ความแตกต่างระหว่างการเช่ากับการเช่าซื้อทรัพย์สิน


22 พ.ค. 2563    อภิมุข    4,111

การเช่าและการเช่าซื้อทรัพย์สิน มักจะหมายถึงการทำสัญญาเช่าหรือทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงถ้ากิจการต้องลงทุนซื้อเงินสดก็คงมีไม่เพียงพอดังนั้นผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อที่มีเงินไม่เพียงพอจึงต้องการที่จะผ่อนชำระเป็นงวดๆเพื่อลดภาระการจ่ายเงินเป็นก้อนในครั้งเดียว ส่วนใหญ่กิจการที่เป็นนิติบุคคลจะตัดสินใจเช่าหรือว่าเช่าซื้อมักคำนึงถึงวิธีการลงบัญชีมากกว่าเพื่อให้งบการเงินออกมาดีไม่ขาดทุนนั่นเอง ทรัพย์สินที่สถาบันการเงินหรือบริษัทเช่าซื้อพร้อมให้สินเชื่อได้ทั้งเช่าแบบ Leasing หรือเช่าซื้อ(Hire purchase) ก็คือ รถยนต์นั่งและรถบรรทุกเกือบทุกประเภท, เครื่องจักรที่มีตลาดมือสองรองรับเช่น เครื่องพิมพ์สี่สี เครื่องฉีดหรือเป่าพลาสติกเป็นต้น สำหรับทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ประเภท ที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้างไม่มีการให้เช่าซื้อจะมีก็แต่เพียงสัญญาเช่ากับเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นอาจจะเป็นการเช่าทั้งระยะยาวและระยะสั้นก็ได้ หากระยะเวลาการเช่านานเกิน 3 ปีก็ขึ้นไปก็ต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานเขตที่ทรัพย์สินนั่นตั้งอยู่ การขอสินเชื่อลีสซิ่งซึ่งแปลว่าการเช่านั่นเองและการขอสินเชื่อเช่าซื้อกับผู้ขายทรัพย์สินถือเป็นการให้วงเงินสินเชื่ออย่างหนึ่งเป็นประเภทสินเชื่อระยะยาว การทำสัญญาเช่าแบบลีสซิ่งนั้นผู้เช่ายังไม่เป็นเจ้าของทรัพย์สินจนกว่าจะตกลงกันกับผู้ให้เช่าว่าจะซื้อทรัพย์สินหรือไม่ตามราคาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเมื่อชำระเงินครบตามจำนวนที่ตกลงกันไว้แล้วทรัพยสินนั้นถึงจะเป็นของผู้เช่า

 

    สินเชื่อเช่าซื้อทรัพย์สิน เป็นการซื้อทรัพย์สินแบบผ่อนชำระจะมีการกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระและจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระ ในการบันทึกบัญชีของกิจการที่เป็นนิติบุคคลจะบันทึกความเป็นเจ้าของทรัพย์สินตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาโดยบันทึกทรัพย์สินในฝั่งสินทรัพย์ถาวรของงบแสดงฐานะทางการเงิน ส่วนเงินที่ค้างหรือจำนวนหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อจะถูกบันทึกเป็นหนี้ที่ต้องผ่อนชำระในฝั่งเจ้าหนี้เงินกู้ของงบแสดงฐานะทางการเงิน ค่างวดที่ผ่อนชำระจะไปตัดจากหนี้เช่าซื้อที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในงบการเงิน ดังนั้นผู้เช่าซื้อควรเข้าใจว่าทรัพย์สินที่เช่าซื้อมานั้นเป็นทรัพย์สินของผู้เช่าซื้อเอง หากยังมีหนี้ที่ค้างชำระแต่ทรัพย์สินถูกยึดไปขายแล้วยอดหนี้คงค้างหักลบกับราคาขายรถที่ยึดไปเมื่อไม่เพียงพอผู้เช่าซื้อก็ยังมีหน้าที่ต้องชำระให้ครบจำนวนอยู่นั่นเอง

 

    สินเชื่อเช่าแบบลีสซิ่ง การเช่าแบบลีสซิ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เช่าคือ

 

    1. สัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease) คล้ายกับการทำเช่าซื้อแต่ความเป็นเจ้าของยังบันทึกในงบการเงินไม่ได้เหมือนสัญญาเช่าซื้อ แต่ภาระผูกพันเท่ากันคือยังคงความเป็นหนี้กับผู้ให้เช่าแต่มีสิทธิ์ในการซื้อทรัพย์สินได้เมื่อครบกำหนดการเช่า ผู้ให้เช่าจะมีบันทึกสัญญาต่อท้ายเรื่องการซื้อทรัพย์สินโดยระบุราคาซื้อเมื่อครบกำหนดการเช่า ระยะเวลาการเช่าของสัญญาเช่านี้จะมีอายุนานประมาณ 3 ปีขึ้นไปและมักทำสัญญาเช่ากับทรัพย์สินที่มีราคาสูงๆ การบันทึกค่าเช่าจะถือเป็นค่าใช้จ่ายหักได้ครบ 100% ยกเว้นรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งที่ให้หักได้ไม่เกินจำนวน 36,000 บาทต่อเดือนในบัญชีภาษีส่งสรรพากร

 

    2. สัญญาเช่าดำเนินการ (Operating lease) เป็นสัญญาเช่าที่เหมือนการเช่าจริงๆ มีระยะสั้นประมาณตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปี สินเชื่อเช่าดำเนินการนี้จะถูกใช้กับการซื้อทรัพย์สินประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องใช้สำนักงาน โดยผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจะซื้อทรัพย์สินมาให้บริษัทที่เป็นนิติบุคคลเช่าโดยกำหนดระยะเวลาการเช่าตามที่ผู้เช่าต้องการเมื่อครบกำหนดก็จะมานำทรัพย์สิน