“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”


25 พ.ย. 2564    somjair    584

กรุงเทพฯ 23 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ร่วมหารือ ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และคณะผู้บริหารสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อน SMEs และทิศทางการดำเนินธุรกิจ ในมุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อภาครัฐ พร้อมทั้งรับฟังเสียงสะท้อนถึงปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม รวมไปถึงการบูรณาการงานร่วมกันในอนาคต

โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะดีพร้อม ได้รับฟังแนวทางและข้อเสนอแนะจากทางสมาพันธ์ฯ โดย ประธานสมาพันธ์ฯ ได้กล่าวถึง ทิศทางการพัฒนาประเทศของมหาอำนาจอย่างประเทศจีนในการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้ นโยบาย MADE IN CHINA 2025 : Dual Circulation หรือ ยุทธศาสตร์วงจรคู่ขนานป็นแผนการพัฒนาให้ความสำคัญกับหลักการ ‘การหมุนเวียนภายในประเทศ (Internal Circulation)’ เพื่อเพิ่มความต้องการของคนในประเทศ และลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศเป็นแกนหลัก ในขณะเดียวกันจะต้องมีการหมุนเวียนภายนอกประเทศ (External Circulation)’ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดส่งออก โดยเป้าหมายในระยะยาวจะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับความต้องการการบริโภคภายในประเทศ และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาความต้องการจากต่างประเทศ

ขณะที่สถานการณ์ SMEs ของไทยในปัจจุบันอยู่ในภาคการค้าและการบริการ โดย SMEs ส่วนใหญ่ของประเทศเป็น Micro SMEs ซึ่งมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก พบว่า SMEs มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก สำหรับอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของ SMEs กลุ่มนี้คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ต้องการระบบพี่เลี้ยง (Coaching) ในการดำเนินธุรกิจ การเชื่อมโยงข้อมูลที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of doing Business) รวมไปถึงการส่งเสริมพัฒนาของภาครัฐที่ยังมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณทำให้กระจายความช่วยเหลือได้ไม่ทั่วถึง สำหรับอุปสรรค (Pain Point) ในการพัฒนา SMEs จากมุมมองของสมาพันธ์ฯ ได้กล่าวถึง การพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ Financial Scale Up และ Development Service ซึ่งในแต่ละด้านยังขาดความเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน หากทั้ง 3 ด้านมีการบูรณาการงานภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานร่วมกันจะขับเคลื่อน MSMEs ให้เติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ สมาพันธ์ฯ ยังได้สะท้อนความต้องการในการจัดตั้ง 3 กองทุน อันเนื่องมาจากข้อมูลที่จะสะท้อนถึงศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ MSMEs เมื่อเทียบ 100 ราย พบว่าเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือสามารถผ่านเงื่อนไข หรือ การอนุมัติสินเชื่อเพียง 30%  อีก 70% เป็นกลุ่มที่ขาดคุณสมบัติ หรือเป็น NPL สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของกองทุน (1) กองทุนนวัตกรรม MSMEs เป็นกองทุนที่จะมุ่งพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน องค์ความรู้ ตลาด สิทธิประโยชน์ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย (2) กองทุนพัฒนา MSMEs เพื่อให้การสนับสนุนกลุ่มที่ยังขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน (3) กองทุนพัฒนา NPLs MSMEsคือกลุ่มที่มีหนี้ NPL รวมถึงหนี้นอกระบบ ให้มีโอกาสไปต่อ แข็งแรงขึ้น โดยมีสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารรัฐเป็นผู้ดูแล

สำหรับปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลนในภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีปัญหาด้านแรงงานที่ตกงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่ผกผันในสังคมปัจจุบัน กรณีขาดแคลนแรงงาน สมาพันธ์ฯ ได้เสนอ Thailand e-Job Platform เพื่อลดการว่างงาน เพิ่มการจ้างงาน พัฒนาทุนมนุษย์ โดยองค์ประกอบหลักของแพลตฟอร์มนี้จะเป็นเรื่องของการสรรหาคนเพื่อเข้าสู่การเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม แรงงานฝีมือ นักเรียนนักศึกษาที่จบใหม่ หรือการพัฒนาบ่มเพาะเพิ่มขีดความสามารถเพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ MSMEs เปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ปัจจุบันการสร้าง Ecosystem Economy Innovation เป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นพลังในการลดต้นทุนส่วนเกิน สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจ สมาพันธ์ฯ มีแนวทางการดำเนินงาน “อยู่รอด อยู่เป็น อยู่เย็น อยู่ยาว” สำหรับสาขาอุตสาหกรรมที่ควรสนับสนุน โดยใช้ Customized Function ในการพัฒนา ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Function Food) มีมูลค่าการส่งออกค่อนข้างสูง อุตสาหกรรมการค้าปลีกการพัฒนาหรือนำระบบ Point of Sales (POS) เพื่อ tracking or modify ธุรกิจให้เติบโต แต่ยังคงติดกับดักด้านการลงทุน/เงินทุน สมาพันธ์ฯ ได้กล่าวถึง 3K : Knowledge / Know How / Know Who เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปอย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน และโอกาสสำคัญคู่กับความรู้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว SMEs อาจฉกฉวยโอกาส สร้างความแตกต่าง ลดต้นทุนในธุรกิจไม่ว่าจะเป็นด้าน Solar Farm Energy ที่ยังรอการสนับสนุนจากภาครัฐ และประเด็นที่กำลังอยู่ในความสนใจของโลกอย่าง Metaverse ที่กำลังจะเปลี่ยนโลกธุรกิจ เปลี่ยนวิถีการท่องเที่ยวไปอย่างสิ้นเชิงในอนาคต สำหรับเทคโนโลยีในภาคการผลิต สะท้อนภาพในมุมของการพัฒนา Machine Data People ควบคู่กันไป ในส่วนของการพัฒนา Creative Content / Economy เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีความน่าสนใจสร้าง High Impact โดยสอดคล้องกับห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้อง และประเด็นการพัฒนา Start up ต้องการรับการสนับสนุนในส่วนของเงินทุนเป็นสำคัญ

จากภาพสะท้อนของภาคเอกชนที่ส่งต่อมายังภาครัฐ ซึ่งดีพร้อมได้มีทิศทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับโจทย์ หรือความต้องการไม่ว่าจะในประเด็นของการพัฒนาด้าน Financial / non Finance อาทิ เงินทุนหมุนเวียนฯ ได้ออกแพคเกจ “ดีพร้อมเปย์” เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีขีความสามารถซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมโครงการของดีพร้อมได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน Training Package ผ่านรูปแบบออนไลน์, การใช้ระบบ Automation / Ecosystem / กลไกของ ITC ที่ในอนาคตอันใกล้นี้จะใช้ Pilot Plant ให้กับ SMEs เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และ Matching กับ OEM ลดขั้นตอนในกระบวนการผลิตและการประกอบธุรกิจ ให้ SMEs มุ่งเน้นการขายสินค้า สร้าง Return of Investment ได้อย่างรวดเร็ว / Big Data โดยดีพร้อมได้ใช้ iSingle Form เพื่อจัดเก็บข้อมูลของผู้รับบริการเพื่อ Tracking Progress เพื่อแนะนำการพัฒนาที่เหมาะสมในระยะต่อไป ซึ่งหากทั้ง สมาพันธ์ฯ และ ดีพร้อม ได้มีการบูรณาการงานร่วมกัน จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต  ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว

“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
“อธิบดีณัฐพล นำทีม ดีพร้อม เดินหน้าหารือสมาพันธ์ SME ไทย แลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”