7 เรื่องใหญ่การตลาดในปี 2022 จะไม่เหมือนเดิม


24 ก.พ. 2565    nutnaree    382

 7 เรื่องใหญ่การตลาดในปี 2022 จะไม่เหมือนเดิม 

 

 

 การต่อสู้ระหว่างบริษัทใหญ่กับบรรดานักดิสรัปต์

     เราจะได้เห็นบริษัทใหญ่ ๆ รับมือกับดิสรัปเตอร์โดยการการจัดตั้งยูนิตพิเศษ การทำ M&A หรือการควบรวมกิจการเพื่อนำเอาองค์ความรู้ หรือโครงสร้างธุรกิจแนวใหม่มาผนวกกับความใหญ่โต หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ “ซื้อคนที่จะมาดิสรัปต์ซะเลย”

 

 Deeper Collaboration between Corporate, Brand, Media, Influencer and Consumers

     เป็นความร่วมมือกันระหว่างองค์กร แบรนด์ สื่อ และอินฟลูเอนเซอร์ ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ไม่ได้จำกัดแค่บริษัท หรือแบรนด์เท่านั้น แต่เป็นการจับมือกันระหว่าง ‘แบรนด์ กับ อินฟลูเอนเซอร์’ หรือ ‘อินฟลูเอนเซอร์ กับ สื่อออนไลน์’ เพราะ Influencer ช่วยให้ลูกค้าเข้าใจบริบทของสินค้าและการใช้สินค้าได้ดียิ่งขึ้น

 

 Building Metaverse & Virtual world

     แบรนด์จะเริ่มสร้าง virtual evidence มากขึ้น เหมือนกับการทำธุรกิจที่มีหน้าร้านแบบออฟไลน์ ในเชิงการตลาด เริ่มมีการเคลื่อนไหวให้เห็น อย่างเช่น  

      ในต่างประเทศมีการจัด virtual concert ของ Travis Scott ในเกมส์ Fortnite

      เคสของ KFC ในจีนที่สร้าง Pocket Franchise ให้ทุกคนสามารถเปิดร้าน KFC บน WeChat App ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้าวต่อไปที่จะมี Virtual Franchise ใน Metaverse

 

 New Experience Transformation O2O + I2O | Online to Offline + Inside to Outside

     การสร้างประสบการณ์จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ และเริ่มจากภายในสู่ภายนอก สิ่งเหล่านี้จะเริ่มเปลี่ยนมากขึ้นในอนาคต โดยองค์กรจะเริ่มหันมาสร้างแบรนด์และสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยเริ่มต้นจากคนใน แล้วค่อยสื่อสารมันออกไป

 

 The Brand Activist : Morality led Value (แบรนด์กับจุดยืน คุณธรรมจะสร้างคุณค่า)

     ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อสังคม เช่น ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ), ภาวะโลกร้อน, ความเท่าเทียมกัน, สิทธิมนุษยชน, การเหยียดเชื้อชาติ เป็นต้น โดยผลกระทบจากกการที่แบรนด์แสดงออกในทางตรงข้ามหรือเลือกที่จะนิ่งเฉย คือการแบนไม่สนับสนุนหรืออุดหนุนสินค้านั้นๆ อีก

 

 Data-driven to Empathy-driven Marketing

     ไม่ใช่เพียงการนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ แต่การเข้าใจปัญหาของผู้บริโภคอย่างแท้จริง จะทำให้เรานำมาสร้าง Solution ในการแก้ Pain point ได้ โดยต้องอาศัยการสื่อสารอย่างระมัดระวังในประเด็นละเอียดอ่อน การสื่อสารโดยไม่หลอกหลวงหรือไม่รบกวน และสื่อสารให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่เราตั้งใจทำ

 

 Brand Value Shift from Authenticity to Sensemaking

     ในปัจจุบันมีหลายองค์กรที่พยายามสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้วยการทำสาธารณประโยชน์ แต่หลายกิจกรรมที่ทำนั้นไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร อย่างเช่นบางแบรนด์ที่ทำ CSR ปลูกต้นไม้ แต่ไม่มีการต่อยอดหลังปลูก ดังนั้นต่อจากนี้ผู้คนจะถามหาความจริงใจ ความมีเหตุและผลกันมากขึ้น

 

 ที่มา :  เว็บไซต์ workpointtoday