายทอดผลงานวิจัยจาก สวทช. ไปสู่ ดีพร้อม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ เร่งรัดให้เกิดการรายงานข้อมูลการปฏิบัติทั้งที่เป็น "กฏหมาย และไม่ใช่กฏหมาย" เข้าระบบและนำมาประมวลผลจัดระดับโรงงานชั้นดี และสิทธิประโยชน์ทางภาษีและด้านการเงิน รวมถึงการผลักดันการซื้อขาย Carbon Credit ระดับ T-Ver การสร้างกลไกการทำ Life Cycle Assessment : LCA และการกำกับติดตามปัญหา "นอมินี" นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้เสนอให้ดีพร้อมส่งข้อมูลเรื่องการขอจัดตั้งกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม และศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มในรานงานการศึกษา ประกอบด้วย ภารกิจ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมตัวชี้วัดของทั้ง 2 หน่วยงาน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของคณะทำงานฯ ต่อไป ทั้งนี้ รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญา ได้ชี้แจงว่า ตามบทบาท ภารกิจของดีพร้อมจะดูแลครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มอุตสาหกรรมรายใหญ่ กลุ่มอุตสาหกรรมหกรรมเป้าหมายในอนาคต หรือ S-Curve รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน แม้กระทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพ ซึ่งตอนนี้กำลังมุ่งเน้นภารกิจในการขับเคลื่อนภาคเกษตรอุตสาหกรรม โดยการนำศาสตร์ของอุตสาหกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้กับด้านเกษตร เพื่อพัฒนาต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ไปจนถึงการตลาด อีกทั้งดีพร้อมยังมีเซ็นเตอร์กระจายตัวทั่วทุกภูมิภาค และได้ถูกกำหนดเป็นศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมนำร่อง คือ เกษตรอุตสาหกรรม เพื่อรองรับในเรื่องผลผลิตที่ล้นตลาดนำมาแปรรูปทำให้เกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่สามารถไปทดลองการผลิตและทำต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของตลาดยานยนต์จะไปในทิศทางของพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลไทยจึงมีมาตรการส่งเสริมการผลิตและการใช้รถ EV เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสนับสนุนรถยนต์ ICE และ HEV ที่มีคุณภาพมาตรฐานสูงขึ้น เพื่อรักษาการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญของโลก พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมเหล็กไทยให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อลดผลกระทบจากการกีดกันทางการค้าและเพิ่มความสามารถในการส่งออก
18 พ.ย. 2567
รมว.เอกนัฏ หารือ กมธ.พาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ร่วม”สู้ เซฟ สร้าง“ ก้าวผ่านความท้าทาย เซฟอุตสาหกรรมไทย
กรุงเทพฯ 14 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หารือคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา นำโดยนายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานคณะกรรมการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน และรับทราบแนวทางการดำเนินนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะเป็นแนวร่วมในการผลักดันและขับเคลื่อนภารกิจที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานที่ปรึกษาคณะทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนายพิชิต มินทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมของคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ประกอบด้วย นายเอกชัย เรืองรัตน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่หนึ่ง นางรจนา เพิ่มพูน รองประธานคณะกรรมการคนที่สาม นางสาวตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่สี่ นายสหพันธ์ รุ่งโรจน์พณิชย์ รองประธานคณะกรรมการคนที่ห้า และคณะกรรมาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมหารือด้วย ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม หลังจากสถานการณ์โรคระบาด ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เกิดความเปลี่ยนแปลงของโลก และนับเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทย ที่ต้องรับมือความท้าทายใหม่ๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัว พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยไปสู่ตลาดโลก โดยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา พบว่านักลงทุนต่างชาติสนใจมาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งไทยมีความสมดุลทางด้านทรัพยากร และห่วงโซ่อุปทาน จึงมีความได้เปรียบในการเพิ่มขีดความสามารถด้านความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยผ่านการขับเคลื่อนด้วยนโยบาย “สู้ เซฟ สร้าง” ที่มุ่งหวังเติมเต็มห่วงโซ่อุปทาน เซฟธุรกิจไทย ต่อสู้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เดินหน้าไปสู่ความยั่งยืน สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาส ในการแข่งขันทางธุรกิจ และสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก โดยใช้ 3 ปฏิรูป 3 แนวทาง ได้แก่ ปฏิรูป 1 จัดการกากสารพิษที่ทำร้ายชีวิตประชาชน โดยการปรับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน จัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูประบบอุตสาหกรรม สร้างความยั่งยืน และฟื้นฟู เยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการ จัดการกากอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ปฏิรูป 2 สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย ปกป้องและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการไทย สร้างความเท่าเทียมด้านกฎระเบียบและภาษีระหว่างร้านค้าที่มีหน้าร้านในไทยผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในไทยและผู้ประกอบการออนไลน์ต่างประเทศ การตรวจสอบมาตรฐานสินค้ากระบวนการผลิตสินค้า และวัตถุอันตราย และการนำเข้าที่ต้องควบคุมเป็นการทั่วไปและในเขต Free Zone การยกระดับขีดความสามารถให้แข่งขันได้ กลไกการส่งเสริมจากภาครัฐผ่าน DIPROM และสถาบันเครือข่าย ผลักดันมาตรการ “Made in Thailand" และปฏิรูป 3 สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ก้าวทันโลก เพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุนการผลิต ปรับการผลิตให้ยืดหยุ่นเพิ่มขีดความสามารถด้วยระบบอัตโนมัติ ดิจิทัล และAI พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการใช้พลังงานสีเขียวทางด้านคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา กล่าวว่า ภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องส่งเสริมหรือพัฒนาอุตสาหกรรม เอสเอ็มอี รวมถึงไมโครเอสเอ็มอี ที่มีความเปราะบางในการดำเนินกิจการ มีปัญหาต้องเร่งแก้ไข ซึ่งจากการรับฟังนโยบายของรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมในวันนี้ ถือว่าการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมตรงกับความต้องการคณะกรรมาธิการฯ คือการคำนึงถึงผู้ประกอบการรายเล็กๆ เป็นอันดับแรก แต่อยากเน้นย้ำให้ติดตามการส่งเสริม สนับสนุน ผู้ประกอบการรายใหญ่จนถึงไมโครเอสเอ็มอีในทุกมิติ เพื่อให้ทุกกิจการยังคงดำเนินไปได้ และนำพาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตขึ้น ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนายพิชิต มินทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมของคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ประกอบด้วย นายเอกชัย เรืองรัตน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่หนึ่ง นางรจนา เพิ่มพูน รองประธานคณะกรรมการคนที่สาม นางสาวตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่สี่ นายสหพันธ์ รุ่งโรจน์พณิชย์ รองประธานคณะกรรมการคนที่ห้า และคณะกรรมาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ
18 พ.ย. 2567
"CIO ดีพร้อม" ปรับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยกระดับ Ecosystem รองรับการปฏิรูปอุตสาหกรรม และการบริการภาครัฐทันสมัย
"CIO ดีพร้อม" ปรับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยกระดับ Ecosystem รองรับการปฏิรูปอุตสาหกรรม และการบริการภาครัฐทันสมัย กรุงเทพฯ 14 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (CIO) ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และระบบออนไลน์ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการพิจารณากรอบระยะเวลาการจัดทำคำของบประมาณโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เพื่อรับทราบผลสำรวจความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของ กสอ. ปี 2567 และแผนการดำเนินงาน ปี 2568 การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ.2566 - 2570 ชี้แจงการจัดทำคำของบประมาณด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของดีพร้อม ปี 2569ให้เป็นไปตามมาตรฐานของ DE (Digital Economy) และข้อกำหนดของ CIO ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการดึงจุดแข็งในด้านของโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและเรื่องของซัพพลายเชนที่เข้มแข็งให้ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะลงทุนในเรื่องของเม็ดเงินการลงทุนใหม่ ๆ ในอนาคต โดยดีพร้อมได้เตรียมการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานและแผนงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร การพัฒนาองค์กรด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลและการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน การพัฒนาระบบสนับสนุนการให้บริการผู้ประกอบการ ประชาชน และการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและมาตรการการรับมือภัยคุกคามหรือความเสี่ยงทางไซเบอร์ และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัล เพื่อยกระดับการให้บริการ และการดำเนินงานของกรมฯ สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างครบวงจร
