ไอ เอ เทค
จากเศษไม้เหลือใช้ในโรงงาน สู่นวัตกรรมชั้นวางของ ถอดประกอบไร้นอตไอเทมสุดปังที่สายตกแต่งต้องมีติดบ้าน หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว โต๊ะทำงาน ชั้นวางของ และรถเข็นต่างๆ มักถูกผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ ออกแบบมาอย่างไรลูกค้าก็เลือกตามสเปกและความต้องการใช้งานได้ตามนั้น คุณบรรจง อรชุนกะ แห่งบริษัท ไอ เอ เทค จำกัด จึงเห็นช่องว่างของโอกาสในการพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์การใช้งาน ผลิตภัณฑ์ต่อกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นด้วยการเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ในลักษณะ Interior Design จนกลายเป็น One Stop Service สำหรับลูกค้าไปด้วยในตัว “เราต้องเข้าไปทำความเข้าใจกับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โต๊ะทำงาน ชันวางของ รถเข็น หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ลูกค้าจะนำไปใช้งานอะไรเพื่อที่บริษัทของเราจะได้เลือกใช้วัตถุดิบ ออกแบบขนาดคำนวณการรองรับน้ำหนักเพื่อออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน” แม้ธุรกิจจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกับคู่แข่งอย่างเด่นชัดแต่เมื่อเวลาผ่านไปการแข่งขันทางธุรกิจกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ จนธุรกิจถูกบีบเข้าสู่ Red Ocean ประกอบกับในช่วง 2 ปีที่่ผ่านมาประเทศเผชิญหน้ากับภาวะโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถเข้าพบลูกค้าได้ ซึ่งการเข้าร่วมโครงการศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs (SMEs Support & Rescue Center : SSRC) ปีงบประมาณ 2564 ภายใต้กิจกรรมการวินิจฉัย/ปรึกษาแนะนำเบื้องต้น ณ สถานประกอบการ (3 MD) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เข้ามาช่วยเหลือจนบริษัทพบทางออกของวิกฤตได้ในที่สุด โดยอาจารย์ที่ปรึกษาได้เข้ามาให้คำแนะนำด้วยการนำไม้ MDF ที่เป็นวัสดุเหลือใช้ไปต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์หลายๆ ชิ้นจนบริษัทได้ผลิตภัณฑ์ใหม่มากกว่า 10 SKU แต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพระเอกและได้รับผลตอบรับดีที่สุด คือ นวัตกรรมชั้นวางของถอดประกอบไร้นอต เพราะประกอบง่าย น้ำหนักเบา ไม่ต้องใช้นอต ไม่ต้องใช้สกรู แถมยังมีความแข็งแรงและเคลื่อนย้ายสะดวกอีกด้วย ในส่วนของสินค้าใหม่สามารถสร้างยอดขายในช่วงปี 2564 ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท นอกจากนี้ยังทำให้บริษัทสามารถขยายเข้าไปในกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นในสถานการณ์โควิด ในอนาคต คุณบรรจง ได้วางแผนไว้ว่าจะนำความรู้ด้านการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ ที่อาจารย์ที่ปรึกษาเคยสอนไว้ในตอนเปิดตลาดสินค้านวัตกรรมชั้นวางของถอดประกอบไร้นอต ไปประยุกต์ใช้กับสินค้าในอุตสาหกรรมเดิมอย่างโต๊ะทำงาน ชั้นวางของ รถเข็นระบบลำเลียง เพื่อเดินหน้าเข้าสู่ตลาดออนไลน์อย่างเป็นระบบ ซึ่งในยุคโควิดน่าจะตอบโจทย์และมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดีและเชื่อว่าหากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการดีๆ มาช่วยต่อยอดก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพของธุรกิจให้เข้มแข็งและพร้อมแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น คุณบรรจง อรชุนกะ บริิษััท ไอ เอ เทค จำกััด 75/83 หมู่่ที่ 11 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหนึ่ง จัังหวััดปทุมธานีี 12120 โทรศัพท์ 09 9635 2253 http://www.i-at.co.th/main/ ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
21 มี.ค. 2565
บริษัท ลัมเบอร์ไลน์ จำกัด พลังใจที่มาพร้อมกับสายน้ำ
บริษัท ลัมเบอร์ไลน์ จำกัด ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกต่างประเทศ เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 โรงงานเกือบ 20 ไร่ที่จังหวัดนนทบุรี จมอยู่ใต้น้ำที่สูงกว่าสองเมตร เครื่องจักรและสต็อกไม้ที่เตรียมจะผลิตได้รับความเสียหายจนไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ประเมินมูลค่าความเสียหายเกือบ 10 ล้านบาท ขณะที่คุณจันทร์จิรา หาญรัตนกูล ผู้บริหารของบริษัท กำลังมืดแปดด้าน ข่าวการเปิดศูนย์พักพิงอุตสาหกรรม โดยกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ประสบอุทกภัยให้เข้ามาใช้พื้นที่เป็นฐานการผลิตชั่วคราว ภายใต้โครงการคลินิกอุตสาหกรรมเพื่อการฟื้นฟูสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จึงเปรียบเหมือนแสงสว่างในยามมืดมิด คุณจันทร์จิราตัดสินใจยื่นเรื่องขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งก็ได้รับอนุมัติอย่างทันท่วงที โดยได้เข้าไปใช้พื้นที่ของศูนย์พักพิงอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี (ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9) เป็นฐานการผลิตชั่วคราว ทำให้สายพานการผลิตเดินเครื่องอีกครั้ง จนสามารถผลิตงานได้ทันตามความต้องการของลูกค้าต่างประเทศ “ตอนนั้นถ้าไม่ได้กรมฯ ช่วยคงจะแย่ เพียงแค่ความเสียหายของเครื่องจักรจากเหตุการณ์น้ำท่วมก็แย่อยู่แล้ว ถ้าทำงานส่งตามออเดอร์ไม่ทันก็ไม่รู้ว่าต้องถูกปรับเพิ่มอีกเท่าไหร่ ที่เลวร้ายที่สุดอาจทำให้ถึงขั้นต้องปิดโรงงาน อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทางกรมฯ มอบให้ทางอ้อมคือกำลังใจ เมื่อเผชิญเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งนี้แล้ว พบว่ายังมีทางออก ทำให้เรามีแรงฮึด สู้ และเป็นแรงใจให้พนักงานมีความหวังขึ้นอีกครั้ง” หลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย คุณจันทร์จิรายังได้รับคำแนะนำจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้หันมาเจาะตลาดในประเทศ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง หลังจากที่ก่อนหน้านี้พึ่งพาตลาดส่งออกเพียงอย่างเดียว สำหรับคุณจันทร์จิรา สิ่งที่เธอได้รับมิใช่เพียงน้ำใจ หากแต่เป็นพลังใจในการขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า คุณจันทร์จิรา หาญรัตนกูล ผู้บริหารบริษัท ลัมเบอร์ไลน์ จำกัด 9/3 หมู่ 6 ซ.สุขาประชาสรร 27 ถ.สุขาประชาสรร 2 ต.บางพูดอ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โทรศัพท์ : 0 2963 1452 เว็บไซต์ : www.livelaughlove.in.th ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน
31 ธ.ค. 2557
เฟอร์นิช บาย วนิส แตกต่างเพื่ออยู่รอดใน AEC
“สิ่งที่เราเคยรับรู้ มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา โดยมากคนจะรับรู้ว่าแพร่ น่าน มีไม้สักคุณภาพ แต่ปัจจุบันมีแต่ไม้สักอ่อนพม่า ที่คนมักมองว่าเปิดประเทศแล้ว ธุรกิจไม้สักเก่าน่าจะดีมาก แต่สำหรับคนในพื้นที่จะทราบว่าไม้สักที่ SMEs ฝั่งพม่าและฝั่งไทยซื้อขายกันเริ่มลดน้อยลงไปมาก อย่างไรก็ตาม ต้นไม้คุณภาพดีในพม่าที่ยังไม่ได้ตัดยังมีอยู่มาก หรือกระทั่งธุรกิจต่าง ๆ จะบูมก็จริง แต่นั่นก็จะเป็นโอกาสสาหรับธุรกิจรายใหญ่มากกว่า” คุณวณิศรา ภิญญาสาส์น เจ้าของกิจการเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนเก่า บริษัท เฟอร์นิช บาย วนิส จากัด ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก วิเคราะห์ เฟอร์นิช บาย วนิส เองต้องปรับตัวจากการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าจากพม่า หันมาซื้อเรือนไม้เก่าภายในประเทศเพื่อเป็นวัตถุดิบมาพักใหญ่ โดยเน้นผลิตเฟอร์นิเจอร์สไตล์โมเดิร์นแบรนด์ “อินถวา” ที่จับกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่กลุ่มคนวัยทำงานและครอบครัวใหม่ จนถึงกลุ่มผู้ใหญ่ที่ชื่นชอบไม้เก่า โดยมีการขยายด้านการตลาดออกบูธงานแสดงสินค้าต่าง ๆ และเปิดหน้าร้านที่สวนจตุจักร ตลอดจนมีผู้นำไปจำหน่ายที่จังหวัดภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และตรัง ตลอดเวลาของการดำเนินธุรกิจ คุณวณิศราให้ความสำคัญกับการเข้าอบรมเวิร์กช็อปต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการบริหารจัดการภายใน ด้วยตระหนักว่า ไม่ว่าจะเป็นก่อนยุค AEC หรือเมื่อเข้าสู่ AEC แล้วสิ่งสำคัญสำหรับการทำธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ นอกจากวัตถุดิบไม้ที่ดีแล้ว ยังต้องใช้ “ความรู้” ทั้งด้านดีไซน์ แรงงานฝีมือ ความชำนาญเครื่องจักร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความแตกต่างให้ชิ้นงาน จึงจะเป็นโอกาสในการสร้างแบรนด์จากขนาดตลาดและผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดเสรี เพราะหากเป็นการผลิตตามอย่างกัน (Me tooproduct) ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เพราะจะหวนกลับไปแข่งกันที่ราคา คุณวณิศรา ภิญญาสาส์น เจ้าของกิจการ บริษัท เฟอร์นิช บาย วนิส จำกัด ๙๕๙ หมู่ที่ ๑ ต. ท่าสายลวด อ. แม่สอด จ. ตาก ๖๓๑๑๐ โทรศัพท์ : ๐๘ ๑๗๘๕ ๖๗๗๖ ที่มา : รายงานประจำปี 2555 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2555