ชุมชนบ้านม้าน้ำ
บ้านน้ำม้า คือ แหล่งท่องเที่ยวชุมชนของคนรักสุขภาพที่อุดมไปด้วยพืชผักสมุนไพรและวิถีธรรมชาติ ตั้งอยู่ในตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ดำเนินการโดยวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำม้า ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2561 มีสมาชิกที่ 20 คน โดยการนำของ คุณชนิดาภา ดวงปัน ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำม้า ผู้เชื่อมั่นในศักยภาพของพื้นถิ่น จึงนำความรู้จากการไปศึกษาดูงานมาพัฒนาบ้านเกิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน คุุณชนิดาภาเริ่มจากเปิดบ้านของตนเองเป็นโฮมสเตย์ ก่อนชักชวนคนในชุมชนมาทำการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยชูจุดขายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีสมุนไพรที่มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น ทำของที่ระลึกจากผ้าทอใยไผ่ เรียนรู้การทำชาใบไผ่ และกล้วยฉาบ โดยทุกกิจกรรมจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนไปพร้อมกันด้วย ผลพลอยได้จากการทำท่องเที่ยวชุมชน คือ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับบ้านน้ำม้าอย่าง “ชาโมโรเฮยะ” และ “ชาใบไผ่” ที่จำหน่ายภายใต้แบรนด์ NAM MA (น้ำม้า) ซึ่งอุดมไปด้วยคุณประโยชน์เพื่อสุขภาพ และคุณค่าทางโภชนาการ ขณะที่ปัจจุบันยังได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พัฒนาผลไม้พื้นบ้านหลากสรรพคุณอย่างตะคร้อ ผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องสำอางแบรนด์ “NAM” (น้ำ ) อีกด้วย โดยทำตลาดผ่านการออกบู๊ธตามงานต่างๆ และขายผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ชื่อของบ้านน้ำม้ากลายเป็นที่รู้จักและสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน หลังการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ขาดรายได้จากนักท่องเที่ยว คุณชนิดาภาจึงมีความคิดที่ิอยากปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างแหล่งรายได้ที่มั่นคงขึ้น จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมพลิกฟื้นธุรกิจด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ที่เหมาะสมให้ผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจในยุค Next Normal โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จากโครงการนี้เองที่ทำให้วิสาหกิจชุมชนบ้านน้ำม้าได้รับการสนับสนุนเครื่องอบแห้งลมร้อนที่มาทดแทนการคั่วด้วยมือเพื่อลดระยะเวลาในการผลิตลง จนทำให้สามารถผลิตชาเพื่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ถึงกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ “จากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ทำให้เราได้รับเครื่องอบมาซึ่งช่วยให้สามารถลดต้นทุนด้านแรงงานและพลังงาน ความร้อนจากกระบวนการผลิตลงได้ถึงหลักแสนบาทต่อปี รวมถึงลดระยะเวลาในการผลิตลงได้ถึงประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์ แม้ตอนนี้ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวยังเปิดไม่ได้เต็มที่แต่ทางกลุ่มฯ ก็ใช้เวลานี้ในการหาองค์ความรู้ใหม่ๆ มาพัฒนาตนเองและเตรียมความพร้อมด้านผลิตภัณฑ์ของเรา โดยอยากพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นที่รู้จักในตลาดมากขึ้น หากมีโอกาสก็อยากไปตลาดต่างประเทศดูควบคู่ไปกับพัฒนาการท่องเที่ยวของเราให้ยั่งยืน ชุมชนเป็นที่รู้จัก ผู้คนอยู่ดี กินดี มีรายได้ อยู่ด้วยความสามัคคี นี่คือ เป้าหมายที่อยากทำให้ได้หลังจากนี้” คุณชนิดาภากล่าวว่า เป้าหมายของธุรกิจไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งได้แต่เป็นการได้ร่วมกันของคนทั้งชุมชน และนี่คือดัชนีวัดความสำเร็จที่แท้จริง คุุณชนิิดาภา ดวงปััน วิิสาหกิิจชุุมชนท่่องเที่่ยว ชุุมชนบ้้านน้ำม้้า 10 ต.สถาน อ.เชีียงของ จ.เชีียงราย 57140 โทรศัพท์ 09 3169 2465 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2022
ชาวบ้านสยาม
พริกคั่วงาและน้ำพริกในบรรจุภัณฑ์ทันสมัย ใช้ชื่อแบรนด์เรียบง่ายว่า “ชาวบ้าน” วางขายอยู่ในห้างสรรพสินค้าหรูอย่างไอคอนสยาม ทั้งยังได้รับการคัดสรรเป็น OTOP 5 ดาว ได้ตั้งแต่ปีแรกที่เข้าร่วมโครงการ สะท้อนความไม่ธรรมดาของ “ห้างหุ้นส่วนจำกัดชาวบ้านสยาม” ผู้ประกอบการจากจังหวัดนครสวรรค์ ที่เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2560 โดยคู่แม่ลูก “คุณมลิวรรณ์และคุณกิตติยา วิไลรัตน์” ผู้ก่อตั้งชาวบ้านสยาม ในระยะแรกชาวบ้านสยามเริ่มจากผลิตสินค้าเพียงตัวเดียว คือ นํ้าพริกเผาตำมือบรรจุขวดแก้ว ต่อมาได้พัฒนาน้ำพริกเผาผัดนํ้ามันมะพร้าวรสชาติต่างๆ ออกมาจำหน่าย จากนั้นขยายไปสู่ตลาดขนมขบเคี้ยวโดยทำหมูหยองทรงเครื่อง รวมถึงผลิตภัณฑ์ตัวเอกอย่าง “พริกคั่วงา” รสชาติไทยๆ ออกสู่ตลาด จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ ไม่มีสีสังเคราะห์ ไม่ใส่ผงชูรสและสารกันบูด ทั้งยังคัดสรรวัตถุดิบธรรมชาติสดใหม่ เพื่อให้ได้มาตรฐานสุขอนามัยและความปลอดภัยสูงสุด โดยจำหน่ายสินค้าในแบรนด์ตัวเองประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือคือรับจ้างผลิต (OEM) 2 ปีหลังก่อตั้ง ธุรกิจชาวบ้านสยามได้รับการคัดสรรเป็น OTOP 5 ดาว ซึ่งเป็นปีแรกที่เข้าร่วมโครงการ และยังได้รับการคัดเลือกให้เข้าไปขายในโซนสุขสยามของห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม ทำให้มีโอกาสเข้าถึงลูกค้าชาวต่างชาติ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมทั้งจากลูกค้าชาวเอเชียและตะวันออกกลางที่เดินทางมาประเทศไทย นอกจากนี้ยังทำตลาดผ่านร้านของฝากและช่องทางออนไลน์ ทำให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติในเวลาต่อมา จนต้องเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง ที่มาของการขยายโรงงานใหม่เ พื่อให้ได้มาตรฐานและปูทางสำหรับการส่งออกที่จะเริ่มในปี 2565 โดยทายาทรุ่น 2 คุณกิตติยา วิไลรัตน์ ได้เข้าร่วมกิจกรรม “ยกระดับมาตรฐานและเพิ่มผลิตภาพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร” ภายใต้โครงการ 3.1-1 การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผลลัพธ์ที่ได้คือโรงงานได้รับอนุญาตให้เป็นสถานที่ผลิตอาหาร (GMP กฎหมาย) ผลิตภัณฑ์ได้รับอนุญาตเลขทะเบียน อย. และมีมาตรฐานพร้อมขยายตลาดส่งออกได้ตามแผน “หลังจากร่วมกิจกรรมดังกล่าว การดำเนินการขอมาตรฐานต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้นมาก นอกจากนี้เรายังได้คำแนะนำจากที่ปรึกษา นการลดต้นทุน และความสูญเสียในกระบวนการผลิตลงด้วย โดยการนำของเสียจากกระบวนการผลิตมาแปรรูปเป็นสินค้าใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นได้ถึงประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์” เมื่อมีโรงงานผลิตที่พร้อม เป้าหมายในการทำตลาดต่างประเทศก็มีความชัดเจนขึ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างส่งสินค้าตัวอย่างไปยังประเทศโอมาน และคาดว่าจะสามารถเปิดตลาดได้ภายในปี 2565 ขณะที่ในประเทศก็มองที่จะเปิดเป็นหน้าร้านของตัวเองในอนาคต รวมถึงแผนการขยายตลาด OEM และโฟกัสช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น ตลอดจนพัฒนาสินค้าและสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เพื่อให้ชื่อของ “ชาวบ้าน” ได้เติบใหญ่ และครองใจคนทั่วโลก คุุณกิิตติิยา วิิไลรัตน์ ห้้างหุ้้นส่่วนจำำกััด ชาวบ้้านสยาม 222 หมู่่ที่่ 2 ซ.ยางโทน 11 ถ.สวรรค์์วิิถีี ต.สวรรค์์ตก อ.เมืือง จ.นครสวรรค์์ 60000 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2022
ป้าแกลบ ฟรุ๊ต โปรดักส์
ยกระดับผลไม้เมืองจันท์ ทำ เงินล้านในวิกฤตด้วยออนไลน์ จันทบุรีคือเมืองผลไม้ขึ้นชื่อที่อุดมไปด้วยผลไม้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะทุเรียนซึ่งชื่อเสียงดังไกลทั้งในและต่างประเทศ ว่าในช่วงวิกฤตผลไม้ล้นตลาด ราคาทุเรียนตกต่ำ จุดประกายให้คุณวรรณี บุญสวัสดิ์ หรือป้าแกลบ” ชาวบ้านอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เกิดแนวคิดนำทุเรียนมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจนเป็นที่มาของแบรนด์ป้าแกลบ ภายใต้ บริษัท ป้าแกลบ ฟรุ๊ต โปรดักส์ จำกัด นำส่งผลไม้แปรรูป เช่น ทุเรียนทอด ทอฟฟี่ทุเรียน ทุเรียนกวน ฯลฯ จำหน่ายอยู่ในร้านของฝากทั่วประเทศ รวมถึงช่องทางออนไลน์ สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน หลังก่อตั้งธุรกิจในปี 2549 แบรนด์ป้าแกลบค่อยๆเติบโต จนกลายเป็นที่รู้จักของตลาดคนรักทุเรียน จากการค้นคว้า พัฒนา และปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในด้านคุณภาพ รสชาติ ความปลอดภัย ราคา กำลังการผลิต ตลอดจนการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ จนกระทั่งธุรกิจต้องประสบกับสถานการณ์โควิด -19 ทำให้ร้านของฝากซึ่งเป็นตลาดหลักต้องปิดตัวลงชั่วคราว คุณสุรดา บุญสวัสดิ์ ทายาทรุ่นสอง จึงพลิกวิกฤตให้เป็น โอกาสด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่ม SMEs และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูปภาคตะวันออก ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางออกกับเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมและนำองค์ความรู้ด้านการตลาดออนไลน์มาปลดล็อกธุรกิจจากวิกฤต “หลังร้านของฝากต่างๆ ต้องปิดตัวลงเพราะ สถานการณ์โควิด เราก็มาคิดกันว่าทำยังไงให้ธุรกิจไปต่อได้เพื่อทีมงาน 10 ชีวิต ที่อยู่กับเราจะได้ไม่ต้องถูกเลิกจ้าง ไม่อยากให้เขาต้องเดือดร้อน ซึ่งก่อนหน้านี้เราไม่ได้โฟกัสเรื่องตลาดออนไลน์เลย จนได้มาอบรมกับทางโครงการฯ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น จึงเริ่มนำสินค้าไปจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม Shopee และทำโปรโมชันส่งเสริมการขาย ปรากฏว่าได้รับการตอบรับดีมาก เราสามารถทำยอดขายในช่องทางออนไลน์ได้สูงถึง 1-2 ล้านบาทต่อเดือน จึงผ่านวิกฤตมาได้” ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและเห็นโอกาสจากตลาดออนไลน์มากขึ้น จึงได้วางกลยุทธ์ธุรกิจใหม่โดยจากเคยพึ่งพาหน้าร้านเป็นหลักก็จะขยายมาทางออนไลน์มากขึ้น เดิมเคยจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในแบรนด์ตัวเองประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็น OEM และขายส่งสำหรับลูกค้าที่ต้องการนำไปบรรจุและติดแบรนด์เอง ในอนาคตก็จะขยายมาทำตลาดขายส่งมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจและยังส่งออกไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้นด้วยเพื่อให้แบรนด์ผลไม้เมืองจันท์ที่ชื่อ “ป้าแกลบ” ยังอยู่ในใจคนรัก ทุเรียนและเติบโตแข็งแกร่งในทุกวิกฤต คุณสุรดา บุญสวััสดิ์์ บริิษััท ป้าแกลบ ฟรุ๊ต โปรดัักส์์ จำกััด 4/3 หมู่ที่ 8 ตำบลเขาบายศรีี อำเภอท่่าใหม่่ จัังหวััดจัันทบุรีี 22120 โทรศัพท์ 08 6366 3097 https://www.paklaeb.com/ ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
21 มี.ค. 2022
มะพร้าวน้ำหอมอัดเม็ด “COCO เชย”
แปรรูปแบบชิกๆ เด็ก-วัยรุ่นทานได้ สายเฮลตี้ทานดี จังหวััดสมุทรสาครมีีความโดดเด่่นเรื่่องการปลูกมะพร้้าวน้ำหอม เพราะเป็็นพื้นที่ที่มีีดิน 3 น้ำ คืือ น้ำจืืด น้ำกร่อย และน้ำเค็็ม ส่่งผลให้้มะพร้้าวน้ำหอมของที่นี่มีเอกลัักษณ์์ไม่่เหมืือนใคร เนื้อมะพร้้าวเหนีียวนุ่ม น้ำมีีความหวานโดยธรรมชาติ กลิ่นหอมคล้้ายกัับใบเตย วิสาหกิิจชุมชนมะพร้้าวน้ำหอมบ้้านกลางคลองตาปลั่งก่่อตั้งเมื่่อปี 2559 เพื่่อดำเนินการส่่งต่่อมะพร้้าวน้ำหอมของเกษตรกรไปสู่่มือผู้้บริโภค แรกเริ่่มก็ข็ายมะพร้้าวน้ำหอมเป็นลูกๆ ในลัักษณะมะพร้้าวควั่่นเขีียว มะพร้้าวควั่่นตลาด มะพร้้าวควั่่นขาว มะพร้้าวเจีียหัวโต ต่อมาผู้้นำอย่่างคุณศุภกร จุสวัสดิ์ ก็ริเริ่มเพิ่่มมูลค่่าผลผลิิตด้้วย การแปรรูป เพราะเมื่่อผ่าผลนำำน้ำมะพร้้าวออกขายก็ต้องคิิดต่่อว่่าเนื้อมะพร้้าวจะเอาไปทำอะไรต่่อที่ไม่่เสีียของ แถมยัังยืดอืายุสินค้้าได้ด้วยจนมาลงตัวที่วุ้นมะพร้้าวอ่อน พุดดิ้งมะพร้้าวอ่่อน มะพร้้าวแก้้ว แบรนด์์ “COCO เชย” สดจากสวนเชยแต่่ไม่่เชย โดยมีีผลิตภััณฑ์์ล่่าสุดที่ได้้รัับการตอบรัับถล่่มทลายเป็น มะพร้้าวน้ำหอมอััดเม็ด “เราไปปรึึกษากัับศูนย์์ส่่งเสริิมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ว่่าต้้องการยกระดัับมะพร้้าวผลสดและได้้เข้้าร่วมกิจกรรมเพิ่มศัักยภาพวิิสาหกิิจชุมชนด้้านการพััฒนา ผลิิตภััณฑ์์เกษตรแปรรูป อาจารย์ก็ให้้คำำแนะนำมาและเราก็็เลืือกทำมะพร้้าวน้ำหอมอััดเม็็ด ซึ่่งสามารถพััฒนา เป็นของฝากหรือลุยตลาดต่่างประเทศได้้ พอจบกิิจกรรมเราก็็ได้้มะพร้าวน้ำหอมอััดเม็็ดมา โดยอาจารย์์ท่่านได้้ช่่วยคิิดสโลแกนให้้ว่่า I Can't Believe It's Not Milk เพราะมัันคล้้ายนมอัดเม็ด แต่่เราไม่มีีส่่วนผสมของนมเลยเราเป็นนมพืชวีแกนอััดเม็ดจากมะพร้้าว” ความจริิงเคยมีีผู้้ประกอบการรายอื่นนำำมะพร้้าวแกงมาอััดเม็็ด แต่่มะพร้้าวน้ำหอมยัังไม่่มีีใครทำ ผู้้บริิโภคจึึงให้้ความสนใจเป็นพิิเศษด้้วยกลิ่นที่หอมชััดเจน ที่สำคััญคือปราศจากน้ำตาลความหวานได้้จากน้ำมะพร้้าวตามธรรมชาติล้้วนๆ เหมาะที่จะเป็นอาหารว่่าง ขนมขบเคี้ยว เด็็กรัับประทานได้้ วััยรุ่่นรัับประทานดีี โดยเฉพาะกลุ่่มคนที่รักสุขภาพในยุคนี้ ผลลััพธ์์จากการเข้้าร่วมโครงการในครั้้งนี้้ได้้ช่่วยเพิ่่มศัักยภาพทางการแข่่งขัันให้กับวิสิาหกิิจชุมชน มะพร้้าวน้ำหอมบ้้านกลางคลองตาปลั่่งเป็นอย่่างมาก นอกจากจะได้รับคำแนะนำำ จนสามารถสร้้างผลิิตภัณฑ์์ใหม่่ในรูปแบบมะพร้้าวน้ำหอมอััดเม็็ด ซึ่งเพิ่มรายได้ให้กับทางกลุ่มถึง 30 เปอร์์เซ็็นต์์ ซึ่งทางกลุ่มคาดว่่าถ้้าสถานการณ์์ดีีขึ้น รายได้้ส่่วนนี้้น่่าจะเพิ่่มขึ้นมากถึึง 50 เปอร์์เซ็็นต์์ นอกจากนี้การแปรรูปเป็นมะพร้้าวน้ำหอมอััดเม็ดยังช่วยในเรื่่องการยืดอืายุผลผลิิตอีีกด้้วย ปัจจุบัันมะพร้้าวน้ำหอมอััดเม็็ดขนาด 15 กรััม บรรจุ 12 เม็ดต่อซอง จำหน่่ายผ่่านเพจเฟซบุ๊ก และงานอีีเวนต์ต่างๆ ด้วยการตอบรัับที่ดีีเกินคาดลูกค้้าซื้้อแล้วกลัับมาซื้้อซ้ำ ทำ ให้้ต้้องเพิ่มกำำลัังการผลิิต ทั้งนี้้อุปสรรคสำคััญคืือวััตถุดิิบพร้อม แต่่เครื่่องจัักรไม่่พร้อม เนื่องจากทางกลุ่่มฯ ยัังไม่่มีีเครื่่องอััดเม็็ดเป็นของตนเอง จึึงต้้องอาศััยไปผลิิตที่ศูนย์์ส่่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ในเบื้้องต้้นหากภาครััฐช่วยส่่งเสริิมด้้านเครื่องไม้้เครื่องมือ นอกเหนือจากแนะนำำเทคนิคการขายออนไลน์์ ก็็จะช่วยให้้กิจการของชุมชนไปได้้เร็วยิ่งขึ้น คุณศุภกร จุลสวััสด วิสาหกิิจชุมชน มะพร้้าวน้ำหอม บ้้านกลางคลองตาปลั่ง 1 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้้านแพ้้ว อำเภอบ้้านแพ้้ว จัังหวััดสมุทรสาคร 74120 โทรศัพท์ 09 8994 5646 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 มี.ค. 2022
