Category
“เอกนัฏ” ปาฐกถาพิเศษ FTI EXPO 2025 เสริมพลังอุตสาหกรรมไทย เพื่ออนาคตไทยที่ยั่งยืน
15 กุมภาพันธ์ 2568 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ แนวทางการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมไทยสู่อนาคต ในงาน FTI EXPO 2025 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “EMPOWERING THAI INDUSTRY, ELEVATING THAILAND’S FUTURE เสริมพลังอุตสาหกรรมไทย เพื่ออนาคตไทยที่ยั่งยืน” โดยมี นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ ณ Hall 5-8 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย มีพื้นที่เศรษฐกิจ EEC พื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมเป็นแรงผลักดันสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และที่สำคัญมีสภาอุตสาหกรรมที่ช่วยผลัดดันภาคอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่ทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ปัญหาท้าทายภาคอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน เช่น ปัญหาการเผาอ้อย จับสินค้าเถื่อนไม่ได้มาตราฐาน กระทรวงอุตสาหกรรมได้ใช้มาตราการอย่างเต็มที่เพื่อแก้ไขปัญหา แต่วันนี้ภารกิจที่กระทรวงอุตสาหกรรมเผชิญต้องได้ร่วมมือกับทางสภาอุตสาหกรรมในการปฏิรูปอุตสาหกรรม ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี Ai ปัญญาประดิษฐ์มาแก้ไขปัญหา และส่งเสริมสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถประกอบกิจการได้อย่างสะดวกและมีความรับผิดชอบ ในอนาคตกระทรวงอุตสาหกรรมจะนำเทคโนโลยี Ai ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในกระบวนการออกใบอนุญาต ให้มีความโปร่งใส มีความสะดวกมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ปลดล็อก“โซลาร์รูฟท็อป” โดยผู้ประกอบการหรือประชาชนไม่ต้องขอใบอนุญาต รง.4 เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในทุกภาคส่วน ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมผลักดัน พรบ.กากอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นกฎหมายสำคัญในการจัดการและแก้ไขปัญหากากอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน “กระทรวงอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วนยินดีสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอย่างเต็มที่เพื่อให้ทุกธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมที่จะปรับแก้ไขใช้เทคโนโลยีสร้างความสะดวกและโปร่งใส เตรียมความพร้อมให้ SME ไทยขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ปฎิรูปอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืน“ รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวปิดท้าย
21 ก.พ. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” แท็คทีมดีพร้อม ประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินการทำงานฯ ปี 68 สร้าง “ดีพร้อมคอมมูนิตี้” เน้นปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ร่วมดัน GDP ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 11 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางและรูปแบบการติดตาม การประเมินผลและการประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการของ กสอ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) และคณะที่ปรึกษาจาก บริษัท ทริส คอร์ปอเชั่น จำกัด ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) พระรามที่ 6 ราชเทวี และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อชี้แจงแนวทางและรูปแบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม กสอ. ปี 2568 และเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดยการติดตามและประเมินผลฯ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ตรงตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้ พร้อมทั้งดำเนินการวิเคราะห์และประเมินผลปัจจัยที่ทำให้เกิดความคุ้มค่าทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและนโยบายของดีพร้อม และแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับปี 2568 ดีพร้อม มีแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมผ่าน 6 กลไกสำคัญ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก 2) การนำเทคโนโลยี ดิจิทัล นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ 3) การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 4) การเชื่อมสิทธิประโยชน์ 5) การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร และ 6) การผลักดันธุรกิจสู่สากล ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ได้แก่ 1) ให้ทักษะใหม่ 2) ให้เครื่องมือที่ทันสมัย 3) ให้โอกาสโตไกล 4) ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน และปฏิรูปดีพร้อม ซึ่งดีพร้อมคอมมูนิตี้นี้ จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวให้ทันต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงบวกในหลายมิติ ทั้งระดับพื้นที่และระดับประเทศ สอดรับกับการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ "สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย” พร้อมร่วมผลักดัน GDP ให้เพิ่มขึ้นอีก 1% ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โดยดีพร้อมได้มอบหมายให้ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จํากัด เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการติดตามและประเมินผลดังกล่าว ซึ่งจะมุ่งเน้นถึงความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายประเทศ นโยบายกระทรวงฯ การดำเนินงานที่สะท้อนความก้าวหน้าในการสนับสนุนแผนประเทศและบทบาท กสอ. ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและส่งเสริมผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ รวมถึงความสอดคล้องการพัฒนาผู้ประกอบการเชิงพื้นที่และความต้องการของตลาดและรูปแบบการทำธุรกิจในอนาคต โดยในปีนี้ทางทีมที่ปรึกษาฯ จะเพิ่มเครื่องมือสำหรับการประเมินผลฯ จากเดิมที่ใช้เครื่องมือประเมินผล CIPPi Model เพียงอย่างเดียว แต่ด้วยข้อจำกัดในการประเมินฯ มีขอบเขตที่แคบ ทำให้เพิ่มเครื่องมือ OECD ในการประเมิน โดยเพิ่มเติมในส่วนของความยั่งยืนและความคุ้มค่าเข้ามา เพื่อให้ครอบคลุมทุกลักษณะการดำเนินงานของ กสอ. อันจะสะท้อนให้เห็นผลกระทบครอบคลุมทุกมิติ ทั้งนี้ ดีพร้อมมีแผนการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย 9 แผนงาน และมีโครงการที่เป็น Flag Ship จำนวน 3 โครงการ อีกทั้ง ยังมีโครงการที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาล คือ โครงการ Soft Power ทั้งสาขาอาหารและสาขาแฟชั่น โดยมีเป้าหมายพัฒนาผู้ประกอบการในปี 2568 กว่า 23,500 ราย และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 8,500 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
21 ก.พ. 2025
“ดีพร้อม" นำทีมร่วมประชุมบอร์ดจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม 68 เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอีที่ประกอบการดี ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 11 กุมภาพันธ์ 2568 - นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรมประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 พร้อมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารหน่วยงานเอกชน คณะทำงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบ (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่าง ๆ ประกอบด้วย คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม อุตสาหกรรมดีเด่น และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 คณะทำงานพิจารณากลั่นกรองรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2568 และคณะทำงานจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2568 พร้อมให้ผู้แทนคณะทำงานแต่ละประเภทรางวัลนำเสนอองค์ประกอบคณะและชี้แจงหลักเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2568 ทั้ง 14 ประเภทรางวัล ได้แก่ ประเภทรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม 1 รางวัล ประเภทรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 9 รางวัล และประเภทรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น 4 รางวัล โดยมุ่งเน้นให้เฟ้นหาผู้ประกอบการที่ดี ปฏิบัติตามแนวทางการปรับอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ ภายใต้กรอบแนวคิดและทิศทางการทำงานตามนโยบาย “MIND” ของกระทรวงอุตสาหกรรม และสอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะทำงานเกี่ยวกับการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การเพิ่มความชัดเจนในหลักเกณฑ์การคัดเลือกแต่ละประเภทรางวัล การเปิดกว้างแก่ผู้สมัครรายใหม่เพื่อเป็นการส่งเสริมสถานประกอบการต้นแบบ การเข้มงวดกับคุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกรางวัลฯ เพื่อให้ได้สถานประกอบการที่ดีและสามารถเป็นต้นแบบให้แก่สถานประกอบการอื่น ๆ ต่อไป ตลอดจนเน้นย้ำให้กำหนดระยะเวลาในแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ผู้แทนจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (โรงงานเกตเวย์) ในฐานะทูตอุตสาหกรรมภาคเอกชน หรือ MIND Ambassador ประจำปี 2567 ได้กล่าวเพิ่มเติมในที่ประชุมว่า บริษัทฯ กำลังทำหน้าที่เป็นต้นแบบของการเจริญเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม ให้เป็นไปอย่างสมดุลตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจากการเข้าร่วมคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2567 ที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ มีการเตรียมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมอย่างรอบด้าน โดยมีการแก้ปัญหาในเรื่องที่เป็นจุดอ่อนและเสริมศักยภาพทุกหน่วยอย่างเป็นระบบ ทำให้องค์กรพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเห็นว่าสถานประกอบการที่ได้รับรางวัล ควรรักษามาตรฐานของรางวัลและพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นเอสเอ็มอีต้นแบบได้ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมแกร่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตได้ไกลในระดับสากล
21 ก.พ. 2025
รมว.เอกนัฏ นั่งหัวโต๊ะ ถกภาครัฐ – เอกชน หาแนวร่วมขับเคลื่อนวิสาหกิจไทย เดินหน้าดัน SMEs เชื่อมโยงซัพพลายเชนรายใหญ่ หวังยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืน
กรุงเทพฯ 10 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย โดยมี นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนจากสมาพันธ์ สถาบัน และสมาคมเครือข่ายทั้งภาครัฐ-เอกชนกว่า 30 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 401 ชั้น 4 อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร ถ.พระรามที่ 4 กล้วยน้ำไท คลองเตย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาวิสาหกิจเพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม SMEs ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีโอกาสเข้าถึงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน ตามนโยบาย "สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย” โดยเชื่อมโยงกับการดึงดูดการลงทุนของ BOI เพื่อให้ SMEs มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ หรือบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ทำให้เกิดการสร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขัน และกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ เพื่อผลักดัน GDP ให้เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1% โดยไม่ต้องใช้งบประมาณจากภาครัฐ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมตอบรับนโยบายของ รมว.เอกนัฏ ในการดึงดูดการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ โดยวางแผนสร้างคอมมูนิตี้นิคมอุตสาหกรรม SMEs เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริมและพัฒนาทักษะบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนผู้ประกอบการในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างระบบอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานดังกล่าว เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับดีพร้อมมีแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งส่งเสริม สนับสนุน ผู้ประกอบการทุกระดับให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นและแข่งขันได้ในตลาดโลกผ่าน 6 กลไกสำคัญ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก 2) การใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ 3) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน 4) การเชื่อมสิทธิประโยชน์ผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5) การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร และ 6) การผลักดันธุรกิจสู่สากล เพื่อให้วิสาหกิจไทยสามารถ “สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเครือข่าย” สอดคล้องตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้” ดังนั้น การหารือกับพันธมิตรเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 หน่วยงานในวันนี้ จะเป็นการกำหนดแนวทางเชื่อมโยง SMEs ให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนในนิคมฯ SMEs ร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่ สอดรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ ในการดึงดูดการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้วิสาหกิจไทยอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
20 ก.พ. 2025
เชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ปั้นนักสร้างสุข สู่นวัตกรรมองค์กรแห่งความสุขด้วย HAPPY8
เชิญเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร ปั้นนักสร้างสุข สู่นวัตกรรมองค์กรแห่งความสุขด้วย HAPPY8 ภายใต้โครงการ : ส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เติมเต็มความสุขให้กับองค์กรของคุณ กำหนดการ วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2568 ณ ศูนย์ Happy Workplace Center DC10 ห้อง Co-Working Space บริเวณชั้น 1 อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 หัวข้ออบรมที่น่าสนใจ แนวทางสร้างองค์กรแห่งความสุข Happy 8 กรณีศึกษา Happy & Innovation นวัตกรรมสร้างสุข การสำรวจความสุของค์กรด้วยเครื่องมือ Happy-Meter Workshop ออกแบบกิจกรรมสร้างสุขที่ตอบโจทย์องค์กร สิทธิประโยชน์ รับบริการวัดค่าความสุข รับสื่อเกี่ยวกับการสร้างองค์กรแห่งความสุข บริการอื่นๆ จากหน่วยงานเครือข่ายสนับสนุนฯ บริการยืมสื่อนิทรรศการฯ เพื่อเสริมสร้างทักษะการออกแบบกิจกรรมแห่งความสุขเพิ่มศักยภาพองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุขที่ยั่งยืน รับจำนวนจำกัดเพียง 40 ท่าน (องค์กรละ 5 ท่าน) ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นางวริศรา ชาติทรัพย์สิน 06 5969 6462
18 ก.พ. 2025
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม
เชิญผู้ประกอบการที่สนใจสมัครเข้าร่วม กิจกรรม พัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : ยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติผู้สมัคร ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs วิสาหกิจชุมชน/OTOP เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ผู้ประกอบการด้านเกษตร/เกษตรแปรรูป/อาหารแปรรูป เกษตรกรรายย่อย ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วัน 18 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2568 ณ โรงแรมสยามริเวอร์รีสอร์ท อ.เมือง จ.ชัยภูมิ สิ่งที่ท่านจะได้รับ แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม การบริหารจัดการธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการด้านการตลาดธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ การสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้โดนใจลูกค้า การออกแบบโมเดลธุรกิจด้วย BMC กลยุทธ์การจัดการด้านการเงินและการจัดหาเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รับสมัครวันนี้ - 17 มี.ค. 2568 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับสมัคร 50 ท่าน เท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 0 4441 9622 ต่อ 300,301,303 08 1955 8623 (คุณเอ๋ วารุณี) 06 4530 3579 (คุณใหม่ นฤมล)
18 ก.พ. 2025
เชิญสมัครเข้าร่วมหลักสูตร เสริมความรู้ด้าน อย. กฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการขอ อย. สำหรับผู้ประกอบการ
เชิญสมัครเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เสริมความรู้ด้าน อย. กฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการขอ อย. สำหรับผู้ประกอบการ ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อย่างที่ทราบว่าการขึ้นทะเบียน อย. ในปัจจุบันมีประเภท รูปแบบที่หลากหลายหลักสูตรนี้ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการแนวทางปฏิบัติในการขอ อย. และต้องการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารอย่างปลอดภัยได้ครบถ้วน ครอบคลุมและถูกต้องในทุกมิติ และสามารถนำความรู้มาปรับประยุกต์ใช้ในการขออนุญาตผลิตภัณฑ์ตามประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและปลอดภัย สิ่งที่คุณจะได้รับจากการอบรม เข้าใจขั้นตอนและเอกสารที่จำเป็นในการขอ อย. หลักเกณฑ์และข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการตรง กำหนดการ ระหว่างวันที่ 12 - 14 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมกิ่งทอง โรงแรมเวล อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม สมัครด่วน รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน เท่านั้น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้สมัครเข้าร่วมอบรม สามารถเข้าร่วมอบรมได้ตลอดทั้งหลักสูตร ขอสงวนสิทธิ์ สำหรับผู้ที่สมัครลงทะเบียนแล้ว เท่านั้น หากเคยอบรมหลักสูตรต่างๆ ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 และ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะไม่สามารถอบรมซ้ำได้อีกในปี 2568 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณเศรษฐยศ ธีรโฆษิตพงศ์ (09 0462 9561) คุณศุภาลัย การบรรจง (06 1821 6269)
17 ก.พ. 2025
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Bio-Based Product) ภายใต้โครงการ : ยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รับสมัครสถานประกอบการจำนวน 10 กิจการ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม พื้นที่ทั่วประเทศ ที่ต้องการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม/สินค้าอุปโภค ด้วยการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัย นวัตกรรม หรือกระบวนการทางเคมีชีวภาพในการสังเคราะห์สารหรือนำสารสำคัญจากชีวภาพ มาเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) คุณสมบัติสถานประกอบการ เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือวิสาหกิจขนาดใหญ่ ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะ "ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก" ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (ตั่งแต่ 1 ต.ค. 67 ถึง ณ วันที่ประกาศผลการคัดเลือก) มีความพร้อมด้านบุคลากรในการดำเนินการร่วมกับที่ปรึกษา ประโยชน์ที่วิสาหกิจได้รับ การวินิจฉัยสถานประกอบการ 1 man-day การให้คำปรึกษาแนะนำการต่อยอดการพัฒนาพัฒนาผลิตภัณฑ์ 8 man-day การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและทดสอบตลาด การเพิ่มผลิตกระบวนการผลิตและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ( CO2) เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2568 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 06 2745 2497 (คุณชัยพิพัฒน์ ) 0 2430 6869 ต่อ 1218 (คุณชินธัช) Smart Technology Cluster : STC
17 ก.พ. 2025
GREEN PRODUCTIVITY ยกระดับกระบวนการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ขอเชิญผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตสู่ อุตสาหกรรมผลิตภาพสีเขียว GREEN PRODUCTIVITY (สาขาอุตสาหกรรรมพลาสติก) ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย SMEs หรือ วิสาหกิจขนาดใหญ่ ภาคการผลิต กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สมุทรปราการ ที่มีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจตามแนวความคิด BCG Model สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ ได้รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมผู้เชี่ยวชาญประกบคู่แบบ 1 On 1 มากกว่า 10 Man-day ได้รับความรู้ด้านการขอรับการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับมาตราฐานก๊าซเรือนกระจก รับจำนวนจำกัด 10 กิจการเท่านั้น สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ได้ตั้งแต่วันนี้ - 25 ก.พ. 2568 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 0 2430 6869 ต่อ 1218-1219 ผศ.ดร.วิรัช ทวีปรีดา 09 1789 7415 (หัวหน้าโครงการ) น.ส.เหมือนขวัญ จันทสิทธิ์ 06 1342 2037 (ผู้ประสานงาน
17 ก.พ. 2025
รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ ร่วมงาน FTI EXPO 2025 เสริมแกร่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย สู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน FTI EXPO 2025 จัดโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “EMPOWERING THAI INDUSTRY, ELEVATING THAILAND’S FUTURE เสริมพลังอุตสาหกรรมไทย เพื่ออนาคตไทยที่ยั่งยืน” โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด ในส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมมี นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับพร้อมกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ณ Hall 5-8 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ FTI EXPO 2025 เป็นงานแสดงศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี ซึ่งรวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้มากมาย แสดงถึงความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ และพัฒนาจากอุตสาหกรรมเดิมไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งเป็นเป้าหมายของประเทศ โดยต้องมีการยกระดับขีดความสามารถทางแข่งขัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในแนวทางที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การจัดงานดังกล่าวเป็นการจับมือกันระหว่างองค์กรพันธมิตรชั้นนำ ซึ่งสะท้อนถึงความร่วมมือในการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เศรษฐกิจมีความมั่นคง ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องมีการพัฒนาและปรับตัวให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และต้องพลิกความท้าทายให้เป็นโอกาส เร่งเดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ต่อยอดการพัฒนาของภาคการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ขณะเดียวกันยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษา เพื่อสร้างกำลังคนรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต พร้อมทั้งวางยุทธศาสตร์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมของภูมิภาค โดยงาน FTI EXPO 2025 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.00-19.00 น. ณ Hall 5-8 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
17 ก.พ. 2025