Bangkok Banana จากก้าวเล็กๆ สู่ความยิ่งใหญ่
จากอุปนิสัยส่วนตัวที่ชอบรับประทานกล้วยทอดแบรนด์ต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด ผสมผสานกับความเชื่อมั่นว่าขนมไทยมีศักยภาพพอที่จะเป็นขนมยอดนิยมในระดับสากลได้ จึงเป็นต้นกำเนิดของ บริษัท บ้านขนมไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ภายใต้การบริหารงานของนายรัฐพงศ์ เจริญวงศ์ฤกษ์ ซึ่งได้มุ่งมั่นพัฒนาสูตรกล้วยหอมทอดกรอบ จนได้ Bangkok Banana กล้วยหอมทองทอดสายพันธุ์ใหม่ ที่หอม กรอบ อร่อย ถูกปากทุกเพศทุกวัย ด้วยความต้องการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง บริษัทฯ จึงได้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) ทำให้มีความรู้เรื่องการผลิต การตลาด บัญชี การเงิน และการบริหารทรัพยากรบุคคล สำหรับการดำเนินธุรกิจในเบื้องต้น หลังจากผ่านการเข้าอบรมสามารถนำความรู้มาวางแผนการพัฒนาองค์กรได้อย่างละเอียดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาสินค้าให้ถูกต้องตามหลักอนามัย การพัฒนารูปลักษณ์สินค้าให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภค การเพิ่มรสชาติจากเดิม 2 รสเป็น 3 รส คือ รสออริจินอล รสข้าวโพดอบชีส และรสบาร์บีคิว ตลอดจนมีการวางแผนการขายสินค้าอย่างเป็นระบบ สำหรับในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสากลต่างๆ เช่น GMP, HACCP,ISO เพื่อส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศ คุณรัฐพงศ์ เจริญวงศ์ฤกษ์ บริษัท บ้านขนมไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 66, 68 ซอยจันทน์ 30 ถ.จันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2673 3030, 08 1413 2828 โทรสาร 0 2673 0700 ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2015
Steamed egg white (พุดดิ้งไข่ขาว) ต่อยอดธุรกิจเดิม ...เอาใจคนรักสุขภาพ
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผู้บริโภคทั่วโลกหันมาให้ความใส่ใจและดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อาหารเพื่อสุขภาพสำเร็จรูปพร้อมรับประทานได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี Steamed egg white พุดดิ้งเต้าหู้ไข่ขาว ภายใต้การดูแลของ คุณอภิสิทธิ์ พาณิชวรชัยกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท มงคลเกษมรุ่งเรือง จำกัด เล่าว่า “กว่าจะได้พุดดิ้งไข่ขาวที่มีคุณประโยชน์ อุดมไปด้วยโปรตีนที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ต้องผ่านการคิดค้นลองผิดลองถูกมาหลายต่อหลายครั้ง เริ่มต้นด้วยการประสบปัญหาจากธุรกิจการขนส่งไข่ไก่ที่มักเกิดการแตกร้าวจากบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดีพอ จนไม่สามารถขายออกได้เป็นจำนวนมาก จึงคิดนำไข่ไก่เหล่านั้นมาแปรรูปเป็นเต้าหู้หลอดจำหน่าย แต่ก็ไม่สามารถทนกับการแข่งขันที่สูงในท้องตลอดได้ จนในที่สุดต้องหันกลับมาตั้งหลักใหม่ด้วยการเข้าร่วมโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป (Value Added) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยได้ร่วมกันคิดค้นสูตรแปรรูปไข่ขาวให้เป็นเจล ทำเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ชื่อว่า “พุดดิ้งไข่ขาว” บรรจุในถ้วยทนความร้อน มีรูปทรงที่ทันสมัย สะดวกพร้อมรับประทานเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการรับประทานไข่ข่าวในปริมาณมากๆ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเทรนด์การดูแลสุขภาพที่ยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง คุณอภิสิทธิ์ พาณิชวรชัยกุล บริษัท มงคลเกษมรุ่งเรือง จำกัด 598 หมู่ 8 ถ.ทางหลวงสาย 304 ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 25110 โทรศัพท์ 08 1303 3628 ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2015
น้ำจิ้มข้าวมันไก่สำเร็จรูป “โกอ่าง” เอาใจลูกค้า...อร่อยได้แม้อยู่บ้าน
ข้าวมันไก่ ถ้าจะให้ขายดีนอกจากข้าวนุ่ม ไก่แน่นแล้ว น้ำจิ้มต้องเด็ด ถึงจะครองใจลูกค้าทุกเพศทุกวัย ด้วยรสชาติความอร่อยของ “ข้าวมันไก่ตอนประตูน้ำ โกอ่าง” ของคุณสมบัติพฤกษ์ไพบูลย์ ทำให้มีผู้สนใจขอซื้อน้ำจิ้มข้าวมันไก่ กลับไปรับประทานที่บ้านและเรียกร้องให้เปิดเป็นธุรกิจแฟรนไชน์ แต่ด้วยข้อจำกัดของน้ำจิ้มที่มีอายุการเก็บรักษาได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมงคุณสมบัติ จึงได้เข้าร่วม โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ภายใต้โครงการนี้คุณสมบัติ ได้รับคำปรึกษาและทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารพัฒนาสูตรน้ำจิ้มข้าวมันไก่สำเร็จรูปที่ไม่ใส่วัตถุกันเสีย แต่สามารถเก็บได้นานถึง 1 ปี โดยที่สี กลิ่น และรสชาติของน้ำจิ้มยังคงเดิมไม่ผิดเพี้ยน รวมทั้งได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามอีกด้วย ปัจจุบันร้านข้าวมันไก่ตอนประตูน้ำ โกอ่าง ซึ่งอยู่ภายใต้บริษัท หยูฮวดเซี้ยง จำกัด ได้เดินหน้าธุรกิจอย่างต่อเนื่องด้วยการขยายขนาดของบรรจุภัณฑ์น้ำจิ้มจากเดิมขนาด 180 มิลลิลิตร ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับพัฒนารูปแบบร้านในลักษณะแฟรนไชส์ และยังไม่หยุดยั้งกับความพยายามส่งออกน้ำจิ้มสำเร็จรูปไปต่างประเทศ คุณสมบัติ พฤกษ์ไพบูลย์ บริษัท หยูฮวดเซี้ยง จำกัด 960-962 ซ.เพชรบุรี 30 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 08 1642 9127, 08 1720 1447 ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2015
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิราพร ฟู๊ด เพิ่มมูลค่าด้วยบรรจุภัณฑ์
คุณจิราพร พงศ์รุจิกรพันธ์ เริ่มขายกล้วยตากจากการซื้อกล้วยที่ชาวบ้านตากไว้แล้วมาบรรจุเอง ต่อมาหลังจากมีแผงตากเป็นของตนเอง จึงเริ่มใช้ชื่อกล้วยตาก “จิราพร” เรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 โดยใช้กล้วยน้ำว้าขึ้นชื่อจากอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกด้วยความใส่ใจในคุณภาพของวัตถุดิบและกระบวนการผลติ จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อการแข่งขันสูงขึ้น แม้กล้วยตากจิราพรจะมีรสชาติอร่อยและคุณภาพดี แต่กลับต้องประสบกับปัญหายอดขายไม่เติบโต แถมยังมีคู่แข่งผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด คุณจิราพรจึงเริ่มคิดหาวิธีให้ยอดขายกระเตื้องขึ้น การเปิดโลกทัศน์ทางธุรกิจครั้งสำคัญเกิดขึ้น เมื่อครั้งได้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จนสามารถวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ นำไปสู่การพลิกโฉมทางด้านการตลาด โดยปรับรูปลักษณ์แพ็กเกจจิ้งให้มีเอกลักษณ์โดดเด่น “หลังจากทำ SWOT ทำให้รู้ว่าแม้ผลิตภัณฑ์ของเราจะมีดีที่รสชาติ แต่ไม่มีจุดเด่นพอจะดึงดูดสายตาเวลาอยู่บนชั้นวาง พอเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งให้ดูทันสมัย จากยอดขายที่ไม่กระเตื้องมานาน กลับโตขึ้นถึงร้อยเปอร์เซ็นต์เพียงแค่เราแก้ปัญหาแพ็กเกจจิ้งได้เท่านั้น” เมื่อแก้ปัญหาด้านรูปลักษณ์ของกล้วยตากจิราพรได้สำเร็จ คุณจิราพรจึงนำไอเดียแพ็กเกจจิ้งโฉมใหม่มาพัฒนาร่วมกับผลิตภัณฑ์กล้วยตากทางเลือกอื่นที่ทำอยู่ก่อนหน้ากลายเป็นผลิตภัณฑ์กล้วยตาก “Snack To Go” ที่มีรสชาติแปลกใหม่ เช่น กล้วยตากเคลือบช็อคโกแลต กล้วยตากรสสตรอเบอร์รี่ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับกล้วยตากจากเดิมเป็นเพียงสินค้าซื้อฝากประเภทของดีประจำจังหวัด กลายเป็นขนมขึ้นห้างสรรพสินค้าในไทย และส่งออกตลาดต่างประเทศ คุณจิราพร พงศ์รุจิกรพันธ์ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิราพร ฟู๊ด 174/1 หมู่ 5 ต.บางกระทุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก โทรศัพท์ : 0 5539 1024 โทรสาร : 0 5539 1284 เว็บไซต์ : www.jirapornbanana.com ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ธ.ค. 2014
บริษัท แพนเอเซีย (1981) จำกัด รักษาความเป็นหนึ่งด้านอาหารทะเลแปรรูป
บริษัท แพนเอเซีย (1981) จำกัด เริ่มต้นธุรกิจด้วยการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งส่งออกจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในตลาดโลก นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าแรกแห่งเอเชียที่ส่งออกอาหารทะเลในโหลแก้วและอาหารทะเลรมควันรูปแบบกระป๋องปัจจุบันแพนเอเซียขึ้นแท่นเป็นผู้นำตลาดจำหน่ายและส่งออกอาหารทะเลแปรรูป ซึ่งทางบริษัทได้ทำงานร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาโดยตลอดในด้านการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล จวบจนระยะหลัง แพนเอเซียประสบภาวะด้านวัตถุดิบในไทยเริ่มหายาก ราคาแพง และค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำปรับสูงขึ้น ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีศักยภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นและยังคงมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เกิดภาวะการแข่งขันสูง บริษัทจึงต้องปรับตัวด้วยการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้นถึงร้อยละ 60-70 ขณะเดียวกันการนำเข้าสินค้าก็กินระยะเวลานานหลายเดือน ผลประกอบการจึงไม่ดีเหมือนเมื่อแรกดำเนินกิจการ คุณวุฒิศักดิ์ แสงศิวะฤทธิ์ ผู้บริหารของบริษัท จึงตัดสินใจเข้ารับการสนับสนุนโครงการ Training Fund (TF) เมื่อปี 2553 และต่อเนื่องด้วยโครงการ Consultancy Fund (CF) ในปี 2554 จากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งมีการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ วางแผนการผลิตและการตลาดใหม่ โดยนำเครื่องมือคำนวณและวิเคราะห์มาช่วยในการวางแผนทำให้การสั่งวัตถุดิบสัมพันธ์กับยอดขาย และผลิตโดยคำนึงถึงมาตรฐาน HACCP, GMP และ ISO 9000 เป็นสำคัญ “อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แนะให้เรารู้จักวางแผนการผลิตล่วงหน้า ตั้งแต่ต้นทางการรับออร์เดอร์ลูกค้า ระยะเวลานำเข้าสินค้า