สมองกับอิทธิพลต่อการ Kaizen


25 พ.ย. 2021    nutnaree    91

 

     เคยสังเกตหรือไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงมักจะไม่ง่ายอย่างที่คิด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนงาน ลดความอ้วน

 

 

ทำไมการเปลี่ยนแปลงจึงยาก

     สมองคนเรามีหลายส่วน ส่วนที่มีการพัฒนามายาวนานคือก้านสมอง (Reptilian brain) ส่วนนี้จะควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ และ หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย

 

     สมองส่วนที่เพิ่งพัฒนาไม่นานคือ สมองส่วนกลาง (Mammalian brain or midbrain) เป็นส่วนควบคุมอารมณ์ และ การป้องกันตนเองเพื่อการอยู่รอด

 

 

     ส่วนที่พัฒนาใหม่สุดคือ คอร์เทกซ์ (Cortex) เป็นส่วนที่อยู่บนสุดครอบคลุมสมองทั้งหมด ส่วนนี้จะช่วยให้เรามีความคิดอ่านเป็นมนุษย์ คือมีความที่เป็นเหตุเป็นผล และ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และ ดนตรี

 

     ปัญหาที่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ยากเพราะสมองทั้ง 3 ส่วนทำงานไม่ไปทางเดียวกันนั่นเอง ทำให้ความพยายามเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตเราไม่เป็นไปตามเป้าหมาย บางครั้งสมองส่วนเหตุผล (Cortex) อยากออกกำลัง แต่ก็ถูกความกลัวจากส่วนกลางทำให้เราระงับการเปลี่ยนแปลง

 

     มาถึงตรงนี้ การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) จะเข้ามาช่วยได้ เพราะการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเป็นการปรับปรุงแบบก้าวสั้น ๆ เปรียบเหมือนเต่าแข่งกับกระต่าย เต่าเดินทุกวันอย่างต่อเนื่อง จนถึงเป้าหมายที่กำหนด การเดินก้าวสั้น ๆ นี้แหละที่ทำให้เราก้าวข้ามสมองส่วนกลางไป

 

     ตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะนำ 5ส. มาใช้ในหน่วยงานควรกำหนดพื้นที่ตัวอย่างในแต่ละส่วน เมื่อทำสำเร็จก็ขยายผลต่อไปยังส่วนอื่น ส่วนที่ทำแล้วก็ได้รับการตรวจสอบอยู่เสมอ

 

     ถ้าเป็นการปรับปรุงตนเอง เช่นต้องการควบคุมน้ำหนัก สมองส่วนเหตุและผลกำหนดแผนออกกำลังวันละชั่วโมง ที่ยิมใกล้บ้าน แต่การเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดแบบนี้สมองส่วนกลางจะทำงานเพื่อป้องกันเราอย่างไม่มีเหตุผล อาทิ 1 ชั่วโมงนานไปนะ จะเจอใครที่ยิม จะบาดเจ็บจากการออกกำลังไม๊ ยิมที่เราไม่เคยไปจะเป็นอย่างไร ฯลฯ หากลองนำแนวคิดแบบ Kaizen มาใช้ โดยเริ่มจากการตั้งเป้าหมายเดินวันละ 5 นาที แทน แล้วค่อยขยับมากขึ้น

 

 

การนำการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) มาใช้

     ถามคำถามตนเองถึงการเปลี่ยนแปลงโดยเป็นคำถามที่ทำให้เราผ่อนคลาย หรือ เชิงบวก ซึ่งจะช่วยให้สมองทั้ง 3 ส่วนทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังนำความคิดสร้างสรรค์ และความคิดต่างออกมาใช้เพื่อการปรับปรุงงาน/ตนเองด้วย

 

     คำถามเช่น วันนี้หาของไม่เจอลองสะสางสักกล่องดูดีไม๊? แล้วลงมือทำ หรือ ต้องการออกกำลังกายก็ลองถามตัวเองดูว่าอยากออกกำลังแบบไหน? อย่าถามคำถามที่ทำให้เราเครียด เช่น ฉันจะมีเงินล้านได้อย่างไร? คำถามที่กดดันมาก ๆ จะไปกระตุ้นความกลัว/ความเครียดของสมองส่วนกลาง ดังนั้น หากเราให้เวลาสมองเราคิดว่าจะทำให้เป้าหมายที่กำหนดให้สำเร็จได้อย่างไร ผลคือเราจะสนุกกับงานที่เราทำไม่ใช่จากที่คนอื่นคิด

 

 

     ทั้ง 4 ภาพเป็นการค่อย ๆ ปรับปรุง เมื่อการปรับปรุงครั้งแรกได้รับการยอมรับ ความกล้าในการปรับปรุงครั้งต่อไปจะตามมาก จนบุคลากรตระหนักว่าการปรับปรุง เล็ก ๆ น้อย ๆ (Kaizen) เป็นเรื่องปกติที่เขาสามารถทำได้ตลอดเวลา เขาจะข้ามไปสู่การใช้สมองส่วน Cortex มากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่ผู้บริหารจะให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงงานของพนักงานหรือไม่?