"เอกนัฏ" ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอยุธยา ย้ำพื้นที่เศรษฐกิจปลอดภัย พร้อมรับมือน้ำหลากเต็มพิกัด
25 ตุลาคม 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รักษาการผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายวัชระ กระแสร์ฉัตร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายธนกฤต โพธิ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นายสุโชติ ศิริยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง และ นางสาวกรชวัล สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วม เพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เพื่อป้องกันผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประเทศ “การลงพื้นที่วันนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ทางนิคมฯ เขตประกอบการฯ สวนอุตสหากรรม และโรงงานต่าง ๆ มีการเตรียมความพร้อมที่ดีและเพียงพอต่อการรับมือกับสถานการณ์อุทกภัยที่มีแนวโน้มว่าจะค่อนข้างรุนแรงกว่าปีก่อน แม้ว่าขณะนี้พื้นที่โดยรอบของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยบ้างแล้ว แต่พื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม สวนอุตสาหรรม ตั้งอยู่ยังไม่ได้รับผลกระทบ และขอให้เชื่อมั่นว่าเราได้เตรียมการรับมืออย่างเต็มกำลัง มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำหลากอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชน ด้วย 8 มาตรการหลัก ได้แก่ 1.จัดการระบบระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 2.เสริมคันกั้นน้ำ 3.ระบบสูบน้ำพร้อมใช้ 4.อุปกรณ์ครบพร้อมช่วยเหลือ 5.ติดตามสถานการณ์ 24 ชั่วโมง 6.เฝ้าระวังประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง 7.ซ้อมแผนรับมือเป็นประจำ และ 8.สื่อสารแจ้งเตือนผ่านทุกช่องทาง“ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
28 ต.ค. 2024
"ดีพร้อม" เปิดบ้านต้อนรับหน่วยงานพันธมิตร พัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์อัจฉริยะและโซ่อุปทาน สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ ตามนโยบาย "รมต.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 24 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานต้อนรับหน่วยงานพันธมิตรเครือข่ายด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ร่วมด้วย 1) ดร.ปิยะนุช สัมฤทธิ์ นายกสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย 2) ดร. ศรีสลา ภวมัยกุล รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย 3) นายธรรศ ทังสมบัติ นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป 4) รศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 5) นายดำริ นามพญา กรรมการผู้จัดการบริษัท ดิจิวิว แอดเวอร์ไทซิ่ง กรุ๊ป จำกัด 6) นายศิริชัย เบ็ญจพรเลิศ ทายาทรุ่นที่ 3 ของบริษัท โง้วเจงง้วน จำกัด พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือการดำเนินงานของดีพร้อม ตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่“ ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการ “สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยการปฏิรูปอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ผ่านการบูรณาการกับหน่วยงานพันธมิตรเครือข่ายโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประกอบด้วย สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย ผู้ให้บริการการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการ/ส่งเสริมให้มีบริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางเรือ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบวิสาหกิจอันเกี่ยวกับผลิตอาหารและอาหารสำเร็จรูป สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น หน่วยงานการศึกษาที่มีการต่อยอดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมประยุกต์ใช้กับการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรม บริษัท ดิจิวิว แอดเวอร์ไทซิ่ง กรุ๊ป จำกัด ผู้จัดงาน Thailand Industrial Fair งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยี เครื่องจักร และบริการโลจิสติกส์ครบวงจร และบริษัท โง้วเจงง้วน จำกัด ผู้ผลิตน้ำเต้าหู้แบรนด์ ‘ฟองฟอง’ น้ำเต้าหู้ผสมฟองเต้าหู้เจ้าแรกของไทยที่ได้นำระบบโลจิกติกส์และโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ซึ่งพันธมิตรเหล่านี้จะสามารถช่วยจะขับเคลื่อนสร้างเครือข่าย และความร่วมมือต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับคุณภาพมาตรฐานในการประกอบการขนส่งสินค้า โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีให้เข้าถึงผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืน ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นการนำพันธมิตรเครือข่ายโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมายกระดับภาคอุตสาหกรรมของประเทศในสาขาต่าง ๆ อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม เกษตรแปรรูป ที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ซึ่งจะช่วยยกระดับ เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการเชื่อมโยงผู้ผลิตวัตถุดิบภายในประเทศกับโซ่อุปทานการผลิตของโลกได้ รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์อัจฉริยะ เพื่อส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพให้สถานประกอบการมีการจัดการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
28 ต.ค. 2024
ปลัดฯ ณัฐพล เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ร.5 ณ วัดเบญจมบพิตร
กรุงเทพ 23 ตุลาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมด้านกำกับตรวจสอบการประกอบการ คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม นายมานัส ทารัตน์ใจ ที่ปรึกษากรมการศาสนา และประชาชนทั่วไปเข้าร่วม น้อมลำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ณ พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร กิจกรรมในงานบำเพ็ญกุศลนี้ จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า โดยมีการตักบาตรและทำบุญอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ 23 ตุลาคม อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ ภายในงาน มีการประกอบศาสนกิจต่าง ๆ อาทิ การสวดมนต์ การถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และการเทศน์ธรรมเทศนา โดยมีศิษยานุศิษย์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มูลนิธิเบญจมบพิตร และสมาคมเบญจมบพิตร เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงกัน พิธีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเคารพรักและความกตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
24 ต.ค. 2024
"รมต.เอกนัฏ" สั่งการ ก.อุตฯ รุดลงพื้นที่ภาคเหนือกางแผนความช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู วางมาตรการทางการเงินให้แก่โรงงานและประชาชนที่ได้รับกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย
จ.เชียงใหม่-ลำปาง 21-22 ตุลาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อชุมชน (MIND COMM) พร้อมอาคารศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคเหนือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเตมีย์ พันธุ์วงค์ราช ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นางพัชรี สองสีโย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายประสิทธิ์ ศรีพรหม อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง นายเจษฎา ถาวรศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นางสาวธนิตา ทองเงา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคเหนือ นายอนุพงษ์ แสงอรุณทอง ผู้อำนวยการอาวุโสภาค 1 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นายชัยยุทธ สุขเสริม ผู้อำนวยการสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 3 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคม 2567 ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชนเป็นอย่างมาก กระทรวงอุตสาหกรรม โดย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จัดทำแผนเยียวยา บรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย โดยในเบื้องต้นมีข้อมูลความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย โรงงานที่ได้รับกระทบ จำนวน 35 โรงงาน ส่งผลกระทบต่อมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 170 ล้านบาท ซึ่ง อก. โดย สอจ.เชียงใหม่ ร่วมกับ ศภ.1 กสอ. ได้มีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้ 1) มาตรการส่งธารน้ำใจไปยังโรงงานและผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย ประกอบด้วย การมอบถุงยังชีพ กล่องส้วมกระดาษ น้ำดื่ม ข้าวสาร กล่องใส่อาหารพลาสติก และชุดเครื่องปรุง พร้อมมอบเงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทำความสะอาด และเลี้ยงอาหารกลางวัน และ 2) มาตรการเยียวยาและการฟื้นฟูได้ร่วมกันทำความสะอาดสถานประกอบการ และประสานงานขอรถขนน้ำ/ฉีดน้ำแรงดันสูง ทั้งจากผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและสำนักงานเทศบาลจากจังหวัดข้างเคียง เพื่อเข้าช่วยเหลือหน่วยงานราชการและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมหลังน้ำลดเกิดเป็นตะกอนดิน และ 3) มาตรการทางการเงิน (1) กรณีเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระโดยตรง - พักชำระหนี้ ต้นและดอกเบี้ย 12 เดือน เงินกู้ฉุกเฉิน รายละไม่เกิน 200,000 บาท เพื่อฟื้นฟูกิจการ ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เงินกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) รายละ 2,000,000 บาท และเงินให้สินเชื่อ Green Productivity เพื่อซื้อเครื่องจักร ดอกเบี้ยต่ำวงเงินรายละ 10 ล้านบาท (2) กรณีเป็นลูกค้าได้รับผลกระทบทางอ้อม - พักชำระหนี้ ต้นและดอกเบี้ย 12 เดือน และ (3) กรณีลูกค้าสินเชื่อกองทุนพัฒนาตามแนวประชารัฐ - พักชำระหนี้ เงินต้น 3 เดือน และสามารถใช้วงเงินสินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ทั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคเหนือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ โดยสร้างความเสียหายแก่ห้องปฏิบัติงานกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ห้องเงินทุนหมุนเวียน ห้อง DIPROM BSC ห้องแสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ห้อง DIPROM GMP ROOM ห้องศูนย์เรียนรู้กาแฟภาคเหนือ ห้องศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่ ห้องหมวดยานยนต์ มอเตอร์ปั๊มน้ำ ระบบไฟฟ้า และครุภัณฑ์สำนักงาน โดยแผ่นลามิเนตหลุดออกจากพื้นเดิมทั้งหมด ผนังห้องเป็นคราบน้ำ โคลนและสีหลุดกร่อนออกจากตัวผนัง ทั้งโต๊ะเก้าอี้ ถูกน้ำ ท่วมชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งเบื้องต้นได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ กระเบื้องปูพื้น หินคลุกถมพื้นที่ ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในและภายนอกอาคาร รถฉีดน้ำแรงดันสูงสำหรับทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอกอาคารทั้งหมด ซ่อมบำรุงเครื่องมือ และอุปกรณ์เครื่องจักรภายในห้อง DIPROM ITC หลังจากนั้น ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่จังหวัดลำปาง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมการป้องกันเหตุอุทกภัยจากวัสดุป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural Disaster Protection Meterials) เช่น วัสดุกำแพงป้องกันน้ำท่วม โดยวัสดุผลิตจากเศษขยะพลาสติกที่เหลือทิ้ง นำมาบดขึ้นรูปใหม่ ซึ่งมีคุณสมบัติในการกั้นน้ำ มีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม อายุใช้งานมากกว่า 10 ปี ลดภาระการใช้กระสอบทราย รับน้ำหนักได้ถึง 225 กิโลกรัม จัดเก็บรักษาได้ง่ายกว่ากระสอบทรายทั่วไป
24 ต.ค. 2024
"ดีพร้อม" ร่วมประชุม กมอ. เร่งพิจารณาร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 22 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ครั้งที่ 741-10/2567 พร้อมด้วย นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการฯ เข้าร่วม โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม 230 ชั้น 2 อาคารสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) การประชุมในครั้งนี้ เพื่อรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของ กมอ. และการดำเนินการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมในสาขาต่าง ๆ และรายงานผลการทำผลิตภัณฑ์บางประเภทให้สิ้นสภาพ พร้อมทั้งพิจารณาร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรฐาน สมรรถนะของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มเติมทั้งสิ้น 79 มาตรฐาน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 15 เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภค และอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ พร้อมกันนี้ ได้ให้ความเห็นชอบรายชื่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่จะจัดทำในปี 2568 เพิ่มเติมอีกจำนวน 512 มาตรฐาน
24 ต.ค. 2024
"เอกนัฏ" ล่องใต้ ลงพื้นที่สุราษฎร์ฯ! มอบนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” สั่งการ “ดีพร้อม” ดึงลงทุนต่างชาติ ขับเคลื่อน SMEs ภาคใต้สู่ความยั่งยืนด้วย BCG
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 21 ตุลาคม 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หลังลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อมอบนโยบายและรับฟังข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ 7 จังหวัด (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาคเอกชน และมอบนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น เน้นพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและความยั่งยืน ชี้โอกาสการลงทุนจากความได้เปรียบด้านภูมิรัฐศาสตร์ พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาผังเมืองและมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งในเศรษฐกิจท้องถิ่นและการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เวทีโลก นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภายหลังการลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 เพื่อมอบนโยบายและรับฟังข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่”เร่งการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย” โดย “Save อุตสาหกรรมไทย” ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ “การสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจและสงคราม โดยประเทศไทยมีข้อได้เปรียบอย่างมากด้านภูมิรัฐศาสตร์และภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติในช่วงเวลาที่หลายประเทศต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนจากสถานการณ์โลก กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวทางชัดเจนในการใช้ข้อได้เปรียบเหล่านี้เพื่อสร้างโอกาสให้กับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประชุมดังกล่าวตัวแทนภาคเอกชนได้นำเสนอประเด็นปัญหาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาทิ ปัญหาผังเมือง การขับเคลื่อน Climate Change แผนจัดการแรงงานที่เข้ามาทำงานและอยู่อาศัยในพื้นที่ รวมถึงกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีจุดแข็งจากการเกษตรและการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พร้อมมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อมก็จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจของพื้นที่ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในท้องถิ่น โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผ่านการส่งเสริมการสร้างเครือข่าย การพัฒนาองค์ความรู้ และการฝึกอบรม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัว พัฒนาธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่าง และแผนการจัดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม หรือ คพอ.