พลวัตของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและนัยต่อประเทศไทย
การวิจัยในเชิงกว้างเข้าไปศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าเปรียบเทียบลักษณะหน้าที่คล้ายกับของ ประเทศไทย ได้แก่ สภาพัฒน์ฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม BOI การลงพื้นที่ในแต่ละประเทศมุ่งไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และศึกษาตลาดผู้บริโภค การวิจัยเชิงลึก นักวิจัย เจาะลึกลงรายละเอียดของแต่ละแห่ง ได้แก่ ประเทศจีน เข้าไปศึกษามณฑลยูนนานทางตอนใต้ โดยเข้าไปศึกษาที่เมืองคุนหมิง และรุ่ยลี่ (Ruili) และเขตปกครองตนเองกว่างสีซึ่งอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เข้าไปศึกษาที่เมืองหนานหนิง (Nanning) ผิงเสียง (Pingxiang) ฉงจั๋ว (Chongzuo) ฟางเชิงกัง (Fangchenggang) และ ตงซิง (Dongxing) ประเทศกัมพูชา เข้าไปศึกษาที่เมืองพนมเปญ เสียมเรียบ สีหนุวิลล์ และกัมพง ประเทศลาว เข้าไปศึกษาองค์กรสำคัญของประเทศจีน ประเทศไทยที่อยู่ในประเทศลาวและองค์กรในประเทศลาว ประเทศพม่า เข้าไปศึกษาที่เมืองย่างกุ้ง นอว์ปิดอว์ มัณฑะเลย์ และ Kyaukpyu (จ้าวผิว) ประเทศเวียดนาม เข้าไปศึกษาที่เมืองฮานอย โฮจิมินท์ ตงใน และเทียนเกียง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “พลวัตของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและนัยต่อประเทศไทย” บทสรุปคัดย่อโดย นางสาวกัลยา วิริยะประสงค์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายเลขโทรศัพท์ 0 2202 4539
03 ก.พ. 2015