อุุบลเวลแพ็ค
22
มี.ค.
2022
สุทาทิพย์
264
จากการมองเห็นโอกาสธุรกิจในพื้นที่เมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งในขณะนั้นปริมาณการใช้ขวดพลาสติกในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงมีค่อนข้างสูง แต่โรงงานผลิตขวดที่ได้คุณภาพและมาตรฐานยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้คุณพงศ์ศักดิ์ อุรัจนานนท์ ได้เริ่มต้นสร้างและพัฒนา บริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด จนกลายเป็นโรงงานรับจ้างผลิตที่ครบวงจรและได้มาตรฐานเป็นเบอร์ต้นๆ ของพื้นที่ในปัจจุบัน
บริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเข้าร่วมโครงการ 17.1-1 การปฏิรูปอุตสาหกรรมศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า ปีงบประมาณ 2564 ภายใต้กิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยี 3 Stage Rocket โดยเน้นการลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เทคโนโลยีสามารถเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น
เดิมบริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด มีไลน์การผลิตขวดพลาสติกจำนวน 4 ไลน์แยกตามขนาดของขวด ซึ่งในไลน์การผลิตขวดขนาด 600 มิลลิลิตร จะมีชั่วโมงในการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง 3 กะ และของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการแยกเป็นหน้าเครื่องเป่าลมร้อนและหลัง เครื่องเป่าลมร้อน จากการตรวจสอบพบว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นเกิดทั้งหน้าเครื่องและหลังเครื่องเป่า ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป อย่างเช่น ขวดเป็นฝ้า ปีกบี้ ปากบวม เอวคอด เป่าแตก ขวดบุบ คอหนา ก้นเบี้ยว ก้นนูน/รั่วและอื่นๆ มีจำนวนค่อนข้างมาก
ในการเก็บและบันทึกข้อมูลการผลิตจะบันทึกโดยพนักงานที่อยู่ในไลน์การผลิตนั้นๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้ข้อมูลอุบลเวลแพ็ค เสริมแกร่งเทคโนโลยี สู่บริษัทคุณภาพแห่งอีสานใต้ที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถที่จะประเมินประสิทธิภาพโดยรวม (Overall Equipment Effectiveness : OEE) ของการผลิตได้ และไม่สามารถทราบถึงปัญหาและการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตได้ถูกจุด
สำหรับโครงการดังกล่าว นอกจากจะมีผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่มาร่วมวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตเทคโนโลยีและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังได้รับคำแนะนำในการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงได้รับการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอีกด้วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือบริษัทสามารถลดแรงงานคนลงได้ และสามารถลดต้นทุนและของเสียลงได้ 34.75 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 360,000 บาทต่อปี
“ในส่วนของบริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด ได้รับการพัฒนาแมชชีน มอนิเตอริ่ง (Machine Monitoring) ซึ่งทำให้เราบริหารจัดการธุรกิจได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะเดิมทีถ้าเราจะดูประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร เราต้องเดินไปดูหน้าเครื่อง การแก้ไขหรือรับมือปัญหาจะทำได้ค่อนข้างยาก แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการมีผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำและพัฒนาระบบ IoT กับ Sensor ร่วมกัน เราก็สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรผ่านระบบ IoT ได้ทันที เห็นปัญหาและแก้ไขได้รวดเร็วขึ้น เมื่อรับรู้เร็วขึ้นของเสียก็จะน้อยลง เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน ลดของเสียเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจไปได้พร้อมๆ กัน”
นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เสริมเขี้ยวเล็บและติดอาวุธทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการได้อย่างน่าสนใจ
คุุณพงศ์์ศัักดิ์์ อุุรััจนานนท์
บริิษััท อุุบลเวลแพ็็ค จำำกััด
205 บ้้านดอนชาด ต.บุ่่งหวาย อ.วาริินชำราบ จ.อุบลราชธานี
โทรศัพท์ 08 9511 4009, 08 8378 5005
ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม