รู้ได้อย่างไรว่ามีการขัดแย้งในหน่วยงาน


24 พ.ย. 2564    nutnaree    128

 

     หลาย ๆหน่วยงาน และหลาย ๆคนย่อมไม่อยากให้เกิดความขัดแย้ง เมื่อเกิดความขัดแย้งก็จะต่างโทษกันไปโทษกันมาแทนที่จะหาสาเหตุแล้วช่วยกันแก้ไข ทั้ง ๆที่ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทั้งระหว่างพนักงาน คณะกรรมการ สมาชิก อาสาสมัคร ลูกค้า หรือในแต่ละชุมชน

 

สภาพของความขัดแย้ง

     1. ความขัดแย้งที่ปรากฎชัด (Perceived) มองเห็นได้ง่าย เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมทั้งการกระทำ และ คำพูด เช่น มีการโต้ตอบ โต้เถียง ไม่ร่วมกลุ่มทำกิจกรรม ก้าวร้าว ท้าทาย แก้ตัว พวกเธอพวกฉันชัดเจน

     2. ความขัดแย้งที่ไม่ปรากฎให้เห็นแต่รู้สึกได้ (Felt) เช่นวางเฉยไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ร่วมกิจกรรม ไม่พูดไม่ต่อต้านแต่ไม่ทำตามที่กลุ่มต้องการ

 

5 ปัจจัยทั่วไปที่นำไปสู่ความขัดแย้ง

     1. ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องต่าง คือ

          1) ลักษณะ เป้าหมาย และ สัตถุประสงค์ของแต่ละงาน

          2) ความคาดหวังเกี่ยวกับวิธีการทำงานให้สำเร็จต่างกัน

          3) เงื่อนไขของงานและค่าแรง

          4) ความรับผิดชอบระหว่างผู้บริหาร และพนักงานต่างกัน

          5) แตกต่างกันในเรื่องคุณค่า ความเชื่อ ความต้องการ หรือความสำคัญก่อน-หลัง

 

     2. ขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิผล การสื่อสารที่มีประสิทธิผลอันจะช่วยลดปัญหาได้นั้น จะต้องชัดเจนสมบูรณ์ทั้งจากผู้ส่งสาร และ ผู้รับสาร

 

     3. ขาดการวางแผน การจัดระเบียบ และทิศทาง อันนำไปสู่ความตึงเครียด และสร้างปัญหาต่าง ๆ ตามมา

 

     4. ระบบการคัดเลือกบุคลากรไม่เหมาะสม อันนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ดี และความขัดแย้งตามมา ดังนั้นหากต้องการเลือกบุคลากรควรเลือกจากภายในหน่วยงานก่อน

 

     5. คับข้องใจ เครียด และ เหนื่อยล้า โดยมีปัจจัยคือ

          1) ความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

          2) ขาดความเป็นส่วนตัว

          3) ใช้คำพูดไม่เหมาะสม

          4) สถานที่ทำงานขาดระเบียบ หรือ สกปรก

          5) เสียงดังไป

          6) การถูกคุกคาม อึดอัด เบื่อหน่าย

          7) วิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

          8) ขาดความสามารถในการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน

          9) ตึงเครียดระหว่างพนักงาน

          10) ขาดทิศทางในการบริหารจัดการ

          11) วิจารณ์ และ ขาดการสนับสนุน

          12) การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิผล

 

     สรุปความขัดแย้งในหน่วยงานมีต้นเหตุสำคัญจากการสื่อสารที่ขาดประสิทธิผล ความอ่อนแอ่ในการเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลงผู้นำ ความไม่พอใจในวิธีการบริหารจัดการ รวมทั้งความต้องการอำนาจ ตัวอย่างเช่นพนักงานต้องการปรับตำแหน่ง แต่ความสนใจของเขาไม่ได้รับการตอบสนอง ความขัดแย้งก็เกิดตามมา

 

ผลกระทบของความขัดแย้ง อาจเป็นได้ทั้งแง่บวกและแง่ลบ จากสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง

     1. การขาดลา มาสายเพิ่มขึ้น

     2. อัตราการลาออกสูงขึ้น

     3. ผลผลิตต่ำลง

     4. ของเสียเพิ่มมากขึ้น

     5. ล่าช้าในการตัดสินใจ หรือ แก้ไขปัญหา