Category
"ดีพร้อม" ประชุมคณะทำงานหนังสือรายงานประจำปี 2567 เตรียมปรับเปลี่ยนกระบวนงาน ขานรับนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 26 ธันวาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำหนังสือรายงานประจำปี 2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมกันหารือถึงแนวทางการจัดทำหนังสือรายงานประจำปี 2567 ในด้านการจัดทำแผนการดำเนินงาน การวางรูปแบบและเนื้อหาภายในรายงานประจำปี พร้อมคัดเลือกผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ (Success Case) โดยในหน้าแรกของหนังสือรายงานประจำปี 2567 คณะทำงานฯ ได้มีมติให้ประชาสัมพันธ์การได้รับรางวัลศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น ประจำปี 2566 - 2567 ของดีพร้อม นอกจากนี้ ยังกำหนดคอลัมน์พิเศษ 5 หัวข้อ ได้แก่ 1) การเข้าร่วมงานโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 "อุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน"ฯ 2) รางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 3) โครงการยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหารและสาขาแฟชั่น 4) การลงนามผสานความร่วมมือ 8 หน่วยงานขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล และ 5) การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจให้สอดคล้องกับตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และสอดรับกับนโยบายกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในด้านของการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งนี้ มีกำหนดจัดงานแถลงข่าวนโยบายของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2568 โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในวันที่ 14 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ซึ่งคณะทำงานฯ จะนำนโยบายดังกล่าวมาจัดทำบทสัมภาษณ์และออกแบบปกหนังสือรายงานประจำปี 2567 ต่อไป
21 ม.ค. 2025
รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ นำทีม ก.อุตฯ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาฯ น้อมรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงรัชกาลที่ 9
กรุงเทพฯ 23 ธันวาคม 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ทำความดีด้วยหัวใจ” เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ โดยมี นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรีฑา นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมด้วย ณ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวว่า เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ข้าพระพุทธเจ้า นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเหล่าจิตอาสาพระราชทาน ที่ได้มาพร้อมกันอยู่ ณ ที่แห่งนี้ มีความปลาบปลื้มปีติ เป็นล้นพ้น ที่ได้มาร่วมแสดงความจงรักภักดี และรำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แห่งองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระคุณประเสริฐยิ่ง และทรงสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้แก่ประเทศไทยนานัปการ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ จึงร่วมกันจัดกิจกรรมจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ทำความดีด้วยหัวใจ” ประกอบด้วย 1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าและระบบส่องสว่างทางเดินเพื่อความปลอดภัยในการสัญจรในช่วงเวลากลางคืน 2. กำจัดวัชพืชเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย และ 3. ทำความสะอาดและปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบลานเทวาลัยองค์พระนารายณ์ เพื่อสร้างจิตสาธารณะและปลูกจิตสำนึกในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
21 ม.ค. 2025
“เอกนัฏ” เสริมแกร่งอุตสาหกรรมฮาลาล ผสาน “8 หน่วยงาน 22 สินเชื่อ” ดันผู้ประกอบการไทยสู่การส่งออก
กรุงเทพฯ 25 ธันวาคม 2567 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานข่าวการสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล “เรียนแล้ว รับรองได้ ลงทุนง่าย ขายส่งออกเป็น” โดยมี ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรม พร้อมด้วย นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการและผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย นายกิตติพงษ์ บุรณศิริ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พล.ต.ต. สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหารและการบริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และมีรสชาติตามความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะในตลาดมุสลิมที่มีประชากรจำนวนมากและมีแนวโน้มการบริโภคที่สูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน ผ่านกระบวนการตรวจการรับรองฮาลาล รวมทั้งการบริการที่ต้องมีกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้สนับสนุนเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลตามมติคณะกรรมการอุตสาหกรรมฮาลาลแห่งชาติ (กอฮช.) ครั้งที่ 1/2567 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ ผ่านกิจกรรม "เรียนแล้ว รับรองได้ ลงทุนง่าย ขายส่งออกเป็น" ภายใต้แนวคิด สานพลังแหล่งเงินทุน รวมพลัง 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม รวมไปถึงการพัฒนาและส่งเสริมการทดสอบ และการรับรองมาตรฐานฮาลาล โดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศให้มีศักยภาพ สามารถเติบโต และแข่งขันสู่สากลได้อยางยั่งยืน นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจ (เสือติดปีก) วงเงิน 1,200 ล้านบาท และ สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ (คงกระพัน) วงเงิน 700 ล้านบาท และจะมีโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมฮาลาลวงเงิน 7 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ เช่น กิจกรรมการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการตลาด การส่งออก และการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกสถานประกอบการในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และการขอรับรองมาตรฐานฮาลาล นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้สนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลผ่านการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งเงินทุน เสริมแกร่งด้วยหน่วยงานส่งเสริมความรู้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ฮาลาลไทยทั่วประเทศให้เติบโตในตลาดสากลอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ดีพร้อม มีแหล่งเงินทุนสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย (DIPROM Pay) ประกอบด้วยวงเงินกู้ระยะสั้น สำหรับหมุนเวียนในธุรกิจ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะยาวสำหรับลงทุนในสินทรัพย์ถาวร วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อเพื่อลงทุนหรือขยายธุรกิจ DIPROM Pay for BCG วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมด้านฮาลาลโดยดีพร้อม ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ปลอดเงินต้นเป็นระยะเวลา 12 งวด หรือ 1 ปี นางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า EXIM BANK พร้อมสนับสนุนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมฮาลาล ซึ่งไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างมากในเวทีโลก ผ่านนวัตกรรมทางการเงิน ทั้งสินเชื่อและเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุน โดย EXIM BANK สานพลังกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยที่มีความพร้อมทั้งด้านความรู้ เครือข่ายธุรกิจ และเงินทุนที่จะเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจใน Supply Chain การส่งออกสินค้าอาหารโลก แคมเปญพิเศษเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ของ EXIM BANK สำหรับผู้ส่งออกสินค้าฮาลาล ประกอบด้วย 1. โปรแกรมสินเชื่อเงินทุน Halal อุ่นใจ เพื่อเสริมสภาพคล่องสำหรับใช้หมุนเวียนในกิจการหรือลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วงเงินอนุมัติสูงสุด 200 ล้านบาท อัตราพิเศษเริ่มต้นเพียง 3.25% ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดถึง 10 ปี ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลแล้วหรือมีรายได้จากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศภายใต้องค์การความร่วมมืออิสลาม (The Organization of Islamic Cooperation: OIC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 57 ประเทศ สามารถขอรับอัตราพิเศษเพิ่มเติมเหลือเพียง 2.99% สำหรับ 6 เดือนแรก และ 2. โปรแกรมประกัน Halal สบายใจ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ วงเงินรับประกันสูงสุด 2 ล้านบาทต่อกรมธรรม์ อัตราความคุ้มครอง 70% ของมูลค่าความเสียหาย สิทธิพิเศษสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเลือกรับความคุ้มครองผู้ซื้อ 1 ราย (วงเงินคุ้มครอง 300,000 บาท) หรือส่วนลดค่าประเมินความเสี่ยงผู้ซื้อมูลค่า 2,000 บาท และรับเพิ่มเป็น 2 ราย หรือเลือกรับส่วนลดค่าประเมินความเสี่ยงผู้ซื้อเพิ่มเป็น 4,000 บาทสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลหรือมีรายได้จากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ OIC นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ ธนาคารได้จัดเตรียมบริการ “ด้านการเงินควบคู่ด้านการพัฒนา” ไว้สนับสนุนยกระดับสร้างมาตรฐานต่อยอดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยสู่อุตสาหกรรมฮาลาล คว้าโอกาสประสบความสำเร็จจากตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับด้าน “การเงิน” ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ครอบคลุมทุกความต้องการ เช่น สินเชื่อ Smile Biz ธุรกิจฮาลาลยิ้มได้ ช่วยเสริมสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 6.4%ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี , สินเชื่อ SME Green Productivity For SMEs Halal สนับสนุนก้าวสู่อุตสาหกรรมสีเขียว อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี , สินเชื่อ BCG Economy For SMEs Halal ลงทุน ปรับปรุง ขยายธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.65% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 15 ปี และสินเชื่อ Refinance Plus For SMEs Halal ช่วยลดต้นทุน อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.99% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 15 ปี เป็นต้น ควบคู่กับด้าน “การพัฒนา” ผ่านแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank (dx.smebank.co.th) ที่สะดวกสบาย ช่วยเสริมแกร่งธุรกิจครบวงจรตลอด 24 ชม. ทุกที่ ทุกเวลา และที่สำคัญ สำหรับในโครงการนี้ ธนาคารจัดเตรียมแคมเปญพิเศษเพื่อเป็นของขวัญในเทศกาลปีใหม่ 2568 ด้วยการมอบโปรโมชั่น 3 ต่อ ให้แก่ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคาร ได้แก่ ต่อที่ 1) เมื่อยื่นขอสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป เอกสารครบตั้งแต่ 2 ม.ค.- 28 ก.พ. 2568 และได้รับอนุมัติภายใน 31 มี.ค. 2568 จะได้ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์โครงการ สูงสุดล้านละ 5,000 บาท ต่อที่ 2) รับ 500 Point นำไปใช้ประโยชน์ในแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank และต่อที่ 3) นำ Point มาแลกรับเครื่องมือต่อยอดธุรกิจต่าง ๆ จาก SME D Bank ฟรี เช่น ค่าอบรม Premium Couser และระบบริหารธุรกิจ ERP เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายส่งเสริมการตลาด โทร.02-265-4598, 4961, 4064 หรือ Call Center 13 ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการและผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) กล่าวว่า ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมครั้งนี้ ไอแบงก์ได้จัดแพ็กเกจสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นและต่อยอดให้แก่ธุรกิจฮาลาลตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างความพร้อมผ่านสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง หรือเป็นเงินทุนสำหรับขยายธุรกิจ ตลอดจนสินเชื่อเพื่อนำเข้าเครื่องจักรหรือวัตถุดิบ และส่งออกสินค้าฮาลาลไปนานาประเทศ ด้วยอัตรากำไรเริ่มต้น 2 ปีแรกเพียง 3.50% ต่อปี กรณีผู้ประกอบการไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือหลักประกันไม่เพียงพอก็สามารถขอสินเชื่อกับไอแบงก์ได้ กรณีผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการมีเครื่องหมายฮาลาลไอแบงก์มอบส่วนลดอัตรากำไรเพิ่มให้ กรณีไม่มีเครื่องหมายฮาลาลไอแบงก์สามารถสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถขอเครื่องหมายฮาลาลได้โดยการอำนวยความสะดวกส่งต่อให้แก่หน่วยงานพันธมิตรได้แก่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลได้ รวมถึงการต่อยอดผู้ประกอบการสู่การส่งออกที่ไอแบงก์มีความร่วมมือกับ EXIM ตั้งแต่ปี 2566 และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการมากกว่า 500 ราย ซึ่งมีมูลค่าการให้สินเชื่อและการรับประกันการส่งออกสูงกว่า 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ไอแบงก์ยังสามารถเชื่อมโยงผู้ประกอบการฮาลาลเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) หรือ สมาชิกสถาบันนักธุรกิจมุสลิม Muslim Business Matching (MBM) เพื่อเปิดโอกาสสร้างสายสัมพันธ์กับกลุ่มนักธุรกิจมุสลิมในประเทศไทยและทั่วโลกด้วย ดังนั้น นอกจากไอแบงก์จะมีความมุ่งมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนห่วงโซ่ของธุรกิจฮาลาลหรือ Halal Supply Chain แล้ว ยังมีความพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมผลักดันการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ฮาลาลโลกได้ นายกิตติพงษ์ บุรณศิริ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ (บสย.) กล่าวว่า บสย. เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพแต่หลักประกันไม่เพียงพอ ได้ขานรับนโยบายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล ด้วยโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะที่ 11 SMEs ยั่งยืน ในวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์สำคัญ เช่น 1) Smart Green อนาคตที่ยั่งยืน กับแหล่งเงินทุนที่ SMEs เข้าถึงได้ เหมาะสำหรับธุรกิจ BCG หรือ ESG ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วงเงินค้ำประกันสูงสุด 1 - 40 ล้านบาทต่อราย ค่าธรรมเนียมต่อปี 1.5% ฟรีค่าธรรมเนียม 4 ปีแรก และ 2) SMEs Ignite Biz เฉพาะ SMEs ประเภทนิติบุคคลที่ต้องการเงินลงทุนหมุนเวียนในกลุ่มการท่องเที่ยว การแพทย์และสุขภาพ ขนส่ง ยานยนต์แห่งอนาคต การบิน การเงิน เศรษฐกิจดิจิทัล และธุรกิจอาหาร โดยยื่นคำขอให้ค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 0.2 ล้านบาท สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อราย ค่าธรรมเนียมต่อปี 1.5% ฟรีค่าธรรมเนียม 3 ปีแรก เป็นต้น พล.ต.ต. สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย(สกอท.) กล่าวว่า สกอท. เป็นองค์กรศาสนาอิสลามที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่ไม่ได้แสวงหากำไร เป็นผู้ให้การรับรองฮาลาลและอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ขานรับนโยบายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล โดยส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมให้มีการขอใบรับรองผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลแก่สินค้าและบริการเพื่อผลิตสินค้าและบริการฮาลาลที่สะอาดปลอดภัยตามหลักการศาสนาอิสลามและเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการฮาลาลรวมทั้งเพื่อสนองตอบความต้องการตลาดที่ต้องการสินค้าและบริการฮาลาลได้ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.จฬ.) กล่าวว่า ศวฮ.จฬ. ให้บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ประกอบด้วย งานบริการทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล งานวิจัยและนวัตกรรม งานบริการวิชาการ/หลักสูตร งานบริการหน่วยงานภายนอก ขานรับนโยบายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล โดยส่งเสริมให้การพัฒนางานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล การใช้วิทย์เทคฮาลาลและการพัฒนาฮาลาลบล็อกเชน งานบริการทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล งานวิจัยและนวัตกรรม การให้คำปรึกษาด้านการบ่มเพาะวิสาหกิจฮาลาล การพัฒนานวัตกรรม งานบริการชำระล้างนญิสทุกชนิดด้วยน้ำยาคอลลอยด์ดิน HALKLEAN งานพัฒนา Halal Blockchain แก่ภาคอุตสาหกรรม งานพัฒนาแอปพลิเคชันร้านอาหารและการท่องเที่ยว Halal Route งานบริการฐานข้อมูลสารเคมีวัตถุดิบฮาลาลตามระบบ H numbers เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันฮาลาลของประเทศไทย
21 ม.ค. 2025
