นวัตกรรมรถตัดอ้อยแบบลำ สิ่งประดิษฐ์จากฝี มือคนไทย โดยภาวนายนต์ ด่านช้าง
ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาวนายนต์ ด่านช้างบริหารงานโดย คุณอานนท์ ภาวนา ผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย มุ่งหวัง ประดิษฐ์รถตัดอ้อยที่่มีประสิทธิภาพ ในต้นทุนที่่ไม่สูงมาก เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ลดการเผาอ้อย สาเหตุุปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 แต่ด้วยต้องการพัฒนาและต่อยอด การประดิษฐ์ จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพ เครื่องจักรและอุปกรณ์ทางการเกษตรในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้รับเงินทุน และแนวทางการพัฒนารถตัดอ้อยแบบลำ ที่่มีจุดเด่นคือ สามารถต่อพ่วงกับรถไถได้ทุกชนิด ติดตั้งง่าย ไม่ซับซ้อน ใช้ในการตัดอ้อยแบบอ้อยท่อน มีระบบสางใบ ที่่ใช้ลวดสลิง ทำหน้าที่่สางใบอ้อยทั้งลำพร้อมส่งใบทิ้งออกไปด้านข้าง ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าไฮดรอลิก พร้อมทั้งมีตัวตัดยอดอ้อย และสะพานลำเลียงอ้อยขึ้นสู่รถตะกร้าหรือรถบรรทุกทันที สามารถตัดได้ 80-150 ตันในเวลา 8 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก และลักษณะต้นอ้อย ประหยัดเวลา มีความแข็งแรงทนทาน ที่่สำคัญช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนด้านแรงงานได้ 40 คน ต่อ 1 เครื่อง และเพิ่มราคาขายอ้อยต่อโรงงานเพื่อผลิตเป็นน้ำตาลได้สูงขึ้น ปัจจุบันมีจำหน่าย 2 เวอร์ชั่น คือรุ่นคอนเดม เวอร์ชั่น 2 สำหรับต่อพ่วงรถไถด้านหน้า ตัดยอดอ้อย ได้ร้อยละ 95 ราคา 890,000 บาท และรุ่นคอนเดมเวอร์ชั่น 3 สำหรับต่อพ่วงรถไถด้านหลัง ตัดยอดอ้อยได้ร้อยละ 95 แต่มีความคล่องตัวกว่าแบบแรก ราคา 950,000 บาท “รถตัดอ้อยแบบลำ นี้้ผมใช้เวลาคิดค้นมานานกว่า 6 ปี กว่าจะประสบความสำเร็จ ดีใจมากที่่ได้รับความสนใจ จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เพราะช่วยให้การเก็บเกี่่ยวอ้อยสดกลายเป็นเรื่องง่าย ลดการเผาใบ เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตต้องขอขอบคุณทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่่ช่วยเหลือ ด้านเงินทุนและร่วมกันพัฒนาจนสำเร็จไปได้ด้วยดี สำหรับในอนาคตคาดว่าจะมีเงินลงทุนเพื่อให้สามารถ มีกำลังการผลิตต่อปีได้มากขึ้น เพราะปีนี้สามารถผลิตได้เพียง 6 เครื่อง แต่่ความต้องการของเกษตรกรที่่ติดต่อมามีมากขึ้น หากมีเงินทุนเพิ่มจะสามารถผลิตได้มากกว่านี้้” ภาวนายนต์ ด่านช้าง ยังคงเร่งการผลิิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาดจากทั่วสารทิศ และพร้อมจะสร้างสรรค์ผลงานให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ต่อไป นับเป็นความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการไทย ที่่สามารถสร้างนวัตกรรมมาช่วยเกษตรกรทำงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม คุณอานนท์ ภาวนา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาวนายนต์ ด่านช้าง : 41 หมู่่ที่่ 6 ตำบลแจงงาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุุรี 72240 : 08 9915 6586 : https://www.facebook.com/people/รถตัดอ้อยภาวนายนต์-ด่านช้าง/100057265516981 ที่มา : รายงานประจำปี 2563 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
05 พ.ค. 2564
เครื่องนวดข้าว “เกษตรพัฒนา” สร้างชื่อธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
“ความเชื่อถือและความไว้วางใจในคุณภาพ ความรับผิดชอบ ความชำนาญและบริการ” เป็นสิ่งที่ คุณสมิหลา หยกอุบล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานพัฒนาการเกษตรขอนแก่น จำกัด (เกษตรพัฒนาขอนแก่น) ยึดมั่นในการทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องนวดข้าว “เกษตรพัฒนา” ซึ่งเป็นเครื่องนวดข้าวอเนกประสงค์ที่นวดได้ทั้งข้าว เมล็ดข้าวโพด ข้าวฟ่าง ทานตะวัน ปอเทือง และถั่วผิวมันทุกชนิด ด้วยความที่บริษัทตั้งอยู่ใกล้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 (ศภ.5 กสอ.) จังหวัดขอนแก่น