18 พ.ย. 2567
"อธิบดีดีพร้อม" OPEN HOUSE: Green Technology & Innovate Healthcare for Japan and Thailand Business Matching เร่งเครื่องยนต์อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ "รมต.เอกนัฏ" ชี้เครือข่ายธุรกิจการแพทย์และสิ่งแวดล้อมไทยยั่งยืน
กรุงเทพฯ 13 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมและกล่าวเปิดงาน OPEN HOUSE : Green Technology & Innovate Healthcare for Japan and Thailand Business Matching พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายพลาวุธ วงวิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ณ ศูนย์ Knowledge Xchange (KX) ที่จัดขึ้นโดย จังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การจัดงานดังกล่าว เป็นการจับคู่เจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการจากจังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น และผู้ประกอบการ SME ไทยในกลุ่มธุรกิจ Healthcare & Wellness Tech & Green Tech สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ตัวแทนจำหน่ายสินค้า หรือเครื่องมือทางการแพทย์ บริษัทหรือโรงงานผู้รับผลิตสินค้าในไทย ซึ่งภายในงานดังกล่าวสำนักงานจังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น ได้นำคณะผู้ประกอบการเข้าร่วมงานฯ ดังกล่าว ได้แก่ 1) บริษัท Mikuniya Corporation ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องลดปริมาณขยะอินทรีย์ เพื่อนำขยะที่ย่อยสลายแล้ว ไปหมุนเวียนใช้เป็นปุ๋ย 2) บริษัท CC. Kendensha Co., Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่ายสารตกตะกอนที่ผลิตจากดินแดง และกากอ้อย เพื่อปรับสภาพน้ำเสียให้กลับมาใสสะอาด 3) บริษัท e-Grid Inc. ผู้พัฒนาเทคโนโลยี AI สำหรับการบริหารจัดการเอกสารในธุรกิจ 4) บริษัท Erisa Co., Ltd. ผู้พัฒนาโปรแกรมประเมินความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมโดยใช้เทคโนโลยี AI 5) บริษัท Resvo Inc. ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ตรวจวัดความเครียดผ่านปัสสาวะ ซึ่งภายในงานฯ ดังกล่าว มีผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจและเข้าร่วมประมาณ 100 ราย ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ คณะผู้บริหารดีพร้อม ได้เข้าร่วมประชุมกับนายนากาอิ ทัตสึยะ ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนการขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศ สำนักงานจังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น และคณะ เพื่อหารือถึงแนวทางการต่อยอดความร่วมมือ ระหว่าง ดีพร้อม และจังหวัดชิมาเนะ ในการร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ ที่ทั้งสองหน่วยงานมีความสนใจร่วมกัน โดยจังหวัดชิมาเนะ ให้ความสนใจกับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนในปัจจุบัน ทั้งนี้ ดีพร้อม ก็มีความสนใจที่จะยกระดับอุตสาหกรรมดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยมีนโยบายที่จะเป็น Medical Hub ประกอบกับกระแสรักษ์โลกทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องปรับตัวสู่ Green Industry หรืออุตสาหกรรมสีเขียวในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น งานเจรจาจับคู่ธุรกิจในวันนี้ จึงเป็นเหมือนก้าวสำคัญของทั้งประเทศไทย และจังหวัดชิมาเนะ ที่จะยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่สากลร่วมกัน
15 พ.ย. 2567
"ดีพร้อม" เดินหน้าโครงการปี 2568 พร้อมทบทวน ปรับปรุง เป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อจัดทำขอคำงบประมาณประจำปี 2569
กรุงเทพฯ 12 พฤศจิกายน 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมการประชุมชี้แจงการจัดสรรผลผลิตและแนววิธีปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเตรียมการจัดทำขอคำงบประมาณประจำปี 2569 ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงเกี่ยวกับกระบวนการขออนุมัติงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยแต่ละหน่วยงานจัดทำข้อมูลโครงการ และดำเนินการจัดส่งรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายละเอียดโครงการ พร้อมอนุมัติรายละเอียดโครงการต่อไป อีกทั้ง ยังได้กำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้เป็นไปตามเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณภาพรวม ซึ่งประกอบด้วย งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบอุดหนุน งบลงทุน และงบรายจ่ายอื่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ทบทวน ปรับปรุง เป้าหมายผลผลิต/โครงการ กิจกรรม ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ พร้อมจัดทำแผนผังความเชื่อมโยง และเตรียมจัดทำคำงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เพื่อเตรียมรวบรวมคำของบประมาณในภาพรวมของดีพร้อมส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนดต่อไป
14 พ.ย. 2567
“กินในไทย พกไปขายญี่ปุ่น ร่วมทุนได้จริง" รมต.เอกณัฏ สั่งดีพร้อมทำทันที จับมือแล้ว WAKATAM INC. บริษัทผลิตขนมรายใหญ่ จังหวัดนางาซากิ ปั่นกระแส Soft Power อาหารพื้นถิ่น สื่อญี่ปุ่นขานรับ
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับนายวากาซุงิ คาซุยะ (Mr. WAKASUGI Kazuya) ผู้บริหารของบริษัท Wakatam Inc. ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมเค้กไข่ (Castella) รายใหญ่ของจังหวัดนางาซากิ และภูมิภาคคิวชู (ตอนใต้) ของญี่ปุ่น พร้อมประชุมเพื่อหาแนวทางยกระดับอุตสาหกรรมขนม และต่อยอด Soft Power ด้านอาหารของไทยสู่ตลาดสากล ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมได้กล่าวถึงการบูรณาการที่ผ่านมาของ ดีพร้อม กับจังหวัดนางาซากิได้มีการยกระดับและพัฒนาศักยภาพโกโก้ พร้อมผลักดันผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากโกโก้ เพื่อทำให้เป็นที่ต้องการในตลาดสากลมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ประเทศไทยยังมีวัตถุดิบที่เหมาะกับการทำขนมอีกหลากหลายชนิด อาทิ มะพร้าว และมะม่วง ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เชื่อมโยงการผลิตระหว่างกัน ในแนวทาง "กินในไทย พกไปขายญี่ปุ่น ร่วมทุนได้จริง" เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ตลาดสากล ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัท Wakatam Inc. ดำเนินธุรกิจด้านขนมเค้กไข่มานานแล้ว โดยเมื่อปี 2566 ได้มีโอกาสเชื่อมโยงกับบริษัท ผึ้งน้อย เบเกอรี่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อผลิตขนมเค้กไข่ออกจำหน่ายในร้าน MUJI ทั้ง 15 สาขาในประเทศไทย โดยตั้งใจว่าจะใช้วัตถุดิบบางชนิดจากประเทศไทย เพื่อให้สะท้อนถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น เช่น น้ำผึ้งจากเชียงใหม่ ที่มีความหอมเฉพาะตัว ซึ่งปัจจุบันได้มีการวางจำหน่ายมาแล้วเป็นเวลา 3 เดือน และได้รับกระแสตอบรับที่ดี ดังนั้น บริษัท Wakatam Inc. จึงต้องการมองหาโอกาสเพิ่มเติมในการขยายความร่วมมือผลิตขนมเค้กไข่และชนิดอื่น ๆ ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาธุรกิจขนมร่วมกันผ่านการประยุกต์องค์ความรู้และความประณีตแบบญี่ปุ่นเข้ากับวัตถุดิบชั้นเลิศของประเทศไทย
14 พ.ย. 2567
เอกนัฏ ถก สภาอุตฯ วางแนวทางรองรับมาตรการ EUDR ไม่ให้กระทบอุตสาหกรรมส่งออกไทย
กรุงเทพฯ 12 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้คณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) เข้าพบเพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการภายใต้กฎหมาย EUDR โดยมี นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร นายวิกรม วัชรคุปต์ กรรมการบริหาร รองประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร และคณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมหารือ พร้อมด้วย นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิการบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับวัตถุประสงค์การหารือในครั้งนี้ เพื่อเป็นการหาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการภายใต้กฎหมาย EU Deforestation-free Product Regulation: EUDR (กฎหมายว่าด้วยการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า) ซึ่งเป็นกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า โดยกำหนดให้ส่งออกและนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ 7 กลุ่มของ EU ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน วัว ไม้ กาแฟ โกโก้ และถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสินค้าเหล่านี้ ต้องดำเนินการตรวจสอบสถานะและรายงานที่มาของสินค้า เพื่อให้ความมั่นใจว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายไม่ได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่า จากประเด็นดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในภาพรวมดังนี้ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนสูงขึ้น เนื่องจาก EUDR กำหนดให้ผู้นำเข้าในสหภาพยุโรป หรือ EU ที่ต้องการซื่อสินค้าเป้าหมายทั้ง 7 กลุ่ม จากประเทศไทย ต้องตรวจสอบ DUE GILIGENCE ว่าสินค้าจากไทยไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าและมาจากการผลิตที่ถูกต้องตามกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากผู้ส่งออกไทยเพื่อยืนยัน ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากผู้ประกอบไทยบางรายไม่สามารถขายสินค้าใน