Supply Chain คืออะไร


08 ธ.ค. 2565    สุทาทิพย์    522

 Supply Chain คืออะไร 


  Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทาน หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนการผลิตตลอดจนการส่งออกสินค้า ซึ่งทุกกระบวนการจะเชื่อมโยงกันหมด ในกระบวนการต่าง ๆ ของ Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทาน นั้นมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมาก ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ และความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหากขาดขั้นตอนใดหรือเกิดข้อผิดพลาดก็จะเกิดผลกระทบต่อทุกส่วน เช่น วัตถุดิบในการผลิดไม่พอ ก็จะทำให้การผลิตล่าช้า กระทบไปถึงลูกค้าได้รับสินค้าช้าไปด้วย



 องค์ประกอบของ Supply Chain แบ่งได้ 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ 


 Upstream Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต คือ การจัดหาวัตถุดิบ ติดต่อประสานงาน จัดซื้อวัตถุดิบ ตรวจสอบข้อมูลและวัตถุดิบเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต

 Internal Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทานในขั้นตอนการผลิต คือ การผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า ตลอดจนตรวจเช็คคุณภาพ

 Downstream Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้า คือ การแพ็คของ ตรวจสอบสินค้า เลือกการขนส่ง แล้วจัดส่งให้ถึงมือลูกค้า

 


 การจัดการซัพพลายเชนช่วยอุตสาหกรรมด้านไหนบ้าง  

      การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) เปรียบเสมือนการอัปเกรดระบบทั้งหมดของอุตสาหกรรมการผลิตให้ดียิ่งขึ้น โดยจะส่งผลดี 3 ประการต่อกระบวนการทำงานดังนี้ 

  เห็นภาพรวมที่แท้จริงของอุตสาหกรรม เพราะการจัดการซัพพลายเชนจำเป็นต้องมีข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแปลงข้อมูลต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่สามารถจับต้องได้ ทางฝั่งผู้บริหารจะสามารถรู้ได้ทันที เช่น 

 ความล่าช้าในการจัดส่ง

 ปัญหาในการผลิตส่วนต่างๆ

 การจัดการบัญชีที่ล่าช้า

 

  ลดต้นทุนโดยรวมของอุตสาหกรรม เนื่องจากการจัดการซัพพลายเชนจะใช้หลัก Zero waste คือ ไม่มีสิ่งใดสูญเปล่า ดังนั้นจะมีการตรวจสอบการจัดซื้อ การจัดเก็บสินค้า เพื่อไม่ให้มีการจัดซื้อวัตถุดิบมากเกินไป และจัดเก็บสินค้านานจนเสื่อมคุณภาพ ราคาตก ทำให้เงินที่ใช้จ่ายโดยรวมลดลง เพิ่มโอกาสได้กำไรมากขึ้น 

 

  ส่งผลต่อการทำงานอย่างบูรณาการ จากการจัดการซัพพลายเชนจะทำให้ทางบริษัทและโรงงานรู้ได้ทันทีว่าส่วนไหนที่อาจทำให้เกิดปัญหา ทำให้มีการแก้ไขที่ไวและทันท่วงที ไม่จำเป็นต้องรอให้ส่งผลกระทบใหญ่โต รวมถึงมีการพัฒนาระบบการผลิตให้ดีขึ้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลการจัดการซัพพลายเชนเดิมมาใช้ เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อสนับสนุนระบบการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ขยายโกดังเก็บสินค้าใหม่เพื่อให้พอดีกับการผลิต เป็นต้น

 

 

 

ที่มา : เว็บไซต์ thaiwinner, เว็บไซต์ thaiwinner, เว็บไซต์ sumipol