“อธิบดีณัฏฐิญา” แอ่วเหนือ ส่งมอบเครื่องจักร เดินหน้ายกระดับศูนย์ TIC ภูมิภาค หวังติดอาวุธเทคโนโลยีให้ ผปก. ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
จ.เชียงใหม่ 2 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเป็นสักขีพยานในการส่งมอบและติดตั้งเครื่องจักร ระหว่างกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (กอ.) และ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ศภ.1) ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ อาคารศูนย์นวัตกรรมอาหาร ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 อ.เมือง เชียงใหม่ โครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งดำเนินการโดย กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (กอ.) มีแผนการดำเนินงานติดตั้งเครื่องจักรให้กับหน่วยงานภูมิภาค จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 และ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industrial Transformation Center: ITC) ให้สามารถรองรับการให้บริการสำหรับผู้ประกอบการในสาขาเกษตรอุตสาหกรรมที่ต้องการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยการให้การสนับสนุนเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมเดิมไปสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ ซึ่งจะเป็นการติดอาวุธเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม 5.0 โดยการใช้เทคโนโลยี AI และการผลิตสมัยใหม่ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ อธิบดีณัฏฐิญา นอกจากนี้ “อธิบดีณัฏฐิญา” ได้มอบหมายให้ กอ.กสอ. ดำเนินการประสานเรื่องการเตรียมข้อมูลและขั้นตอนการยื่นเอกสารขอการรับรองมาตรฐาน อย. และ GMP สำหรับการยกระดับศูนย์ ITC ให้มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงการวางผังกระบวนการผลิตให้เกิดความต่อเนื่อง ตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต การบรรจุ และการส่งมอบผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเป็นโรงงานต้นแบบสำหรับให้ผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชม หรือใช้สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อรองรับการเติบโตของ SMEs ให้มีมาตรฐานและก้าวเข้าสู่ตลาดในระดับสากล ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
08 เม.ย. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” บินตรงเมืองล้านนา นำทัพ ผปก. ดีพร้อม ร่วมงาน Thailand Coffee Hub 2025 ภาคเหนือ โชว์ศักยภาพดันซอฟต์พาวเวอร์อาหารไทย ขานรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ
จ.เชียงใหม่ 2 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน Thailand Coffee Hub 2025 ภาคเหนือ โดย นายพรเทพ อรรถกิจไพศาล รักษาการผู้อำนวยการ กลุ่มปฏิบัติการสาขาภาคเหนือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ งาน Thailand Coffee Hub 2025 ภาคเหนือ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 6 เมษายน 2568 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ เพื่อแสดงศักยภาพผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคเหนือ ภายในงานเปิดเวทีเสริมแกร่งให้กับวิสาหกิจของไทยให้สามารถต่อยอดและขยายโอกาสผ่านการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยเป็นที่รู้จักและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากลต่อไป โดย ดีพร้อม ได้นำผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมกาแฟ โกโก้ และเครื่งดื่ม ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการประกอบการจากดีพร้อม จำนวน 12 กิจการ เข้าร่วมงานดังกล่าว ภายในโซน “DIPROM Community” เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและทดสอบตลาดให้กับผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อีกด้วย ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานดังกล่าว เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการผลักดันนโยบาย Soft Power สาขาอาหาร ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งเน้นเชื่อมโยงความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่และยกระดับกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม โดยการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีของความเป็นอุตสาหกรรมเข้าไปพัฒนาในกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงส่งเสริมภาพลักษณ์ผ่านการใช้อาหารไทยเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างการรับรู้ในตลาดต่างประเทศ ตลอดจนยกระดับความรู้และแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเครือข่าย และเกิดเป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในอนาคต ซึ่งสอดรับกับการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ตามนโยบายของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
08 เม.ย. 2568
“ดีพร้อม” ผนึกกำลัง “บางจาก” ยักษ์ใหญ่น้ำมันเชื้อเพลิง จับมือ 5 พันธมิตรดันผลิต SAF หวังยกระดับธุรกิจการบินแห่งอนาคตสู่เป้าหมาย Net Zero ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 31 มีนาคม 2568 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การบริหารจัดการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว เพื่อนำมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) ตามนโยบาย Bio-Circular-Green Economy (BCG) ระหว่าง 7 หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ในการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ ร่วมด้วย นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ และ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารบริษัท บางจากฯ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ร่วมลงนามฯ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก ณ ห้อง 210 A, B ชั้น 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คลองเตย การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กับ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนแห่งแรกของไทย และพันธมิตรภาคธุรกิจที่เป็นหน่วยงานผู้มีน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) และสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป โดยทั้ง 7 หน่วยงานดังกล่าว จะร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย ที่ส่งเสริมการผลิต SAF จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามนโยบาย BCG รองรับอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการขนส่งทางอากาศ ให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้ง นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการโซ่อุปทานของน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต SAF ในเชิงพาณิชย์ต่อไป สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ “ดีพร้อม” ดำเนินงานภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนตามแนวทางโมเดล BCG โดยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณความต้องการใช้และกำลังการผลิตของผู้ผลิต SAF รวมถึงปริมาณแหล่งวัตถุดิบศักยภาพ อาทิ น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (UCO) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ผลิตผลจากอ้อย อาทิ กากน้ำตาล เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนการผลิต SAF จากวัตถุดิบศักยภาพในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยระยะแรก จะมุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไกการบริหารจัดการโซ่อุปทานของ UCO สำหรับการผลิต SAF ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยมีขอบเขตการดำเนินงานตั้งแต่ การประชาสัมพันธ์ แนะนำ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ พร้อมทั้งสร้างการรับรู้และความตระหนักตลอดโซ่อุปทานในกระบวนการรวบรวม UCO สู่การเพิ่มมูลค่าเป็น SAF โดยจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับหน่วยงานอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคครัวเรือนให้หันมาให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จาก UCO โดยไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและเกิดการจัดการอย่างถูกต้อง ซึ่งไม่เพียงเป็นการพัฒนาความมั่นคงด้านพลังงานและเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม โลจิสติกส์การบินของประเทศ ยังส่งผลถึงความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เน้นปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส โดยการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ เพื่อสร้างอุตสาหกรรมที่ดีคู่สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของประเทศที่มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2593 อีกด้วย
08 เม.ย. 2568
"อธิบดีณัฏฐิญา" มอบวุฒิบัตรบุคลากร “ดีพร้อม” ผู้ผ่านการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาสถานประกอบการ (GMCE) พร้อมนำความรู้ด้านการบริหาร ผลิต ตลาด บัญชี ลงพื้นที่วินิจฉัย แก้ปัญหาตรงจุด ยกระดับผู้ประกอบการ สอดรับนโยบาย รมว. เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 31 มีนาคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตร "การจัดการทั่วไปและการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ" (General Management Consultancy and Extension -GMCE) พร้อมร่วมรับฟังรายงานผลการฝึกภาคปฏิบัติ ร่วมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ และ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การจัดการทั่วไปและการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ" หรือ GMCE (General Management Consultancy and Extension ) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการบริหารจัดการสถานประกอบการอุตสาหกรรมให้กับบุคลากรของดีพร้อม ซึ่งในหลักสูตรประกอบด้วย 1) การบรรยายในภาคทฤษฎี เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านบัญชีและด้านบุคคล และ 2) เวิร์คชอปการฝึกปฏิบัติภาคสนามด้วยการลงพื้นที่สถานประกอบการ เพื่อฝึกทักษะการวินิจฉัยสถานประกอบการจริง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานความรู้ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สำคัญสำหรับต่อยอดไปสู่องค์ความรู้ด้านอื่น ๆ รวมทั้งเป็นการพัฒนาบุคลากร “ดีพร้อม” ให้มีทักษะ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ทันสมัย และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาผู้ประกอบการได้อย่างตรงจุด และเป็นการบริหารงบประมาณได้อย่างคุ้มค่า ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ผู้ที่สำเร็จการฝึกอบรมฯ ดังกล่าว จะสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการให้สามาถเพิ่มขีดความสามารถ และแก้ไขปัญหาในการดำเนินธุรกิจของตนเองได้อย่างตรงจุด ตลอดจนสามารถขยายผลและสร้างมูลค่าเชิงธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและสถานประกอบการให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ของโลก สอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่า
08 เม.ย. 2568
รสอ.ดุสิต เร่งติดตามการอนุมัติเงินทุนหมุนเวียน พร้อมกำชับการบริหารจัดการ NPL ช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนตามนโยบาย "ที่นี่มีแต่ให้" ของ "อธิบดีณัฏฐิญา"
กรุงเทพฯ 1 เมษายน 2568 - นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ 1 ครั้งที่ 2/2568 พร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาคำขอกู้สินเชื่อเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ดีพร้อม (Working Capital for SMEs) ในวงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท จำนวน 3 ราย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจ ได้แก่ 1) ธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ 2) ธุรกิจผลิตไม้กวาดดอกหญ้า/ ไม้กวาดทางมะพร้าว และ 3) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำจิ้มสุกี้/น้ำจิ้มกระทะร้อน โดยผู้ขอกู้มีวัตถุประสงค์ในการยื่นขอรับบริการเงินทุนหมุนเวียนฯ เพื่อนำไปใช้ในการสำรองวัตถุดิบ เพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น และเป็นเงินทุนสำรองในการหมุนเวียนสภาพคล่องภายในกิจการ โดยคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้ว เห็นชอบการอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้ขอกู้ 2 ราย ในวงเงิน 2 ล้านบาท และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ฯ ดำเนินการรวบรวมเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมอีกหนึ่งราย และนำมาเสนอคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ มีการรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของเงินทุนหมุนเวียนฯ และผลการดำเนินรายหน่วยของ ศภ.7 ศภ.9 และ ศภ.10 โดย รสอ.ดุสิต ประธานคณะอนุกรรมการฯ มีการติดตามเร่งรัดความคืบหน้าการดำเนินงาน พร้อมให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยกำหนดเป้าหมายปี 68 ให้สามารถลดหนี้สูญ (NPL) ร้อยละ 5-10 รวมถึงเน้นย้ำให้ติดตาม บริหารจัดการ และกำกับลูกหนี้ตั้งแต่ยังไม่เป็น NPL เพื่อหามาตรการในการให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถอยู่รอด และเติบโตได้อย่างยั่งยืน ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อีกด้วย
08 เม.ย. 2568
“ดีพร้อม” ร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ครั้งที่ 3/2568 เตรียมแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์สาขาแฟชั่นและอาหาร ปีงบประมาณ 68 เน้นสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 31 มีนาคม 2568 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2568 พร้อมด้วยคณะกรรมการจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุม ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการภายใต้อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์เป้าหมายที่ได้รับจัดสรรวงเงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป) มีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการ Soft Power ในภาพรวม รวมทั้งความคืบหน้าการดำเนินโครงการด้านการออกแบบ ด้านกีฬา ด้านภาพยนตร์ ด้านศิลปะ ด้านหนังสือ และความคืบหน้าของการจัดงานมหาสงกรานต์ โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ในสาขาอาหารและสาขาแฟชั่นอย่างต่อเนื่อง โดยสาขาอาหาร จะดำเนินการขับเคลื่อนโครงการตามนโยบาย One Family One Soft Power : OFOS ที่มุ่งเน้นส่งเสริมและเพิ่มทักษะให้ผู้ที่สนใจสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ผ่านการ 4 โครงการ ได้แก่ โครงการยกระดับหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย โครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย โครงการยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน และโครงการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน มุ่งหวังเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้ชุมชน และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ที่มุ่งเน้น “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” สำหรับสาขาอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาขาที่ “ดีพร้อม” ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จะมีการต่อยอดกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ผ่านโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น และโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล ซึ่งภายใต้โครงการจะมีการพัฒนาและจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ (E-Learning) เพื่อกระตุ้นให้เกิดบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่นมากขึ้น ตลอดจนมีการส่งเสริมการนำอัตลักษณ์ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นให้มีมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับสู่การเป็นแบรนด์ในระดับสากล (Hero Brands) โดยมีเป้าหมายการพัฒนาใน 4 สาขา ได้แก่ 1) เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย (Apparel) 2) อัญมณีและเครื่องประดับ (Jewelry) 3) หัตถอุตสาหกรรม (Craft) และ 4) ผลิตภัณฑ์ความงาม (Beauty) ทั้งนี้ คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาในประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ การเปลี่ยนแปลงตําแหน่งในคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านกีฬา การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ด้านภาพยนตร์ฯ เพิ่มเติม การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology) ตามนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ โดยส่งเสริมการยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ และยกระดับทักษะปลดล็อกศักยภาพของคนไทย และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันตลอดจนส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำของประเทศไทยในเวทีโลกอีกด้วย
03 เม.ย. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานของดีพร้อม ปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน พร้อมเน้นย้ำ เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณธรรม
กรุงเทพฯ 1 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปฏิญาณตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดินของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานราชการดีพร้อมจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting พิธีปฏิญาณตนดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนดีพร้อมสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แนวทางการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมการนำคุณธรรมมาสร้างความร่วมมือเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมถึงมุ่งส่งเสริมคุณธรรมที่พึงรักษา 5 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู อันจะเป็นรากฐานให้บุคลากรของดีพร้อม เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ โดยมีคุณธรรมเป้าหมายในส่วนของความดีที่อยากทำ คือ การเสริมสร้างจิตสำนึกต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ อธิบดีณัฏฐิญายังได้นำคณะบุคลากรของดีพร้อมกล่าวคำปฏิญาณตนเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน 2568 เพื่อแสดงความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน พร้อมปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติสืบไป
02 เม.ย. 2568
"อธิบดีณัฏฐิญา" หารือด่วนร่วมกับผู้บริหารทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ติดตามผลกระทบจากแผ่นดินไหวทุกอาคารดีพร้อม พร้อมกำหนดมาตรการ “ดีพร้อม 5 ให้” เร่งเยียวยา ผปก. ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 30 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมหารือติดตามผลกระทบจากแผ่นดินไหว และการออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหาร ข้าราชการจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 4 (DIPROM Rama IV Campus) ในการประชุมดังกล่าว ได้มีการสอบถามผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อมถึงผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น โดยความเสียหายเกิดขึ้น ณ ที่พักอาศัยในรูปแบบคอนโดมิเนียม แต่ไม่มีบุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยได้เน้นย้ำถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเป็นสำคัญ นอกจากนี้อธิบดีณัฏฐิญาและคณะผู้บริหารดีพร้อม ยังได้สำรวจอาคารสำนักงานกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 4 เพื่อตรวจสอบความเสียหายจากผลกระทบแผ่นดินไหวที่ผ่านมา พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ขณะเดียวกัน ยังมีการหารือในเรื่องมาตรการ “ดีพร้อม 5 ให้” ภายใต้นโยบายดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยดีพร้อมได้ตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นและขานรับนโยบายของ รมว.เอกนัฏ จึงออกมาตรการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวผ่านกลไกการดำเนินงานเร่งด่วน “ดีพร้อม 5 ให้” เพื่อช่วยผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวร้ายแรง ดังนี้ 1. ให้…เครือข่าย Service Providers (SP) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ด้วยการรวบรวมเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ (Service Providers) จากสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานบริการภายใต้โครงการต่าง ๆ ที่เป็นเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือผู้ประกอบการในการตรวจสอบ ฟื้นฟูโรงงานและเครื่องจักรที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วยวิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรอุตสาหการ และวิศวกรเครื่องกล ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ2. ให้…คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการในการตรวจสอบประเมินความปลอดภัยของโครงสร้างโรงงาน โดยผู้ประกอบการสามารถขอรับบริการตรวจสอบโครงสร้างโรงงานจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความปลอดภัยและความเสี่ยงของโรงงานหลังเกิดแผ่นดินไหว3. ให้…คำปรึกษาแนะนำในการตรวจสอบและปรับตั้งเครื่องจักร โดยผู้ประกอบการสามารถรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบและปรับตั้งเครื่องจักร เพื่อให้การทำงานของเครื่องจักรกลับมาเป็นปกติและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาในการผลิต4. ให้…สินเชื่อในการฟื้นฟู เยียวยาธุรกิจ เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถซ่อมแซมและปรับปรุงโรงงานและเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอนที่สะดวก ไม่ซับซ้อน และผ่อนชำระที่ยืดหยุ่นเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้เร็วที่สุดและ 5. ให้…การยกระดับสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล โดยการออกแบบวิธีการที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประกอบการไทยให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ในการประเมินปัญหาของตนเองหาวิธีการจัดการที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และเลือกปรับปรุงให้เกิดความคุ้มค่าอย่างชาญฉลาด รวมถึงพัฒนาองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ และการเข้าถึงช่องทางการตลาดออนไลน์ สำหรับมาตรการเหล่านี้ จะมุ่งเน้นให้การช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวอย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีความยั่งยืนตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ ที่สั่งการให้ทำทันที อีกทั้ง ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในเครือข่ายของดีพร้อมได้รับทราบ เพื่อสามารถติดต่อขอรับการสนับสนุนและความช่วยเหลืออย่างตรงจุดต่อไป
02 เม.ย. 2568
“รสอ.ดวงดาว" ถกคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ 2 ครั้งที่ 2/2568 หนุนให้โอกาสเข้าถึงแหล่งทุน ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ "อธิบดีณัฏฐิญา"
กรุงเทพฯ 27 มีนาคม 2568 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย 2 ครั้งที่ 2/2568 พร้อมด้วย คณะอนุกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อร่วมกันพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้ดีพร้อม (Working Capital for SMEs) วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้กับผู้ประกอบกิจการประดิษฐ์ของเล่นสำหรับการพัฒนาทักษะจากไม้ ซึ่งเป็นการรับจ้างผลิต (OEM) โดยวัตถุประสงค์ในการยื่นขอรับบริการเงินทุนหมุนเวียนฯ ในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ในการสำรองวัตถุดิบสำหรับการผลิตให้ลูกค้า ซึ่งในขั้นตอนการผลิตจำเป็นต้องมีระยะเวลาของกระบวนการในการเตรียมเนื้อไม้ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตชิ้นงานให้มีความพร้อม จึงมีความจำเป็นต้องสำรองวัตถุดิบให้เพียงพอกับคำสั่งซื้อ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ ของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบคำขอกู้รายนี้ ได้นำเสนอข้อมูลบทวิเคราะห์การดำเนินธุรกิจและความเป็นไปได้ในการชำระหนี้ของกิจการดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาสำหรับคณะอนุกรรมการฯ โดยที่ประชุมร่วมกันพิจารณาแล้ว มีมติเห็นชอบอนุมัติวงเงินสินเชื่อ จำนวน 2 ล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการรายดังกล่าว เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการสำรองวัตถุดิบและหมุนเวียนในธุรกิจ ซึ่งสอดรับตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ภายใต้กลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ของดีพร้อม โดยการให้โอกาสผู้ประกอบการได้มีเงินทุนต่อยอดในการดำเนินธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการรายงานผลการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ในภาพรวมของเงินทุนหมุนเวียนฯ ศภ.1 ศภ.3 ศภ.4 ศภ.6 และ สล.กสอ. เพื่อให้คณะอนุกรรมการฯ รับทราบ พร้อมแลกเปลี่ยนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน โดย นางดวงดาวฯ ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกัน ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการ เพื่อวิเคราะห์และช่วยเสริมจุดอ่อนของลูกหนี้ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง ซึ่งคาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาหนี้เสีย (NPL) ในระยะยาวได้
01 เม.ย. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” นำทัพ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ประกาศนโยบาย No Gift Policy งดรับของขวัญจากการปฏิบัติหน้าที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รับนโยบาย รวอ.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 20 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมทั้ง ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เข้าร่วมแสดงเจตนารมณ์โดยพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) พระรามที่ 6 กิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความตั้งใจในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม มีความโปร่งใส มีความพร้อมรับผิด ประพฤติ ปฏิบัติ และดำรงตนอยู่ด้วยความมีเกียรติและศักดิ์ศรี มีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน เพื่อร่วมกันปฏิรูปองค์กรให้ดีพร้อมอย่างโปร่งใส เพื่อสามารถให้บริการผู้ประกอบการและประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ “อธิบดีณัฏฐิญา” ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ดีพร้อมปฏิบัติงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส งดให้ งดรับของขวัญ ของกำนัลทุกชนิด ทั้งในขณะ/ก่อน/หลังปฏิบัติหน้าที่ ในทุกวาระเทศกาล รวมทั้งโอกาสพิเศษอื่น ๆ เพื่อสร้างค่านิยมที่ดี โดยไม่หวังประโยชน์ตอบแทนให้กับข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และขอให้ปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ความถูกต้อง และไม่หวังสิ่งตอบแทน เพื่อร่วมกันผลักดัน “ดีพร้อม” ให้เป็นองค์กรที่มีคุณธรรม สามารถให้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการได้อย่างเป็นธรรม
31 มี.ค. 2568