โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ปี 2567
โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ปี 2567
(City &Community Innovation Challenge 2024)
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันแนวโน้มการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองและชุมชน (Innovation for urbanization) จะมีแนวคิดมาจากการร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างหน่วยงานด้านการปกครอง องค์กรเอกชน องค์กรภาคสังคม และภาคประชาชน เป็นแนวคิดในกาทำงนร่วมกันหรือเรียกว่า "การร่วมรังสรรค์" (Co-creation) ทำให้ สำนักงานแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) ได้ดำเนินการ การเปิดรับข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประจำปี 2567 (City & Community Innovation Challenge 2024) ที่สามารถผลักดันไปสู่การใช้งานจริง เพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและชุมชน โดยเปิดรับข้อเสนอแนวคิดการพัฒนาในหลากหลายมิติ จากนั้นจะมีการตัดสินแนวคิดที่ดีและมีโอกาสในการขยายผล ซึ่งองค์กรที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อนำไปดำเนินการจริงในพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ที่ สนช. กำหนด ภายในระยะเวลา 12 เดือนของการดำเนินงาน ซึ่งเมื่อดำเนินโครงการนำร่องแล้วเสร็จ สามารถขยายผลแนวคิด เทคโนโลยี โอกาสทางสังคม และธุรกิจ ไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป โดยมีหัวข้อที่เปิดรับสมัครประจำปีงบประมาณ 2567 ดังนี้
นวัตกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Innovation)
นวัตกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Wellness Tourism Innovation)
นวัตกรรมการเที่ยวเชิงประสบการณ์อย่างสร้างสรรค์ (Local Experiential Tourism Innovation)
นวัตกรรมความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว (Safe and Secure Tourism Innovation)
นวัตกรรมการท่องเที่ยวด้านอาหารและวัตถุดิบท้องถิ่น (lingredients Tourism
นวัตกรรมการท่องเที่ยวด้ารอาหารและวัตถุดิบท้องถิ่น (Gastronomic and locali ingredients Tourism Innovation)
นวัตกรรมการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมและความบันเทิง (Cultural and Entertainment Tourism Innovayion)
นวัตกรรมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม (Innovation for Environmental Management)
น้ำจืด, ทะเลและชายฝั่ง, มหาสมุทร (Freshwater, Marine and Coastal, Ocean)
ฝุ่น, ควัน และการจัดการไฟป่า (Dust, Smoke, and Forest Fire management)
การจัดการขยะและของเสีย (Waste management)
วัสดุหมุนเวียน (Circular Materials)
พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)
นวัตกรรมที่สร้างความเสมอถาคและสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ (Innovation for Gender Equality and Diversity Support)
การสริมสร้างพลังอำนาจของผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ (Women and LGBTQ+'s Empowerment)
การลดต้นทุนด้านความปลอดภัย และการป้องกันปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศภาวะ (Gender-based Security Cost Reduction and Violence Prevention)
การเข้าถึงบริการสุขภาพ สุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ (Healthcare Service Access and Sexual and Reproductive Health)
การส่งเสริมสภาพแวล้อมที่เป็นมิตรกับทุกเพศ (Encouraging All-gender-friendly Environment)
การเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐนทางวัฒนธรรมและสังคมเพื่อลดอคติทางเพศ (Change of Cultur and Social Norms for Reducing Gender Bias)
คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการทำงานร่วมกับภาคเอกชนหรือภาคมหาวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนพันธกิจขององค์กรปกครองนั้นด้วยนวัตกรรม องค์กรเอกชน หรือ มหาวิทยาลัย ที่มีส่วนร่วมกับเมืองหรือชุมชน มีการทำงานร่วมกับคนในพื้นที่เพื่อสร้างรายได้หรือประโยชน์ให้กับพลเมือง โดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน มูลนิธิ สมาคม วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์ ที่ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมในระดับพื้นที่ และส่งผลกระทบอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
ช่องทางการติดต่อ
city.social@nia.or.th
02 017 5555 ต่อ 542, 546-548, 550-552
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 73/2 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
23
ส.ค
2566