MUCH
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสวนส้มร่มเกล้า ที่เริ่มต้นจากไม่มีอะไร จนกลายมาเป็นแบรนด์สินค้าสำหรับคนรักสุขภาพ ปัจจุบัันเทรนด์์รัักสุขภาพยัังคงเติิบโตขึ้้นต่่อเนื่่อง ยิ่่งสถานการณ์์โควิิด-19 ที่่เกิิดขึ้้นมาก็็ยิ่่งทำำให้้ผู้้คนหัันมาดูแลเอาใจใส่่ด้้านสุขภาพของตนเองและคนที่รักมากขึ้น บริษัิท เจนเทิ่ลวิิน จำำกััด เป็นหนึ่่งในผู้้ผลิิตผลิิตภััณฑ์์เกษตรแปรรูปภายใต้้แบรนด์์ MUCH ตอบโจทย์์เทรนด์์ ดัังกล่่าวได้้เป็นอย่่างดีี โดยต่่อยอดมาจากผลผลิิตของสวนส้้มร่่มเกล้้าในเขต อ.พบพระ จ.ตาก ที่่มอบความใส่่ใจเริ่มตั้งแต่่ต้้นทางคืือการเพาะปลูกและตลอดกระบวนการผลิิต ด้วยความตั้้งใจที่จะเพิ่่มมูลค่่าให้กับผลผลิิตในสวนส้้ม ร่่มเกล้้าซึ่งเป็นของคุณพ่่อคุณแม่่ ทำให้้ คุณชิิชนก จิิตปรีีดากร หรือ นุ่่น ตััดสิินใจก่่อตั้งบริิษััท เจนเทิ่ลวิิน จำำกััด ขึ้นและเดิินหน้้าเติิมเต็็มความรู้้ด้้านการเป็นผู้้ประกอบการ เริ่่มด้วยการเข้้าร่วมกิิจกรรมพััฒนาเกษตร อุตสาหกรรมต้้นแบบอััจฉริิยะ (Genius Academy) ซึ่งจััดโดยกรมส่่งเสริิมอุตสาหกรรม (กสอ.) จากนั้นได้้เข้้าอบรมกัับกิิจกรรมอื่่นๆ อีีกหลายครั้้ง ตลอดจนส่่งตััวแทน ของบริษัิทฯ เข้้าร่วมเก็็บเกี่ยวความรู้้เพื่อนำำมาพััฒนาธุรกิิจอย่่างต่่อเนื่่อง “นุ่่นเติิบโตมาจากการดูแลของหน่่วยงานภาครััฐเลยก็็ว่่าได้้ คืือไม่่รู้้ว่่าจะเริ่่มต้้นอย่่างไรพอตั้งบริิษััท เมื่อปี 2560 ก็็เข้้าอบรม Genius Academy ของ กสอ. ก่่อนเลย จากนั้นมีีอบรมที่ไหนก็็เข้้าร่่วมตลอด มาเริ่มทำำธุรกิิจและวางจำำหน่่ายสิินค้้าจริิงๆ จัังๆ ก็็ในปี 2561” เธอกล่่าว จากผลผลิิตที่มีีมากกว่่าส้้มในสวนส้้มร่่มเกล้้ายัังมีีผลผลิิตอื่นๆด้วย เช่่น มะคาเดเมีีย อะโวคาโด มะม่วง รวมถึึงพืืชตระกูลเบอร์์รีีต่่างๆ จึึงเป็นที่มาของผลิตภััณฑ์์ เกษตรแปรรูป ไม่่ว่่าจะเป็็นมะคาเดเมีียอบรสธรรมชาติิ, นมมะคาเดเมีีย, แยมผิิวส้้ม และล่่าสุดยัังมีีอีีกหนึ่งผลิิตภััณฑ์์ก็คือ ธััญพืืชและผลไม้้รวมรสส้้ม (กราโนลา) ฉีีกแนวจากผลิิตภััณฑ์์กราโนลาที่มีีอยู่่ในท้องตลาดทั่่วไป “การพััฒนาผลิิตภััณฑ์์ต้้นแบบของโครงการ มีีแนวคิิดจากการที่ผู้้ประกอบการต้้องการพััฒนาผลิิตภััณฑ์์เพื่่อสุขภาพที่มีีแคลอรีีต่ำ โดยใช้้วััตถุดิิบ ทางการเกษตรจากสวนที่เพาะปลูกเอง จึึงได้้พััฒนาผลิิตภััณฑ์์กราโนลาซึ่งเริ่่มเป็นที่นิิยมในปัจจุบััน โดยต้้องการผลิตภััณฑ์์กราโนลาที่่มีรสชาติิดีี หอม หวานน้้อย กรอบแบบมีีเนื้้อสััมผัสเต็มคำของธััญพืืชและผลไม้ที่มาจากวััตถุดิิบที่่เพาะปลูกในสวน ซึ่งการใช้้วััตถุดิิบที่่เพาะปลูกเองสามารถช่่วยลดต้้นทุนการผลิตและยัังเป็นการช่่วยเพิ่่มูลค่่าทางเศรษฐกิิจให้้กัับทางบริิษััทด้้วย โดยในเวลานี้อยู่่ระหว่่างการพััฒนาสิินค้้าอีีกหลายรายการ เช่่น นมมะคาเดเมีีย จะผลิิตเป็นรูปแบบกล่่อง UHT กราโนลา คาดว่่าจะเปิิดตััวได้้ในปี 2565 และอื่่นๆ จะทยอยเปิดตัวออกมาอีีก อีีกทั้้งมีีเป้าหมายในการขยายตลาดให้้กว้้างมากขึ้น แม้้จะมีีวางจำหน่่ายแล้วทั้้งทางออฟไลน์์ในร้้านค้้าและซูเปอร์์มาร์์เก็ตชั้้นนำำ เช่่น 7-Eleven และออนไลน์์ แต่่ส่่วนใหญ่่ยัังกระจุกตััวอยู่่ในพื้้นที่กรุงเทพฯ จึึงต้้องการผลัักดััน MUCH ซึ่่งเป็นผลิิตภััณฑ์์เพื่่อสุขภาพที่อยู่ในกลุ่่ม นิชิ มาร์์เก็็ตไปสู่่ตลาดแมสมากขึ้น คุุณชิิชนก จิิตปรีีดากร บริิษััท เจนเทิ่ลวิิน จำำกััด 91/3 หมู่่ที่ 4 ตำบลคีีรีีราษฎร์์ อำเภอพบพระ จัังหวััดตาก 63160 โทรศัพท์ 09 4282 3962 https://muchromklao.com/ ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 มี.ค. 2022
แป้งมันเม่งเส็ง
ส่งไม้ต่อทายาทรุ่น 2 สร้างแต้มต่อให้ธุรกิจ เทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าได้เข้ามามีบทบาท สำคัญขึ้นเรื่อยๆ ต่อแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีการนำมาปรับใช้เพื่อสร้างแต้มต่อและเพิ่มความสามารถในการแข้งขันให้กับธุรกิจกันมากขึ้นไม่เว้นแม้แต่โรงงานแป้งมันเม่งเส็งที่มี,ทายาทรุ่นที่ 2 คุณปนัฏฐา สัตถากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แป้งมันเม่งเส็ง จำกัด เข้ามาต่อยอดและขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น จากลานมันที่รับซื้อหัวมันสดจากเกษตรกรโดยตรงได้ปรันตัวเข้ามาสู่ธุรกิจโรงงานแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลังเมื่อ 10 ปีก่อน (2555) ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักคือโรงงานผลิตกระดาษเน้นส่งออกถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อ 5 ปีก่อน คุณปนัฏฐาได้เข้าไปช่วยธุรกิจเริ่มที่การขยายฐานลูกค้าให้หลากหลายขึ้น ตลอดจนการพัฒนาเว็บไซต์ และโซเชียสมีเดียต่างๆ เพื่อให้เป็นช่องทางสำหรับลูกค้าติดต่อเข้ามายังบริษัทได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงงานแปรรูปแป้งมันด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยเธอเล่าว่าได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) รวมถึงครั้งล่าสุด คือ กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำการเพิ่มผลิตภาพโดยใช้เทคโนโลยีติจิทัลและเชื่อมโยง เครือข่ายอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายคสัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2564 ซึ่งได้นำหลายๆ เรื่องมาใช้ ประโยชน์ เช่น การลดของเสียและการเพิ่มอัตราการผลิต การจัดการ Dead Stock การใช้บาร์โค้ดเข้ามาช่วยควบคุม จำนวนสต็อกสินค้าทั้งที่เป็นสินค้าแป้งมันและอะไหล่เครื่องจักร นำเครื่องมือดิจิทัลเข้ามาช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถรู้ว่าสต็อกส่วนไหนใกล้หมดก็จะสามารถสั่งมาล่วงหน้าและสั่งให้พอดีกับ การใช้งานได้ "การอบรมแต่ละครั้งถือว่าได้รับประโยชน์มาก เพราะจะมีการประชุมกันก่อนทุกครั้งว่าทางคลัสเตอร์ต้องการให้จัดในหัวข้ออะไรจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สำหรับโรงงานแป้งมันของเมงเส็งเอง ตอนนี้ มองว่าหลายๆอย่างเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นและยังสามารถ พัฒนาจากจุดนี้ไปได้อีกมาก เช่น ตอนนี้นำระบบ คอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมการผลิต การจัดการสต็อกสินค้าซึ่งผลจากการเข้าร่วมโครงการช่วยให้บริษัทลดต้นทุนสต็อกลง 59.58 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถลดต้นทุนได้เป็นเงิน 1,843,118 บาท และเป้าหมายต่อไปก็คือการทำเป็นระบบออโตเมชัน ล่าสุดทางกลุ่มคลัสเตอร์ยังคุยกันถึงเรื่อง ERP (Enterprise Resource Planning) ซึ่งกำลังดูอยู่ว่าจะใช้ระบบใดที่จะท่าให้ Lost น้อยที่สุดและการทำงานต้องไม่ซับซ้อนเป็นต้น" คุณปนฎฐา สัตถาฤล บริษัท แชงมันเบ่งเส็ง จำกัด 99 หมู่ที่ 20 ถ.ด่านขุนทด-ชัยบาดาล ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา 30210 โทรศัพท์ 08 7963 1939 http://www.mengseng.co.th/ ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
17 มี.ค. 2022
ถอดความสำเร็จ 30 ปี น้ำผึ้งทวีโชค เส้นทางแสนหวานที่ทุกคนเติบโตไปด้วยกัน
สมาชิกในกลุ่มจะผลัดกันเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ เพื่อเติมเต็มธุรกิจให้เติบโต และช่วยผลักดันให้เครือข่ายเข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้สั่งสมประสบการณ์ปั้นธุรกิจผึ้งทวีโชคมากว่า 30 ปี คุณรัตติมา ใจชื่น ได้ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มเป็นสมาชิกคลัสเตอร์อุตสาหกรรมน้ำผึ้ง เพื่อนำองค์ความรู้ที่มีมาแบ่งปัน และสร้างเครือข่ายขยายธุรกิจของตนเองและสมาชิกให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน เชื่อมต่อธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน ด้วยเทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรง ทำให้น้ำผึ้งถูกใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ประกอบกับฐานลูกค้าของทวีโชคที่มีอยู่อย่างเหนียวแน่นทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขายให้ผู้บริโภครายย่อย ขายส่งให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลิตสินค้าแบบ OEM ให้ลูกค้านำไปติดแบรนด์ของตนเอง ทำให้มีกำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเชื่อมโยงสมาชิกในกลุ่มมาเป็นคู่ค้าทางธุรกิจ โดยมีการแบ่งหน้าที่ผลิตน้ำผึ้งตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตามความถนัดของแต่ละคน เช่น บางคนมีความรู้ด้านปศุสัตว์ก็ให้ไปดูแลในส่วนของการเลี้ยงผึ้ง บางคนมีความสนใจด้านการออกแบบก็ให้ดูแลเรื่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งพอมี Networking หรือมีเครือข่ายการทำงานจากสมาชิกในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมาก เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เชื่อมั่นในคุณภาพจากการสร้างมาตรฐานร่วมกัน ถึงแม้จะไม่ได้ลงมือผลิตสินค้าเองทุกขั้นตอน แต่ก็มั่นใจในคุณภาพ เพราะภายในกลุ่มจะสร้างมาตรฐานการผลิตร่วมกัน และนำผลผลิตที่ได้ไปตรวจสอบ เพื่อยืนยันคุณภาพอีกรอบที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้สมาชิกในกลุ่มรวมถึงคุณรัตติมาเอง ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขึ้นมาตรฐานฟาร์มผึ้งที่ออกเอกสารยืนยืนโดยกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรับรองคุณภาพการผลิต สร้างความเชื่อมั่นให้แก่สมาชิกภายในกลุ่มที่เป็นคู่ค้า สะท้อนให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ในการทำธุรกิจ ว่าสินค้าทุกชิ้นที่ส่งออกสู่ผู้บริโภคเป็นน้ำผึ้งแท้ ที่ได้คุณภาพ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ผึ้งทวีโชคดำเนินธุรกิจมากว่า 30 ปี และคุณรัตติมาได้ส่งต่อเคล็ดลับนี้โดยเน้นย้ำกับสมาชิกในกลุ่มอยู่เสมอ แชร์องค์ความรู้แบบพี่สอนน้อง สมาชิกภายในกลุ่มไม่เพียงแต่เข้ามาเป็นผู้รับ แต่ยังผลัดกันเป็นผู้ให้ โดยมีการแชร์องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันเหมือนพี่มาสอนน้อง ไม่ว่าจะเป็นความรู้เรื่องการแปรรูปน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขี้ผึ้ง ลูกอมน้ำผึ้ง สบู่น้ำผึ้ง ครีมน้ำผึ้ง เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิต และเพิ่มยอดขายให้กับสมาชิกในกลุ่ม หรือความรู้เรื่องการทำการตลาดที่คุณรัตติมาที่มีความเชี่ยวชาญ และได้มีโอกาสไปอบรมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเรื่อง e-Commerce Platform อย่างการทำเว็บไซต์ และการขายสินค้าผ่านช่องทาง Marketplace เช่น Shopee Lazada จึงนำประสบการณ์และความรู้มาถ่ายทอดให้สมาชิกในกลุ่ม ได้นำไปเพิ่มยอดขายผ่านการขายสินค้าในช่องทางออนไลน์เหล่านี้ ไม่ว่าจะทำธุรกิจมานานแค่ไหน การเข้าร่วมกลุ่มคลัสเตอร์มาแบ่งปันประสบการณ์ ดึงจุดแข็งที่มีมาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงเชื่อมโยงเครือข่ายให้แน่นแฟ้น ก็สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณไปได้ไกลได้มากยิ่งขึ้น
03 มี.ค. 2022
พัฒนาคุณภาพ ยกระดับให้ก้าวไกลสู่สากล
อยากพัฒนาให้กาแฟของเรามีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม อยากทำให้คนที่กินกาแฟ นึกถึงกาแฟของจังหวัดเชียงรายเป็นที่แรก… คลัสเตอร์กาแฟเชียงราย เป็นกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายกาแฟภายในจังหวัดเชียงราย โดยจะมีผู้ประกอบการตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำที่เริ่มจากการปลูกกาแฟ จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการกลางน้ำที่จะนำผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาแปรรูป คั่วให้ได้เป็นเมล็ดกาแฟ แล้วส่งต่อไปที่กระบวนการปลายน้ำ สำหรับจัดจำหน่าย หรือนำไปทำเป็นเครื่องดื่มต่อไป ในจังหวัดเชียงราย มีผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเกษตรกรที่อาจจะยังไม่ได้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการปลูก เก็บเกี่ยว รวมไปถึงวิธีการประกอบธุรกิจกาแฟในขั้นตอนต่างๆ มากนัก ทำให้ผลผลิตที่ได้ออกมาอาจยังไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร เมื่อนำไปขายจึงได้ราคาที่ไม่สูงมาก เนื่องจากถูกพ่อค้าคนกลางรับซื้อในรูปแบบของการเหมาเกรดเมล็ดกาแฟ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการมารวมกลุ่มกันในครั้งนี้ โดยปัจจุบันนี้ภายในกลุ่มมีสมาชิกประมาณ 50 ราย ซึ่งสมาชิกในกลุ่มเองก็มีความตั้งใจอยากจะพัฒนาคุณภาพผลผลิต เพื่อยกระดับให้เมล็ดกาแฟมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับผู้บริโภคได้รับรู้ว่า เมื่อไรก็ตามที่นึกถึงกาแฟดีมีคุณภาพ จะนึกถึงกาแฟที่มาจากจังหวัดเชียงรายเป็นที่แรก หลังจากที่ได้เข้ามารวมกลุ่มกันจนกลายเป็นคลัสเตอร์ กลุ่มของคุณแมวเองก็ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหลายๆ ภาคส่วน โดยเฉพาะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่เข้ามาให้ความรู้เชิงลึก ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การกำจัดแมลงที่อาจส่งผลให้ผลผลิตของผู้ประกอบการคุณภาพน้อยลง กระบวนการตาก วิธีจัดเก็บเข้าคลัง รวมไปถึงวิธีคั่วให้ออกมาเป็นเมล็ดกาแฟ นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ยังมี “MFU Food Maker Space” ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เข้ามาพัฒนาฝีมือ เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ จากการลงมือทำจริง ทั้งวิธีการคัดแยกเกรดกาแฟ การชิม การชงกาแฟ ซึ่งก็มีผู้ประกอบการบางรายที่ประสบความสำเร็จ มีผลผลิตที่มีคุณภาพ ผ่าน Cupping Score ของเกณฑ์มาตรฐานการชิมกาแฟ และได้นำผลิตภัณฑ์นั้นไป Blend ต่อยอดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์รสชาติใหม่ ซึ่งจุดนี้ก็จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการได้มากขึ้นด้วย สเต็ปต่อไปที่คุณแมว รองประธานกลุ่มวางแผนไว้เลยก็คือ อยากพัฒนาศักยภาพของสมาชิกภายในกลุ่ม ด้วยการนำผู้ประกอบการบางส่วนที่มีความพร้อม หรือค่อนข้างมีศักยภาพ ขึ้นมาเป็นตัวอย่างในการนำร่อง เพื่อให้สมาชิกท่านอื่นๆ เห็นผลลัพธ์ว่า ธุรกิจจะสามารถเติบโตไปในทิศทางไหนได้บ้าง ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญที่คุณแมววางไว้เลยก็คือ อยากทำให้ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกในกลุ่มมีคุณภาพที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีมาตรฐานมารองรับ เพื่อเป็นการยกระดับกาแฟไทยให้ไปไกลสู่สากล แถมยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แม้จะเพิ่งรวมกลุ่มกันไม่นาน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การมีเป้าหมายที่ชัดเจนย่อมเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่จะทำให้คลัสเตอร์เติบโต และก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแรง
03 มี.ค. 2022
ไขเคล็ดลับ หัวใจหลักที่ทำให้กลุ่มแข็งแรง
กลุ่มเรามีความเชื่อมโยงกันมาก มีอะไรก็ช่วยเหลือกันตลอด...ธุรกิจใครที่พอยืนได้แล้ว ก็จะยื่นมือมาพยุงเพื่อนที่เพิ่งตั้งไข่ อุตสาหกรรมสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสมุนไพร ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำเลย คุณชัย ชัยสันท์ หิรัญสาลี ประธานกลุ่มบอกว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้กลุ่มของเราแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ เลยก็คือ สมาชิกทุกคนจะเชื่อมโยงถึงกันตลอด ไม่เพียงแต่การแบ่งปันวัตถุดิบให้กัน แต่ยังรวมไปถึงการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ทอดทิ้งสมาชิกคนใดไว้ข้างหลัง ภายในกลุ่มของคุณชัยจะมีผลิตภัณฑ์ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สมุนไพรที่ได้มาจากการเพาะปลูก อย่าง ขมิ้น ฟ้าทะลายโจร กระชาย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จำพวก ยาดม ยาหมอง น้ำมันคลายเส้น ลูกประคบ ชา ไวน์ แชมพู สบู่สมุนไพร ที่ได้รับการแปรรูปมาเรียบร้อยแล้ว คุณชัยเล่าให้ฟังว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งปลูกสมุนไพรที่ดีที่สุดในโลก เนื่องจากมีแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำเกษตรและพืชสมุนไพร คุณชัยเลยตั้งเป้าหมายของการมารวมกลุ่มในครั้งนี้ไว้ว่า อยากจะผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกภายในกลุ่มมีคุณภาพมากขึ้น ได้รับมาตรฐานรองรับ พร้อมผลักดันให้สมุนไพรไทยได้ไปสร้างชื่อเสียงและตลาดในต่างประเทศด้วย ขั้นตอนแรกที่สมาชิกทำหลังจากมารวมกลุ่มกันเลยก็คือ การพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่กัน ทั้งในเรื่องของการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงช่องทางการขาย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ นอกจากนี้สมาชิกในกลุ่มยังได้ลงไปศึกษางานในพื้นที่จริง ถึงแนวคิด วิธีปฎิบัติงานในขั้นตอนต่างๆ ตามสถานที่ที่ประกอบกิจการของสมาชิกแต่ละคนอีกด้วย ซึ่งความรู้ที่ได้รับนั้น ก็จะนำมาต่อยอดและพัฒนาธุรกิจตัวเองต่อไป มากไปว่าการแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในกลุ่มแล้ว ทางกลุ่มของคุณชัยเองยังได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 10 ด้วยการจัดอบรม เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องที่สมาชิกอาจจะยังขาดความเชี่ยวชาญไป อาทิ การทำผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานรองรับ การทำการตลาดออนไลน์ การจัดทำ Packaging ให้มีความน่าสนใจ ซึ่งเรื่องที่วิทยากรจะนำมาให้ความรู้นั้น ก็จะมาจากการโหวตผ่านที่ประชุมก่อนทุกครั้งว่าสมาชิกอยากจะได้ความรู้ในเรื่องไหนเป็นพิเศษ คลัสเตอร์ของคุณชัยเอง จะค่อนข้างให้ความสำคัญกับธุรกิจของสมาชิกเป็นลำดับต้นๆ หากใครกำลังจะพัฒนาหรือทำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ๆ ออกมา แล้วต้องการวัตถุดิบในการแปรรูป พวกเขาจะมองหาวัตถุดิบนั้นๆ จากสมาชิกในกลุ่มก่อน เช่น ผู้ประกอบการที่ทำเครื่องสำอาง แล้วต้องการขมิ้นไปเป็นส่วนประกอบ ก็จะอุดหนุนเกษตรกรภายในกลุ่มก่อน นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้แล้ว ยังอาจพัฒนาไปเป็น Business Matching ทางธุรกิจต่อไปได้อีกด้วย แผนการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไปของกลุ่มเลยก็คือ การพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกในกลุ่ม ได้รับมาตรฐานรองรับอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GMP หรือมาตรฐาน Organic เองก็ตาม หากผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มมีมาตรฐานรองรับ ก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์และผู้บริโภคเอง แถมยังเป็นการช่วยผลักดันให้สมุนไพรไทยก้าวไปได้ไกลในระดับสากลด้วย แม้ตอนนี้ภายในกลุ่มของคุณชัยเอง จะมีผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ได้รับมาตรฐาน และกำลังเตรียมตัวที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศแล้ว แต่ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจนั้นๆ ก็ยังไม่ทิ้งกลุ่มไปไหน พวกเขายังคอยมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มตั้งไข่ เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กัน การเข้ามารวมกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ย่อมทำให้ธุรกิจพัฒนาและเติบโตไปข้างหน้า แต่ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คลัสเตอร์ผนึกกำลังจนกลายเป็นความเข้มแข็งได้นั่นก็คือ “การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เหมือนที่คุณชัยและสมาชิก ยึดไว้เป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานภายในคลัสเตอร์ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา
03 มี.ค. 2022
แชร์ความรู้เพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกลุ่มคลัสเตอร์
ไม่ว่าธุรกิจจะเล็กหรือใหญ่ หากร่วมใจกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ก็จะช่วยพัฒนาให้ธุรกิจของเราเข้มแข็งขึ้นได้อย่างแน่นอน อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง เป็นคลัสเตอร์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งจะอยู่ในกระบวนการกลางน้ำเป็นหลัก โดยสมาชิกในกลุ่มจะรับหัวมันจากเกษตรกรที่อยู่ในกระบวนการต้นน้ำ แล้วนำมาผลิตเป็นแป้งมันสำปะหลังต่อไป นอกจากนี้สมาชิกภายในกลุ่มยังทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรงงานผลิต Biogas รวมไปถึงโรงงานไฟฟ้าเอง หลังจากที่ผลิตจนได้เป็นแป้งมันสำปะหลังออกมาเรียบร้อยแล้ว ทางกลุ่มอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ก็จะเป็นเหมือนธุรกิจต้นน้ำที่ส่งต่อผลผลิตไปให้อุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อนำไปประกอบธุรกิจต่อไป โดยหลักๆ แล้วแป้งมันสำปะหลังจากทางกลุ่มนี้ จะถูกส่งไปที่อุตสาหกรรม 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบ Food เช่น โรงงานทำเส้นหมี่ ที่จะนำแป้งมันสำปะหลังไปแปรรูปเป็นเส้นหมี่ และแบบ Non-Food เช่น โรงงานผลิตกระดาษ ที่จะใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวเคลือบความขาวของกระดาษ หรือโรงงานสิ่งทอ ที่จะนำแป้งมันสำปะหลังไปเคลือบเส้นใยก่อนนำไปผลิตเป็นเสื้อผ้า เป็นต้น เป้าหมายหลักที่คุณแมว วันเพ็ญ อ่อนวงษ์ ประธานกลุ่มวางไว้เลยก็คือ อยากจะพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเสริมสร้างให้ธุรกิจของสมาชิกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งการมารวมกลุ่มกันจนกลายเป็นคลัสเตอร์เหมือนดั่งทุกวันนี้ ก็มีส่วนช่วยให้ธุรกิจของสมาชิกในกลุ่มเข้มแข็งขึ้นได้มากเลยทีเดียว อย่างแรกที่คุณแมวให้ความสำคัญเลยก็คือ การพูดคุย แชร์ไอเดีย คอนเซ็ปต์วิธีการทำงานให้กันและกัน เพื่อให้สมาชิกท่านอื่นๆ สามารถหยิบจับเทคนิคจากเพื่อนร่วมกลุ่มไปพัฒนากระบวนการผลิตของธุรกิจตัวเองต่อไปได้ เช่น วิธีทำให้แป้งไม่ติดไปกับน้ำเยอะเกินไป เนื่องจากขั้นตอนการผลิตแป้งมันสำปะหลังนั้น ตัวแป้งเองจะสามารถติดออกไปกับน้ำได้ หากมีวิธีทำที่ถูกต้องก็จะช่วยลดปัญหาตรงนี้ลงได้ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการมีจำนวนแป้งมันสำปะหลังที่จะนำไปขายต่อได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการแชร์วิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้สามารถใช้งานได้นานขึ้นอีกด้วย ไม่เพียงแต่การแชร์ความรู้กันภายในกลุ่มเท่านั้น แต่กลุ่มของคุณแมวเองยังได้รับการซัพพอร์ตจากทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ในการจัดหาเจ้าหน้าที่เข้ามาให้ความรู้ในเรื่องที่สมาชิกภายในกลุ่มยังขาดความเชี่ยวชาญตรงจุดนั้นไป ซึ่งความรู้ที่ได้รับมานั้นก็จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ตลอดจนพัฒนาให้ธุรกิจมีศักยภาพในการผลิตที่ดีขึ้น เช่น ระบบการจัดเก็บข้อมูล ที่สมาชิกภายในกลุ่มอาจจะยังไม่ได้ทำในรูปแบบเดียวกัน บางโรงงานบันทึกลงโปรแกรม แต่บางโรงงานก็ยังบันทึกในรูปแบบของกระดาษอยู่ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญก็จะเข้ามาบอกว่าจะต้องเก็บข้อมูลอย่างไร ใช้ข้อมูลประเภทไหนบ้าง เพื่อเซ็ตระบบให้ทุกโรงงานภายในกลุ่มทำออกมาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งข้อมูลที่เก็บไว้นั้น ก็จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบการทำงานให้ดีขึ้นต่อไป นอกจากนี้ทางกลุ่มของคุณแมวเอง ยังได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยพัฒนากระบวนการผลิต อาทิ นำเครื่อง IOT มาติดไว้ที่เครื่องจักร โดยเครื่องนี้จะเข้ามาช่วยจับความร้อนและความสั่นของเครื่องจักร ทำให้คนไม่ต้องเดินไปเช็กที่เครื่องจักรตลอดเวลา รวมไปถึงระบบออโตเมชัน ที่จะเข้ามาช่วยเซ็ตให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงจุดนี้ก็จะช่วยให้การผลิตมีความแม่นยำมากขึ้น แถมยังลดแรงงานคนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย การเข้ามารวมกลุ่มจนกลายเป็นคลัสเตอร์นั้น สามารถช่วยพัฒนากระบวนการผลิตในธุรกิจของสมาชิกได้จริง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่ม รวมถึงธุรกิจแข็งแรงเลยก็คือ การร่วมมือร่วมใจกันของสมาชิก ที่ช่วยกันแบ่งปันข้อมูลความรู้ จนนำไปสู่การพัฒนาให้ธุรกิจแข็งแรงนั่นเอง
03 มี.ค. 2022