“ดีมาก” : ดีพร้อม ขับเคลื่อน กิจกรรม DIMARC 5 Day Trick ต่อเนื่อง ล่องใต้เสริมแกร่ง ผปก. สร้างตัวตนผลิตภัณฑ์ผ่านคนสร้างเรื่อง "พลิกธุรกิจชุมชนโตไกลสู่ตลาดสากล" พร้อมขึ้นแท่น Premium Product ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
จ.สงขลา 6 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) คณะอุตสาหกรรมจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ ทีมวิทยากร และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยมี นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมฯ ณ ห้องปารีสแกรนด์ ชั้น 2 โรงแรมคริสตัล อำเภอหาดใหญ่ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เร่งเดินหน้าจัดกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (DIPROM MIND ALL RISING COMMUNITY - DIMARC “ดีมาก”) ในพื้นที่ภาคใต้ ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ “ให้โอกาสโตไกล” โดยการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องมือต่าง ๆ ของดีพร้อมที่เหมาะสม รวมถึงการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและพัฒนาให้สินค้ามีมาตรฐานในการส่งออก รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ผ่านอัตลักษณ์ ลักษณะเด่น เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงกับ Hard Power และ Soft Power ตลอดจนผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ Premium Product อันจะส่งผลให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้มากยิ่งขึ้น สอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน กิจกรรมฯ ในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้สนใจเข้าร่วม จำนวน 250 ราย จากกลุ่มสินค้าที่มีนวัตกรรม ของใช้ของตกแต่ง ของที่ระลึก ผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) Product Innovation : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ”นวัตกรรมนอกกรอบ แต่ไม่นอกเทรนด์" โดย ชื่อ : ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) การสร้าง Story Telling & Branding โดย โค้ชทอปัด สุบรรณรักษ์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารเพื่อความยั่งยืน และผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สายการบินไทยแอร์เอเชีย 3) แนวโน้มตลาดผ้าและการพัฒนาสินค้าผ้าและแฟชั่น โดย ผศ.ดร.อโนทัย ชลชาติภิญโญ ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น ที่ปรึกษาการออกแบบ การสร้างแบรนด์ การจัดการสินค้าและการตลาดแฟชั่น 4) Sustainable Products Design : ผลิตภัณฑ์ดีไซน์เพื่อความยั่งยืน โดย โค้ชเมย์ เมญาลินทร์ จันทร์ทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 5) Upcyling : ธุรกิจวิธีชุมชนที่ยังยั่งยืน โดย โค้ชผึ้ง จุฑามาศเล้าประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้าน ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์บริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด 6) ดีไซน์ดีมาก : ของที่ระลึกไทยที่โลกจำ - โค้ชศุภชัย แกล้วทนงค์ โดย โค้ชศุภชัย แกล้วทนงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และศิลปินผู้มีชื่อเสียง ในฐานะ Art & Culture Design Consultant7) Packaging Design 2025 : ตอบโจทย์เทรนด์ใหม่ สไตล์คนรุ่นใหม่ โดย โค้ชโจ้ ภูสิษฐ์(พีรวงศ์) จาตุรงคกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์8) การสร้างสินค้าและทำตลาดคนรู้จักในยุค AI โดย โค้ชซี ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ CEO บริษัท โซเชียลแล็ป จำกัด และเจ้าของเพจ Ceemeagain9) Sustainable Innovation นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชุนที่ยั่งยืน โดย ดร.พัฒนพงศ์ เพ็งจันทร์ที่ปรึกษาดีเด่น กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อความยั่งยืน
11 ก.พ. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” ขับเคลื่อน “ดีพร้อมคอมมูนิตี้” ผ่านการทำ Content TikTok เสริมแกร่ง ผปก. พร้อม Pitching หาดาวเด่นอวดโฉมผ่านรายการทีวีดัง ให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนโตไกลสู่ตลาดไทยและสากล สอดรับนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ของ “รมว.เอกนัฏ”
กรุงเทพฯ 4 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “PitchFluencer Academy DIPROM” พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) วิทยากร และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรม โดยมี ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวรายงาน ณ โรงแรมเบย์ โฮเทล ศรีนครินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กิจกรรมการผลักดันสินค้าและบริการชุมชนสู่ช่องทางตลาดใหม่ “หลักสูตร PitchFluencer Academy DIPROM” ภายใต้ โครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของดีพร้อม (DIPROM) ด้านซอฟต์พาวเวอร์ที่มีการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ 2) โน้มน้าว โดยการจูงใจให้เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้น เช่น Storytelling การเล่าเรื่องราวที่มีคุณค่า และ 3) เผยแพร่ โดยการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือในการเผยแพร่ เช่น Influencer ประกอบกับนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ “ให้โอกาสโตไกล” ด้วยการเสริมทักษะในการสร้างแบรนด์และการนำเสนอสินค้าและบริการให้ผู้ประกอบการชุมชน สามารถเข้าสู่ช่องทางการตลาดและลูกค้ารายใหม่ เพื่อเป็นการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มยอดขายและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ซึ่งสอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน การฝึกอบรมครั้งนี้เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจอยู่แล้ว ซึ่งมาจากหลากหลายกลุ่ม เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย สินค้าเกษตรแปรรูป และต้องการติดอาวุธทางการตลาดพร้อมสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจ ผ่านการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงแบบเข้มข้น ภายในระยะเวลา 3 วัน โดยทีมวิทยากรระดับประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้าน AI Marketing ด้าน Social Media และนักการตลาดมืออาชีพ มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้ประกอบการ อาทิ การประยุกต์ใช้ AI ในการเขียน ออกแบบ วิเคราะห์ตลาด การสร้างคอนเทนต์ สร้างโฆษณา โพสต์ขายสินค้า การสร้างแคมเปญบน TikTok รวมถึงการวางแผนแคมเปญ Influencer Marketing พร้อมการทำคลิป VDO สั้นเพื่อการตลาด ตลอดจนฝึกการนำเสนอสินค้าและบริการสู่ช่องทางตลาดใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากการฝึกปฏิบัติดังกล่าวแล้ว จะมีการ Pitching เพื่อเฟ้นหาผู้ประกอบการดาวเด่นที่จะมีสิทธิ์ได้ออกทีวีรายการดัง “ SME มีดีให้ดู” ช่อง ททบ.5 และได้โอกาสวางจำหน่ายสินค้าในตลาดเป้าหมายต่อไป
06 ก.พ. 2568
รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ มอบรางวัลใหญ่ให้แก่ผู้โชคดี จากสลากบำรุงสภากาชาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2567
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลให้แก่ผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลจากการจำหน่ายสลากบำรุงสภากาชาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะกรรมการจัดงานกาชาดฯ ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม แขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วม โดยมีนายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กล่าวรายงาน ณ บริเวณหน้าอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ ได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล พร้อมกล่าวขอบคุณผู้ร่วมให้การสนับสนุนของรางวัลของร้านกระทรวงอุตสาหกรรม โดยรายได้ทั้งหมดจากการจัดกิจกรรมภายในร้านของกระทรวงอุตสาหกรรม หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแล้ว จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยเสด็จพระราชกุศล และเพื่อบำรุงสภากาชาดไทย เพื่อนำไปใช้ในโครงการต่าง ๆ ที่เป็นสาธารณประโยชน์ต่อไป สำหรับรางวัลสลากบำรุงสภากาชาดไทย ร้านกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 ประกอบด้วย รางวัลที่ 1 รถยนต์ไฟฟ้า MG 4 จำนวน 1 รางวัล ผู้โชคดีได้แก่ คุณธชณัฐ ทองเนื้อห้า รางวัลที่ 2 รถยนต์ SUZUKI Swift จำนวน 1 รางวัล ผู้โชคดีได้แก่ คุณพีรพัฒน์ ไชยซาววงศ์ และรางวัลที่ 3 มี 4 รางวัล ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ YAMAHA จำนวน 2 รางวัล ผู้โชคดี ได้แก่ คุณริมโขง ทองคำ และคุณบุญญดา อู่ไพบูรณ์ และรถจักรยานยนต์ Honda จำนวน 2 รางวัล ผู้โชคดี ได้แก่ คุณพรเทพ พุ่มพวง และคุณน้ำผึ้ง ฉายอำไพ
06 ก.พ. 2568
“ดีมาก” : ดีพร้อม ปังต่อเนื่อง จัด DIMARC 5 Day Trick อัพสกิล ผปก.ภาคเหนือ พลิกธุรกิจชุมชนผ่านคนสร้างเรื่องตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
จ.เชียงใหม่ 31 มกราคม 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) ภาคเหนือ (DIMARC 5 Day Trick “พลิกธุรกิจชุมชนและท้องถิ่น”) ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (DIPROM MIND ALL RISING COMMUNITY-DIMARC “ดีมาก”) โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติขึ้นกล่าวรายงาน ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ และ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายมนัสพาสน์ สุวรรณเมนะ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนองค์กร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้ประกอบการ ณ ห้องเรือนคุ้ม โรงแรมคุ้มภูคำ อ.เมือง เชียงใหม่ ดร.