เคพี ปิโตรเลียม 111 โตยั่งยืน สวนกระแสตลาดน้ำมัน
“สถานีบริการน้ํามัน” หรือ “ปั๊มน้ำมัน” นับเป็นหนึ่งในธุรกิจในฝัน ของหลาย ๆ คน และถูกยกระดับให้เป็น “Community Hub” ด้วย การเติมบริการส่วน Non-oil ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า มินิมาร์ท ร้านอาหารรวมถึงบริการต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เข้ามาเสริม ทำให้ในยุคนี้ คนที่แวะปั๊มน้ำมันไม่ได้แวะเพื่อเติมน้ำมัน อย่างเดียวอีกต่อไป ทว่าการแข่งขันในธุรกิจนี้ก็นับว่ามีสูงด้วยเช่นกัน ในปี 2560 คุณคมเพชร อ่อนวงษ์ ได้ตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจปั๊มน้ำมันด้วย ตัวเองจากศูนย์ไม่อาศัยแฟรนไชส์โดยเปิด บริษัท เคพี ปิโตรเลียม 111 จำกัด ให้บริการปั๊มน้ำมันในเขตพื้นที่อุตรดิตถ์ มียอดขาย 1,000 ลิตร ต่อวัน กระทั่งได้มีโอกาสร่วมธุรกิจกับ บริษัท น้ำตาลทิพย์สุโขทัย จำกัด ในการให้บริการเติมน้ำมันให้กับรถบรรทุกอ้อยในเขตพื้นที่อุตรดิตถ์ จนได้ฐานลูกค้าประจำที่ชัดเจน ส่งผลให้มียอดขายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทว่าคุณคมเพชรก็ไม่หยุดอยู่เพียงแค่นี้เพราะพื้นที่ภายในปั้มนั้นสามารถพัฒนาต่อยอดได้อีกมากมาย จึงเกิดโครงการสร้างมินิมาร์ท ร้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เครื่องมือช่าง เพื่อให้บริการเพิ่มภายในปั๊ม เพื่อให้แบรนด์ เคพี ปิโตรเลียม 111 เป็นแบรนด์ที่เติบโตได้อย่าง ยั่งยืน พร้อมขยายสาขา คุณคมเพชรจึงมีนโยบายในการบริหารจัดการด้วยระบบโลจิสติกส์และการวางแผนระบบบริหารจัดการงานใหม่ ทั้งหมด เนื่องจากทาง เคพี ปิโตรเลียม 111 มีบริการ “ส่งน้ำมัน” ถึงมือลูกค้าซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการหลัก หากสามารถพัฒนาระบบงาน ตรงนี้ได้ก็จะทำให้ธุรกิจมีแต้มต่อมากขึ้น คุณคมเพชรจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอบรมกับดีพร้อมโดยตั้งเป้าเพิ่มศักยภาพทีมโลจิสติกส์ให้สามารถพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งดีพร้อมก็ได้เข้ามาอบรมให้ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์ ทั้ง 5 ด้าน รวมถึงอบรมการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป QM for Window ที่ใช้ในการคำนวณทางด้านโลจิสติกส์ แก่บุคลากรของ เคพี ปิโตรเลียม 111 ผลลัพธ์ที่ได้ก็น่าพอใจเป็นอย่างมาก โดยก่อนดำเนินการ ปรับปรุง เคพี ปิโตรเลียม 111 มีต้นทุนถือครองวัตถุดิบ อยู่ที่ 7,460,000 บาท หลังนำความรู้ที่ได้จากโครงการ ไปปรับใช้สามารถลดต้นทุนสินค้าด้วยหลักการพยากรณ์ และการคำนวณจุดการสั่งซื้อที่เหมาะสม ได้รวมเป็นเงิน 1,344,411 บาท นอกจากนี้ เคมี ปิโตรเลียม 111 ยังเข้ารับการอบรม เพิ่มศักยภาพทีมโลจิสติกส์การเลือกสถานที่ตั้งและการ กระจ่ายน้ำมัน ทำให้สามารถเลือกทำเลที่ตั้งปั้มน้ำมัน แห่งใหม่ในเขตตัวเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อขยายฐาน ลูกค้าให้เป็นที่รู้จัก พร้อมคาดการณ์รายได้ที่เกิดขึ้นจากประชากรร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรซึ่งจะได้รายได้ ราว 650,000 บาทต่อเดือน ด้วยการพัฒนาธุรกิจอย่างถูกจุดทำให้เคพี ปิโตรเลียม 111 พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน สวนกระแสความผันผวนของตลาดน้ำมันซึ่งเป็นอุปสรรคหลักในการทำธุรกิจนี้ โดยคุณคมเพชรได้กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการกับ ดีพร้อมว่า ทำให้ได้รับความรู้และโอกาสที่จำเป็น และ ทำให้ธุรกิจพร้อมขยายได้จริงสำหรับใครที่มองหาความรู้ดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ก็สามารถติดต่อดีพร้อมได้ - คุณคมเพชร อ่อนวงษ์ - บริษัท เคพี ปิโตรเลียม 111 จำกัด - 1/1 หมู่ที่ 1 ต.ด่านแม่ค้ามัน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ 53130 - 09 1595 5699 ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
เจเอสซี โกลบอล
เจเอสซีี โกลบอล ปรับองค์กรอัจฉริยะ ลดต้นทุน สร้างธุรกิจยั่งยืน หากไม่ปรับตัวธุรกิจก็คงถูกดิสรัปต์ คือตัวเร่ง สําคัญที่ทําให้บริษัท เจเอสซี โกลบอล (ไทยแลนด์) จํากัด ซึ่งก่อตั้งและดําเนินการโดย คุณจิรพล ชูชาติ ประธาน บริษัท (CEO) และทายาทรุ่นที่ 2 คุณชาครินทร์ ชูชาติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (C00) ลุกมาปรับตัวเอง ในหลายมิติ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและระบบ อัตโนมัติมาพัฒนากระบวนการผลิตให้อัจฉริยะ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพลดคนลดเวลาลดต้นทุนและค่าเสียโอกาส จนสามารถคืนกลับเป็นเม็ดเงินสูงถึงหลักล้านบาทต่อปี ------------------------------- บริษัท เจเอสซี โกลบอล (ไทยแลนด์) จํากัด คือ ผู้ผลิตและจัดจําหน่ายน้ำมันหล่อลื่นภาคอุตสาหกรรม ที่ใช้กับเครื่องจักร หุ่นยนต์ และยานยนต์ทุกประเภท ภายใต้แบรนด์ Neolube (นีโอลูบ) อยู่ในธุรกิจมากว่า 15 ปี ได้รับการยอมรับจากโรงงานอุตสาหกรรมชั้นนํา มากกว่า 800 แห่งทั่วประเทศไทย ด้วยตระหนักถึงการทํางานในโลกยุคใหม่ที่ยากและท้าทายขึ้นเรื่อย ๆ และเล็งเห็นถึงความสําคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรในทุกมิติโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล (IoT & Embedded Technology) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จนนํามาสู่การติดตั้งท่อส่ง Base Oil ไปยังถังผสม พร้อมใช้ระบบ PLC มาควบคุมระบบปั้มอัตโนมัติมีการนําเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) เข้ามาเชื่อมต่อการทํางานในกระบวนการผลิต ควบคุมการทํางานทุกจุดได้อย่างแม่นยําด้วยระบบอัจฉริยะ ------------------------------ จึงช่วยลดขั้นตอนการทํางาน ลดการใช้คน ลดต้นทุน และเพิ่มความแม่นยําในการผลิตได้มากยิ่งขึ้น “เราเข้าร่วมโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มาอย่างต่อเนื่อง และค่อย ๆ ปรับปรุงพัฒนาไปทีละด้าน จนมาถึงขั้นตอนการนําเทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์และลดต้นทุนในกระบวนการผลิต เพื่อลดปัญหาความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) ในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งหลังจากร่วมกิจกรรมดังกล่าว บริษัทฯ นํามาต่อยอดพัฒนาจนได้โซลูชั่นที่ช่วยลดความผิดพลาดในการทํางาน ใช้เวลาสั้นลง ช่วยลดต้นทุนการผลิต ต้นทุนด้าน การบริหารจัดการวัตถุดิบ ตลอดจนค่าเสียโอกาสที่เกิดจากความผิดพลาด ซึ่งโดยรวมแล้วเราสามารถลดต้นทุน ลงไปได้ถึงประมาณ 1,300,000 บาทต่อปี และจากการลงทุนระบบทั้งหมดคาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนได้ที่ประมาณ 1.5 ปี" คุณชาครินทร์กล่าว ------------------------------- เป้าหมายต่อไป เพื่อรับมือกับความท้าทายในโลกยุคใหม่ เจเอสซี โกลบอล จึงเลือกกระจายความเสี่ยงด้วยการเริ่มพัฒนาสินค้าที่เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปมากขึ้น จากน้ำมันสําหรับลูกค้าอุตสาหกรรมก็มาทําน้ำมันสําหรับยืดอายุการใช้งานปืนและน้ำมันที่ใช้กับอุปกรณ์ตัดผม (Hair Cipper) เป็นต้น ซึ่งทั้งสองตลาดยังไม่ค่อยมีผู้เล่นในประเทศไทย เพื่อหารายได้จากช่องทางใหม่ ๆ มาเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กร พร้อมปูทางเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ mai ใน 3 ปีข้างหน้าอีกด้วย คุุณชาคริินทร์์ ชููชาติิ บริิษััท เจเอสซีี โกลบอล (ไทยแลนด์์) จำำกััด 37/39 หมู่่ที่่ 1 ต.มาบไผ่่ อ.บ้้านบึึง จ.ชลบุุรีี 20170 โทรศัพท์ 08 0494 9452 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 มี.ค. 2565