และชี้ให้เห็นหนทางแก้ปัญหาที่เราไม่เคยมองออก จะทำอย่างไรให้การผลิตไม่ต้องหยุดชะงักเพราะกำลังคนไม่พอ ตอนนี้เราสามารถผลิตสินค้าได้อย่างคล่องตัว และยังช่วยลดต้นทุนได้ถึงหลักล้าน” คุณวุฒิศักดิ์ พูดถึงการปรับระบบการจัดการ ซึ่งเป็นการพลิกฟื้นประสิทธิภาพภายในขององค์กรให้คงความเป็นหนึ่งด้านอาหารทะเลแปรรูปและเตรียมรับการแข่งขันในตลาดเสรี AEC ที่กำลังจะมาถึง คุณวุฒิศักดิ์ แสงศิวะฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงาน บริษัท แพนเอเซีย (1981) จำกัด 17 ถ.เจริญลาภ ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ : 0 7731 1025-8 โทรสาร : 0 7724 0487 เว็บไซต์ : www.panasia.co.th ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ธ.ค. 2014
บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด อย่าใส่ไข่ในตะกร้าใบเดียว
ก่อนจะก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตสินค้าเครื่องเทศและสินค้าเกษตรแปรรูประดับแนวหน้า และมีแบรนด์สินค้าของตนเองที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเช่นทุกวันนี้ บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด เริ่มต้นด้วยการผลิตเครื่องเทศคุณภาพสูงส่งให้ลูกค้ารายใหญ่ในประเทศเป็นหลัก เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงเครื่องปรุงรส จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นหลังจากได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน (Manufacturing Development to Improve Competitiveness Programmer : MDICP) ใน พ.ศ. 2547 ทำให้พบว่าถึงเวลา แล้วที่บริษัทต้องปรับเปลี่ยน และวางหมากธุรกิจเสียใหม่ แม้นิธิฟู้ดส์จะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าเครื่องเทศรายใหญ่ระดับประเทศ แต่การมีจำนวนลูกค้าน้อยรายเกินไป วันหนึ่งหากลูกค้ารายใหญ่เหล่านั้นไม่สั่งซื้อสินค้า ย่อมหมายถึงการเผชิญความเสี่ยงได้ทุกเมื่อในคราวเดียวกัน “อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว จงออกไปหาความสามารถใหม่” คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัดสรุปบทเรียนสำคัญที่ได้เรียนรู้จากการเข้าโครงการนี้ จากจุดนั้นทำให้นิธิฟู้ดส์หันกลับมาทบทวนตนเอง และเริ่มต้นทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ กระทั่งใน พ.ศ. 2551 จึงตัดสินใจขยายฐานลูกค้า โดยสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยแบรนด์ของตนเอง ชื่อว่า “เออร์เบิร์นฟาร์ม” (Urban Farm) ผลิตสินค้าผักอบแห้งกึ่งสำเร็จรูปออกสู่ตลาดผู้บริโภคของไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ตลอดจนได้รับรางวัลเชิงนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ระดับประเทศหลายรางวัล “โครงการ MDICP ชี้จุดอ่อน และสร้างจุดเริ่มต้นให้เราทำการตลาด สร้างแบรนด์สร้างเครือข่ายและซัพพลายเออร์ของตัวเอง หลังจากที่เคยเป็นผู้รับจ้างอยู่เบื้องหลังอุตสาหกรรมอาหารมาโดยตลอด” เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่นิธิฟู้ดส์ขยายฐานการผลิต ขยายห้องวิจัย เพิ่มแผนก Research & Development Kitchen และเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างไป จากกระสอบเครื่องปรุงรสอันเป็นรายได้หลักของบริษัท ปัจจุบันได้ต่อยอดมาในกลุ่มสินค้าเครื่องปรุงรสภายใต้แบรนด์ Urban Farm ซอสผงปรุงข้าวอบ Pocket Chef ซอสผงข้าวผัด และ East Kitchen ผงปรุงอาหารตำรับตะวันออกเพื่อเจาะกลุ่มตลาดพรีเมียมต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ล้วนเริ่มต้นมาจากแนวคิด “อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” ที่มาจากห้องเรียนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในครั้งนั้น คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด 21/6 ม.2 ถ.เชียงใหม่-ฮอด ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ : 0 5348 1484 เว็บไซต์ : www.nithifoods.co.th ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ธ.ค. 2014
บริษัท สุคันธา ไทยสแน็ค จำกัด ยกระดับสแน็คท้องถิ่นสู่สากล
ข้าวตังสุคันธาเริ่มต้นจากการเป็นร้านขนมไทยของฝากเล็กๆ ในจังหวัดเพชรบุรี ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่พิถีพิถัน จึงทำให้ร้านโด่งดังเป็นที่รู้จัก จากรุ่นแม่สู่ไม้ผลัดสองในรุ่นลูกอย่างคุณจุฑารัตน์ ตั้งพาณิชย์ ยังคงคุณภาพและความซื่อสัตย์ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะขนมขึ้นชื่อของทางร้านอย่างข้าวตังที่เลือกใช้ข้าวหอมมะลิมาตรฐานส่งออก ทอดในน้ำมันพืช เพิ่มความหอมกรุ่นชวนรับประทาน ปรุงแต่งด้วยเครื่องเทศของไทยสูตรเฉพาะตำรับดั้งเดิม อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และนำวัตถุดิบท้องถิ่นอันเป็นจุดเด่นอย่างตาลโตนดมาเป็นตัวชูโรงเช่นเดิม แต่จุดอ่อนของข้าวตังสุคันธารุ่นแม่ คือมีอายุผลิตภัณฑ์สั้นเพียง 2 เดือน คุณจุฑารัตน์จึงคิดค้นหาวิธีการที่จะถนอมอาหารไว้ได้นานเพื่อยืดอายุในการขายให้มีเชลฟ์ไลฟ์นานยิ่งขึ้น นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณจุฑารัตน์เข้าร่วมอบรมกับโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) ซึ่งย่อโลกธุรกิจทั้งใบมาไว้ตรงหน้า “โครงการ NEC ให้แนวคิดที่เป็นระบบ เมื่อก่อนดิฉันเคยเห็นภาพการทำธุรกิจ แต่อาจจะไม่ชัดเจน แทนที่จะเริ่มนับ 1 เราก็ข้ามสเต็ปมาอยู่ที่ 5 แล้วดูว่าเราขาดอะไรจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มา บางอย่างก็เรียนรู้จากเพื่อนในกลุ่มแม้จะเป็นคอร์สสั้นๆ แต่เปรียบเหมือนหลักสูตรมินิเอ็มบีเอที่ย่อโลกธุรกิจให้ได้เรียนรู้” หลังเข้าอบรมร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทิศทางของข้าวตังสุคันธาเปลี่ยนไป จากเดิมที่มีอายุผลิตภัณฑ์ 2 เดือน ก็ใช้เทคโนโลยีมาช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์เป็น 1 ปี ลดขนาดลงให้พอดีค????ำ รวมทั้งเข้าสู่ระบบโรงงานตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และขยายตลาดจากร้านของฝากสู่ห้างสรรพสินค้าก้าวย่างต่อไปของข้าวตังสุคันธา คือการเตรียมสู่มาตรฐานฮาลาลแห่งชาติ เพื่อต้อนรับการเปิดตลาด AEC และเดินหน้าสู่ระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คุณจุฑารัตน์ ตั้งพาณิชย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท สุคันธา ไทยสแน็ค จำกัด 228 หมู่ 5 ซอย 9 ถ.บันไดอิฐ ต.บ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพชรบุรี โทรศัพท์ : 0 3248 8311 เว็บไซต์ : www.kaotang.com ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ธ.ค. 2014
