Category
“ดีพร้อม” ร่วมเป็นสักขีพยานพิธี MOU ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและสถาบันยานยนต์ พร้อมผลักดัน SMEs เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามแนวนโยบายรมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 26 มีนาคม 2568 - นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมกับอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันยานยนต์ ณ ห้องประชุม 601 ชั้น 6 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว เกิดขึ้นจากความร่วมมือทางด้านวิชาการในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งปัจจุบันการเติบโตของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนและความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หลายประเทศมีแผนในการเพิ่มงบประมาณด้านการทหารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ที่มีการนำระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันประเทศให้เกิดประสิทธิภาพและมีความแม่นยำมากขึ้น “ดีพร้อม” ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา ซึ่งมีบทบาทภารกิจหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีศักยภาพทั้งในด้านการประกอบธุรกิจ และเพิ่มสมรรถนะองค์ความรู้ของบุคลากรให้มีความพร้อมในการปรับตัว รองรับการแข่งขันและรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และพร้อมที่จะเข้าไปเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของ Supply Chain อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยคนไทย (Made by Thais) ลดการนำเข้าและเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติและภัยคุกคามในทุกรูปแบบ เพื่อผลักดันเป็นอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสนับสนุนให้เกิดการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ตามนโยบาย ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่มีมูลค่า เพิ่มสูงและมีความสามารถในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
27 มี.ค. 2025
"ดีพร้อม" เสริมความรู้บุคลากรด้านการบริหาร ผลิต ตลาด บัญชี เพื่อวินิจฉัยสถานประกอบการ แก้ปัญหาได้ตรงจุด พร้อมยกระดับผู้ประกอบการ สอดรับนโยบาย รมว. เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 24 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การจัดการทั่วไปและการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ" (General Management Consultancy and Extension -GMCE) ร่วมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดยมี นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติขึ้นกล่าวรายงาน ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ราชเทวี โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การจัดการทั่วไปและการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ" หรือ GMCE (General Management Consultancy and Extension ) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจกระบวนการบริหารจัดการสถานประกอบการอุตสาหกรรมให้กับบุคลากรของดีพร้อม โดยมีทั้งการบรรยายในภาคทฤษฎี เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านบัญชีและด้านบุคคล รวมถึงเวิร์คชอปการฝึกปฏิบัติภาคสนามลงพื้นที่สถานประกอบการ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะพื้นฐานในการจับประเด็นปัญหาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการได้อย่างตรงจุด ตลอดจนนำไปสู่การวางแผนในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปฏิรูปองค์กรตามกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูปของแนวนโนบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ (DIPROM Community)” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งการพัฒนาทักษะบุคลากรถือเป็นกลไกสำคัญสู่การเป็นองค์กรที่ทันสมัย และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาผู้ประกอบการได้อย่างตรงจุด และเป็นการบริหารงบประมาณได้อย่างคุ้มค่า เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ของโลก สอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
27 มี.ค. 2025
"ดีพร้อม" เชิญ "ปลัดณัฐพล" ร่วมสำรวจพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เตรียมผนึกกำลังกระทรวงคมนาคม โชว์ศักยภาพอุตสาหกรรมไทย กระตุ้นซัพพลายเชนอุตสาหกรรมระบบราง ภายใต้ความร่วมมือของ รมว. 2 กระทรวง
กรุงเทพฯ 21 มีนาคม 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายอฎิศักฎิ์ แก้วสองเมือง หัวหน้ากองควบคุมการเดินรถสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ รักษาการนายสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และคณะฯ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมพื้นที่ภายในสถานีฯ การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงคมนาคม ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายในพื้นที่สถานีดังกล่าวของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อให้มีการใช้สอยพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ (1) การจัดมหกรรมสินค้าดีมีคุณภาพราคาทุน โดยจะมีการจำหน่ายสินค้าราคาโรงงานจากผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย อาทิ เครือสหพัฒน์ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน (2) การจัดฝึกอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มทักษะต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป รวมถึงการจัดประกวดและแข่งขันต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอุตสาหกรรม อาทิ การใช้เทคโนโลยีคาราคุริ ไคเซน ตลอดจนการจัดกิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพ เพื่อมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น และ (3) การลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงคมนาคม ในการส่งเสริมและเชื่อมโยงผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ไทยสู่การเป็นซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนของระบบราง เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการชิ้นส่วนไทยมีศักยภาพในการผลิตเทียบเท่ากับต่างประเทศเช่นกัน การบูรณาการความร่วมมือที่จะมีขึ้นระหว่าง 2 หน่วยงานนี้ เป็นอีกหนึ่งการดำเนินงานที่สำคัญของดีพร้อม ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์การดำเนินงาน 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งส่งเสริม พัฒนา และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้านอย่างตรงจุด สอดรับกับนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เน้นการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ให้ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SMEs ไทย พร้อมทั้งผลักดันให้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ ตลอดจนการขับเคลื่อนมาตรการ Made by Thais เพื่อส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ของเอสเอ็มอีไทย อันจะทำให้เกิดการกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ เพื่อผลักดัน GDP ให้เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 1
26 มี.ค. 2025
ดีพร้อม - โตโยต้า โชว์ความสำเร็จ “โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไทยสู่ความยั่งยืน” ยกระดับผู้ประกอบการไทยด้วยกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 19 มีนาคม 2568 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไทยสู่ความยั่งยืน โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวถึงความร่วมมือระหว่างดีพร้อมกับโตโยต้า และนายสุรภูมิ อุดมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวสรุปผลสำเร็จ พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ และ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายนันทวัฒน์ ศรีวรัตน์อัชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ผู้แทนภาคีเครือข่าย ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ TOYOTA ALIVE บางนา โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือกันระหว่าง ดีพร้อม และ บริษัท โตโยต้า ประเทศไทย จำกัด ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้มีการร่วมมือกันผ่าน 3 กิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมการปรับปรุงกระบวนการผลิตวิสาหกิจชุมชนด้วยระบบการผลิตแบบโตโยต้า โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากโตโยต้ามาให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการเพิ่มผลิตภาพด้านการผลิต (2) กิจกรรมการอบรมและประกวดแผนการปรับปรุงธุรกิจ Community Improvement Contest “ทุนลดกำไรเพิ่ม ด้วยแนวทางการปรับปรุงแบบโตโยต้า” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันวิสาหกิจชุมชน และ (3) กิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ดีมาก) โดยผู้เชี่ยวชาญจากโตโยต้าฯ ร่วมเป็นวิทยากร ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ธุรกิจชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้ประกอบการชุมชน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยความสำเร็จในวันนี้ เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันในรูปแบบพี่ช่วยน้อง หรือ Big Brother โดยการคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้ขั้นต้น ที่ “ดีพร้อม” ให้การส่งเสริมและสนับสนุน ได้มีโอกาสในการเข้าร่วมโครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ ตามแนวนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้” (DIPROM Community) ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นให้วิสาหกิจไทยในระบบการพัฒนาสามารถ “สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเครือข่าย” มีการเติบโต และแข่งขันได้อย่างมั่นคงในอนาคต รวมไปถึงเกิดเป็นห่วงโซ่อุปทานและสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นฮีโร่ที่ “ดีพร้อม” สร้าง เพื่อให้วิสาหกิจไทยเดินหน้าไปด้วยกัน ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ จากการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมา สามารถพัฒนาธุรกิจชุมชน รวมทั้งสิ้น 9 แห่ง ได้แก่ 1. วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวและผลไม้น่าน จ.น่าน 2. วิสาหกิจชุมชนหนองหลวงม่วงไข่แปรรูปพริก จ.แพร่ 3. วิสาหกิจชุมชนฮัซบีโรตีกรอบจิ๋ว จ.สตูล 4. วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่า จ.บุรีรัมย์ 5. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแคปหมูอิ่มสุข จ.อุดรธานี 6. วิสาหกิจชุมชนบ้านช่างสกุลบายศรี จ.ราชบุรี 7. วิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะม่วงสวนลุงบุญสมบ้านผารังหมี จ.พิษณุโลก 8. วิสาหกิจชุมชนเพชรคีรีโฮมสเตย์ จ.นครศรีธรรมราช และ 9. วันมอร์ไทยคราฟช็อกโกแลต จ.นครศรีธรรมราช โดยทั้ง 2 หน่วยงานเชื่อมั่นว่า ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว จะสามารถพัฒนาศักยภาพ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยได้อย่างยั่งยืน
25 มี.ค. 2025
“ดีพร้อม” โชว์ผลสำเร็จขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์อาหาร ปั้นเชฟไฟแรงรุ่นแรก 1,300 คน ประดับครัวไทย พร้อมต่อยอดสู่ครัวโลก คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1,500 ล้านบาท
จ.นนทบุรี 21 มีนาคม 2568 - นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานพิธีการปัจฉิมนิเทศและมอบใบประกาศนียบัตรโครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวรายงานสรุปภาพรวมโครงการฯ ร่วมด้วย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นายศุกกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหาร ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นนทบุรี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายเรือธงสำคัญในการมุ่งยกระดับทักษะและปลดล็อคศักยภาพของคนไทยในการสร้างงาน สร้างรายได้ผ่านการส่งเสริม 1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ หรือ OFOS (One Family One Soft Power) เพื่อพัฒนาความสามารถของคนไทยให้สร้างมูลค่า เพิ่มทักษะใหม่ (Upskill) เสริมทักษะเดิม (Reskill) โดยเฉพาะสาขาอาหารไทย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ที่ทรงพลังที่สุด เพราะเป็นตัวแทนของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความคิดสร้างสรรค์ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของชาติ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้นำของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ด้วยการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาระบบนิเวศในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมการประกอบกิจการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อยกระดับสินค้า ซึ่งสอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล ได้เร่งผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ในสาขาหลักที่ได้รับมอบหมาย คือ แฟชั่นและอาหาร โดยเฉพาะสาขาอาหาร ซึ่งไทยได้รับการขนานนามว่าเป็น ”ครัวของโลก” จึงมอบหมายกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ร่วมบูรณาการ 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ดำเนินโครงการ “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย” โดยมุ่งสร้างกำลังคนผ่านการพัฒนาและสร้างทักษะด้านอาหาร รวมถึงเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ระบบนิเวศของอุตสาหกรรมอาหาร ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1. สร้างสรรค์และต่อยอดทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2. โน้มน้าวให้เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบผ่านการเล่าเรื่องราวที่มีคุณค่าและมีความหมาย (Storytelling) และ 3. เผยแพร่ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ อาทิ Influencer ซีรีส์ ละครย้อนยุค นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ การพัฒนาหลักสูตรอาหารไทย (ตำรับ) โดยจัดทำสื่อความรู้เผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือหลักสูตรและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการโดยเชื่อมต่อกับกองทุนหมู่บ้าน รวมถึงการสร้างแรงงานทักษะสูง หรือครูผู้สอน (Train The Trainer) เพื่อให้ครูผู้สอนเข้าใจและนำไปต่อยอดถ่ายทอดให้กับผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนการพัฒนาทักษะเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Master Thai Chef Program) ด้วยหลักสูตรที่ได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อให้สามารถนำทักษะและองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพ พร้อมเข้ารับการทดสอบคุณวุฒิวิชาชีพต่อไป ซึ่งในปีที่ผ่านมา “ดีพร้อม” สามารถพัฒนาและเพิ่มทักษะให้กับบุคลากรสาขาอาหารกว่า 1,300 คน โดยในจำนวนนี้มีผู้ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานวิชาชีพ จำนวน 1,040 คน และสร้างครูผู้สอน (Train The Trainer) จำนวน 325 คน และจากความสำเร็จนี้ จะเป็นอีกหนึ่งพลัง Soft Power จากอาหารไทยที่เชฟชุมชนได้รังสรรค์เมนู บอกเล่าคุณค่า เรื่องราว และความมีเสน่ห์ของอาหารไทยให้เป็นที่รู้จัก เกิดการยอมรับในระดับนานาชาติ และเป็นทูตวัฒนธรรมด้านอาหารที่สามารถถ่ายทอดรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อีกทั้ง ยังก่อให้เกิดการหมุนเวียนกลับไปสู่เศรษฐกิจท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1,500 ล้านบาท นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
24 มี.ค. 2025
“รมว.เอกนัฏ” มอบหมาย “ปลัดณัฐพล” พร้อมด้วย “อธิบดีณัฏฐิญา” ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ดัน "ดีพร้อม" นำอัตลักษณ์ไทย สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจซอฟต์พาวเวอร์สู่สากล
กรุงเทพฯ 19 มีนาคม 2568 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ที่ประชุมฯ ได้รายงานให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติทราบถึง 1) ความคืบหน้าการจัดทำมาตรการสิทธิประโยชน์ด้านศิลปะ ซึ่งมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการจัดงานแสดงศิลปะนานาชาติ (International Art Fair) ที่สำคัญของโลก ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย/ตลาดศิลปะ เพื่อดึงดูดนักสะสมและนักท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้ศิลปินไทยเป็นที่ยอมรับ และมีความมั่นคงทางอาชีพ 2) ความคืบหน้าการจัดงานประกวด Street Art ของเยาวชน โดยมีการเปิดพื้นที่ให้นักเรียนและนักศึกษาในการแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านศิลปะบนผนังในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ สถานศึกษา รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยว ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ภายใต้แนวคิด “Dream of Thailand” และ 3) ความคืบหน้าการจัดทำหลักสูตร E-learning สาขาต่าง ๆ และการอัพโหลดผ่านเว็บไซต์ ภายใต้โครงการ OFOS เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าไปอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะ ทั้งนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้ร่วมกันพิจารณาการดำเนินการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ของสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมีการดำเนินการผ่านกลยุทธ์ 6 สร้าง คือ สร้างสื่อ สร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างเครือข่าย และสร้างองค์กร ซึ่งได้รับงบประมาณจากกองทุน กทปส. (กสทช.) เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาแนวทางการขอรับสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานด้านซอฟต์พาวเวอร์ของกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ มีนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (Local Wisdom) ซึ่งเป็นศักยภาพของคนไทยและทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ได้รับมอบหมายให้ขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ในสาขาหลัก คือ แฟชั่นและอาหาร ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านแฟชั่น โครงการหนึ่งเชฟ หนึ่งชุมชน โดยขับเคลื่อนผ่าน 3 แนวทาง คือ สร้างสรรค์ต่อยอด โน้มน้าวจูงใจให้ชอบ และเผยแพร่เรื่องราวผ่านสื่อต่าง ๆ ด้วยการยกระดับทักษะเดิม (Upskill) และเพิ่มเติมการสร้างทักษะขึ้นมาใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) โดยเฉพาะการสร้างทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์หรือซอฟต์พาวเวอร์ไทย ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ซึ่งสอดรับกับนโยบาย OFOS (One family One Soft power) ของรัฐบาล โดยดำเนินการครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ พร้อมผลักดันอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมสร้างสรรค์ของไทยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจซอฟต์พาวเวอร์สู่สากล
24 มี.ค. 2025
83 ปี ที่ดีพร้อม “แม่ทัพณัฏฐิญา” นำทีมผู้บริหาร ข้าราชการและบุคลลากร ร่วมบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เนื่องในวันครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา
กรุงเทพฯ 20 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีบวงสรวงองค์พระนารายณ์ ศาลพระภูมิ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยเครื่องไทยธรรม และถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครบรอบ 83 ปี ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยอดีตผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ นายมนู เลียวไพโรจน์ นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) “กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม” ในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2479 มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกอง ภายใต้ชื่อ “กองอุตสาหกรรม” สังกัดกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ถูกยกฐานะขึ้นเป็น “กรมอุตสาหกรรม” ตามการปรับปรุงส่วนราชการกองเศรษฐการใหม่ และอยู่ภายใต้สังกัด กระทรวงเศรษฐกิจ จากนั้นในปี พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม” สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีบทบาทสำคัญด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่จำเป็นของประเทศ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็น “83 ปี ที่ดีพร้อม” โดยได้มีการจัดพิธีบวงสรวงองค์พระนารายณ์ พิธีไหว้ศาลพระภูมิ ประจำกระทรวงอุตสาหกรรม และ ไหว้ศาลพระภูมิประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาหน่วยงาน พร้อมจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงอุตสาหกรรมที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน และอดีตผู้บริหารที่เกียณอายุราชการไปแล้ว ตลอดจนหน่วยงานเครือข่ายภาเอกชน เข้าร่วมแสดงความยินดีอย่างคับคั่ง ณ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) โดยภารกิจหลักที่สำคัญของ “ดีพร้อม” แรกเริ่ม คือ วางแผนการสร้างและส่งเสริมอุตสาหกรรมโรงงาน และอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยในอดีตมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ผลิตผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม รวมถึงสนับสนุนการรวมกลุ่มผู้ผลิตในชุมชนและผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างงานและรายได้แก่ราษฎรในชนบท ซึ่งเป็นบทบาทของกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน หรือ กช.กสอ. หน่วยงานภายใต้สังกัด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า กช.กสอ. นับเป็นต้นกำเนิดและรากฐานที่สำคัญของการจัดตั้ง “กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม” ที่เกิดจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวที่ผลิตสินค้าในเชิงหัตถกรรม มาสู่การเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมาก็เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ครบรอบ 83 ปี เช่นเดียวกัน “83 ปี ที่ดีพร้อม” จึงนับว่าเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีรากฐานที่เข้มแข็ง มีการบ่มเพาะองค์ความรู้และจิตวิญญาณในการสนับสนุนและพัฒนาภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อีกด้วย
24 มี.ค. 2025
"ดีพร้อม" หารือภาคีเครือข่ายเดินหน้าผลักดันโกโก้ไทยสู่ศูนย์กลางของอาเซียน เน้นการพัฒนาครบวงจร ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สอดรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 18 มีนาคม 2568 - นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโกโก้ ร่วมกับ ผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และ สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย หรือ TACCO คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ในที่ประชุม มีการรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานการส่งเสริมอุตสาหกรรมโกโก้ ตามแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้ของประเทศไทยในระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567-2569) โดยดำเนินการตาม 4 มาตรการสำคัญ เพื่อพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมโกโก้ในทุกภูมิภาค ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรภาคการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการ การพัฒนาปัจจัยเอื้อ รวมถึงการส่งเสริมด้านการตลาด ซึ่งในที่ประชุมมีการอัพเดทแผนการดำเนินงานในปี 2568 เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันในการผลักดันอุตสาหกรรมโกโก้ของไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโกโก้ของภูมิภาคอาเซียน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย การสร้างองค์ความรู้ การสร้างมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์สู่ระดับสากล เนื่องจาก โกโก้ เป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง สามารถสร้างมูลค่าตั้งแต่ผลสด เมล็ดแห้ง และการแปรรูปเป็นสินค้าสร้างสรรค์ สามารถผลักดันและเชื่อมโยงผู้ประกอบการสู่ตลาดสากลได้ ตลอดจนสามารถพัฒนาและยกระดับการแปรรูปโกโก้สู่การเป็นอาหารแห่งอนาคตต่อไป สำหรับการดำเนินงานของ “ดีพร้อม” ได้นำแนวทาง “4 ให้ 1 ปฏิรูป” ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนี้ 1) ต้นน้ำ จะมุ่งเน้นการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตให้กับเกษตรกร ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว และการหมักเมล็ดโกโก้ 2) กลางน้ำ จะมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์โกโก้ เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล และ 3) ปลายน้ำ จะมุ่งเน้นการสนับสนุนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานโกโก้ เพื่อรองรับการนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ ด้วยการ Matching เกษตรกรหรือผู้ผลิตและผู้ค้า ในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ การพัฒนาระบบตลาด E-commerce พร้อมทั้งเชื่อมโยงการเข้าถึงแหล่งทุน และมาตรการสนับสนุนของภาครัฐอื่น ๆ
24 มี.ค. 2025
คนไทยไม่ทิ้งกัน!! ก.อุตฯ ร่วมกับ รพ.รามา เปิดพื้นที่รับบริจาคโลหิตถึงวันที่ 31 มี.ค. นี้ พร้อมจัดกิจกรรมจิตอาสามอบชุดอาหารว่าง-เครื่องดื่มให้กับผู้บริจาคทุกราย
วันที่ 19 มีนาคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ และ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา “ทำความดี ด้วยหัวใจ“ โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากเหตุเพลิงไหม้ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีทำให้ห้องรับบริจาคโลหิตเสียหายส่งผลให้เกิดการสูญเสียคลังเลือดเป็นจำนวนมาก เพื่อให้โรงพยาบาลฯ และผู้ป่วยมีคลังเลือดที่เพียงพอ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยอำนวยความสะดวกเปิดให้ใช้สถานที่บริเวณห้องโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับรับบริจาคโลหิต มีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ จิตอาสา และประชาชนทั่วไป มาร่วมบริจาคโลหิต โดยตั้งแต่เปิดรับบริจาควันที่ 13 - 18 มีนาคม 2568 มีผู้บริจาครวมแล้วกว่า 200 ยูนิต ในวันนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดกิจกรรมจิตอาสา “ทำความดี ด้วยหัวใจ” ร่วมสนับสนุนมอบอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาทิ ขนมปัง ขนมเค้ก ขนมขบเคี้ยว น้ำดื่มวิตามิน นม น้ำผลไม้ รวมจำนวนกว่า 6,300 ชิ้น ที่ได้รับการสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผ่านกิจกรรม “อุตสาหกรรมรวมใจ” เพื่อแทนคำขอบคุณที่ร่วมกันบริจาคโลหิตให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี ทั้งนี้ ได้เชิญชวนบุคลากรจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 7 หน่วยงานเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีผู้บริจาคโลหิตเพิ่มเติมในวันนี้กว่า 120 คน กระทรวงอุตสาหกรรมขอเชิญชวนประชาชนและจิตอาสาที่สนใจร่วมบริจาคโลหิตสามารถเดินทางมาบริจาคโลหิตให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ยกเว้นวันหยุดราชการ) ระหว่างเวลา 9.00 -14.00 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 ทั้งนี้สามารถจองคิวรับบริจาคโลหิตล่วงหน้าได้ ติดต่อโทร. 0 2200 4202, 0 2200 4208-9
24 มี.ค. 2025
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2568
ขอเชิญผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส โดยแสกน QR CODE https://itas.nacc.go.th/go/eit/et27qg
20 มี.ค. 2025