รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล


04 ธ.ค. 2566    ชวกร    19

จ.นครศรีธรรมราช 29 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคใต้ พร้อมด้วย นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และผู้ประกอบการ เข้าร่วมหารือ ณ โรงแรม แกรนด์ ฟอร์จูน

การประชุมหารือในครั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงภาคเอกชน และผู้ประกอบการ ได้เสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรม ส่งเสริม สนับสนุน ในเรื่องผังเมืองสำหรับการก่อสร้าง ซึ่งบางพื้นที่ไม่มีโซนที่สามารถก่อสร้างได้ จึงทำให้การก่อสร้างของโรงงานใหม่เป็นไปได้ยาก เรื่องการขนส่งโลจิสติกส์ เช่น ถนนสี่เลนที่มีอยู่มีความจำเป็นต้องขยายออกไป จากอำเภอทุ่งสงมาอำเภอปากพนัง หากมีการขยายถนนจากสองเลนเป็น 4 เลนได้ ด้านการขนส่งจะดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ๆ เรื่องการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ติดทะเลประมาณ 250 กม. หากมีท่าเรือขนส่งเป็นศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมาก นอกจากนี้ ในด้านของพืชเศรษฐกิจ ซึ่งในพื้นที่ภาคใต้ มีพืชเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม และผลไม้ต่าง ๆ โดยอยากให้มีการส่งเสริม และโครงสร้างของการสนับสนุน อยากให้มีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในอุตสาหกรรม ที่ชี้เป้าของภาคใต้ ให้ผู้ประกอบการ SME ในภาคใต้ มีการอบรมให้ความรู้ พัฒนาความสามารถมากขึ้น

รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC ที่กำหนดไว้ ได้แก่ ด้านเกษตรและอาหาร เป็นการใช้เทคโนโลยีระดับสูง ไม่ใช่เกษตรและอาหารทั่วไป ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งมาจากฐานของน้ำมันปาล์ม และสารสกัดจากยางพารา และด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ จากข้อมูล GDP ที่ผ่านมา มูลค่าจากสินค้าด้านการเกษตร คิดเป็น 40% เป็นการบริการ คิดเป็น 44% ซึ่ง GDP ในภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าน้อย อาจมาจากปัญหาด้านผังเมือง จึงทำให้โรงงานในการแปรรูปก่อตั้งไม่ได้ โดยในพื้นที่ภาคใต้มีการขอการส่งเสริมการลงทุนเป็นอันดับสอง รองจากพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งในการขอการส่งเสริมการลงทุนในปีหน้าเป็นต้นไป จะเริ่มมีการลงทุนซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นพื้นที่ให้ทำหน้าที่ในฐานะเป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่ง
เป็นนักลงทุนจากในพื้นที่ และส่วนหนึ่งมาจากนักลงทุนจากภายนอกพื้นที่ นอกจากนี้ ในเรื่องของ โกโก้ จากที่ศึกษาข้อมูล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกโกโก้คุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย ต้องยอมรับว่าโกโก้ไทยไม่เหมือนในต่างประเทศ เปรียบเทียบกับโคลอมเบียไม่ได้เพราะสภาพการปลูกไม่เหมือนกัน เวลาส่งเสริมต้องไม่ทำเหมือนคนอื่น สิ่งที่ต้องทำคือส่งเสริมเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น คือ โกโก้นครศรีธรรมราช รสชาติเป็นแบบนี้ ต้องส่งเสริมแบบไหน การเพิ่มมูลค่าให้โกโก้ต้องยึดเอกลักษณ์ท้องถิ่น

นอกจากนี้ ในด้านของอุตสาหกรรมฮาลาล อยากเห็นการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยพื้นที่ภาคใต้ เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยง โค แพะ เป็นจำนวนมาก แต่ขายเป็นตัว ไม่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งการแปรรูปต้องใช้ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น โรงเชือด ตลาด การส่งออก
โดย ฮาลาล เป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคต ถ้าเราดูอุตสาหกรรมฮาลาลของโลก เฉพาะด้านอาหาร สองล้านล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก เรามีส่วนแบ่งตลาดเพียงแค่ 2.7% (หกพันล้าน) เป็นผลิตภัณฑ์ฮาลาลจำพวก
ข้าว น้ำตาล ถั่ว ประมาณ 60% แต่ในด้านสินค้าฮาลาลจริง ๆ มีน้อยมาก แทบจะไม่มีส่วนแบ่งตลาดในนั้นเลย เราต้องส่งเสริมสินค้าฮาลาลในรูปแบบที่เป็นสินค้าไทย ซึ่งหน่วยงานส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลในประเทศไทย มีกว่า 10 หน่วยงาน ไม่มีหลักแบบแผนแม่บทใหญ่เพื่อวางตัวชี้วัดหรือแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะรีบนำเสนอการจัดตั้ง กรมอุตสาหกรรมฮาลาล อย่างรวดเร็ว เพื่อให้อุตสาหกรรมฮาลาลของไทยมีความชัดเจนในการโดยจะเน้นการส่งเสริมฮาลาล ไม่ใช่การขอการรับรอง โดยต้องตั้งเป้าหมายตัวชี้วัดการพัฒนาต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว

รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล