เลขาฯ "พงศ์พล" นำประชุมบอร์ดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ดัน 2 แพลตฟอร์มเทคโนโลยีสุดล้ำ จับมือ "ดีพร้อม" สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย ตามนโยบาย "รมต.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 21 พฤศจิกายน 2567 - นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2567 ร่วมด้วย นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารระดับสูง และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting คณะกรรมการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม เป็นการดำเนินการตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยและสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยในที่ประชุมได้ร่วมรับฟังการนำเสนอ 2 เทคโนโลยี เพื่อช่วยจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ 1) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ใช้ใน Platform e-Commerce เพื่อแก้ปัญหาสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการแอบอ้างนำเครื่องหมาย มอก. มาแสดงบนผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และ 2) เทคโนโลยี Traffy Fondue มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์แจ้งเรื่องร้องเรียนรายงานสินค้าปลอมหรือผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ตรวจจับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม และคณะอนุกรรมการพัฒนาแพลตฟอร์มแจ้งเรื่องร้องเรียนออนไลน์ เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม มุ่งหวังเพื่อเร่งดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ของกระทรวงอุตสาหกรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ
15 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" เร่งจับคู่ธุรกิจ มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ตามนโยบาย "รมต.เอกนัฏ" ต่อยอดความร่วมมือ เมืองไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น นำผู้ประกอบการไทยก้าวสู่เวทีโลก
กรุงเทพฯ 21 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมกับ นายคิมูระ ซาโตรุ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเมืองไซตามะ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น และคณะ พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และนายตรีพล บุณยะมาน รองผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ นายคิมูระ ให้ข้อมูลว่า เมืองไซตามะ (City of Sitama) เป็นเมืองหลักของจังหวัดไซตามะ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับมหานครโตเกียว และเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น อาทิ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องจักร โลหะ และอาหารแปรรูป อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค โดยเมืองไซตามะ นับเป็นหนึ่งในเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้วยจำนวนประชากร กว่า 1.3 ล้านคน นอกจากนี้ เมืองไซตามะยังได้จัดตั้งมูลนิธิแห่งเมืองไซตามะ (Saitama City Foundation for Business Creation: SFBC) เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการในท้องถิ่น โดยอุตสาหกรรมหลักที่มูลนิธิฯ มุ่งเน้นส่งเสริม คือ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และการดูแลสุขภาพ (Medical Technology & Healthcare) อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรม AI & Robotics ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยและญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาโดยตลอด ประกอบกับประเทศไทยมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีแรงงานคุณภาพ ทำให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นตัดสินใจมาลงทุนในไทยเป็นอันดับต้น ๆ ดังนั้น เมืองไซตามะ จึงได้กำหนดแผนการจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการไทยและเมืองไซตามะ รวมประมาณ 15 - 20 ราย เพื่อร่วมกันขยายโอกาสทางธุรกิจสู่สากล โดยคาดว่ากิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงกลางปี 2568 ณ กรุงเทพมหานคร อสอ. ณัฏฐิญาฯ กล่าวว่า จังหวัดไซตามะ และ อก. โดย ดีพร้อม ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อเดือนสิงหาคม 2556 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมและ SMEs โดย MOU นี้ ถือเป็นฉบับแรก ระหว่าง อก. และหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือ แบบ Local to Local ที่เน้นการเชื่อมโยงและต่อยอดภูมิปัญญาระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจในระดับชุมชนเติบโตได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดังนั้น ดีพร้อม จึงยินดีให้ความร่วมมือกับเมืองไซตามะ ในการจัดกิจกรรมฯ ครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) 12 อุตสาหกรรม อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ เครื่องมือแพทย์และบริการทางการแพทย์ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อาหารแห่งอนาคต อีกทั้งยังเชื่อว่า สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสถาบันยานยนต์ จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้กิจกรรมดังกล่าวประสบความสำเร็จได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยและเมืองไซตามะ
15 ม.ค. 2568
สายโกโก้มีเฮ "ดีพร้อม" จับมือสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย เดินตาม "รมต.เอกนัฏ" สานต่อวิสาหกิจชุมชนโกโก้ไทย มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลาง Thai CoCoa Hub
กรุงเทพฯ 19 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมหารือร่วมกับสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) นำโดย นายบดินทร์ เจริญพงศ์ชัย นายกสมาคมฯ และคณะ พร้อมด้วย นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ สมาคมฯ ได้นำเสนอแผนการพัฒนาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโกโก้ไทย สู่การเป็นศูนย์กลางโกโก้ของภูมิภาคอาเซียน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย การสร้างองค์ความรู้ การสร้างมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์สู่ระดับสากล สำหรับการดำเนินงานของดีพร้อม ได้มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนี้ 1) ต้นน้ำจะมุ่งเน้นการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตให้กับเกษตรกร ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว และการหมักเมล็ดโกโก้ 2) กลางน้ำ จะมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์โกโก้ เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล และ 3) ปลายน้ำ จะมุ่งเน้นการสนับสนุนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานโกโก้ เพื่อรองรับการนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ ด้วยการ Matching เกษตรกรหรือผู้ผลิตและผู้ค้า ในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ การพัฒนาระบบตลาด E-commerce พร้อมทั้งเชื่อมโยงการเข้าถึงแหล่งทุน และมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ ทั้งนี้ สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบวิสาหกิจเกี่ยวกับโกโก้และช็อกโกแลต พร้อมทั้งเป็นสื่อกลางในการแก้ไขปัญหา เจรจากับบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการติดตามความเคลื่อนไหวของตลาด วิจัย และเผยแพร่ความรู้ อีกทั้งส่งเสริมคุณภาพสินค้า และวิธีการผลิต โดยร่วมมือกับรัฐบาล รวมไปถึงอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมโกโก้เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโกโก้ไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโกโก้ของภูมิภาคอาเชียน
15 ม.ค. 2568
“อธิบดีดีพร้อม” ถกบอร์ดเงินทุนหมุนเวียนฯ นัดแรกไตรมาส 1 ปี 68 ชูนโยบาย "เอกนัฏ" เร่งเดินเครื่องสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน
กรุงเทพฯ 20 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ครั้งที่ 7/2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบฯ 68 เพื่อพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ 1) ให้หน่วยตรวจสอบภายในของดีพร้อมเป็นหน่วยตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ รวมทั้งการนำกฎบัตรว่าด้วยการตรวจสอบภายในของดีพร้อมมาใช้ในการตรวจสอบการดำเนินงานของทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีงบฯ 68 ควบคู่กับประกาศคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ เพื่อให้มีระบบการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องและเป็นแนวทางเดียวกันกับดีพร้อม 2) ปรับกรอบอัตรากำลังลูกจ้างชั่วคราว เพื่อทดแทนอัตรากำลังที่ว่างลง พร้อมอนุมัติให้จัดสรรประมาณการรายจ่ายงบฯ 68 งบบุคลากร (ลูกจ้างชั่วคราว) ให้กับ ศภ.1 กสอ. ทั้งนี้ มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำกรอบอัตรากำลังของแต่ละหน่วยปฏิบัติ พร้อมวางแผนการเสนอกรอบอัตรากำลังเพื่อขอรับจัดสรรพนักงานทุนทดแทนลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการและนำเสนอคณะกรรมการบริหารฯ พิจารณาต่อไป 3) กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ขอรับบริการเงินทุนหมุนเวียนฯ สามารถนำเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาเป็นหลักประกันได้ พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ทั้งนี้ มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการศึกษารายละเอียดการนำหลักประกันทางธุรกิจมาใช้เป็นหลักประกันวงเงินกู้ และนำเสนอคณะกรรมการพิจารณา เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยต่อไป นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานต่าง ๆ ดังนี้ 1) กระทรวงการคลังอนุมัติแผนการดำเนินงานเงินทนหมุนเวียนฯ ประจำปีงบฯ 68 2) รายงานงบการเงินโตรมาสที่ 4/2567 ของเงินทุนหนุนเวียนฯ 3) รายงานผลการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีบัญชี 68 4 ) การนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ประจำปีบัญชี 67 5) กรอบอัตรากำลังของเงินทุนหมุนเวียนฯ ที่ได้รับอนุมัติจากกรมบัญชีกลาง และ 6) รายงานผลการประชุมติดตามการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ของหน่วยปฏิบัติ ประจำปีบัญชี 67-68
