เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า...ผู้บริโภคอุ่นใจ ผู้ขายกำไรงาม


01 ธ.ค. 2565    nutnaree    713

 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า...ผู้บริโภคอุ่นใจ ผู้ขายกำไรงาม 

  

 ผู้ประกอบการมือใหม่ที่มีสินค้าคุณภาพอยู่ในมือ แล้วต้องการสร้างมาตรฐานเพื่อให้เกิดการยอมรับจากลูกค้า และเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าร่วมด้วยนั้น ฟังทางนี้ 

 

 เนื่องจากในโลกธุรกิจมีสินค้าให้ผู้บริโภคได้เลือกสรรมากมาย ผู้ประกอบการแต่ละรายจำเป็นต้องคิดหาวิธีการทำให้สินค้าของตัวเองโดดเด่น และเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่สร้างจุดแข็งให้กับสินค้า คือการได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า เพื่อเป็นเครื่องการันตีคุณภาพที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายแพงกว่า ดังนั้นดีพร้อมจึงรวบรวมเครื่องหมายประเภทต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการควรรู้ไว้ดังนี้

 

 เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ริ่มที่ ‘เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม’ หรือ มอก. หากผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามที่กำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับการใช้อุปโภค และบริโภค มีประสิทธิภาพเหมาะกับการใช้งานตามประเภทของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็จะได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรร

 

 เครื่องหมายมาตรฐาน GMP เครื่องหมายรับรองคุณภาพการผลิตอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ Codex Alimentarius เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งนับเป็นข้อกําหนดขั้นตํ่าที่แต่ละโรงงานจะต้องดําเนินการ เพื่อให้ได้อาหารที่เหมาะสม โดยต้องมีการจัดการด้านความพร้อมของสภาวะแวดล้อมในกระบวนการผลิต เช่น สุขลักษณะส่วนบุคคล การควบคุมแมลงและสัตว์นําโรค การทําความสะอาดสถานที่ผลิต เครื่องจักร เป็นต้น

 

 เครื่องหมายมาตรฐาน HACCPเครื่องหมายควบคุมและกำกับดูแลความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิตอาหาร ตามมาตรฐานสากล เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้บริโภคถึงการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย ไม่มีสาร หรือสิ่งปนเปื้อนที่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคไปในสินค้า โดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ Codex Alimentarius เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งจะตรวจสอบโรงงานตั้งแต่กระบวนการผลิต ให้ได้อาหารปราศจากอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี และสิ่งปลอมปนทางกายภาพ

 

 ครื่องหมายมาตรฐาน Q เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าทางการเกษตร โดยจะต้องผ่านมาตรฐานตามการรับรองอื่น ๆ มาก่อน เช่น การปฏิบัติตามาตรฐานทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice ; GAP) การรับรองมาตรฐาน GMP และ HACCP ทั้งนี้ สินค้าจะได้รับการตรวจสอบสารปนเปื้อนทางกายภาพ และชีวภาพ อย่างเคร่งครัด เช่น สารพิษตกค้าง เป็นต้น ซึ่งจะได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

 เครื่องหมายอาหารและยา (อย.) เครื่องหมายรับรองกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพว่าทำถูกต้องตามกฎหมาย ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เครื่องสำอาง ยา อาหารเสริมต่าง ๆ รวมถึงอาหาร โดยต้องมีคุณภาพ มีมาตรฐาน และปลอดภัย ซึ่งต้องสอดคล้องกับข้อมูลวิชาการที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภค ได้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนสารอันตรายต่อร่างกาย ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบ

 

 เครื่องหมายมาตรฐาน ISO เครื่องหมายมาตรฐานสากลที่เกี่ยวกับระบบการจัดการคุณภาพ จากองค์การมาตรฐานสากล ที่จะเน้นจัดการในระบบการบริหาร เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต และขจัดข้อโต้แย้งทางการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการให้ความร่วมมือในการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นั่นเอง

 

 เครื่องหมายมาตรฐานอาหารฮาลาล เครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำการประทับหรือแสดงลงบนสลาก หรือผลิตภัณฑ์ หรือกิจการใด ๆ เพื่อให้สามารถอุปโภค บริโภคสินค้านั้นได้อย่างมั่นใจว่าไม่มีการปนเปื้อนสิ่งต้องห้ามตามกฎและความปลอดภัยของศาสนาอิสลาม

 

ที่มาของข้อมูล : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)