“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน


02 ก.พ. 2565    somjair    77

กรุงเทพฯ 31 มกราคม 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 ของหนังสือพิมพ์มติชน  โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และคำกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “สู่ศักยภาพใหม่ : Thailand 2022” ร่วมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศ และสื่อมวลเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ชั้น G อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 จตุจักร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาและความท้าทายใหม่ ๆ มากมาย โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ด้วยมาตรการด้านสาธารณสุขและมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภาครัฐผนวกกับความร่วมมือของทุกฝ่าย ทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวและมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เห็นได้จากการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI ขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรม หรือ GDP ภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงภายหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแสวงหาโอกาสจากการปรับตัวไปสู่รูปแบบชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal ด้วยการปรับทิศทางกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม รวมทั้งอาศัยจุดแข็งของประเทศไทย

ในหลาย ๆ ด้าน เพื่อสร้างความได้เปรียบและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอนาคต ขณะเดียวกัน ภาครัฐยังได้สร้างปัจจัยแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา ซึ่งมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและเร่งขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไปเป็นการมุ่งสู่การปรับโครงสร้างภาคเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือ การส่งเสริมการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ (Local Economy) ตลอดห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง รวมถึงทำให้เกิดเม็ดเงินสู่ระบบแรงงานไทยอย่างยั่งยืน

สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรม มีแนวทางการส่งเสริมการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยอุตสาหกรรมชุมชนผ่านการยกระดับอุตสาหกรรมชุมชนให้มีความเข้มแข็งผ่านการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV ภายใต้ แนวคิดหลัก คือ การสร้างหมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนวัฒนธรรมวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ชุมชนมาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ เชื่อมโยงกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ก่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ยกระดับกระบวนการดำเนินงานให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานที่ตรงประเด็น สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วในทุกช่องทาง รวมทั้งได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมกับยุคของ Next Normal อีกทั้ง ยังบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้ตัวอย่างนโยบาย “DIProm CARE” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ขณะเดียวกัน ยังเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างมูลค่าที่เติบโตบนฐานนวัตกรรม องค์ความรู้ เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงมีการพัฒนาที่ยั่งยืนตามโมเดลอุตสาหกรรมรายสาขาและอุตสาหกรรมที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยได้ในอนาคต

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ยังบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการพัฒนาสำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ 1. การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สนับสนุนการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพ พัฒนาการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยนวัตกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพิ่มความหลากหลายสินค้าเกษตร และนำ Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการการผลิต 2. การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ (S Curve) 3. การพัฒนาผู้ประกอบการและภาคการผลิตไปสู่ 4.0 โดยสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ ส่งเสริม SMEs และวิสาหกิจชุมชนให้มีผลิตภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและดิจิทัล รวมทั้งการพัฒนาปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมควบคู่กับการเพิ่มโอกาสทางการตลาดและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทุกระดับ 4. การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG 5. การจัดตั้งและส่งเสริมการลงทุนนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ 6. การยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการที่สะดวกรวดเร็ว บูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศอีกด้วย ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว

“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน
“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ “รมว.กระทรวงอุตฯ” มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ศักยภาพใหม่: Thailand 2022 ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 มติชน