การเลือกใช้สารปรุงแต่งกลิ่นรสในอาหาร
27
พ.ค.
2020
อภิมุข
3,686
สารปรุงแต่งกลิ่นรสในอาหารแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. Flavor หมายถึงสารแต่งกลิ่นและรส โดยการรับสารนี้ทางปาก (Senses of taste and smell) เป็นสารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และสินค้าอุปโภค
2. Fragrance หมายถึงสารให้ความหอม โดยไม่มีรสชาติ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและสินค้าอุปโภค
3. Seasoning หมายถึงสารแต่งรส ซึ่งอาจจะให้กลิ่นหรือไม่ให้กลิ่นก็ได้
รสชาติพื้นฐานที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้
-
รสหวาน เช่น น้ำตาลซูโคส , น้ำตาลแลคโตส
-
รสเปรี้ยว เช่น กรดซิตริก(ที่เรียกทางการค้าว่ากรดมะนาว) ,กรดทาทาร์ลิก
-
รสเค็ม เช่น เกลือ
-
รสขม เช่น กาแฟ , ควินนิน
รสชาติอื่นที่สามารถรับรู้ได้
-
Metallic กลุ่มที่เป็นสารประกอบโลหะ เช่น Metal salt
-
Soapy ให้ลักษณะและรสชาติคล้ายสบู่ เช่น Sodium carbonate มีลักษณะลื่นๆ รสชาติเฝื่อน
-
Umami รสชาติกลมกล่อม เช่น ผงชูรส หรือที่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำฟักต้ม น้ำหัวผักกาดต้ม น้ำต้มกระดูก มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง
สารแต่งกลิ่นรส Flavors
สารแต่งกลิ่นอาหารเป็นหนึ่งในประเภทของวัตถุเจือปนอาหาร (Food additives) ที่สามารถให้กลิ่นอันพึงปรารถนาต่ออาหาร กลิ่นเข้มข้นอันมาจากสาร flavors จะสามารถก่อให้เกิดรสอร่อยต่ออาหารชนิดนั้นๆ ได้เพราะเหตุนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีอาหารต่างก็พัฒนากระบวนการผลิต หรือปรุงสารให้กลิ่นชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Essential oils จากธรรมชาติ, สารสกัดแยกจากธรรมชาติ หรือสารที่เกิดจากการปรุงแต่งเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการด้านกลิ่นของผู้บริโภค
ซึ่งสารประกอบเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปของสารที่ละลายในน้ำ, ละลายในไขมัน, เป็นอิมัลชั่น, เพส (paste), ผง หรืออยู่ในรูปของ Microcapsule อย่างไรก็ตาม หน้าที่และศักยภาพของสารให้กลิ่นอาหารเหล่านี้ไม่ได้เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ แต่จะเป็นตัวที่ให้กลิ่นและรส เสมือนหนึ่งได้บริโภคอาหารจากธรรมชาติ ที่เหนือไปกว่านั้นต้องมีราคาต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า กลิ่นอาหารที่ได้จากธรรมชาติจริงๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภูมิภาค, ภูมิอากาศ, ฤดูกาล, กระบวนการผลิต, คุณภาพของวัตถุดิบ, การเก็บและการขนส่ง เป็นต้น และเป็นที่ยอมรับแล้วว่าสารให้กลิ่นอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่ออุตสาหกรรมอาหาร
สารแต่งกลิ่นรสที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลิ่นผลไม้, กลิ่นอาหาร และกลิ่นหลากประเภท
1. กลิ่นผลไม้ มีกลิ่นจำพวกนี้อยู่มากมายเช่น กลิ่นส้ม, มะนาว, สับปะรด, กล้วย, ลิ้นจี่, องุ่น, ทุเรียน, มะพร้าว, แอปเปิ้ล, ลูกเกด, เชอร์รี่, มะม่วง, แตงไทย, พีช, แอสพริคอท, ลำไย, แพร์, ราสเบอร์รี่
2. กลิ่นอาหาร สารเติมแต่งกลิ่นอาหารที่จัดแบ่งเป็นประเภทตามชนิดของผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่
-
กลิ่นถั่ว ได้แก่ แอลมอนด์, ถั่วฮาเซล (Hazel Nut), กาแฟ, โกโก้, ช็อคโกแล็ต, พีนัท
-
กลิ่นนม ได้แก่ นมสด, เนย, นมเปรี้ยว, นมหมัก, ชีส , ครีมนม
-
กลิ่นสัตว์ปีก ได้แก่ กลิ่นไก่, กลิ่นเป็ด, กลิ่นไข่ เป็นต้น
-
กลิ่นเนื้อ ได้แก่ เนื้อวัว, เนื้อหมู, แฮม, ไส้กรอก และกลิ่นสำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อ
-
กลิ่นอาหารทะเล เช่น กุ้ง, ปู, หอย, ปลา และอาหารทะเลอื่นๆ
-
กลิ่นผัก เช่น เห็ด, มะเขือเทศ, มันฝรั่ง, กระเทียม, หัวหอม
3. กลิ่นหลากประเภท เป็นกลิ่นอื่นๆ สำหรับใช้เติมแต่งในอาหารสามารถแบ่งตามชนิดเฉพาะของผลิตภัณฑ์ ดังนี้
-
กลิ่นไวน์ เช่น บรั่นดี, วิสกี้, ยีน, เหล้าจีน, รัม, โทนิค เป็นต้น
-
กลิ่นถั่ว เช่น ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ, เป็นต้น
-
กลิ่นของพืชหอม เช่น ตะไคร้, สะระแหน่, ขิง, ข่า, ยี่หร่า เป็นต้น
-
กลิ่นของพืชสมุนไพร เช่น พริกหอม, อบเชย, โป๊ยกั๊ก เป็นต้น
-
กลิ่นของดอกไม้ เช่น กลิ่นกุหลาบ, มะลิ, เบญจมาศ เป็นต้น
-
กลิ่นอื่นๆ เช่น กลิ่นของชาดำ, ข้าว, ข้าวโพด, โคล่า, น้ำผึ้ง เป็นต้น
หลักการใช้ประโยชน์จาก สารแต่งกลิ่นรส (Flavor)
1. สามารถให้รสชาติและกลิ่นได้เหมือน หรือใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
2. เป็นสารให้กลิ่นที่มีลักษณะกลิ่นและรสต่างๆ กัน สามารถจะนำมาผสมเพื่อสร้างกลิ่นที่ต้องการ และใกล้เคียงกับกลิ่นและรสของอาหารตามธรรมชาติ หรืออาหารหลังผ่านกระบวนการผลิต
3. มีปลอดภัยในการบริโภค
4. มีคุณภาพมาตรฐานผ่านการรับรองจากองค์กรอาหารระหว่างประเทศ
5. มีความคงตัวสูง