บริษัท สวนผึ้งหวาน จำกัด ชุบชีวิตสร้างธุรกิจใหม่
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศเมื่อปี 2540 ทำให้ธุรกิจล้มระเนระนาด คุณพัชรี และคุณนิวัฒน์ โฆวงศ์ประเสริฐ เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบในครั้งนั้น พร้อมกับมีหนี้สูญ 30 ล้านบาท จากโครงการรับเหมาติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ให้กับคอนโดมิเนียมจนต้องตัดสินใจปิดบริษัท การล้มครั้งนั้นแม้จะทำให้ท้อแท้บ้างในช่วงแรก แต่ทำให้ทั้งคู่ได้ค้นพบธุรกิจใหม่ นั่นคือการแปรรูปมะขามหวาน พืชเศรษฐกิจขึ้นชื่อของเพชรบูรณ์ บ้านเกิดของคุณพัชรี มาทำเป็นของทานเล่นรสชาติถูกปากคนไทย ไม่น่าเชื่อว่าจากแค่มะขามคลุกพริกเกลือน้ำตาลธรรมดา กลับกลายเป็นสินค้าทำเงินจนต้องหันมาพัฒนาธุรกิจนี้อย่างจริงจัง ปัจจุบันบริษัท สวนผึ้งหวาน จำกัด เจ้าของแบรนด์ “บ้านมะขาม” ผลิตมะขามหลากหลายเมนูเพื่อจำหน่ายตามร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงส่งออกไปต่างประเทศด้วยเมื่อธุรกิจโตวันโตคืนเช่นนี้ ทั้งคุณนิวัฒน์และคุณพัชรีคิดตรงกันว่าต้องเพิ่มพูนความรู้ทางธุรกิจให้มากขึ้น จึงได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ต่างรุ่นกัน โดยคุณนิวัฒน์ เข้าร่วมอบรมรุ่น 118 จังหวัดนครปฐม โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จังหวัดสุพรรณบุรี หน่วยงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในภูมิภาค เมื่อ พ.ศ.2547 ส่วนคุณพัชรีเข้าร่วมอบรมรุ่น 126 เมื่อ พ.ศ. 2548 การเข้าร่วมอบรมโครงการ คพอ. ของทั้งคุณนิวัฒน์ และคุณพัชรี ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ลงลึกเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับรายสาขาอุตสาหกรรมอาหาร ช่วยให้บ้านมะขามวางแผนการผลิตได้ตามมาตรฐานยิ่งขึ้น มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยยึดหลัก ทุกผลิตภัณฑ์ต้องมีความแตกต่าง เมื่อมะขามคลุกเสวยไปได้ดี จึงเริ่มหาสูตรใหม่ๆ มีทั้งมะขามหยีมะขามแช่อิ่ม มะขามเคี้ยวหนึบ มะขาม เปรี้ยวแซ่บ มะขามโยเกิร์ต ฯลฯ โดยคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพทุกขั้นตอน เมื่อธุรกิจเติบโตมาได้ระดับหนึ่ง บริษัทยังได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน(Manufacturing Development to Improve Competitiveness Programmer : MDICP) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อต่อยอดความรู้ “เราผูกพันกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก เป็นเหมือนพ่อแม่เราเลย พอถึงระยะหนึ่งก็ให้เรามาอบรม MDICP ผมถือว่าเป็นขั้น advance เราโตมาถึงระดับหนึ่งต้องเรียนรู้เพิ่ม เพราะระบบผลิตเดิม จากเล็กมาใหญ่จะเริ่มมั่ว ทำอย่างไรจะประหยัดคนประหยัดพลังงาน เรื่องการตลาด โมเดิร์นเทรดยิ่งขายเยอะ ก็ยิ่งบีบเรา MDICP จะเป็นการให้ความรู้เราอีกขั้น ภายใต้โครงการนี้เป็นการเรียนรู้การวางแผนธุรกิจคือ แผนการผลิต แผนการตลาด แผนการเงินและบัญชีการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรโดยจะมีที่ปรึกษามาสำรวจ วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับพนักงาน” ด้วยความที่ไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ นับจากวันที่พบวิกฤตจนถึงวันนี้ คุณพัชรีสวมหัวใจนักขาย