"อธิบดีดีพร้อม" ปั้นเชฟชุมชน ปูทางการรังสรรค์ เมนูอาหารถิ่น Amazing Thai Taste ตอบโจทย์ซอฟต์พาวเวอร์ ดัน OFOS ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 24 ธันวาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "เชฟชุมชน" ภายใต้กิจกรรมพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ร่วมด้วย นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การฝึกอบรมดังกล่าว เป็นการเสริมสร้างการรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบท้องถิ่นเป็นอาหารรสเลิศ “เมนูอาหารถิ่น Amazing Thai Taste” ผ่านการจัดทำสูตรมาตรฐานให้ทุกจานมีรสชาติที่สม่ำเสมอ ยกระดับเมนูท้องถิ่นด้วยศิลปะการจัดจาน เทคนิคการเล่าเรื่องอาหารให้โดนใจผู้บริโภค รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุน วัตถุดิบ การตั้งราคา และสามารถต่อยอดอาหารสู่การเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปในอนาคตเพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารอย่างครบวงจร เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ประกอบการชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้เติบโตและเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหลักสูตรที่อยู่ภายใต้กิจกรรมพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ที่มุ่งเน้นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่น ผ่านวัฒนธรรมอาหารไทย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้ประกอบธุรกิจร้านอาหารแบบมืออาชีพ และสามารถพัฒนาสู่ธุรกิจอื่น ๆ ที่สอดรับนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมทั้ง 14 สาขา ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ภายใต้เป้าหมายใหญ่ร่วมกัน คือ “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้” และตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร ในการเดินหน้านโยบาย One Family One Soft Power : OFOS พร้อมขับเคลื่อนการส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) และสานต่อความสำเร็จแผนงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2567-2570) คาดสร้างงานและอาชีพกว่า 75,000 ตำแหน่ง เพิ่มรายได้ให้กับเศรษฐกิจของประเทศกว่า 3,500 ล้านบาท
21 ม.ค. 2025
เหมืองแร่เพื่อชุมชน... "เอกนัฏ" มอบกรมเหมืองฯ ฉีด 525 ล้านบาท พัฒนา 187 ชุมชน ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมรอบเหมือง
กรุงเทพฯ 23 ธันวาคม 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวการจัดสรรเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Industrial Reform - ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย” โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานภาคเอกชนของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ณ ห้องประชุมทองคำ อาคารกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำหรับการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นการมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ 187 ชุมชนทั่วประเทศ มูลค่ารวมกว่า 525 ล้านบาท โดยเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐเป็นเงินที่ได้จากผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ที่ได้รับสิทธิในการสำรวจแร่หรือการทำเหมือง และดำเนินการตามแนวคิด ‘เหมืองแร่เพื่อชุมชน’ เพื่อยกระดับมาตรฐานการทำเหมืองควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนที่เป็นที่ตั้งของแหล่งแร่ ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรม สังคม และชุมชนให้เติบโตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังถือเป็นการกระจายอำนาจให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระไปจัดทำโครงการเพื่อใช้จ่ายเงินภายใต้วัตถุประสงค์ที่กฎหมายกำหนดสองด้าน คือ การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับแร่ หรือ การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม อันจะช่วยให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐ สามารถที่จะนำเงินส่วนนี้ไปใช้พัฒนาชุมชนโดยรอบเหมืองภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าว นอกจากนี้ ในปีงบประมาณถัดไป กพร. ยังมีแผนที่จะจัดสรรเงินกระจายสู่ชุมชนอื่นที่อยู่โดยรอบการประกอบกิจการเหมืองแร่เพิ่มเติม โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสามารถจัดสรรเงินนี้ได้ปีละไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเร่งให้ชุมชนได้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง
21 ม.ค. 2025
"ดีพร้อม" เร่งเดินหน้าโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ปี 68 ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" ปลดล็อกศักยภาพคนไทย เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 20 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมชี้แจงกรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงกรอบแนวทางการดำเนินโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ผ่านแผนยุทธศาสตร์ตามเป้าหมายห่วงโซ่คุณค่าการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม คือ ส่งเสริมวัฒนธรรม ธุรกิจ และความเป็นไทยให้ก้าวสู่ซอฟต์พาวเวอร์ในระดับสากล เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของประเทศไทย ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งส่งเสริมการยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ และยกระดับทักษะ ปลดล็อกศักยภาพคนไทยเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ ตลอดจนการสานต่อเศรษฐกิจเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน โดยปี 2568 ดีพร้อม ดำเนินโครงการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ต่อเนื่อง 2 สาขา ได้แก่ 1) สาขาแฟชั่น ผ่าน 3 โครงการหลัก ทั้งการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล และเชื่อมโยง/แลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นระหว่างประเทศ และ 2) สาขาอาหาร ผ่าน 4 โครงการหลัก คือ พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอาหารไทยผ่านโครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย พัฒนาศักยภาพร้านอาหารเชฟชุมชนผ่านโครงการ Local Chef Restaurant ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารชุมชนผ่านโครงการยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ตลอดจนพัฒนาศักยภาพธุรกิจอาหารจากไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้มีการชี้แจงขั้นตอน กระบวนการ และแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามระเบียบ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ยังได้หารือถึงรูปแบบการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศของดีพร้อม กับสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดยจะเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ลงทะเบียนในระบบ OFOS กับระบบ E-Service ของดีพร้อม หรือระบบ Job DIPROM เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน Upskill/Reskill บุคลากรซอฟต์พาวเวอร์ มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น