ณัฐพล กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ตามนโยบาย “ซอฟต์พาวเวอร์” ของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวกระโดด ด้วยการดึงศักยภาพของผู้ประกอบการพื้นที่ภาคเหนือที่มีความเข้มแข็งทั้งด้านวัฒนธรรมและอัตลักษณ์พื้นถิ่น มาพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศมาร่วมในการพัฒนาและดึงศักยภาพผู้ประกอบการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ เพื่อเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือให้เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในการดำเนินงานของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (DIPROM MIND ALL RISING COMMUNITY-DIMARC “ดีมาก”) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือให้สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต ยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงการสร้างอัตลักษณ์จากพื้นถิ่น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคตตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยในกิจกรรมดังกล่าว มีผู้ประกอบการเข้าร่วมจำนวน 250 ราย จากกลุ่มสินค้าที่มีนวัตกรรม ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะพัฒนาผู้ประกอบการผ่าน 7 หัวข้อสำคัญ ได้แก่ 1. Product Innovation : พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนอกกรอบ แต่ไม่นอกเทรนด์ 2. Upcyling : ธุรกิจวิธีชุมชนที่ยังยั่งยืน 3. Story telling & Branding : แบรนด์ที่ใช่.. ไม่ต้องใหญ่ก็ชนะได้ 4. แนวโน้มตลาดผ้า และการพัฒนาสินค้าผ้าและแฟชั่น 5. Sustainable Products Design : ผลิตภัณฑ์ดีไซน์เพื่อความยั่งยืน 6. “ดีไซน์ดีมาก : ของที่ระลึกไทยที่โลกจำ” Great Design: Iconic Thai Souvenirs และ 7. Future Entrepreneur : ผู้ประกอบการผู้สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจในอนาคต จากนั้นจะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าสู่การแนะนำเชิงลึก เพื่อต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อไปในอนาคต
04 ก.พ. 2568
จิตอาสา ก.อุตฯ ทำความดี ปรับปรุงคุณภาพน้ำในคลองรอบวัดบวรฯ น้อมถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
30 มกราคม 2568 นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ทำความดีด้วยหัวใจ น้อมถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ด้วยการปรับปรุงคุณภาพน้ำในคลองรอบวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร“ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กิจกรรมจิตอาสาครั้งนี้ ประกอบด้วย การถวายสังฆทาน จากนั้นเป็นพิธีเปิดกิจกรรมฯ โดยจิตอาสาที่ร่วมในพิธีถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และกล่าวคำปฏิญาณ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” จากนั้น ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะจิตอาสากระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันดำเนินการดูดเลนในคลองรอบวัด โดยเรือหรือรถดูดตะกอนเลนขนาดเล็ก และร่วมกันเปิดเครื่องกรองตะกอนน้ำ จำนวน 1 เครื่อง วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี รวมทั้งบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ทรงผนวช และเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ขณะทรงผนวชในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 และ รัชกาลที่ 9 อีกทั้งยังเป็นที่ประทับขณะจำพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ก่อนลาผนวชขึ้นครองราชย์ ซึ่งทำให้วัดแห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชาติไทย จากการสำรวจน้ำภายในคลองของวัด พบว่าบริเวณในคลองของวัดมีตะกอนเลนสะสมอย่างมาก ทำให้น้ำมีสีขุ่น เนื่องจากมีการนำน้ำที่มีตะกอนจากโรงกรองน้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามทางทิศเหนือเข้ามาใช้ภายในคลอง และยังมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เช่น ปลา เต่า เป็นต้น ซึ่งมีการให้อาหารสัตว์ที่อยู่ในคลอง จึงก่อให้เกิดการหมักหมมของเศษอาหาร อีกทั้ง คลองนี้เป็นคลองที่เป็นระบบปิด ทำให้ตะกอนเลนไม่สามารถไหลสู่ภายนอกได้ จึงก่อให้เกิดการสะสมของตะกอนเลนซึ่งมีค่าความขุ่นสูงหากมองด้วยสายตา จิตกระทรวงอุตสาหกรรมจึงดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำดังกล่าว
03 ก.พ. 2568
“ดีพร้อม” โชว์ผลสำเร็จผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย รับลูกต่อนโยบายเรือธง OFOS เพิ่มทักษะบุคลากรแฟชั่นไทยกว่า 2,000 คน คาดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 200 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 29 มกราคม 2568 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานมอบวุฒิบัตรและกล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ประกอบการที่เข้าผ่านการอบรมในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น ประจำปี 2567 หรือ Up Skill - Re Skill โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวแถลงผลสำเร็จการดำเนินงานโครงการดังกล่าว พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ และ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น ผู้แทนจากสำนักงาน ป.ย.ป. ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่น และสื่อมวลชน ณ UNION CO-EVENT SPACE ZONE A ชั้น G ศูนย์การค้ายูเนี่ยน มอลล์ กรุงเทพฯ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) แถลงผลสำเร็จการดำเนินงาน “โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น หรือ Up Skill - Re Skill” ประจำปี 2567 ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การให้ทักษะใหม่ ด้วยการเพิ่มความรู้ ความสามารถให้กับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป ผ่านการยกระดับทักษะที่มีอยู่เดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) โดยเฉพาะการสร้างทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ไทย สอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะกำลังคนให้มีองค์ความรู้ สามารถปรับตัวให้อยู่รอด ผ่านนโยบาย “One Family One Soft Power (OFOS)” ใน 14 สาขา และสอดคล้องกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โครงการ Up Skill - Re Skill มุ่งส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรสาขาแฟชั่นให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ สามารถนำไปต่อยอดในการประกอบธุรกิจ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นกว่า 2,000 คน ใน 4 สาขาอุตสาหกรรมแฟชั่น ได้แก่ 1) เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย (Apparel) 2) อัญมณีและเครื่องประดับ (Jewelry) 3) หัตถอุตสาหกรรม (Craft) และ 4) ผลิตภัณฑ์ความงาม (Beauty) รวมทั้งสิ้น 17 หลักสูตร โดยวิทยากรมืออาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ (Workshop) ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ รวมทั้งจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ (E-Learning) จำนวน 10 หลักสูตร เผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเชื่อมโยงกับระบบ OFOS โดยคาดว่าจะเกิดการจ้างงานและสร้างรายได้จากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมได้กว่า 200 ล้านบาท
03 ก.พ. 2568
”ดีพร้อม“ หารือร่วม บางจาก หนุนแนวทางการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่” ของ รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 23 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หารือร่วมกับผู้แทนจากบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การหารือร่วมกันในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) ร่วมกับภาคเอกชน โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศที่ได้รับการรับรองและมีเทคโนโลยีการผลิตตามมาตรฐานที่ ICAO กำหนด อาทิ น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil : UCO) กรดน้ำมันปาล์ม (PFAD) และกากน้ำตาล (Molasses) โดยในปี 2570 ประเทศไทยมีแผนในการกำหนดสัดส่วนผสมกับน้ำมัน SAF กับน้ำมันเครื่องบินปกติในอัตราส่วน 1% โดยคาดการณ์ปริมาณการใช้น้ำมัน SAF 19 แสนลิตรต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 5-8% ในปี 2580 โดยบางจาก ถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม SAF ของประเทศไทย มีการประกาศแผนธุรกิจการผลิต SAF และอยู่ระหว่างก่อสร้างหน่วยผลิต SAF ในโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง กรุงเทพมหานครฯ ด้วยกำลังการผลิต 1,000,000 ลิตรต่อวัน ทั้งนี้ “ดีพร้อม” มีการหารือกับหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรมในการศึกษาปริมาณความต้องการใช้ SAF ทั้งด้าน Demand – Supply โดยจะรวบรวมในส่วนของน้ำมันพืชที่ผ่านการใช้งานแล้ว ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และ SMEs อีกทั้งมีแผนที่จะนำร่องกับอุตสาหกรรมรายใหญ่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ Supply ให้กับบางจาก โดยจะเป็นต้นแบบและสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในวงกว้าง สอดคล้องกับแผนพลังงานชาติ และตอบโจทย์นโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เพื่อให้อุตสาหกรรมการบินของประเทศสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
28 ม.ค. 2568
“ดีพร้อม” โชว์พลังความสำเร็จซอฟต์พาวเวอร์อาหาร ขานรับนโยบายเรือธงรัฐบาล ตอกย้ำเสน่ห์อาหารไทยในเวทีโลก รังสรรค์ 42 เมนู คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 23 มกราคม 2568 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรมแถลงข่าวผลความสำเร็จและพิธีปิดโครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นไทย โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวรายงานข้อมูลผลการดำเนินงาน พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางยศวันต์ บริบูรณ์ธนา รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ นายชาตรี เวทสรณสุธี รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ผู้บริหารหน่วยงานภาคีเครือข่าย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน Phenix Auditorium Hall ประตูน้ำ ราชเทวี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินโครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นไทย (Local Chef Restaurant) ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งส่งเสริม พัฒนา และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้านอย่างตรงจุด เพื่อยกระดับทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ (Reskill) โดยเฉพาะการสร้างทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ไทย ซึ่งสอดรับกับกลไก OFOS (One Family One Soft power) ) หรือ 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามแนวนโยบายเรือธงสำคัญในการเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล โดยการดำเนินงานโครงการนี้ มุ่งเน้นการสร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ชุมชนผ่านวัฒนธรรมอาหารถิ่น โดยนำเอาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมารังสรรค์เมนูอาหารพร้อมผลักดันให้เกิดเป็นซอฟต์พาวเวอร์ จำนวน 42 เมนู เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งมีการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้เติบโตและเข้มแข็ง ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (Local Wisdom) ซึ่งเป็นศักยภาพของคนไทยและทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย เพื่อยกระดับด้านมาตรฐานอาหารไทยให้เป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) โดยดีพร้อม ได้ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย จำนวน 540 ร้าน / 2,160 คน ภายในระยะเวลา 4 ปี โดยในปี 2567 ได้พัฒนาไปแล้ว จำนวน 40 ร้าน 160 คน ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในปี 2568 มีเป้าหมายดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จำนวน 100 ร้าน 400 คน ครอบคลุมทั่วประเทศ และคาดว่าจะเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
28 ม.ค. 2568
“ดีพร้อม ” ผนึกกำลัง 4 พันธมิตร ยกระดับ SMEs ปรับตัวให้รอดด้วยการดำเนินธุรกิจตามกติกาใหม่ ด้วยแนวคิด BCG Model สอดรับนโยบาย รมว. เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 23 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Climate Game เมื่อความยั่งยืนเป็นกติกาใหม่ของโลก SMEs ปรับตัวอย่างไรให้รอด” ภายใต้โครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้ในโมเดลเศรษฐกิจ BCG พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีนายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ โรงแรมเดอะ มี โฮเทล ศรีนครินทร์ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมได้รับองค์ความรู้ในการนำแนวคิด BCG Model มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตที่สอดคล้องตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมเชื่อมโยงสู่การขอมาตรฐาน หรือฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือเป็นกลไกสนับสนุนและส่งเสริมให้ SMEs มีทางรอดด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการเข้าถึงแหล่งทุนจาก 4 สถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย EXIM Bank และ SME D Bank รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนของดีพร้อมด้วย นอกจากนั้น ยังได้รับการสนับสนุนจาก BOI เพื่อให้สิทธิพิเศษด้านภาษีกับ SMEs ให้มีแต้มต่อทางธุรกิจอีกด้วย นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ดีพร้อมดำเนินการภายใต้กลยุทธ์ 4 ให้ และ 1 ปฏิรูป ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการไทยให้พร้อมปรับตัว สามารถปรับตัวสู่โลกยุคใหม่ พร้อมยกระดับเศรษฐกิจไทยไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียว ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
28 ม.ค. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา“ พร้อมผลักดันส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) เดินหน้าลดการปล่อย CO2 ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 22 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร ผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ปัจจุบันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) เข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการบินและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อโลกยั่งยืน เนื่องจากช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 80% ตลอดห่วงโซ่ของเชื้อเพลิงเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอากาศยานแบบเดิมที่มาจากฟอสซิล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ “ดีพร้อม” จึงได้จัดประชุมเพื่อหาแนวทางการนำน้ำมันใช้แล้วจากการประกอบอาหารในภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต SAF มาใช้ในอุตสาหกรรมการบินเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล การประชุมครั้งนี้ มีการหารือถึงแนวทางการศึกษาปริมาณความต้องการใช้ SAF ทั้งด้าน Demand - Supply โดยจะรวบรวมในส่วนของน้ำมันพืชที่ผ่านการใช้งานแล้วทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและ SMEs รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำมาเติมเต็มในส่วนของ Supply ให้เหมาะสมสอดคล้องกับแผนพลังงานชาติ รวมถึงการศึกษาระบบโลจิสติกส์ขนส่งน้ำมันพืชใช้แล้ว การนำโมลาซหรือกากน้ำตาลมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต และการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ก่อนเข้าสู่กระบวนการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และศึกษาโรงงานนำร่องในการทดสอบโมเดลและการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จของการขับเคลื่อนการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนต่อไป
28 ม.ค. 2568