ส่วนคุณนิวัฒน์เป็นนักบริหาร นำพาองค์กรแห่งนี้เติบใหญ่มีผลิตภัณฑ์มะขามและแบรนด์ย่อยนานาชนิด มีรายได้เฉลี่ยเติบโตปีละ 30% เป็นธุรกิจที่เรียกได้ว่าเกิดจากทรัพย์ในดิน สินในฝัก ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้อย่างไม่รู้จบ คุณพัชรี – คุณนิวัฒน์ โฆวงศ์ประเสริฐ ผู้บริหาร บริษัท สวนผึ้งหวาน จำกัด 7 ซอยรามคำ แหง 118 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : 0 2372 0298-9 โทรสาร : 0 2372 0300 ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ธ.ค. 2014
บริษัท เฉาก๊วย ชากังราว จำกัด ลดต้นทุน เพิ่มมุมมองธุรกิจ
จากข้าราชการที่ปรารถนาให้สมาชิกในครอบครัวอยู่อย่างสุขสบาย คุณเสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ เลือกที่จะทำงานหลากหลายเพื่อสร้างรายได้เสริม จนกระทั่งได้ลงมือทำเฉาก๊วยขาย และพยายามคิดค้นสูตรความอร่อยเฉพาะตัวจนสำเร็จ ทำให้มีรายได้จากการขายเฉาก๊วยเดือนๆ หนึ่งมากกว่าเงินเดือนประจำในขณะนั้น สุดท้ายจึงตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อมาทำธุรกิจเฉาก๊วย “ชากังราว” อย่างเต็มตัว จุดเปลี่ยนในการทำธุรกิจของคุณเสริมวุฒิเกิดขึ้นเมื่อได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน หรือ MDICPของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โครงการนี้ช่วยพัฒนาการจัดการธุรกิจให้เป็นระบบมากขึ้น รวมถึงผลักดันให้ไอเดียของคุณเสริมวุฒิที่ต้องการจะเปลี่ยนแพ็คเกจเฉาก๊วยจากถุง เป็นรูปแบบกระป๋อง เพื่อส่งออกต่างประเทศเป็นจริงขึ้นมาได้ ทำให้ธุรกิจก้าวไปอีกขั้น ที่สำคัญยังช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างมากทำให้คุณเสริมวุฒิเปลี่ยนมุมมองในการทำธุรกิจ โดยหันมาคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น “เมื่อก่อนผมมองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น รูรั่วของท่อไอน้ำ ไฟหนึ่งดวงที่เปิดทิ้งไว้จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของกรมฯ สอนให้คิดถึงมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้น เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี โอ้โห มันมหาศาลจริงๆ แล้วพอลองทำตามคำแนะนำ เพียงแค่ปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ให้มันดีขึ้น ต้นทุนลดลงไปมากอย่างเหลือเชื่อ แล้วการลดการใช้พลังงานยังเป็นสิ่งที่ดีต่อองค์กรและดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมอย่างมหาศาล” คุณเสริมวุฒิ กล่าวถึงตัวอย่างแนวคิดที่ได้จากการเข้าอบรมในครั้งนั้นที่เจ้าตัวยอมรับว่า ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ของเขาไปอย่างสิ้นเชิง คุณเสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ (ประธาน) บริษัท เฉาก๊วย ชากังราว จำกัด 141/3 บ่อสามแสน หมู่ 6 ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โทรศัพท์ : 0 5585 4821 โทรสาร : 0 5585 4822 เว็บไซต์ : www.chaoguay.com ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ธ.ค. 2014
บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด พัฒนาความคิดสู่ความยั่งยืน
คุณเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการบริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ผู้สร้างตำนานน้ำกะทิสำเร็จรูปชาวเกาะจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ก่อนจะพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดตามมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ น้ำนมข้าวกล้อง V-fit เครื่องดื่มบุกผสมน้ำผลไม้ Fit-C น้ำแกงพร้อมปรุงรอยไทย จนเป็นที่ยอมรับของลูกค้ามากว่า 30 ปี เขาคือนักบริหารที่ฝ่าฟันอุปสรรคมามากมายจนสามารถเติบโตมาได้ถึงทุกวันนี้ ด้วยหลักคิดที่ว่าการทำธุรกิจต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพราะหากหยุดนั่นหมายถึงกำลังถอยหลังคุณเกรียงศักดิ์ได้ตัดสินใจนำอำพลฟูดส์ฯ เข้าร่วมโครงการ MDICP (โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งเน้นการให้คำปรึกษาแบบโค้ชชิ่ง จากทีมที่ปรึกษาที่มีความชำนาญเฉพาะทาง โดย MDICP ประกอบด้วย 5 แผนย่อยคือ แผน 1 การผลิต แผน 2 ระบบคุณภาพ แผน 3 เทคโนโลยี แผน 4 การเงินและแผน 5 การตลาด อำพลฟดู ส์ฯ นำที่เรียนรู้มาปรับปรุงเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุน อาทิ ในแผน 3 เรื่องเทคโนโลยี อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำให้ปรับความเร็วมอเตอร์และตั้งองศาใบมีดของเครื่องปอกมะพร้าวให้ถูกต้อง ทำให้ได้เนื้อมะพร้าวมากขึ้นกว่าเดิม ลดการสูญเสียลง ส่วนเนื้อมะพร้าวที่ติดผิวสีดำๆ แต่เดิมนำไปขายเป็นอาหารสัตว์กิโลกรัมละ 2-4 บาท อาจารย์แนะนำว่าถ้านำไปคั้นแล้วอาจจะได้กะทิสีน้ำตาลนิดๆ นำไปขายถูกกว่าปกติ 10% ก็สามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละ 20 บาท หรืออย่างค่าเชื้อเพลิง เดิมต้องจ่ายค่าน้ำมันเตา สำหรับบอยเลอร์ (Boiler) เดือนละ 2 ล้าน แต่ปัจจุบันค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นศูนย์ เพราะหันมาใช้กะลากับเปลือกมาอัดเป็นเชื้อเพลิงแบบเม็ดแข็ง “ยอมรับว่าเมื่อก่อนเรามุ่งแต่จะเพิ่มยอดขายโดยไม่ให้ความสำคัญเรื่องการลดต้นทุน สมมติว่าเราขายได้ 100 ล้าน นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะได้กำไร 100 ล้าน แต่เราลดต้นทุนได้ 100 ล้าน ก็เท่ากับว่าเรากำไร 100 ล้านทันที ปัจจุบันเราจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ ถ้ามองลึกๆ กรมฯ สอนให้เราคิดแต่ไม่ใช่ทำให้ หลายแห่งคิดว่าเทคโนโลยีคือเครื่องจักร คืออุปกรณ์ แต่มันไม่ใช่ มันคือความคิด เป็นวิธีการ เป็นกระบวนการการปรับปรุงในโรงงาน สิ่งที่เราได้ คือการพัฒนาความคิดขององค์กร และนั่นคือการพัฒนาที่ยั่งยืน” อำพลฟูดส์ฯ ยังได้เข้าร่วมโครงการEDIPP ซึ่งเน้นการพัฒนาแผนการผลิตและแผนเทคโนโลยี และเข้าร่วมโครงการ TEMที่เน้นการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานได้อย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี การมุ่งมั่นพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตอย่างต่อเนื่องทำให้บริษัทอุตสาหกรรมอาหารแห่งนี้เติบโตอย่างยั่งยืน และพร้อมที่จะก้าวต่อไปอย่างมั่นคง คุณเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำ กัด อาคารเทพผดุงพร 392/56-57 ซ.ปรีชาพาณิชย์ ถ.มหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : 0 2622 3434 ,0 2622 3838 ,0 2622 3737 โทรสาร : 0 2226 1829 เว็บไซต์ : www.ampolfood.com ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ธ.ค. 2014