ดีพร้อม ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี 2568 ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญในการแสดงพลัง และศักยภาพของผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เติบโตอย่างเข้มแข็งต่อไป “หนึ่งในนโยบายสำคัญที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ คือ การปฏิรูปและพัฒนาธุรกิจ SMEs ให้มีความยั่งยืน พร้อมมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ การส่งเสริมการให้ SMEs ของไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นในระดับสากล ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงฯ มุ่งมั่นผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ การใช้โมเดล BCG ในภาคอุตสาหกรรมเกษตรเป็นหนึ่งในแนวทางหลักในการยกระดับศักยภาพการผลิตของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ขณะเดียวกันยังช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ SMEs ของเราสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างยั่งยืน" นายเอกนัฏ กล่าว ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้เสนอจัดตั้ง กองทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ในการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนผ่าน โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนวัตถุดิบ และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โมเดลนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและแปรรูป ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมนี้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและขยายตลาดได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีแผนการขยายผลโมเดล BCG สู่ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่มีศักยภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่มุ่งเน้นการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนในระยะยาว ถือเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นและ SMEs ของไทย เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายในยุคปัจจุบันและอนาคต และเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่เน้นความยั่งยืนและนวัตกรรมอย่างแท้จริง นายเอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย
21 ต.ค. 2024
“ณัฏฐิญา” เผยดีพร้อม ยันเดินเครื่องพัฒนาอาหารถิ่นอาหารไทย หนุนร้านอาหารชุมชน จับมือเครือข่าย "สถาบันอาหาร" หารือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ สานนโยบาย “รมต.เอกนัฏ”
กรุงเทพฯ 18 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทย สาขาอาหาร ร่วมกับสถาบันอาหาร พร้อมด้วย นางเบญจมาภร เอกฉัตร์ ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมหารือดังกล่าว ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก ปฏิรูปอุตสาหกรรม เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมวัฒนธรรม ธุรกิจ และความเป็นไทยให้ก้าวสู่ซอฟต์พาวเวอร์ในระดับสากล โดย "ดีพร้อม" ได้บูรณาการกับ "สถาบันอาหาร" ร่วมดำเนินโครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ภายใต้งประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2567 ประกอบด้วย 1) การจัดทำ e-learning ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร 2) การจัดงานแถลงข่าวผลความสำเร็จและพิธีปิดโครงการ 3) การเผยแพร่งานส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้เร่งเดินหน้าจัดทำแผนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ทั้งในสาขาอุตสาหกรรมอาหาร และแฟชั่น ประกอบไปด้วย 1) การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 2) การพัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาทักษะอาชีพ และการดำเนินธุรกิจ 3) การพัฒนาธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถของซอฟต์พาวเวอร์ไทย โดยการส่งเสริมธุรกิจให้ได้การรับรองมาตรฐาน หรือเครื่องหมายการรับรองไทยและสากล 4) การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย สู่ระดับประเทศและระดับสากล เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างแบรนด์ของสินค้า อีกทั้งเป็นการส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจทั้งในระดับประเทศและสากล และ 5) การสนับสนุนปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยด้วยการสร้างและส่งเสริมปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของซอฟต์พาวเวอร์เชื่อมโยงความร่วมมือ สร้างเครือข่ายพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทย และเป็นการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจ
21 ต.ค. 2024
ก.อุตฯ จัดทัพจิตอาสา ร่วมทำความดี รวมใจ น้อมถวายวันปิยมหาราช ร่วมปรับปรุงภูมิทัศน์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพฯ 19 ตุลาคม 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ทำความดีด้วยหัวใจ น้อมถวายวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2567” ที่จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายเอกนิติ รมยานนท์ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมด้านกำกับตรวจสอบการประกอบการ และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมด้วย ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ สำหรับกิจกรรมจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ทำความดีด้วยหัวใจ น้อมถวายวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2567” เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในครั้งนี้มีกิจกรรมประกอบด้วยการถวายสังฆทานร่วมกัน จากนั้นเป็นพิธีเปิดกิจกรรม โดยจิตอาสาที่ร่วมในพิธีถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว และกล่าวคำปฏิญาณพร้อมกัน “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” จากนั้นผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะจิตอาสากระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันตรวจระบบไฟฟ้ารอบบริเวณวัดว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่ โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยอำนวยสะดวกให้การแก้ไข ซ่อมแซมในจุดที่ชำรุดต่อไป และร่วมกันทำความสะอาดโดยรอบบริเวณพระระเบียงค โดยทำการกวาดพื้น ถูพื้น ขัดพื้น ปัดฝุ่น และเก็บขยะโดยรอบ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ตั้งอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพฯ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาวัดด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ และพระราชทานนามว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” ซึ่งหมายถึง “วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5” ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐาน พระพุทธชินราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้หล่อเมื่อปี พ.ศ.2444 เป็นพระนั่งสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย ซึ่งจำลองจากองค์จริงที่จังหวัดพิษณุโลก ประดิษฐาน ณ พระแท่นรัตนบัลลังก์ และภายในวัดมีสถานที่สำคัญ และน่าสนใจมากมายทั้ง ศาลาสี่สมเด็จ พระที่นั่งทรงธรรม หอระฆังบวรวงศ์ พระอุโบสถ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณในสมัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัดที่สำคัญของเมืองไทย
21 ต.ค. 2024
"ดีพร้อม" กางแผนซอฟต์พาวเวอร์ วางผังบูรณาการ 3 ปี ตอบรับข้อสั่งการ "รมต.เอกนัฏ" เร่งขับเคลื่อนแฟชั่น อาหาร สร้างสรรค์
กรุงเทพฯ 17 ตุลาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมนำเสนอแนวทางการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการนำเสนอโครงการ/กิจกรรมของดีพร้อมในปี 2568 ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ แนวคิดการดำเนินโครงการในการพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ให้มีความรู้ และมีทักษะในการประกอบอาชีพ ยกระดับอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้แต่ละภูมิภาคมีจุดเด่นของสินค้าและบริการที่แตกต่างและหลากหลาย โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม และ สอจ. ในพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งการพัฒนาช่องทางการตลาดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ จัดทำระบบติดตามข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมและการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ อีกทั้ง ได้ส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการซัพพลายเชน ลดความสูญเสียด้วยระบบโซ่ความเย็น มุ่งเน้นการเปลี่ยนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและแก้ไขปัญหาทางธุรกิจในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ผ่านการให้บริการของศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM BSC) ด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกสำหรับการดำเนินธุรกิจ การส่งเสริมและพัฒนาผู้เริ่มต้นประกอบธุรกิจจนสามารถจัดตั้งและขยายธุรกิจได้ พร้อมเชื่อมโยง Startup กับแหล่งเงินทุน รวมถึงการจัดให้มีการอบรมเพื่อทักษะความรู้ทั้งบุคลากรภายในและภายนอกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นหนี้ และสามารถจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายได้ พร้อมสามารถสร้างนักออกแบบ และสนับสนุน Social Enterprise โดยส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม พัฒนาทั้งเครื่องจักร เครื่องทุ่นแรง เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป พัฒนานักธุรกิจเกษตรยุคใหม่ พัฒนาสินค้า Super Food อาหารแห่งอนาคต ในการยกระดับผู้ประกอบการในทุกระดับให้เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ สร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ พัฒนาชุมชนดีพร้อม กระจายไปในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ยังมีการปรับหลักสูตร คพอ.ดีพร้อม ให้สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ ให้มีความเข้มข้น ทันสมัย แตกต่างจากหลักสูตรของสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เสริมทักษะด้านเทคโนโลยีและระบบ IOT ขยายผลการศึกษาของโครงการในระดับจังหวัดได้ นอกจากนี้ ดีพร้อม ได้ยังเดินหน้าส่งเสริม Soft Power แฟชั่น และอาหาร เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถในการสร้างสรรค์และต่อยอดผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการให้บริการ ที่มีเสน่ห์ มีคุณค่า สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เผยแพร่ให้อัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จัก เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์
21 ต.ค. 2024
ปลัดฯ ณัฐพล รับมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค เตรียมแพคถุง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ด้วยในปัจจุบัน ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝนอย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดมรสุม มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุทกภัย สร้างความเสียหายต่อการดำรงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนและสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพื่อรวมใจส่งมอบรอยยิ้ม ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการ “อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย” โดยในวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น เพื่อเตรียมแพคถุงเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัย โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ได้รับความอนุเคราะห์ ข้าวสาร และน้ำตาลทราย จากผู้ประกอบการ ได้แก่ บริษัท ข้าวอร่อย จำกัด และบริษัท น้ำตาลทรายสระบุรี จำกัด ทั้งนี้ การดำเนินการโครงการอุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย เพื่อจัดทำถุงบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของจำเป็น เป็นถุงยังชีพที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้
18 ต.ค. 2024