21 ม.ค. 2025
"ดีพร้อม" รายงานผลการจัดพิธีเปิดงานซอฟต์พาวเวอร์ สาขาแฟชั่นและอาหาร ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 20 ธันวาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 (ครั้งที่ 10) พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะกรรมการจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการที่ได้รับจัดสรรงบกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์เป้าหมาย ซึ่งในส่วนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รายงานผลดำเนินโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร โดยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ได้จัดพิธีเปิดตัวโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี เร่งเดินหน้านโยบาย One Family One Soft Power : OFOS สอดรับการส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) เพื่อให้สอดรับกับนโยบายดังกล่าว นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินโครงการผ่าน 4 กิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย 1) ยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย 2) การพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย 3) ยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน และ 4) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังได้สานต่อความสำเร็จด้วยแผนงานระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2567-2570) คาดสร้างงานและอาชีพกว่า 75,000 ตำแหน่ง เพิ่มรายได้ให้กับเศรษฐกิจของประเทศกว่า 3,500 ล้านบาท อีกทั้ง ดีพร้อมได้ดำเนินโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาแฟชั่น ประกอบด้วย 1) โครงการการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการฝึกอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น 4 ประเภท ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับ หัตถอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ความงาม ประกอบด้วยหลักสูตร Online 10 หลักสูตร และ Onsite 17 หลักสูตร และ 2) โครงการการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล ซึ่งเป็นการสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์เสริมภาพลักษณ์สินค้าอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยสู่เวทีโลกผ่านงาน “ShowPow” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 23 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานครร่วมชูอัตลักษณ์ ผสานดีไซน์ร่วมสมัย พร้อมร่วมเสวนาด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น ตลอดจนการจำหน่ายสินค้าเพื่อทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นรวมกว่า 100 แบรนด์ เสริมด้วยกิจกรรมเวิร์คช้อปสอนแต่งหน้าให้ความรู้ด้านความงาม และการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้า (AI Branding) ยังมีกิจกรรมไฮไลต์พบกับคู่จิ้นนักแสดงซีรีย์ชื่อดัง ที่พร้อมใจมาร่วมสร้างสีสันภายในงาน และยังมีความบันเทิงต่าง ๆ ตลอดการจัดงานด้วย
21 ม.ค. 2025
นายกฯ เปิดงานซอฟท์พาวเวอร์อาหาร ก.อุตฯ เดินหน้าสร้างอาชีพกว่า 75,000 ตำแหน่ง เพิ่มรายได้กว่า 3.5 พันล้านบาท
กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2567 - นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดตัวโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร เดินหน้านโยบาย One Family One Soft Power : OFOS สอดรับการส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) พร้อมด้วย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ศาสตราจารย์ ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เข้าร่วมงาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญของซอฟต์พาวเวอร์ในฐานะเครื่องมือที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านนโยบาย One Family One Soft Power : OFOS ด้วยการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ 14 สาขา ได้แก่ ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ ออกแบบ กีฬา ศิลปะ ศิลปะการแสดง หนังสือ อาหาร แฟชั่น เฟสติวัล เกม ดนตรี ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม Wellness โดยมีต้นน้ำที่สำคัญคือการสร้างคน ต้องมีการสร้าง “นักรบซอฟต์พาวเวอร์” ให้ได้มากที่สุด และปลายน้ำด้วยการนำเอกลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมสร้างสรรค์ของไทยเป็นอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของไทยไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารไทยถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ที่ทรงพลังที่สุด เพราะอาหารไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่ใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน แต่ยังเป็นตัวแทนของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความคิดสร้างสรรค์ ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของคนไทยได้อย่างชัดเจนจากรากฐานสู่ความยั่งยืน ซึ่งสอดรับกับนโยบายของ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ผ่านแผนการดำเนินงานระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2567-2570) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารไทยในหลากหลายมิติ ด้วยการเชื่อมโยงระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่สมบูรณ์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารไทย เป้าหมายสำคัญของแผนงานนี้คือการสร้างโอกาสให้กับคนไทยทุกระดับ ตั้งแต่การสร้างงานและอาชีพกว่า 75,000 ตำแหน่ง ไปจนถึงการเพิ่มรายได้ให้กับเศรษฐกิจของประเทศ รวมมูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) วางแนวทางการสร้างและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ อันประกอบด้วย 5 เสาหลัก คือ 1) ศึกษาและพัฒนาทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 2) พัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย 3) พัฒนาธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถของซอฟต์พาวเวอร์ไทย 4) ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ระดับสากล 5) สนับสนุนปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหารของดีพร้อม ประกอบไปด้วยการดำเนินงานใน 4 กิจกรรมสำคัญ ดังนี้ 1) การยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพอาหาร พร้อมได้ใบรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพผู้ปรุงอาหารมืออาชีพ (เชฟ) ได้ 2) การพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ด้วยการคัดเลือกชุมชนเป้าหมาย เพื่อนำมาเสริมองค์ความรู้สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนให้มีศักยภาพสู่การเป็น 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ต่อไปในอนาคต 3) การยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องมาตรฐาน และส่งเสริมให้ชุมชนใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าให้แก่อาหารชุมชน รวมถึงส่งเสริมการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรแต่ละภูมิภาคในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า และ 4) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพธุรกิจอาหาร ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างชื่อเสียงให้กับอาหารไทยในเวทีโลก แต่ยังเป็นของขวัญปีใหม่ สำหรับพี่น้องคนไทยทุกคน ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนไทย ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงยังช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) โดยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเพิ่มมูลค่าการส่งออกอาหารไทยในตลาดโลก ตอกย้ำถึงความสำคัญของอาหารไทยในระดับสากล ซึ่งโซนไฮไลต์ภายในงาน ประกอบด้วย โซน 8 Food Station ที่นำเสนอ 16 เมนูสุดพิเศษ โดยเชฟเซเลบริตี้ชื่อดัง ที่มารังสรรค์เมนูที่อยู่ในหลักสูตรพัฒนาเชฟให้ได้ชิมกันในงาน โซนศูนย์อัจฉริยะด้านอาหาร นำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบแปรรูปจากชุมชน ที่แสดงถึงนวัตกรรมและศักยภาพของอาหารท้องถิ่น โซนร้านอาหารเชฟชุมชนอาหารถิ่นอาหารไทย (Local Chef Restaurant) เสิร์ฟจริง ชิมจริง กับ 4 เมนูเด็ดที่รังสรรค์โดยชุมชนดีพร้อมตัวอย่างจาก 4 ภาค อีกทั้งยังมีโซนนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืนที่นำเสนอเครื่องดื่มสุดสร้างสรรค์จากมืออาชีพ รังสรรค์เมนูสูตรพิเศษ เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้สัมผัสความโดดเด่นของเครื่องดื่มที่มีรสชาติที่หลากหลาย นอกจากการเปิดตัวโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหารแล้ว ภายในงานยังได้จัดให้มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กับ หน่วยงานภาคีเครือข่ายอีก 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1) สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2) คณะกรรมการอาชีวศึกษา 3) กรมอนามัย 4) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 5) สถาบันคุณสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) 6) สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และ 7) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เพื่อผลักดันซอฟต์พาวเวอร์อาหารไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก โดยเฉพาะในด้านการสร้างมาตรฐานคุณภาพอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสนับสนุนการส่งออกสินค้าอาหารไทย นายเอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย
21 ม.ค. 2025
“รมว.เอกนัฏ” โชว์ “ดีพร้อม” หนุนซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย ในงาน ShowPow ต้อนรับปีใหม่ ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น นำภูมิปัญญาไทยสู่สากล
กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงาน Showpow พร้อมด้วย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เข้าร่วมงาน ณ EM Glass ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส” โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (Local Wisdom) ซึ่งเป็นศักยภาพของคนไทยและทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งอาหารท้องถิ่นไทย ผ้าไทย มวยไทย ศิลปะการแสดงไทย ดนตรีไทย ผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย และสุราชุมชน เพื่อยกระดับสินค้าทั้งด้านมาตรฐาน และดีไซน์ให้ทันสมัย โดดเด่น แตกต่าง และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก รวมทั้งจะสนับสนุนการสอดแทรกทุนทางวัฒนธรรมในภาพยนตร์ไทยและสื่อทุกรูปแบบ อีกทั้งยังมีภารกิจสำคัญที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง การขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม การส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผนวกกับนโยบายการเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ โดยได้มอบหมาย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งบูรณาการกับภาคเอกชนภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า การสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ตามนโยบายการส่งเสริมและยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Culture) เพื่อส่งเสริม Soft Power ของประเทศของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 12 ด้าน 14 คณะ ประกอบด้วย ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ ออกแบบ กีฬา ศิลปะ ศิลปะการแสดง หนังสือ อาหาร แฟชั่น เฟสติวัล เกม ดนตรี ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม Wellness เพื่อให้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยมีความแข็งแรงและยั่งยืน ซึ่งหลักการพื้นฐาน คือ รัฐบาลต้องเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริม และให้ภาคเอกชนได้ใช้ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และความคล่องตัวของตัวเองในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า โดยมีต้นน้ำที่สำคัญคือการสร้างคน ต้องมีการสร้างคนให้ได้มากที่สุด ภายใน 4 ปี (พ.ศ. 2570) ตั้งเป้าว่าจะมีการสร้างคนที่มีทักษะสูงและมีความคิดสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ ประมาณ 20 ล้านคน เรียกว่าเป็น “นักรบซอฟต์พาวเวอร์” ทำให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้ กลางน้ำด้วยการเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์พาวเวอร์ เช่น การสร้างบุคลากรหน้าใหม่ ๆ เข้ามาในวงการ การมีกองทุนสนับสนุนต่าง ๆ และปลายน้ำด้วยการนำวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของไทยไปสู่ตลาดโลก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) หรือ ดีพร้อม ได้ขานรับนโยบายดังกล่าว ด้วยการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ออกแบบผสมผสานความร่วมสมัย คงอัตลักษณ์ ความเป็นไทย รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญา โดยได้บูรณาการร่วมกับภาคเอกชน ผ่านการดำเนิน “โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล” ในกลุ่มผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมแฟชั่นไทย จำนวน 4 สาขา ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ความงาม อัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่นให้มีองค์ความรู้ และสามารถนำอัตลักษณ์ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่มีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเชื่อมโยง Influencer ร่วมสร้างสรรค์เนื้อหาและการเล่าเรื่อง (Storytelling & Content) สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับแบรนด์สินค้าแฟชั่น และเผยแพร่ผ่านช่องทางของ Influencer และผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ รวมทั้งเร่งหาโอกาสทางการตลาดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่น ผ่านการจัดงานแสดงศักยภาพและสื่อสารภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่น Creative Soft Power Fashion Community ภายใต้ชื่องาน “ShowPow” นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงาน “ShowPow” มีกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ประกอบด้วย การแสดง Showcase แฟชั่นโชว์แสดงผลงานสร้างสรรค์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเหล่าดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ พร้อมทั้งการเสวนาด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น การจำหน่ายสินค้าเพื่อทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่น รวมกว่า 100 แบรนด์ เสริมด้วยกิจกรรมเวิร์คช้อปสอนแต่งหน้าให้ความรู้ด้านความงาม และการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้า (AI Branding) นอกจากนี้ ยังมีเหล่า Influencer ตบเท้าเข้าร่วมไลฟ์แนะนำ และร่วมจำหน่ายสินค้าสร้างความคึกคักและกระตุ้นยอดขายภายในงานอีกด้วย ยังไม่เพียงเท่านี้ยังมีกิจกรรมไฮไลท์พบกับคู่จิ้นนักแสดงซีรีย์ชื่อดังอย่าง ต้าห์อู๋-ออฟโรด เข้าร่วมในวันที่ 19 ธันวาคมนี้ ที่บรรดาแฟนคลับพร้อมใจมาร่วมสร้างสีสันภายในงาน และยังมีความบันเทิงต่าง ๆ ตลอดการจัดงาน โดยงานดังกล่างจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 19 – 23 ธันวาคม 2567 ณ EM Glass ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่ใจกลางสุขุมวิทที่เต็มไปด้วยเหล่าบรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมต้อนรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เทศกาลแห่งการมอบของขวัญ เทศกาลแห่งความสุข ซึ่งเป็นโอกาสให้กับแบรนด์ในการสร้างการรับรู้ สร้างยอดขาย และยกระดับนำพาแบรนด์แฟชั่นไทยสู่ Hero Brand ในระดับสากลโดยคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมภาพลักษณ์ และสร้างรายได้ให้แบรนด์แฟชั่นไทยไม่น้อยกว่า 20% อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และต่อยอดธุรกิจในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน "ดีพร้อม ขอเชิญชวนผู้บริโภคร่วม ช้อป ชม แชร์ สนับสนุนสินค้าแฟชั่นไทย ในงาน ShoWPow ระหว่างวันที่ 19 - 23 ธันวาคม 2567 ณ EM Glass ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ พบกับกิจกรรมและสินค้าราคาพิเศษมากมายภายในงาน พร้อมร่วมแชร์ประสบการณ์การซื้อสินค้า เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนซอฟต์พาว เวอร์ไทยสู่สากล" นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
21 ม.ค. 2025
นายกฯ มอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 เชิดชูเกียรติ 41 องค์กรต้นแบบทั่วประเทศ นำการปฏิรูปอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจไทยที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน
กรุงเทพฯ 18 ธันวาคม 2567 - นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) พร้อมด้วย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ "กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมงาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) ปีนี้เป็นปีที่ 32 ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกระดับที่มีความเป็นเลิศในแต่ละด้านตามประเภทรางวัลที่กำหนดในการส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีศักยภาพในทุกด้าน นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้ภาคอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม ได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทยทุกกลุ่มให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไปพร้อม ๆ กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความสำเร็จอย่างสมดุล ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส” ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ” ที่ “เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” ประกอบด้วย มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ มิติที่ 2 ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวมส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ชุมชน และสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตร มิติที่ 3 ความลงตัวกับกติกาสากล ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสู่อุตสาหกรรม สีเขียว เพื่อโอกาสทางธุรกิจมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก และมิติที่ 4 การกระจายรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน รางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) มีจำนวน 14 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล 2. รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น แบ่งเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทการเพิ่มผลผลิต 2) ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3) ประเภทการบริหารความปลอดภัย 4) ประเภทการบริหารงานคุณภาพ 5) ประเภทการจัดการพลังงาน 6) ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 7) ประเภทอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม และ 9) ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน 3. รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น แบ่งเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทการบริหารจัดการที่ดี 2) ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 3) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม และ 4) ประเภทบริหารธุรกิจสู่สากล นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในปีนี้ มีสถานประกอบการสมัครเข้ารับการคัดเลือกจำนวนทั้งสิ้น 162 ราย แบ่งเป็นรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมจำนวน 4 ราย รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 9 ประเภทรางวัล รวม 99 ราย และรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น 4 ประเภทรางวัล รวม 59 ราย โดยในแต่ละปีจะมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมให้กับสถานประกอบการเพียง 1 รางวัล ซึ่งคัดเลือกจากสถานประกอบการที่เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ประเภท และเป็นสถานประกอบการที่มีการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากลและมีความเป็นเลิศทั้งในด้านการผลิต การตลาด และการลงทุน มีการนำความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้ง การนำนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของตนเอง และสามารถสร้างการพัฒนาให้กับอุตสาหกรรมในภาพรวมได้อย่างชัดเจน ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกต้องผ่านหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดหลายด้าน โดยมีผู้ได้รับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 41 ราย ได้แก่ รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล ซึ่งผู้ได้รับรางวัลคือ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (โรงงานเกตเวย์) จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้รับเกียรติจาก นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการบรหิารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ขึ้นรับรางวัล ขณะที่รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น จำนวน 9 ประเภทรางวัล มีสถานประกอบการได้รับรางวัล 23 ราย และรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น จำนวน 4 ประเภทรางวัล มีสถานประกอบการได้รับรางวัล 17 ราย โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับรางวัลได้ที่ https://industryaward.industry.go.th/th นอกจากนั้น ในปีนี้กระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้มีรางวัลพิเศษมอบให้แก่สถานประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2567 คือ ทูตอุตสาหกรรมภาคเอกชน หรือ MIND Ambassador ซึ่งรางวัลนี้เปรียบเสมือนตัวแทนของกระทรวงอุตสาหกรรมจากภาคเอกชนที่จะเป็นต้นแบบการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมที่อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและส่งเสริม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนช่วยประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และบริการของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป “รางวัลอุตสาหกรรม เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่ทรงคุณค่า สมควรมอบให้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือก เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ประกอบการในอนาคต ซึ่งจะทำให้เกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งหวังให้มีสถานประกอบการสมัครเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานในด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมให้อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป” นายเอกนัฏ กล่าวปิดท้าย
21 ม.ค. 2025