ทำให้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ เป็นประจำ และได้ทราบว่า ศภ.5 ซึ่งอยู่ภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการที่ดี เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ SMEs เป็นจำนวนมาก จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ เริ่มจากโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) รุ่นที่ 16 ต่อเนื่องมาจนถึงโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP) และล่าสุดกับโครงการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ SMEs ด้วยระบบ LEAN เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิค LEAN (Lean Manufacturing Standard) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นให้แก่ SMEs โดยได้แก้ปัญหาตัวเลขสต๊อกอะไหล่ผิดเพี้ยนของบริษัทฯ ได้อย่างตรงจุด เพิ่มความแม่นยำของตัวเลขสต๊อกอะไหล่ให้เที่ยงตรงมากกว่า 23 รายการ จากทั้งสิ้น 36 รายการ และลดเวลาที่ใช้ในการผลิตงานประกอบท่อข้าวลีบลงได้ถึง 26% คุณสมิหลา หยกอุบล บริษัท โรงงานพัฒนาการเกษตรขอนแก่น จำกัด 20 ม.3 ถ.มิตรภาพ ต.สำราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ 0 4337 9114-7 โทรสาร 0 4337 9151 www.thaiagriworld.com ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2558
บริษัท ที.เอ็ม.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยพลังความรู้
โรงกลึงเล็กๆ ก้าวสู่การเป็นกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักรระบบไฮดรอลิก ที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทชั้นนำของโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์หรืออุตสาหกรรมประเภทที่ต้องใช้เครื่องปั๊มขึ้นรูป นอกจากรับจ้างผลิตให้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ แล้ว ยังเป็นผู้ผลิตเครื่องอัดชิ้นงาน เครื่องกดชิ้นงาน และเครื่องจักรระบบไฮดรอลิก ภายใต้แบรนด์ TMC อันเป็นตราสินค้าของตนเองด้วย คุณสุรเชษฐ์ กมลมงคลสุข กรรมการผู้จัดการบริษัท ที.เอ็ม.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด ทายาทธุรกิจและบุตรชายคนโตของคุณทวีมิตร กมลมงคลสุข ผู้ก่อตั้งบริษัท ได้เล่าถึงเส้นทางกว่า 40 ปีที่คนรุ่นพ่อได้บุกเบิกไว้ จนถึงวันนี้ที่ TMC คือแบรนด์ไทยหนึ่งเดียวที่ขับเคี่ยวอยู่ในตลาดท่ามกลางคู่แข่งจากต่างประเทศ ผลิต และพัฒนาเครื่องจักรไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมเครื่องจักรนำเข้าจากต่างประเทศ จนกล่าวได้ว่า คนไทยสามารถคิดค้นและผลิตเครื่องจักรระบบไฮดรอลิกขึ้นมาใช้เองภายในประเทศได้ “ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ท่านเรียนจบแค่ ป.4 แต่เป็นคนที่พยายามศึกษาหาความรู้มาก อย่างอบรม คพอ. (โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม) นี่คุณพ่อเป็นรุ่น 3 ของประเทศ คุณพ่ออบรมก่อนตั้งบริษัท ที.เอ็ม.ซี. อุตสาหกรรมอีก ส่วนคุณแม่รุ่น 17 โครงการเดียวกัน เป็นการอบรมแผนธุรกิจการอบรมโครงการนี้ทำให้คุณพ่อสามารถเขียนแผนไปขอเงินกู้ธนาคารได้ จากแรก ๆ ที่ต้องใช้เงินกู้นอกระบบไปกู้คนนั้นคนนี้มาลงทุน การเข้าอบรมนี้ถือเป็นโครงการที่ทำให้เราเข้าถึงแหล่งเงินกู้ธนาคารได้ ซึ่งนักธุรกิจหรือคนเริ่มธุรกิจใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ก็จะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้” นอกจากรุ่นพ่อแม่ ผู้บริหารบริษัท ที.เอ็ม.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด ล้วนเข้าร่วมอบรมในโครงการ คพอ. เริ่มตั้งแต่ คุณสุรเชษฐ์ เข้าอบรมรุ่น 64 ภรรยาของคุณสุรเชษฐ์ เข้าอบรมรุ่น 186 และคุณธีรภาพ น้องชายคนเล็กของคุณสุรเชษฐ์ เข้าอบรมในรุ่น 94 เรียกได้ว่าเป็นครอบครัว คพอ.