หมวดหมู่
ดร.ณัฐพล แถลงข่าว ก.อุตฯ เตรียมจัดงานมอบ "รางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2566" เชิดชูศักยภาพ 44 องค์กรต้นแบบ รับรางวัลจากนายกรัฐมนตรี 12 ก.พ. นี้
กรุงเทพฯ 7 กุมภาพันธ์ 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม แถลงข่าวเตรียมจัดงานมอบ "รางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2566" เชิดชูศักยภาพ 44 องค์กรต้นแบบ พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุงพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดฯ ณัฐพล กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมจัดงานมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 (The Prime Minister’s Industry Award 2023) ในวันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นประธานมอบรางวัลให้แก่สถานประกอบการที่มีความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต คุณภาพ ความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประกอบการที่พัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ โดยในปีนี้ มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสถานประกอบการให้ความสนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือก จำนวน 273 ราย แบ่งเป็นรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 3 ราย รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น และรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้ง 13 ประเภท รวม 270 ราย เกณฑ์การพิจารณารางวัลอุตสาหกรรมประจำปี พ.ศ. 2566 จะมุ่งเน้นให้รางวัลกับสถานประกอบการที่มุ่งสู่การพัฒนาและปรับเปลี่ยนการประกอบการภาคอุตสาหกรรม ภายใต้แนวคิด "อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน" โดยเน้นมาตรการและกลไกมุ่งสู่ความสำเร็จ 4 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจ มิติที่ 2 ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวม มิติที่ 3 ความลงตัวกับกติกาสากล ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสู่อุตสาหกรรมสีเขียว และมิติที่ 4 การกระจายรายได้สู่ชุมชนที่ตั้ง ซึ่งทุกรายผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะทำงานฯ แต่ละประเภทรางวัล โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกต้องผ่านหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดหลายด้าน เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่น วิริยะอุตสาหะในการพัฒนาศักยภาพทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต คุณภาพ ความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน โลจิสติกส์และโซ่อุปทานอุตสาหกรรม และบริการแห่งอนาคต ความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวม โดยมีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 44 ราย และสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 (The Prime Minister’s Industry Award 2023) มีจำนวน 14 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม (The Prime Minister’s Best Industry Award) จำนวน 1 รางวัล ซึ่งคัดเลือกจากสถานประกอบการที่เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ประเภท และเป็นสถานประกอบการที่มีการพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล และมีความเป็นเลิศทั้งในด้านการผลิต การบริหารจัดการ การตลาด และการลงทุน มีการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของตนเอง และสามารถสร้างการพัฒนาให้กับอุตสาหกรรมในภาพรวมได้อย่างชัดเจน 2. รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น (The Prime Minister’s Industry Award) แบ่งเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทการเพิ่มผลผลิต 2) ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3) ประเภทการบริหารความปลอดภัย 4) ประเภทการบริหารงานคุณภาพ 5) ประเภทการจัดการพลังงาน 6) ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 7) ประเภทอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 8) ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม และ 9) ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน 3. รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น (The Prime Minister’s Small and Medium Industry Award) แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทการบริหารจัดการที่ดี 2) ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 3) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม และ 4) ประเภทบริหารธุรกิจสู่สากล ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน/ภาพข่าว
12 ก.พ. 2567
นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 เชิดชูเกียรติ 44 องค์กรต้นแบบทั่วประเทศ ย้ำสนับสนุนผู้ประกอบการ ยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้พร้อมแข่งขันในเวทีโลก
กรุงเทพฯ 12 กุมภาพันธ์ 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว ในพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 (The Prime Minister's Industry Award 2023) โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธี เพื่อเชิดชูเกียรติ 44 องค์กรต้นแบบทั่วประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรม ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” สร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ยกระดับขีดความสามารถในแข่งขัน และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน และมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมเป็นเกียรติ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมและรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นทั้ง 44 องค์กร พร้อมขอบคุณกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้จัดการมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมและรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งนับว่าเป็นการสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการที่จะพัฒนาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มีมาตรฐานและสามารถแข่งขันในเวทีโลกต่อไปได้ ซึ่งรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นแหล่งการจ้างงานและที่สำคัญเป็นภาคเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ เทคโนโลยีให้ก้าวหน้าและกระจายไปสู่เศรษฐกิจภาคอื่น ๆ การสะสมประสบการณ์และความชำนาญของผู้ประกอบการไทย ทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยไม่เป็นรองใคร โดยรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 (The Prime Minister’s Industry Award 2023) รวมจำนวน 14 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม (The Prime Minister’s Best Industry Award) จำนวน 1 รางวัล 2. รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น (The Prime Minister’s Industry Award) แบ่งเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทการเพิ่มผลผลิต 2) ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3) ประเภทการบริหารความปลอดภัย 4) ประเภทการบริหารงานคุณภาพ 5) ประเภทการจัดการพลังงาน 6) ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 7) ประเภทอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 8) ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม และ 9) ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน 3. รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น (The Prime Minister’s Small and Medium Industry Award) แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทการบริหารจัดการที่ดี 2) ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 3) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม และ 4) ประเภทบริหารธุรกิจสู่สากล ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
12 ก.พ. 2567
เชิญผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่มเข้าร่วมอบรมหลักสูตร Food for the Future
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเข้าร่วมอบรม หลักสูตร : Food for the Future กิจกรรม : สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจอาหาร และเถ้าแก่ใหม่วัยเก๋า เพื่อการเติบโตแบบดีพร้อม ภายใต้กิจกรรม : การฝึกอบรมสร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ (NEC DIPROM) ดำเนินการโดย : กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันอาหาร Highlight สร้างกลยุทธ์ธุรกิจ ผ่านโมเดลธุรกิจ (BMC) การจัดการด้านการเงิน การตลาด และแนวโน้มของเทรนด์อาหารแห่งอนาคต การแปรรูปและยืดอายุผลิตภัณฑ์อาหารฯ นำเสนอโมเดลธุรกิจ (Pitching) และสัมมนาพิเศษ กิจกรรมเสวนาและแสดงผลงาน Show Case เวทีสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ พร้อมรับมอบวุฒิบัตร สิ่งที่ท่านจะได้รับจากกิจกรรม แผนโมเดลธุรกิจ และเทคนิคการประยุกต์ใช้แผนโมเดลธุรกิจ โอกาสในการนำเสนอธุรกิจกับสถาบันการเงินหรือช่องการตลาด แนะนำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการยืดอายุผลิตภัณฑ์อาหาร และมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ออกบูธจัดแสดงสินค้าในกิจกรรม ประกาศนียบัตร กลุ่มเป้าหมาย ผลิตภัณฑ์หรือบริการในกลุ่มอาหารแห่งอนาคต (Future Food) มีแนวคิดการประกอบธุรกิจที่ชัดเจน และพร้อมในการลงทุนต่อ ยอดธุรกิจ สนใจและมีศักยภาพที่จะเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปี ในวันที่ยื่นใบสมัคร เป็น ผปก. Sme ผู้ประกอบการอาหารไม่เกิน 5 ปี หรือ บุคคลทั่วไปที่สนใจจะเริ่มธุรกิจอาหารมีและแผนธุรกิจชัดเจน ไม่เคยเข้าร่วมอบรมในโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปี 2566 และไม่เคยผ่านการอบรมในโครงการ NEC เปิดรับสมัครวันนี้ - 5 มีนาคม 2567 สมัครออนไลน์ ตารางแผนกิจกรรมโครงการ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณกนกวรรณ แก้วหนองแสง (เฟิร์น) 0 2422 8688 ต่อ 2205 training@nfi.or.th https://bit.ly/393y0Xe
12 ก.พ. 2567
"อสอ.ภาสกร" นำทีมเตรียมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ปี 66
กรุงเทพฯ 7 กุมภาพันธ์ 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานคณะทำงานเลขานุการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1/2567 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะทำงานฯ เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการเตรียมการจัดงานพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 ในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) กำหนดการจัดงานพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 2) รายละเอียดภายในห้องจัดงาน และห้องจัดนิทรรศการของผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลฯ จำนวน 44 ราย และ 3) เตรียมการเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่จะประจำแต่ละโซนภายในงานพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ได้กำหนดจัดงานดังกล่าวในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ก.พ. 2567
"ดีพร้อม" จัดอบรมเสริมความรู้เรื่องการเงินยุคดิจิทัล สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
กรุงเทพฯ 7 กุมภาพันธ์ 2567 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "Financial Literacy For SMEs รอบรู้เรื่องการเงินในยุค Digital" ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) วิทยากร และ ผู้เข้าร่วมอบรม โดยมี นายจักรพันธ์ เด่นดวงบริพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวรายงาน ณ ห้อง San Leo ชั้น 4 โรงแรม เดอะพาลาสโซ รัชดาภิเษก การฝึกอบรมดังกล่าวฯ เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM BSC) โดยมุ่งให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย การวางแผนกลยุทธ์ แนวทางการบริหารจัดการการเงินในยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพรวมถึงสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงกับแหล่งเงินทุน และทราบถึงหลักการในการเขียนแผนธุรกิจเพื่อใช้ในการขอสินเชื่อจากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ในรูปแบบการบรรยายให้องค์ความรู้พร้อมกับการทำเวิร์คชอปเพื่อฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพิ่มมากขึ้น ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ก.พ. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้บริหาร อก. ติดตามการดำเนินงานพร้อมเร่งกำหนดมาตรการสนับสนุน PM 2.5 และเน้นย้ำการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
กรุงเทพฯ 7 กุมภาพันธ์ 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แจ้งในที่ประชุมว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2567) นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ได้กำชับให้หน่วยงานต่างๆ อำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการที่มาใช้บริการ เพิ่มความสะดวกเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและปลอดภัย ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยขอให้ อก. ประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการกำหนดมาตรการสนับสนุนต่อไป นอกจากนี้ทางรัฐบาลยังได้เน้นย้ำเรื่องการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และการตกแต่งสถานที่ของหน่วยงาน ส่วนผลการหารือเกี่ยวกับการอนุมัติให้สินเชื่อผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ทางผู้อำนวยการกองทุนฯ ได้รายงาน โครงการสินเชื่อของกองทุนฯ ซึ่งได้ดำเนินการ จำนวน 10 โครงการ ตั้งแต่ปี 2560-2566 อนุมัติวงเงินกว่า 25,275 ล้านบาท พร้อมรายงานถึงกระบวนการดำเนินงานด้านคำขอสินเชื่อของกองทุนฯ โดยสถานะปัจจุบัน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ได้กลั่นกรองและเตรียมเสนอคณะอนุกรรมการประจำจังหวัด จำนวน 48 ราย ผ่านคณะอนุกรรมการฯ และนำส่งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) จำนวน 89 ราย (ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ จำนวน 45 ราย) อนุมัติสินเชื่อแล้ว จำนวน 4 ราย และมีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1 ราย ซึ่งที่ผ่านมามีการพิจารณาที่ล่าช้า โดยกองทุนฯ ได้วางแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และขอให้ ธพว. ร่วมกับ สอจ. ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานประกอบการพิจารณาสินเชื่อก่อนการประชุม พร้อมให้ความเห็นที่ชัดเจนประกอบการพิจารณา และ สอป.จะดำเนินการปรับปรุงระบบสารสนเทศการยื่นเอกสารคำขอ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้รายงานแผนผลการดำเนินงานที่สำคัญที่มีความเชื่อมโยงแผนระดับชาติสู่แผนปฏิบัติราชการปี 2568 ซึ่งการจัดทำโครงการประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ในลักษณะเชิงรุก ได้ดำเนินการผ่านโครงการ Flagship ปี 68 จำนวน 4 โครงการ งบประมาณ 247 ล้านบาท ซึ่งดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการขยายโอกาสในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมและมลภาวะสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ โครงการงบบูรณาการ จำนวน 4 โครงการ งบประมาณ 45 ล้านบาท งานบูรณาการ EEC และการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ โครงการงบลงทุน จำนวน 1 โครงการ งบประมาณ 20 ล้านบาท นอกจากนี้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้เสนอโครงการภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต พ.ศ.2568 (ชีวภาพและอาหาร แพทย์ครบวงจร AI ยานยนต์ไฟฟ้า อากาศยาน ความมั่นคง และระบบนิเวศอุตสาหกรรม) โดยมีงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ปี 67 จำนวน 3,806 ล้าน รวม 41 โครงการ 22 หน่วยงาน และปี 68 จำนวน 39,146 ล้านบาท ซึ่งจำแนกใน 7 กระทรวง 1 รัฐวิสาหกิจ 1 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รวม 34 หน่วยงาน ส่วนเรื่องการขับเคลื่อนโครงการงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายสุรพล ชามาตย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รายงานถึงการดำเนินโครงการ 72 พรรษา ลด 10 MtCO2eq และ PM 2.5 จากภาคอุตสาหกรรมด้วย MIND เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2567 เป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดตามพระราชปณิธานเพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย เป็นบูรณาการอยู่ร่วมกันระหว่างสถานประกอบการอุตสาหกรรมกับชุมชนอย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้ตระหนักในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและฝุ่น PM 2.5 สู่ชั้นบรรยากาศในภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งการดำเนินโครงการฯ เป็นการดูแลมลพิษที่เกิดจากการประกอบกิจการภาคอุตสาหกรรมตามสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน ด้วย MIND ดิน การจัดทำสารปรับปรุงดิน น้ำ การติดตั้งเครื่องเติมอากาศแบบโซล่าเซลล์ ลม ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และไฟ การดำเนินการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งมีแผนการดำเนินงานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2567 และคาดว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2567 ไว้ 10,000,000 tCO2eq ซึ่งที่ประชุมขอให้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการให้สังคมเข้าใจ เข้าถึง และชัดเจน และสุดท้ายเป็นการรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไปพลางก่อน ของ อก. และรายงานผลการดำเนินงานการลงพื้นที่เพื่อหารือผู้ประกอบการ ณ จังหวัดชุมพรและระนอง ในโอกาสการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ครั้งที่ 1/2567 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ก.พ. 2567
"ดีพร้อม" ประชุมผู้บริหารครั้งที่ 87-4 เดินหน้าแผนการทำงานปี 67
กรุงเทพฯ 6 กุมภาพันธ์ 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมผู้บริหาร กสอ. ครั้งที่ 87 - 4/ 2567 พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุงพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี นายเจตนิพิฐ รอดภัย ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquater) และทางออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM Meeting ประชุมในครั้งนี้ เป็นการรายงานและเตรียมความพร้อมการทำงานในด้านต่าง ๆ ของดีพร้อม ประกอบด้วย 1) แนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 2) พจนานุกรมกิจกรรมของ กสอ. 3) การปรับปรุงต้นทุนผลผลิต กสอ. 4) สรุปข้อสั่งการที่เกี่ยวข้องกับ กสอ. ตามมติ ครม. นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 1/2567 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยมุ่งเน้นด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ การสร้างมาตรฐานขยายช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 5) รายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ไปพลางก่อน) ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2567 และ 6) การดำเนินการขับเคลื่อน Soft Power 2 สาขาอุตสาหกรรม (ด้านอาหารและด้านแฟชั่น) ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 ก.พ. 2567
ธุรกิจของคุณ พร้อมที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดดหรือยัง
ขอเชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาศักยภาพนักธุรกิจชุมชนคนรุ่นใหม่ (Next Generation) ดำเนินการโดย : กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ คุณสมบัติ ทายาทธุรกิจ/ผู้ประกอบการรายใหม่ อายุไม่เกิน 45 ปี หลักสูตร จัดทัพธุรกิจ พิชิตกำไร กับ 3 กลยุทธ์ ที่คนทำธุรกิจไม่ควรพลาด Blue Ocean จัดทัพธุรกิจ พิชิตกำไร เพิ่มคุณค่าให้ลูกค้า Scale up เพิ่มแต้มต่อ ขยายธุรกิจ Business Blueprint ลายแทงที่จะช่วยกำหนดทิศทางธุรกิจให้ยั่งยืน ผ่านระบบ Zoom Meeting กิจกรรมฯ จัดในวันที่ 7 - 8 มีนาคม 67 สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณธีรกร 08 4923 4195
08 ก.พ. 2567
ขอเชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการยกกำลัง 2 DIPROM Rapid Growth รุ่นที่ 1
กิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการยกกำลัง 2 DIPROM Rapid Growth รุ่นที่ 1 สร้างโอกาสในการขยายธุรกิจสู่การทำ Franchise ดำเนินการโดย : กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กิจกรรมที่ 1 : อบรมหลักสูตรการขยายธุรกิจสู่การทำ Franchise พร้อมการเขียนโมเดลธุรกิจ แฟรนไชส์ จำนวน 3 วัน วันที่ 23 ก.พ.,1 และ8 มี.ค.67 (Online) กิจกรรมที่ 2 : การเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงกับแหล่งเงินทุน พร้อมทดลองนำเสนอธุรกิจต่อแหล่งเงินทุน วันที่ 19 มี.ค.67 (Online) กิจกรรมที่ 3 : Pitching และการเชื่อมโยงเครือข่าย วันที่ 25 มี.ค.67 (Onsite) โรงแรม พาลาซโซ รัชดา กรุงเทพฯ ขอสงวนสิทธิ์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านเข้าร่วมโครงการ NEC สมัครฟรี สมัครภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 สนใจสมัครได้ที่นี้คลิก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวจุฬาลักษณ์ หนูนิล (09 7195 0101) นางสาวธมลวรรณ ณ ถลาง (06 3151 8582)
08 ก.พ. 2567
“อสอ.ภาสกร” ร่วมประชุมรับมอบนโยบายการส่งเสริมเอสเอ็มอี
กรุงเทพฯ 5 กุมภาพันธ์ 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมรับมอบนโยบายจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการดำเนินงานการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้แก่คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ของ สสว. โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารอุตสาหกรรม และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1801 ชั้น 18 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อาคารทีเอสทีทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิต การประชุมในวันนี้ จัดขึ้นเพื่อมอบนโยบายจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการดำเนินงานการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมุ่งส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยมีความพร้อมและความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่การเติบโตและเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 ก.พ. 2567