สหกรณ์ฯ สวนยางควนโพธิ์ พิสูจน์ยางไทยอันดับ 1


31 ม.ค. 2554    พลอยไพลิน    391

ประเทศไทยมีชื่อเสียงในการผลิตยางคุณภาพส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่เกษตรกรจำนวนมากขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งพันธุ์ยาง ต้นยาง กระบวนการได้มาซี่งน้ำยาง การทำยางแผ่น และการรมควัน เนื่องงจากขาดเงินทุนและเทคโนโลยีความรู้ใหม่ๆ โดยโรงงานผลิตยางแผ่นรมควันหลายแห่งของการเกษตรในชุมชนควนโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ก็ประสบปัญหาเดียวกันนี้

 

"เมื่อปี 2537 รัฐบาลมีนโบายส่งเสริมและพัฒนาอย่างจริงจัง จนทำให้มีโรงงานผลิตยางรมควันเพิ่มขึ้นมากถึง 700 แห่ง แต่พอผ่านมานานเกือบ 20 ปี เตาและอุปกรณ์ต่างๆ ก็เริ่งชำรุด ทำให้ผลผลิตที่ไม่ดีเท่าที่ควรปกติการรมควัน 3 คืน ก็สุกแล้ว แต่ถ้าเตามีปัญหาจะใช้เวลานานขึ้นและต้องใช้ฟืนมาก" คุณการีม ยูหันนัน ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางควนโพธิ์เล่าถึงสภาพการผลิตซึ่งการใช้เวลาและเชื้อเพลิงมากขึ้น ก็เท่ากับต้นทุนมากขึ้นนั่นเอง คุณการีม และสามชิกสหกรณ์อีกจำนวนหนึ่งจึงได้เข้าร่วม 'โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตยางในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้' ของศูนย์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เมื่อสองปีที่แล้ว และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาคุณภาพการผลิตยางรมควัน เช่น การใช้มอเตอร์อัดลมเพื่อเพิ่มความร้อนในเตา การสำรวจและซ่อมจุดชำรุดเพื่อให้เตาเก็บความร้อนได้ดีที่สุด เป็นต้น รวมถึงจัดหาช่างซ่อมบำรุงเตาที่มีความชำนาญ ทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น

 

คุณการีมให้ความเห็นว่า หากยังต้องการรักษาการเป็นอันดับหนึ่งของผู้ส่งออกยางพาราโลก ควรต้องมีพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีคณะทำงานด้านปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะ ซี่งสวนยางแต่ละพื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีอายุการปลูกต่างกัน เทคโนโลยีการผลิตต่างกัน ย่อมต้องการการพัฒนาที่แตกต่างกันด้วย หากมีความรู้และมีกำลังพร้อม การค้าเสรีก็จะไม่ใช่สิ่งน่ากลัวสำหรับอุตสาหกรรมยาง

 

คุณการีม ยูหันนัน

ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางควนโพธิ์

243 หมู่ 2 ต.ควนโพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล 91140

 

ที่มา : รายงานประจำปี 2554 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม