มณีจันทร์ ไอโอที โซลูชั่น


22 มี.ค. 2565    สุทาทิพย์    179

 

 

    เชื่อว่าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 น่าจะมีหลายคนได้รับผลกระทบจนรับมือกันแทบไม่ทัน แต่ต้องไม่ใช่กับธุรกิจของคุณไกรสร มณีจันทร์ ซึ่งเดิมทีทำบริษัทเกี่ยวกับระบบ IoT สำหรับสมาร์ทโฮม แต่เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 หัวเรือใหญ่ของบริษัทจึงต้องการมองหาเครื่อง UVC ไปมอบให้กับโรงพยาบาลต่างๆ จนพบว่าการนำเข้าเครื่อง UVC มีราคาสูงถึง 7 หลักต่อเครื่อง จึงพลิกโฉมบริษัท IoT สู่วงการอุตสาหกรรมอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ทันที


       “ราคาสูงขนาดนั้นเราคงซื้อไม่ไหวงั้นเราทำเองเลยดีกว่า”

    แต่การเริ่มต้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

เครื่องมือและอุปกรณ์ในโรงงานต้องมีมาตรฐานทางการแพทย์  ต้องมีมาตรฐานโรงงาน   ต้องมีแล็บทดสอบ

ต้องได้รับการวินิจฉัยเครื่องมือแพทย์จากสำนักงานอาหารและยา (อย.)   ต้องขึ้นบัญชีนวัตกรรม

ต้องผ่านการทดสอบทางการแพทย์

    ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้โดยปกติใช้เวลาประมาณ 4 ปี แต่เราทำได้ในเวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง และสามารถผลิตเครื่องฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ได้ถูกกว่่าการนำเข้าถึง 10 เท่า ซึ่งต้องขอบคุณหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ กิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการด้านมาตรฐานสถานประกอบการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม


“กระบวนการทำเครื่องมือแพทย์เป็นความรู้ที่เฉพาะทางมากๆ การจะมาถึงจุดนี้ได้เราต้องมีที่ปรึกษาที่ชำนาญการมาสอน มาแนะนำและให้ความรู้ จนเรามีความรู้ความสามารถด้านการผลิตเครื่องมือแพทย์มาก ยิ่งขึ้น”


    จากการเข้าร่วมโครงการบริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 57 เปอร์เซ็นต์และยังเพิ่มยอดขายได้มากกว่าเดิม 2.5 เท่า


    สำหรับจุดเด่นของ V-Free อยู่ที่ความคงทนของวัสดุ ที่เน้นไปที่การตอบโจทย์การใช้งานของโรงพยาบาลในประเทศไทย จึงต้องเป็นสเตนเลสรูปทรงกะทัดรัด ทำให้สามารถดูแลรักษาและจัดการได้ด้วยคนคนเดียว นอกจากนั้นการใช้งานยังผสมผสานระบบ IoT เข้าไปด้วย ทำให้สามารถตรวจสอบการใช้งานได้ว่าใครใช้เครื่องนี้เวลาใด นานเท่าไหร่บ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดของ อย. รวมถึงสามารถบันทึกเวลาการใช้งานของหลอด UVC ได้ด้วย เราจึงสามารถตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานของหลอด UVC ได้อย่างแม่นยำ


    ในอนาคต V-Free วางแผนการพัฒนาแพลตฟอร์มให้เชื่อมโยงพื้นที่การใช้งานด้วย เช่น สามารถตรวจสอบได้ว่าหน่วยงานใดใช้งานอยู่บ้าง หน่วยงานใดยังไม่ได้ใช้ ซึ่งหากเชื่อมโยงเข้ากับ Big Data และขยายผลไปสู่แอปพลิเคชันไทยชนะน่าจะช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับสถานที่ท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น


 

คุุณไกรสร มณีีจัันทร์์

บริิษััท มณีีจัันทร์์ ไอโอทีี โซลููชั่่น จำำกััด

โทรศัพท์ 09 8264 2374

 

 

ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม