“รมว.พิมพ์ภัทรา” ลงพื้นที่เร่งเครื่องยกระดับธุรกิจชุมชนผ่านแนวคิดชุมชนเปลี่ยน ผนึกกำลัง บริษัท โตโยต้าฯ นำคาราคูริ ไคเซน ชูต้นแบบเครื่องทุ่นแรง
จ.ชุมพร 6 เมษายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง ให้แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคำวัด พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวรัตม์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นางปวีณา นันทิกุลวาณิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายธานินทร์ เวียงวีระชาติ ผู้จัดการอาวุโส สาขาชุมพร SME D Bank นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ณ กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคำวัด ตำบลทุ่งคำวัด อำเภอละแม
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของภูมิภาค สามารถผลิตและส่งออกอาหารได้หลายประเภท ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้ามาใช้ในระบบการผลิตภาคเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและปลอดภัยเข้าสู่กระบวนการแปรรูปต่อไป ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ต่อกระบวนการแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม คือ “เทคโนโลยีการผลิต” การพัฒนาภาคเกษตรยุคใหม่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิตหรือแปรรูปผลิตผล ทางการเกษตร โดยการพัฒนาภาคเกษตรของไทย จะมุ่งเน้นการจัดการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี มากยิ่งขึ้นไปอีก รวมทั้งแนวคิดการเปลี่ยนผ่านทำเกษตรยุคใหม่จะแตกต่าง จากเดิมโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันรวมถึงในอนาคตจะต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อมาเพิ่มคุณภาพการผลิต การเก็บเกี่ยว หรือแม้แต่ การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานในการส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน ที่ครอบคลุมในทุกระดับ และเข้าถึงในทุกพื้นที่ให้มีความเติบโตอย่างมีศักยภาพผ่านกลไกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ภูมิปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยได้ตระหนักถึง
ความสำคัญทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็ง อย่างมีคุณภาพ รวมถึงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง โดยสนับสนุนองค์ความรู้สมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกมิติควบคู่ทักษะที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจ เช่น การบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด
นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ได้มีการลงพื้นที่สำรวจความต้องการผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้รับทราบข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ปัจจุบันประสบปัญหาในการลำเลียงกล้วย เนื่องจากทางกลุ่มมีผู้สูงอายุ และการลำเลียงกล้วย มีลักษณะที่ใช้เป็นรางลาก ซึ่งต้องใช้แรงจำนวนมากในการเคลื่อนย้าย เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด หน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้บูรณาการร่วมกัน 1) กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม
2) ศูนย์ส่งเสริมอุตสำหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุรำษฎร์ธานี 3) อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร และ 4) หน่วยงานเครือข่าย ได้แก่ กลุ่มบริษัทโตโยต้า ซึ่งได้
มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกลุ่มบริษัทโตโยต้า ได้ร่วมกันช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด ในการพัฒนาเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองโดยใช้หลักการทำงานของ คาราคุริ (Karakuri) ในการลำเลียงกล้วยจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้แรงในการลาก ทำให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตกล้วยหอมทอง สามารถลดเวลาและช่วยในการผ่อนแรงสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งยังเป็นไปตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก นอกจากนี้ยังได้อบรม
ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตร “คาราคุริและการประยุกต์ใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา” เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และยกระดับศักยภาพการแข่งขันภาคเกษตรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว