การเสียภาษีธุรกิจบุคคลธรรมดา


29 พ.ย. 2564    nutnaree    4,284

“เสียภาษีมากไหมสำหรับธุรกิจบุคคลธรรมดา”

 

     คำถามที่เต็มไปด้วยความกลัวเรื่องภาษีของธุรกิจบุคคลธรรมดา ไม่ว่าคุณจะเป็นร้านค้าจดทะเบียนพาณิชย์ ร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ แม้กระทั่งบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้เปิดเป็นร้านค้าแต่มีการทำธุรกิจขายสินค้า ทั้งซื้อมาขายไป, เป็นตัวแทนจำหน่าย จำหน่ายสินค้าที่ผลิตในครัวเรือน ต้องเสียภาษีทั้งนั้น ภาษีสำหรับธุรกิจบุคคลธรรมดาจะใช้อัตราภาษีเดียวกับมนุษย์เงินเดือนเพียงแต่จะแยกที่มาของรายได้ต่างกัน คือคนกินเงินเดือนจะยื่นภงด.91 แต่ธุรกิจบุคคลธรรมดาจะยื่น ภงด. 90 ขออธิบายเรื่องที่มาของรายได้ก่อนเพื่อให้เข้าใจว่าการที่ทำธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน การหักค่าใช้จ่ายก็จะไม่เหมือนกันไปด้วย สำหรับเงินได้(รายได้) ของบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง หรือพ่อค้า รายได้ทั้งหมดจะรวมอยู่ในเงินได้ตาม มาตรา 40 ทั้งสิ้น โดยจะแบ่งประเภทของเงินได้ตั้งแต่ 40 (1) - (8) ในที่นี้เราจะไม่กล่าวถึงบุคคลที่เป็นลูกจ้างรับเงินเดือนซึ่งถือเป็นเงินได้ตาม มาตรา40 (1) คือเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส เราจะกล่าวถึง เงินได้ตั้งแต่มาตรา 40 (2) - (8) ที่เป็นรายได้ของธุรกิจที่มีผู้ประกอบการคนเดียวทั้งที่จดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ได้จดก็ตาม ต้องยื่นภาษี ภงด 90 และ ยื่น ภงด. 94 (ยื่นรายได้ครึ่งปีสำหรับผู้มีรายได้ตามมาตรา 40 ( 8)

 

 

     จากภาพบน จะพบว่าธุรกิจบุคคลธรรมดา มักมีรายได้จากข้อ(7) และ (8) เป็นส่วนใหญ่คือ

     1. เงินได้พึงประเมินมาตรา 40(7) คือ รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง รวมเกี่ยวกับการก่อสร้างทั้งหมด เช่น รับเหมาถมดินก็อยู่ในเงินได้ประเภทนี้เช่นกัน สมมติว่าเราได้ทำสัญญารับเหมากับบริษัทที่ว่าจ้างแห่งหนึ่ง เมื่อทำงานครบถ้วนแล้วจะได้รับเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 หรือ(ถ้ารับงานจากราชการก็ถูกหักในอัตราร้อยละ 1) เราจำเป็นต้องนำรายได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างนี้มาคำนวณและยื่นภาษี ภงด 90 โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 70 (ตามหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายที่สรรพากรกำหนด)

 

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2559

     ยกตัวอย่าง นายแอกรับเหมางานก่อสร้างกับบริษัทแห่งหนึ่ง มูลค่า 1,000,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วร้อยละ 3 เป็นเงิน 30,000 บาท เมื่อนายเอกจะยื่นภาษี ภงด.90 มีวิธีการคำนวณดังนี้

 

 

     หากนายเอกไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเพิ่มเติมก็ให้นำเงินได้สุทธินี้มาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2558 (ปี 2559 ใช้อัตราเดียวกับปี 2558) ดังนี้

 

 

     จำนวนเงินที่ชำระเกินไว้ 24,000 บาทนี้นายเอกสามารถยื่นขอเงินภาษีคืนได้จากสรรพากรเวลายื่น ภงด.90 ในปีถัดไป

 

     2. เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (8) คือ เงินได้ที่นอกเหนือจาก มาตรา 40 (1)-(7) ซึ่งจะเป็นรายได้จากการรับจ้างทำของและรายได้จากบริการรวมทั้งหมด 43 รายการซึ่งไปดูรายละเอียดของรายการได้ ที่นี่ ธุรกิจของบุคคลธรรมดาส่วนใหญ่มักอยู่ในมาตรา 40 (8) นี้ ดังนั้นคุณต้องเข้าไปดูรายละเอียดว่าคุณจะสามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายในอัตราเท่าใด เช่น รายการที่ 9 เป็นธุรกิจทำสบู่ แชมพู และเครื่องสำอาง หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ร้อยละ 70 เมื่อหักค่าใช้จ่ายเหมาแล้ว คุณค่อยนำค่าลดหย่อนส่วนตัวมาหักได้อีก โดยมีรายละเอียดการหักค่าลดหย่อนสำหรับบุคคลธรรมดาที่สรรพากรกำหนดไว้ดังรายละเอียด ที่นี่

 

     ยกตัวอย่าง สมมติร้านสบู่เย็นกาย เป็นร้านที่ผลิตและจำหน่ายสบู่ จดทะเบียนพาณิชย์โดยคุณสายใจ ได้ผลิตและจำหน่ายสบู่ขายมีรายได้ในปี 2558 จำนวน 400,000 บาท คุณสายใจยังเป็นโสดแต่มีภาระต้องดูแลคุณแม่ และมีการซื้อประกันชีวิต ปีละ 30,000 บาท เราลองคำนวณกันว่าคุณสายต้องเสียภาษีเท่าไร (ทะเบียนพาณิชย์ถือเป็นรายได้บุคคลธรรมดาเพราะจดทะเบียนด้วยชื่อบุคคลและใช้เลขเสียภาษีเดียวกันกับเจ้าของกิจการ)

 

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของร้านสบู่เย็นกายโดยคุณสายใจ

 

 

     กรณีของคุณสายใจนี้ไม่ต้องเสียภาษีเลยเพราะเงินได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนแล้ว ไม่เกิน 150,000 บาทได้รับการยกเว้นไม่ภาษี อย่างไรก็ตามคุณสายใจก็ต้องยื่น ภงด 90 เช่นกันแต่ไม่ต้องนำส่งภาษีเพราะไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีนั่นเอง ผู้ประกอบการธุรกิจทุกรายต้องยื่นเสียภาษีเพื่อแจ้งว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ หากไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีก็ไม่ต้องนำส่งอยู่แล้ว

 

     จากตัวอย่างทั้งสองรายคือนายเอกและคุณสายใจ คนที่เคยกลัวภาษีก็คงทราบแล้วว่าภาษีไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอะไรเลยเพราะยอดขายที่ได้ขายไปนั้นยังสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายเหมาได้(มีอัตราหักตั้งแต่ 30-85% ของยอดขาย) เหลือเท่าไหร่ก็ยังนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้อีก เช่นนี้แล้วเราไม่ควรไปเลี่ยงด้วยการไม่ยื่น ไม่ติดต่อใดๆกับหน่วยงานรัฐ เพราะหากสรรพากรมาพบหรือตรวจสอบเมื่อไหร่เราอาจถูกประเมินสูงกว่ารายได้ที่ขายได้จริงก็ได้ และยังอาจถูกปรับได้อีก จึงอยากแนะนำผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ควรสนใจในเรื่องการยื่นภาษีทุกปีแม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ก็ตาม

 

*คุณสามารถอ่านความรู้เรื่องภาษีของบุคคลธรรมดาได้ที่ www.rd.go.th/publish/309.0.html

**ศึกษาแบบฟอร์มกรอกภาษีที่ www.rd.go.th/publish/fileadmin/tax_pdf/pit/PIT90_2558_291258_k.pdf