ขนานแท้มายาวนาน ความรู้ที่ได้ทั้งในเชิงกลยุทธ์และแผนงานสร้างพลังให้พวกเขาขับเคลื่อนธุรกิจ และมั่นใจในศักยภาพที่ตนเองมีจนสามารถขยายงานรุกเข้าสู่ตลาดในยุคแห่งการแข่งขันเสรีได้ นอกจากความรู้แล้ว การเข้าร่วมอบรม ยังได้รู้จักเครือข่ายผู้ประกอบการที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นพลังหนุนเสริมซึ่งกันและกันมาตลอด วันนี้ TMC เป็นผู้ผลิตเครื่องจักรระบบไฮดรอลิกรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่กว่าจะมีวันนี้การก่อร่างสร้างธุรกิจไม่มีระบบไฮดรอลิกใดมาช่วยทุ่นแรง TMC สั่งสมชื่อเสียงและผลงานคุณภาพมาเกือบ40 ปี บนความมุ่งมั่นและพลังแห่งการเรียนรู้อันเต็มเปี่ยมของคุณทวีมิตร กมลมงคลสุข คนรุ่นพ่อที่อาจเรียกได้ว่า ‘วิศวกรห้องแถว’ ใช้วิธีเรียนแบบครูพักลักจำ ขวนขวายเรียนรู้ด้วยตนเอง รับไม้สานต่อโดยคนรุ่นลูก ผู้สืบต่อทั้งแนวคิดการบริหาร และตระหนักมาจากประสบการณ์ของคนรุ่นพ่อว่า ความรู้คือพลัง ความรู้เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งให้ธุรกิจก้าวเดินมาได้จนถึงจุดนี้ คุณสุรเชษฐ์ กมลมงคลสุข กรรมการผู้จัดการบริษัท ที.เอ็ม.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด 125/10 หมู่ 5 ต. บ้านสวน อ. เมือง จ. ชลบุรี โทรศัพท์ : 0 3827 1933 โทรสาร : 0 3827 1931 เว็บไซต์ : www.tmc.co.th ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน
31 ธ.ค. 2557
เกษตรอินเตอร์ 42 จัดบ้านใหม่ ลด 7 waste เพิ่ม 5 ส. สู่การลดต้นทุน
ด้วยอายุของกรมฯ ที่ยาวนานถึง 72 ปี ทำให้มีการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการในท้องถิ่นมาช้านาน บริษัท อินเตอร์การเกษตร จำกัด เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาหนึ่ง “ทางบริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาตั้งแต่สมัยคุณพ่อซึ่งเข้าอบรม คพอ. รุ่นที่ 30 และนำความรู้มาพัฒนากิจการจนก้าวหน้า” คุณจิรพัชร์ ฐิติกรสกลวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัท เกษตรอินเตอร์ 42 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่แตกแขนงออกมาจากอินเตอร์การเกษตร กล่าวอธิบาย อินเตอร์การเกษตรมีประสบการณ์ผลิตรถไถเดินตามตราช้างเหล็กผานจานตราดอกบัว และเครื่องจักรกลการเกษตรมานานกว่า 20 ปี โดยมีจุดแข็งที่มีโรงงานแปรรูปเหล็กเป็นของตนเอง มีทีมงานที่เชี่ยวชาญ ประกอบกับได้รับความรู้จากกรมวิชาการเกษตรจึงสามารถสร้างเครื่องอบและโกดังเก็บเมล็ดพืชที่มีคุณภาพ ในปี 2538 ได้จัดตั้งบริษัท เกษตรไทยอินเตอร์ (22) จำกัด และบริษัท ไทยอินเตอร์พัฒนา จำกัด เพื่อผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร และมีโอกาสดีที่ได้รับออร์เดอร์ผลิตเครื่องอบข้าวให้กับสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศ ในปี 2540 จึงมีโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีการลดความชื้น สามารถออกแบบ ผลิต และติดตั้งเครื่องอบลดความชื้นข้าวเปลือกและข้าวโพดได้ตรงความต้องการของลูกค้าจนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าทั่วประเทศ “เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ทางบริษัทฯ เห็นว่าเราควรจะต้องพัฒนาระบบงานภายในโดยให้ที่ปรึกษามาช่วยแนะนำ ล่าสุดจึงเข้าโครงการ MDICP ตามที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ภาค 3 แนะนำ” หลังเข้ารับการอบรมโครงการ “การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP ภูมิภาค)” บริษัทได้จัดทำ 7 waste กิจกรรม 5 ส. จัดผังและปรับแต่งพื้นที่การจัดวางงานในโรงงานใหม่ ปรับปรุงวางระบบเอกสารควบคุมงานและใบสั่งงานเพื่อขยายคอขวด ทำให้ลดความสูญเปล่าและลดการรองานในขั้นตอนต่าง ๆ อาทิ ลดต้นทุนจากเดิมประมาณ 30,000 บาท/เดือน คงเหลือ 15,000บาท/เดือน และลดเวลาในขั้นตอนตัดเหล็กและเชื่อมลงได้ 87% จากเดิม 30 ครั้ง/เดือน คงเหลือ 4 ครั้ง/เดือน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50,000 บาท/เดือน การจัดทำบัญชีที่เป็นระบบทำให้ผู้บริหารสามารถตรวจสอบข้อมูลและบริหารงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีศักยภาพในการแข่งขันที่ดีขึ้น คุณจิรพัชร์ ฐิติกรสกลวงศ์ บริษัท เกษตรอินเตอร์ 42 จำกัด 1010/59 หมู่ 10 ต.นครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 โทร. 056 222 531 โทรสาร 056 221 817 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556