EU ได้ ทั้งนี้ การหารือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้มีการจัดทำ การยืนยันพื้นที่การทำเกษตรว่าพื้นที่ใดไม่อยู่ในเขตพื้นที่ป่า เพื่อทำ Geolocation Map ออกมาตรการบังคับใช้เกี่ยวกับการปลูกพืชแต่ละชนิดที่จะส่งออกไปขายยัง EU ทำระบบ Audit และรับรอง Auditor เพื่อตรวจสอบขั้นตอนการปลูกพืชว่าถูกต้องตามกฎระเบียบหรือไม่ จัดทำฐานข้อมูลการจดทะเบียนเกษตรกรทั้ง Supply chain การเจราจาเรื่อง Map ของไทย กับ EU ให้เป็นที่ยอมรับ และทำระบบ Traceability ให้มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใสและตรวจสอบได้ รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือการจัดทำฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องมีการวาง Platform, Database และหน่วยงานเจ้าภาพในการจัดทำ เป็นตัวกลางในการประสานงาน ทั้งด้านการเกษตร ด้านมาตรฐาน และด้านพื้นที่เพาะปลูก โดย กระทรวงอุตสาหกรรม มีการจัดทำฐานข้อมูล I-Industry และระบบ I-Single Form ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ ข้อมูลของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย ในการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ และเกษตรกร ข้อมูลเหล่านี้เป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้เป็นระบบฐานข้อมูลแบบครบวงจรได้ ตัวอย่างเช่น การลงทะเบียนพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน โกโก้ ว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่ป่า ไม่ได้บุกรุกทำลายป่า เป็นต้น ซึ่งระบบนี้ จะเป็นการรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นการลดขั้นตอนในการตรวจสอบของผู้ประกอบการ โดยในอนาคตจะส่งผลดีต่อประเทศไทยในการวางระบบของฐานข้อมูลในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขยายฐานข้อมูล การบูรณาการด้านการเกษตร ด้านการผลิต ด้านการส่งออก และในด้านอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในทุกมิติต่อไป
14 พ.ย. 2567
"ดีพร้อม" ผนึกกำลัง MIND ร่วมกำหนดแนวทางส่งเสริมเอสเอ็มอี แก้ปัญหาการทะลักของสินค้าจีน พร้อม "เลขาฯ พงศ์พล" ในการประชุมบอร์ดใหญ่ สสว.
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2567 - นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครั้งที่ 4/2567 ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 109 ชั้น 1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล การประชุมดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้รายงานแนวทางการลดผลกระทบจากการทะลักของสินค้าต่างประเทศในประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีนในกลุ่มสินค้าราคาถูกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้แจ้งที่ประชุมให้ทราบถึงการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่ง “เซฟ” SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน และส่งเสริมสินค้าไทย นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบเรื่องการใช้เงินคงเหลือในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าบริหารจัดการให้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ภายใต้โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่ง รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้สอบถามถึงค่าบริหารจัดการที่ให้แก่ ธพว. ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปีจากยอดภาระหนี้ทั้งหมด ณ ขณะใดขณะหนึ่งโดยเบิกจ่ายทุกเดือน และค่าบริหารจัดการให้แก่ ธพว. ภายใต้โครงการเงินทุนพลิกฟื้น ร้อยละ 1 ต่อปีของยอดสินเชื่อคงค้าง โดยเบิกจ่ายทุก 6 เดือน มีความต่างกันกันอย่างไร ทั้งนี้ สสว. ได้เสนอร่างระเบียบคณะกรรมการบริหารฯ ว่าด้วยการรับและเบิกจ่ายเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่ง รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของการกำหนดกรอบวงเงินเพื่อให้ผู้อนุมัติวงเงินว่ามีฐานประมาณเท่าไหร่ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการบริหารงานของกองทุนฯ ต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างกฎบัตรคณะอนุกรรมการตรวจสอบ สสว. ฉบับทบทวน ปี 2567 และกำหนดนิยามวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสตรี เพื่อให้สามารถรับการสนับสนุนความช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและที่ไม่ใช่การเงินสำหรับ SME ที่มีสตรีเป็นเจ้าของ/หรือมีสตรีเป็นผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เป็นต้น
14 พ.ย. 2567
"Made by Thais" รมต.เอกนัฏ ชี้ทิศทางการพัฒนา SMEs ให้ดีพร้อม สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน ยกระดับวิสาหกิจไทยสู่เวทีการแข่งขันระดับโลก
กรุงเทพฯ 7 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ ”ทิศทางการพัฒนา SMEs ให้ดีพร้อม“ พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย คณะผู้บริหารสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” มุ่ง “เซฟ” SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน ร่วมกับสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยผ่าน 5 แนวทาง ดังนี้ 1) ปกป้อง SME ไทยจากคลื่นการลงทุนของบริษัทข้ามชาติและการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ 2) ยกระดับขีดความสามารถของ SME ไทยให้สามารถแข่งขันได้และทันต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3) ริเริ่มนิคมอุตสาหกรรม SME 4) ผลักดันการขับเคลื่อนมาตรการ “Made by Thais” และ “SME GP” และ 5) จัดตั้ง SME War Room เพื่อช่วย SME ไทยแก้ปัญหาให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัด และความท้าทายต่าง ๆ เพื่อเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้จากการส่งออก การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และพัฒนาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ การส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์สู่ยานยนต์แห่งอนาคต รวมถึงการยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุน Soft Power ของประเทศ จะเป็นส่วนสำคัญในการเร่งให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและพัฒนาให้เป็นผู้เล่นสำคัญในเวทีเศรษฐกิจโลกต่อไป ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของ SME ในฐานะฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทย จึงได้มีการกำหนดนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” เพื่อมุ่งเน้นการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ “สู้” เพื่อจัดการกากอุตสาหกรรมที่เป็นพิษ “เซฟ” เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย และ “สร้าง” เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้นโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ฯ” กระทรวงอุตสาหกรรมจะเดินหน้าเซฟ SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากลและเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมกับสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยที่ได้รวบรวมผู้ประกอบการขนาดย่อมในการขับเคลื่อนให้เป็นผู้ประกอบการกลางและขนาดใหญ่ เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ปกป้อง SME ไทยจากคลื่นการลงทุนของบริษัทข้ามชาติและการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ โดยการพิจารณากำหนด หรือ ปรับปรุง มาตรการ กฎระเบียบ และสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องให้มีความครอบคลุม สร้างระบบนิเวศการแข่งขันที่มีความเท่าเทียม โดยเฉพาะการตรวจบังคับด้านมาตรฐานสินค้า และสร้างความเท่าเทียมด้านภาษีระหว่างร้านค้าที่มีหน้าร้านในไทย ผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในไทยและผู้ประกอบการออนไลน์ต่างประเทศ 2) ยกระดับขีดความสามารถของ SME ไทยให้สามารถแข่งขันได้และทันต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านกลไกการส่งเสริมของกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานพันธมิตร โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ SME ไทยให้สามารถแข่งขันได้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานระดับกระทรวงและกรมที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนร่วมกัน 3) ริเริ่มนิคมอุตสาหกรรม SME เพื่อสนับสนุนการสร้างห่วงโซ่อุปทาน 4) ผลักดันการขับเคลื่อนมาตรการ “Made by Thais” และ “SME GP” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเลือกผลิตภัณฑ์ของ SME ไทยในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตลอดจนการอุปโภค บริโภคทั่วไป และ 5) จัดตั้ง SME War Room ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนกระบวนการยกระดับขีดความสามารถ แก้ไขปัญหา และสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันให้กับ SME ทั้งระบบ “ผมขอยืนยันว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการยกระดับ SME ไทยสู่เวทีการแข่งขันระดับโลก ผ่านการผลักดันนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ฯ” และกลไกการดำเนินงานสำคัญตามที่ได้กล่าวไป กระทรวงอุตสาหกรรมมองเห็นอนาคตที่ SME ไทยจะเป็นผู้นำในการสร้างนวัตกรรม เป็นต้นแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบกับความร่วมมือ และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ และภาคเอกชน จะทำให้ SME ไทยได้รับการยกระดับให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัด และความท้าทายต่าง ๆ เพื่อเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายเอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย
12 พ.ย. 2567