เจ เอสซี โกลบอล (ไทยแลนด์) ลดต้นทุน เพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์
บริษัท เจเอสซี โกลบอล (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมกับวัสดุอื่น เช่น สารป้องกันการสึกหรอ การกัดกร่อน เพื่อทำน้ำมันหล่อลื่น และน้ำยาหล่อเย็นอเนกประสงค์ แม้เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก แต่ต้องการความแข็งแกร่งทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน คุณชาครินทร์ ชูชาติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และเพิ่ม Productivity หรือการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้ผลผลิตมีปริมาณหรือมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น วัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิต ตลอดจนบุคลากรที่มีส่วนร่วม ซึ่งเป็น KPI ที่จะชี้วัดการจัดการ ที่มีประสิทธิภาพขององค์กร จึงเข้าร่วมโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนำเอาโปรแกรมระบบงานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการ เพื่อมุ่งสู่ความพร้อมในการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอกจากการนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning ) ที่ได้รับจากการร่วมโครงการมาปรับใช้ในองค์กรยังเกิดผลสำเร็จเชิงมูลค่าที่สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลดลงมากกว่า 2.4 ล้านบาท บุคลากรมีศักยภาพในการวางแผนงานที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็ว บริหารจัดการอย่างเป็นระบบมากขึ้น ตั้งแต่ระบบการจัดการคลังสินค้า การผลิต การขนส่ง ตลอดจนพยากรณ์ คำสั่งซื้อได้อย่างแม่นยำ สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ในแต่ละปีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ พร้อมผลักดันธุรกิจก้าวสู่เวทีการแข่งขันด้วยความมั่นใจ คุณชาครินทร์ ชูชาติ บริษัท เจเอสซี โกลบอล (ไทยแลนด์) จำกัด 37/39 ม.1 ต.มาบไผ่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20170 โทรศัพท์ 08-0494-9452 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561
โปรดักส์ ดีเวลลอปเม้นท์ เมนูแฟคเจอร์ริง ไม่ละเลยธรรมาภิบาล
การเกิดขึ้นของ AEC จะส่งผลให้บริษัทธุรกิจทั้งในและนอกอาเซียนเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น บริษัทเหล่านี้ย่อมต้องมองหาพันธมิตรทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเชิงการลงทุนหรือเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งนี้ประเด็นหนึ่งที่ต่างฝ่ายต่างพิจารณาต่อกันคือ ประเด็นด้านธรรมาภิบาล SMEs ไทยจึงไม่ควรละเลยการพัฒนาประเด็นนี้ควบคู่ไปกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต บริษัท โปรดักส์ ดีเวลลอปเม้นท์ เมนูแฟคเจอร์ริง จำกัด (PDM) หนึ่งในกลุ่มบริษัท เวลลอย คอร์เปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้างผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นและจาระบีคุณภาพสูงสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ดีเซล และเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จาระบีและน้ำมันสำหรับโรงงานอาหาร (Food Grade Grease and Oil) เป็นองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นธรรมาภิบาล โดยได้รับรางวัลองค์กรดีเด่นด้านความปลอดภัยถึง ๘ ปีซ้อน และได้รับ CSR-DIW (มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม) เมื่อปี ๒๕๕๔ คุณวิทวัส บุญญสถิตย์ บริษัท โปรดักส์ ดีเวลลอปเม้นท์ เมนูแฟคเจอร์ริง จำกัด (PDM) ๑๒๗๓-๑๒๗๔ ถ.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท์ : ๐๓๔ ๔๒๘ ๐๐๙-๑๓, ๐๓๔ ๔๒๙ ๓๐๒-๕ โทรสาร : ๐๓๔ ๔๒๙ ๓๐๑ เว็บไซต์ : www.pdm.co.th ที่มา : รายงานประจำปี 2554 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2554
ซันสยาม หล่อลื่นองค์กรด้วยไอที
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการองค์กรอย่างมาก บริษัท ซันสยาม จำกัด ผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นและจัดจำหน่ายภายใต้ตราสินค้า “ซันซอยล์” (SUN’SOIL) จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นองค์กรหนึ่งที่นำไอทีมาเสริมศักยภาพองค์กร “บริษัทมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงงงาน โดยเริ่มนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาช่วยในการบันทึกบัญชี เมื่อธุรกิจมีการขยายตัว ปริมาณข้อมูลมีมากขึ้น ทำให้ทางบริษัทมีความต้องการที่จะนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้เพื่อช่วยในการจัดการข้อมูลขององค์กรทั้งหมด” คุณสมสรรค์ หังสพฤกษ์ อธิบายถึงความสำคัญของไอที บริษัทจึงตัดสินใจเข้าร่วม ‘โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (ECIT)’ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในปี ๒๕๕๔ เพื่อนำโปรแกรม Enterprise Control System (ECONS) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ระบบบริหารการผลิตออนไลน์มาประยุกต์ใช้ โดยมีบริษัท บิสซิเนส บูลเลทีน เซอร์วิส จำกัด เป็นที่ปรึกษา ตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน ๒๕๕๔ และใช้งานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันบริษัทเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมในด้านต่าง ๆ เช่น ทราบข้อมูลสูตรการผลิตและขั้นตอนการผลิตโดยละเอียด ทำให้สามารถวางแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้าแต่ละรายการได้ประมาณร้อยละ ๑-๓ ลดงานที่ซ้ำซ้อนในการรวบรวมและจัดทำรายงาน ทำให้ผู้บริหารได้รับรายงานที่เป็นข้อมูลในการตัดสินใจรวดเร็วขึ้นจากเดิมร้อยละ ๕๐ พัฒนาข้อมูลด้านการผลิต คลังสินค้า และการขายเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน ช่วยลดความผิดพลาดในการจัดการกับใบสั่งซื้อและส่งมอบสินค้าได้ทันตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบที่ไม่สูงมากนัก ประหยัดเงินลงทุนด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผู้ดูแลระบบ ค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ทำให้บริษัทมีโครงสร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศองค์กรที่แข็งแรง สามารถพัฒนาต่อไปในอนาคตได้ง่ายขึ้น คุณสมสรรค์ หังสพฤกษ์ บริษัท ซันสยาม จำกัด ๓๒๕, ๓๒๗, ๓๒๙ ซ.พัฒนาการ ๓ ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ ๑๐๒๕๐ โทรศัพท์ : ๐ ๒๗๑๙ ๘๖๖๒-๔, ๐ ๒๓๑๙ ๒๖๐๙-๑๐ ที่มา : รายงานประจำปี 2554 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2554