14 ม.ค. 2568
"ปลัดณัฐพล" นำทีมดีพร้อมหารือแนวทางผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ สร้างพลังพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาอาหารและแฟชั่น
กรุงเทพฯ 19 พฤศจิกายน 2567 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาอาหารและแฟชั่น ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว ดีพร้อมได้นำเสนอร่างแผนการดำเนินงานตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผนวกกับการผลักดันนโยบายการเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ ดีพร้อมจึงเร่งขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาแฟชั่น ประกอบด้วย 1) การพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่นให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ในอุตสาหกรรมแฟชั่น 4 สาขา ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับไทย หัตถอุตสาหกรรมไทย เครื่องสำอางและความงามไทย 2) การส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล (Fashion Identity) ด้วยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่นให้มีองค์ความรู้และสามารถนำอัตลักษณ์ที่มีเพิ่มมูลค่าให้แบรนด์สินค้า และยกระดับผลิตภัณฑ์สู่การเป็น Hero Brand และ 3) การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างประเทศ ระหว่างช่างฝีมือ นักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้ง ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นสายมูมงคลเชื่อมโยงซอฟต์พาวเวอร์ไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการผลิต ผ่านความเชื่อ ความศรัทธา ศาสตร์แห่งความมงคลที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร ประกอบไปด้วย 1) การยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพอาหาร พร้อมได้ใบรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพผู้ปรุงอาหารมืออาชีพ (เชฟ) ได้ 2) การพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ด้วยการคัดเลือกชุมชนเพื่อนำมาเสริมองค์ความรู้สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อให้มีศักยภาพสู่การเป็น 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ต่อไปในอนาคต 3) การยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ และส่งเสริมให้ชุมชนใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าให้แก่อาหารชุมชน รวมถึงส่งเสริมการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรแต่ละภูมิภาคในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า และ 4) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพธุรกิจอาหาร ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล
28 พ.ย. 2567
"ดีพร้อม" เผยกลไกการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมตามเทรนด์ และทิศทางของโลกผ่านการส่งเสริม พัฒนา และเชื่อมโยงด้วยกิจกรรมดีพร้อม เร่งประเมินผลงานและเร่งเครื่องโครงการปฏิรูปอุตสาหกรรม ตามนโยบาย "รมต.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 18 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมวิพากษ์รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการของ กสอ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ร่วมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และระบบออนไลน์ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการรายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการต่อคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดย ทีมงานบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อให้รับทราบรายงานและนำไปปรับปรุง พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางเตรียมพร้อมในการปฏิบัติงานในอนาคตต่อไป ซึ่งในที่ประชุมได้มีการรายงานผลการดำเนินงานของดีพร้อมตามแนวนโยบายปี 2567 ประกอบด้วย 1) ด้านยกระดับศักยภาพภาคอุตสาหกรรม เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป 2) ด้านการส่งเสริมมูลค่าเพิ่มและโอกาสด้านการตลาด ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจ การนำ BCG Model มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ และ 3) ด้านการพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ทั้งนี้ ดีพร้อมมีแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ อาทิ 1) Digital Transformation ในการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก เช่น การนำ AI หรือ IoT เข้ามาช่วยปรับกระบวนการทำงาน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจให้กับเอสเอ็มอี 2) BCG Model ด้วยส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากความหลากหลายทางชีวภาพ และเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรและการหมุนเวียนนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากของเสียด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล พร้อมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถสร้างโอกาสในการจำหน่ายสินค้ารักษ์โลกในงานต่าง ๆ 3) Aging society ด้วยการเชื่อมโยงกับโครงการต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการรับรองมาตรฐานฮาลาล การยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม และการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์ 4) Soft power เป็นกลไกการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในด้านอาหารและแฟชั่น ตามเทรนด์ และทิศทางของโลกผ่านการส่งเสริม พัฒนา และเชื่อมโยงด้วยโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของดีพร้อม 5) Defence Industry มีการกำหนดผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่มีศักยภาพเบื้องต้นนำร่อง 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ยานพาหนะรบ การต่อเรือ อากาศยานไร้คนขับ อาวุธและปืนสำหรับป้องกันประเทศ รวมถึงอุปกรณ์กีฬา 6) Economic Corridor เพื่อเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค สร้างงานยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน 7) การส่งเสริมศักยภาพชุมชน โดยการบูรณาการทำงานร่วมกันกับภาคเอกชนด้าน S-Curve เพื่อผลักดันให้ธุรกิจและชุมชนเติบโตไปด้วยกัน 8) การเข้าถึงแหล่งทุนด้วยการขยายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงส่งเสริมผลักดันให้เอสเอ็มอีทำธุรกรรมการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นการสร้างข้อมูลดิจิทัล นอกจากนี้ ได้มีการเสนอข้อคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงาน อาทิ การคัดกรองและคัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ ให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดได้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ และป้องกันไม่ให้เกิดการพัฒนาทับซ้อน การนำอุตสาหกรรมเป้าหมายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานในโครงการ เช่น เกษตรอุตสาหกรรม เศรษฐกิจสูงวัย BCG Model การปรับตัวชี้วัดหลักให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรม การสนับสนุนการให้ผู้ประกอบการทำแผนธุรกิจ โดยการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดบูรณาการข้อมูล รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม และกระบวนการทำงานร่วมกัน อีกทั้ง ยังได้จัดทำคู่มือแนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการของหน่วยงานสำหรับบุคลากรของดีพร้อมด้ว
28 พ.ย. 2567
“อธิบดีดีพร้อม” รับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 ชู DIPROM BCG นโยบายสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่้ป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของ "รมต.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 19 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม The 4th International Conference on Environment, Livelihood, and Servicing ประจำปี 2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ทรงเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทรงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Sustainable Development through the Initiatives of the Chaipattana Foundation : Safeguarding Against Global Changes” ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” โดยมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ดำเนินการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชู DIPROM BCG เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม The 4th International Conference on Environment, Livelihood, and Servicing ประจำปี 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การจัดการน้ำเสียด้วยวิธีทางธรรมชาติตามแนวพระราชดำริ การรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเปิดโอกาสให้แก่นักวิจัยและนักศึกษาได้แสดงผลงานวิจัย สร้างเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม โดยในการประชุมครั้งนี้ จะมีหัวข้อการประชุมใน 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการปรับตัวของทรัพยากรธรรมชาติ การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติและมลพิษทางธรรมชาติ มาตรการลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์และการปรับตัวตามสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องจากนานาประเทศ อาทิ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน อเมริกา ออสเตรีย เครือรัฐออสเตรเลีย แคนนาดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว
28 พ.ย. 2567
“ดีพร้อม” เปิดบ้านต้อนรับหน่วยงานพันธมิตร สานต่อการพัฒนาเครือข่ายการส่งเสริมผู้ประกอบการไทย-ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยุคใหม่ ผลักดันเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นโตอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 19 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมการประชุมหารือและให้การต้อนรับ นายโนริอาอากิ โอกาวะ (Mr. Noriaki Okawa) ในการเข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo SME Support Center Japan) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo SME Support Center Japan) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) และได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ระหว่าง ดีพร้อม และศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ดีพร้อมและศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของทั้งสองประเทศ เช่น การแลกเปลี่ยนบุคลากร การจัดสัมมนาเชิงวิชาการ งานนิทรรศการการค้าและการลงทุน กิจกรรมการนำเสนอและจับคู่เชิงธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเป้าหมายต่าง ๆ ตลอดจนการประชุมหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานงานร่วมกันระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ ได้มีการพูดคุยสรุปผลเกี่ยวกับการดำเนินงานร่วมกันของทั้งสองหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือที่ผ่านมาและก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 ในปีปัจจุบัน ตลอดจนหารือเกี่ยวกับแนวทางการวางแผนการทำงานของทั้งสองหน่วยงานประจำปีงบประมาณใหม่ของประเทศญี่ปุ่น และความเชื่อมโยงกับปีงบประมาณใหม่ของประเทศไทย เพื่อให้เกิดแนวทางการบูรณาการไปสู่ภารกิจส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของทั้งสองประเทศ โดยในช่วงท้าย นายโนริอาอากิ โอกาวะ (Mr. Noriaki Okawa) เลขาธิการศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo SME Support Center Japan) ได้แสดงความขอบคุณในการเป็นพันธมิตรที่ดีตลอดมาของดีพร้อม และมีความยินดีที่จะร่วมมือและคอยสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ โดยหวังว่าจะเป็นการสานต่อภารกิจที่สำคัญในการดูแล ส่งเสริม พัฒนาผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ ตามที่ทั้งสองหน่วยงานมีความตั้งใจจะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่ และทำให้เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นได้เติบโตควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืนต่อไป
27 พ.ย. 2567
**แฟชั่นไทยปังไม่หยุด! “ดีพร้อม” จับมืออินฟลูเอนเซอร์ “ปลัดณัฐพล” ปลุกพลังทางอ้อม รับลูก “รมต.เอกนัฏ” เผยก้าวสำคัญ ดัน Nation Branding ขยายพลัง Soft Power ตอกย้ำศักยภาพสู่สากล
กรุงเทพฯ 18 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรมแถลงข่าวและพิธีเปิดโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางอัจฉรา อัมพุช ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์สาขาแฟชั่น นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวรานี อิฐรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ดร.จิราภรณ์ วิริยะพงษากุล ผู้แทนประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้อง Ballroom 1 ชั้น 6 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยสามารถโน้มน้าวจูงใจให้ประเทศคู่ค้า ผู้สนใจลงทุน ผู้สนใจซื้อสินค้าและบริการ นักท่องเที่ยว หรือผู้หาที่จัดงาน MICE ตัดสินใจเลือกประเทศไทย หรือ สินค้าและบริการของไทยผ่านการส่งสารโดยอาศัย "พลังทางอ้อม" หรือ Soft Power ที่ไม่ใช่การพูดหรือโฆษณาโดยตรง แต่เป็นการสื่อสารว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน น่าใช้ชีวิต คนไทยเป็นคนน่ารัก มีศิลปะและวัฒนธรรม มีความละเอียดอ่อน มีความใส่ใจในสินค้าคุณภาพในทุก ๆ ช่องทางการสื่อสาร อย่างไรก็ดี นโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ช่วงแรกจะเน้นการพัฒนาการสื่อสารพลังทางอ้อมนี้ ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ ละครภาพยนตร์ แฟชั่น อาหาร งาน festival และกีฬามวยไทย ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีนโยบายในการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ผนวกกับนโยบายการเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ทั้งด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น และอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักสำคัญที่ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ในด้านการสร้างรายได้และการจ้างงาน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ตามแนวคิด “Fun & Freedom แฟชั่นไทย ใส่ยังไงก็สนุก” ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติพูดถึงประเทศไทย จึงได้มีแนวคิดในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มบนฐานของทุนทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว รวมถึงเทคนิคและเครื่องมือการโน้มน้าวและสื่อสาร (Convince & Communication) สร้างกระแสให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักผ่านการสื่อสารพลังทางอ้อมของประเทศไทย อาทิ การสร้างคอนเทนต์ (Viral Content) การเล่าเรื่อง (Storytelling) การสร้างแบรนด์ (Branding) การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) การใช้บุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงและบูรณาการ Soft Power ข้ามอุตสาหกรรม (Fashion Cross Industries Collaboration) ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างกระแส Soft Power ด้านแฟชั่น เช่น การ Collab กับละคร ซีรีส์ โดยพระเอก นางเอก แต่งกายด้วยชุดและเครื่องประดับแฟชั่นไทย ผ่าน "โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล" โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจกรรม 1) การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เข้าใจในโจทย์ของซอฟต์พาวเวอร์ที่ประเทศไทยต้องการสื่อสาร เช่น การมีความคิดความคิดริเริ่ม ความเป็นสากล ความทันสมัย ความมีวัฒนธรรม และความละเอียดอ่อน เป็นต้น 2) การส่งเสริมให้เกิดการจับมือด้านธุรกิจระหว่าง Influencer และการใช้ Social Media เพื่อวางระบบการสื่อสารทางอ้อม เร่งขยายการสื่อสารออกไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 3) การจัดงานแสดงศักยภาพและสื่อสารภาพลักษณ์ของการออกแบบและสินค้าแฟชั่นที่สะท้อนภาพลักษณ์ในการดำเนินการตามนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ภายในการจัดงานในวันนี้ มีกิจกรรมพิเศษมากมาย อาทิ 1) ปาฐกถา หัวข้อ “Soft Power กับการพัฒนาประเทศไทย” โดย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ 2) เสวนาหัวข้อ “เปิดมุมมองวิสัยทัศน์ ด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น” โดยนางอัจฉรา อัมพุช ประธาน อนุกรรมการฯ ด้านแฟชั่น 3) เสวนาหัวข้อ “แนวโน้มและทิศทาง Soft Power ในอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย” โดย ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นายสักกฉัฐ ศิวะบวร นักยุทธศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ และตัวแทนผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์แฟชั่นอีก 2 ท่าน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยสู่ตลาดโลกต่อไป นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
22 พ.ย. 2567
“ดีพร้อม” ชูกรณีศึกษา “ดิไอคอนกรุ๊ปฯ“ ร่วมบูรณาการคณะกรรมการขายตรงฯ ตามข้อสั่งการ “รมต. เอกนัฏ” สู้กับผู้กระทำผิด ห้ามมิให้ผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายและการจะให้ผลประโยชน์ตอบแทน เผยแนวทางกำกับ และตรวจสอบให้ทัน
กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสมชัย เอมบำรุง ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยเป็นการประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Cisco Webex Meeting) การประชุมดังกล่าว เป็นการสรุปผลการดำเนินการของคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบขายตรง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2566 โดยได้สรุปข้อเท็จจริงและผลการดำเนินการกรณี บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ ในช่วงวันที่ 9 ตุลาคม 2567 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เข้าตรวจสอบสถานที่ทำการของ บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ตรวจดูเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จากกรณี บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด เป็นกรณีศึกษาที่สังคมให้ความสนใจ ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ทั้งนี้ ดีพร้อมในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาบทบาทหน้าที่โดยมุ่งเน้นปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเป็นหลัก ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และดีพร้อมให้การสนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันเสนอแนวทางในการกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อเกิดการร้องเรียนจากประชาชน หากมีเพียงการเจรจา ไกล่เกลี่ย ในอนาคตอาจเกิดปัญหาอย่างเช่นกรณี บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ปฯ จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดว่ามีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายหรือไม่ ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์สังคมยุคปัจจุบัน พร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการกระทำความผิด นอกจากนี้ ควรมีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจขายตรงกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างระบบการรับเรื่องร้องเรียนให้มีมาตรฐานเพื่อให้เห็นพฤติการณ์ที่ไม่ชอบมาพากลของบริษัทต่าง ๆ พร้อมตรวจสอบ กำกับได้ทันท่วงที ก่อนจะเกิดความเสียหายในวงกว้าง
19 พ.ย. 2567