หมวดหมู่
ปลัดฯ ณัฐพล รุดให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ สอจ.ชุมพร ยกเป็นตัวอย่างของความเสียสละ ความทุ่มเท และการทำงานเป็นทีม
จ.ชุมพร 23 กันยายน 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ จ.ชุมพร เยี่ยมชมการดำเนินงานสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) สาขาชุมพร โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร พร้อมด้ย ผู้บริหารจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เข้าร่วมด้วย โดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวชื่นชม สอจ.ชุมพร ว่าดำเนินการจัดงานต้อนรับนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่ จ.ชุมพร เพื่อเยี่ยมชมการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วน จำกัด ฟาร์มอินทร์แปลง และบริษัท สวนทวีทรัพย์ ฟู้ด จำกัด รวมถึงการจัดการประชุมขับเคลื่อนนโยบายและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย รวมทั้งการตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการเหมืองแร่หินสำหรับการก่อสร้างของ บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด โดยตลอด 2 วันที่ผ่านมา ดำเนินการได้อย่างเรียบร้อยสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ แม้จะมีระยะเวลาการเตรียมการเพียงไม่กี่วัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจและประสิทธิภาพของ อสจ.ชุมพร และเจ้าหน้าที่ทุกคน เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ได้ฝากถึง สอจ.นครศรีธรรมราช ให้เตรียมการต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่กำหนดจะลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ โดยยกชุมพรโมเดลเป็นต้นแบบของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย ต่อมาในช่วงบ่าย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) สาขาชุมพร โดยได้นำเสนอผลการดำเนินงานของจังหวัดชุมพร ประกอบด้วย การให้สินเชื่อในปีที่ผ่านมา การดำเนินการปล่อยสินเชื่อภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ผลการเบิกจ่าย ยอดหนี้คงค้างของธนาคาร และจำนวน NPL ในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นต้น โดยมีนางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และนายธานินทร์ เวียงวีระชาติ ผู้จัดการอาวุโส SME D Bank สาขาชุมพร ให้การต้อนรับ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
26 ก.ย. 2566
รมว.พิมพ์ภัทรา ลงเหมืองชุมพร ชมต้นแบบเหมืองแร่สร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม ดูแลสู่ชุมชน
จ.ชุมพร 22 กันยายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ จ.ชุมพร เยี่ยมชมการดำเนินงาน บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด หนึ่งในต้นแบบสถานประกอบการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่สร้างความสมดุลการประกอบกิจการในพื้นที่ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน พร้อมกระจายรายได้สู่ชุมชนโดยรอบ ณ บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ได้ดำเนินการอย่างเคร่งครัด ทั้งในด้านการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมือง หรือ “เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง” เพื่อให้การทำเหมืองเป็นไปอย่างถูกกฎหมายตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ กระบวนการบริหารจัดการแร่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดภายใต้ดุลยภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน โดย บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด เป็นผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง และโรงโม่ บดและย่อยหิน ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ สามารถประกอบกิจการโดยไม่มีข้อร้องเรียนจากภาคประชาชน มีการบริหารจัดการวัสดุที่เป็นปลายโปรดักส์ หรือวัสดุเหลือใช้ (end products or waste materials) มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้รับรางวัลอุตสาหกรรม สีเขียวระดับ 3 (Green System) รางวัลเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining Award 2017 -2021) และเป็นสถานประกอบการที่มีการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นรูปธรรม มีการจัดเจ้าหน้าที่เพื่อประสานงานรับข้อคิดเห็นจากชุมชน ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคให้กับชุมชน มีโครงการเสริมสร้างอาชีพใหม่ให้กับชุมชนผ่านกองทุนรอบโรงงานที่มีอยู่ และตรวจสอบและเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ พร้อมทั้งการบริหารการใช้เครื่องจักรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีสถานประกอบการที่ได้รับประทานบัตร โรงแต่งแร่ โม่ บด ย่อยหิน จำนวน 160 ราย มีมูลค่าการส่งออกในปี 2565 จำนวน 3,565.28 ล้านบาท สำหรับผู้บริหารที่ร่วมลงพื้นที่เหมืองแร่ในครั้งนี้ประกอบด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง ประเทศไทย นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมทั้งในพื้นที่ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เข้าร่วมด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
25 ก.ย. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ถกภาครัฐ-เอกชน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดภาคใต้ เสริมแกร่ง 3 กลุ่มอุตฯ เหมืองแร่-ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป-ปาล์มน้ำมันและยางพารา สร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมเร่งเพิ่มทักษะด้านการประกอบการ สร้างมูลค่าเพิ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ยั่งยืน
จ.ชุมพร 22 กันยายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนนโยบายและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และสงขลา ภาครัฐ นำโดย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ ภาคเอกชน นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร นายกมล เรืองตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร นายกิตติ กิตติชนม์ธวัช ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร และคณะสื่อมวลชน เข้าร่วมหารือ ณ โรงแรมโนโวเทลชุมพร บีช รีสอร์ท แอนด์กอล์ฟ การประชุมขับเคลื่อนนโยบายและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับเหมืองแร่และป่าไม้ เพราะแร่บางชนิดอยู่ในพื้นที่ป่าเขา 2. การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่ 3. การเพิ่มมูลค่าและแก้ไขปัญหาของปาล์มน้ำมันและยางพารา โดยเฉพาะภัยแล้งในพื้นที่ที่ส่งผลต่อคุณภาพของวัตถุดิบ ขณะเดียวกันก็จะเร่งส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยการสร้างนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะทุกจังหวัดทั่วประเทศ สำหรับการส่งเสริมการพัฒนาแร่เป็นไปตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งปัจจุบันกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ (กพร.) ได้มีการปรับปรุงกระบวนการอนุมัติ อนุญาต และการกำกับดูแล ให้มีความสะดวกรวดเร็ว มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น โดยนำระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวก อาทิ การนำระบบนำเข้า ส่งออกแร่ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระค่าภาคหลวงแร่ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดลองใช้งาน ขณะเดียวกันยังได้พัฒนาระบบการอนุญาตอาชญาบัตร และประทานบัตรผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น ส่วนการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่ กาแฟโรบัสต้า ทุเรียน สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์และยกระดับกระบวนการผลิตให้ทันสมัย เช่น บรรจุภัณฑ์ชีวภาพหรือสารสกัดที่มูลค่าสูง ส่งเสริมการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ แบบควบคุมอุณหภูมิให้มีศักยภาพสูง ลดการสูญเสียของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในระบบขนส่ง เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดนักธุรกิจเกษตรหรือพัฒนานักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพรายใหม่ ๆ ในพื้นที่มากยิ่งขึ้น พร้อมผลักดันอุตสาหกรรม Soft Power และกิจกรรมเพื่อเป็นเวทีขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือการเพิ่มช่องทางการตลาดในรูปแบบงานแสดงสินค้า (Mice) เพื่อเชื่อมโยงภาคผลิตและเกษตรในพื้นที่ ตลอดจนการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจชุมชน ผ่านการให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้ามีมาตรฐาน การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เชื่อมโยงเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็ง มีกระบวนการผลิตเข้าสู่อาหารปลอดภัยและเข้าสู่มาตรฐานฮาลาล เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชุมพร และจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สำหรับการเพิ่มมูลค่าและแก้ไขปัญหาของปาล์มน้ำมัน กระทรวงฯ มีเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมโอเลโอเคมิคอลแบบครบวงจรในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี โดยนำงานวิจัยและพัฒนาการแปรรูปน้ำมันปาล์มให้มีความหลากหลายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มประสิทธิภาพ การสกัดน้ำมันปาล์มดิบโดยการพัฒนาพันธุ์ปาล์ม การบ่มเพาะผู้ประกอบการ SMEs ให้มีความเข้มแข็งในทุกมิติ ส่วนยางพาราได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอย่างครบวงจร เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้มีโรงงานผลิตถุงมือยางที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ การนำงานวิจัยและการแปรรูปให้กับผลิตภัณฑ์ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ และอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มทักษะให้กับผู้ประกอบการจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาการผลิตยางพาราที่มีคุณภาพและให้ได้น้ำยางมากขึ้น ผ่านการส่งเสริมด้านเงินทุน เทคโนโลยีและเครื่องจักรในการผลิต เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลเตรียมพร้อมขับเคลื่อนโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ แลนด์บริดจ์ในพื้นที่ จ.ชุมพร ซึ่งจะเป็นโครงการที่สำคัญในการเปลี่ยนโฉมหน้าของประเทศ รองรับการเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในภูมิภาคและพื้นที่สองฝั่งทะเลภาคใต้อ่าวไทย-อันดามัน รวมทั้งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่และยังเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างมาก นอกจากนี้ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor หรือ SEC) ถือเป็นพื้นที่มีศักยภาพสูงต่อการพัฒนาในภูมิภาค และยังสามารถส่งเสริมสู่การเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลในภูมิภาค (Halal Hub) เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคในประเทศแถบตะวันออกกลางด้วย โดยได้สั่งการให้เร่งดำเนินการอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ พร้อมชี้เป้าตามศักยภาพของพื้นที่ให้ครอบคลุมระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาค เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้สูงขี้นต่อไป โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง ประเทศไทย นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร นางดวงธิดา จันทร์พุ่ม อุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง นางทัศนีย์ ภักดีประพันธ์ อุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายคณบดี สัมพัชนี อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช นางจันทร์จิรา บางเสน อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ร่วมประชุม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
25 ก.ย. 2566
รัฐมนตรีพิมพ์ภัทรา ลงใต้ ชมความสำเร็จ “ต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ” จ.ชุมพร
จ.ชุมพร 21 กันยายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ภาคใต้เยี่ยมชมความสำเร็จ “ต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ” 2 ราย ในจังหวัดชุมพร ซึ่งเดินตามแนวคิด MIND สู่การเป็นต้นแบบ Smart Farmer สร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่ายด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมพลังงาน ณ ห้างหุ้นส่วน จำกัด ฟาร์มอินทร์แปลง ตำบลทุ่งคา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในระหว่างการลงพื้นที่เยี่ยมชมความสำเร็จการของผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม 2 แห่ง ในจังหวัดชุมพร ประกอบด้วยห้างหุ้นส่วน จำกัด ฟาร์มอินทร์แปลง และบริษัท สวนทวีทรัพย์ ฟู้ด จำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าทั้ง 2 ราย มีการขับเคลื่อนการดำเนินกิจการ ตามนโยบาย MIND 4 มิติ คือ 1) ความสำเร็จทางธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ ที่มุ่งให้ผู้ประกอบการมีกำไรในการดำเนินธุรกิจ 2) ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวม ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ชุมชน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรและมีความสุข 3) ความลงตัวกับกติกาสากล ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสู่อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อโอกาสทางธุรกิจมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก และ 4) การกระจายรายได้สู่ชุมชนที่ตั้ง ด้วยการกระจายรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มประสิทธิกระบวนการผลิต โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ลดการสูญเสีย ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ และเป็นแหล่งสร้างงานให้กับชุมชน สำหรับห้างหุ้นส่วน จำกัด ฟาร์มอินทร์แปลง ผู้ประกอบการฟาร์มโคนม และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำนม ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนากิจการให้เป็นเกษตรอัจฉริยะหรือ Smart Farmer ต้นแบบ โดยการนำระบบ IoT (Internet of Things) มาใช้ติดตาม วิเคราะห์พฤติกรรมโคนมที่เลี้ยงไว้ในฟาร์ม และบริหารจัดการนำผลิตภัณฑ์นมมาต่อยอดเพิ่มมูลค่า รวมถึงนำของเสียจากฟาร์ม อาทิ มูลวัว มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ ตามแนวทาง BCG Model หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) โดยบริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงิน 11.2 ล้านบาท เพื่อใช้จัดซื้อโคนม เครื่องผลิตอาหาร ปรับปรุงโรงเรือน โรงแปรรูป รวมถึงเป็นเงินทุนหมุนเวียน จนสามารถลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการได้ถึง 40% ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 7 ล้านบาทต่อปี ส่วนบริษัท สวนทวีทรัพย์ ฟู้ด จำกัด ผู้ประกอบการสวนผลไม้ผสมผสาน และโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรด้วยวิธีการแช่แข็ง และการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งหรือ Freeze Dry ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงิน 10 ล้านบาท สำหรับจัดซื้อโดรนเพื่อใช้ในการพ่นยาฆ่าแมลงภายในสวนทุเรียน รวมทั้งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงาน โดยสามารถลดต้นทุนพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมยกระดับการบริหารจัดการสวนผลไม้ให้เข้าสู่มาตรฐาน GAP และการพัฒนาโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีแช่แข็งและฟรีซดราย และได้รับมาตรฐาน GMP พร้อมทั้งส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้ เช่น เปลือกทุเรียนมาทำปุ๋ยและอาหารสัตว์ สร้างมูลค่าเพิ่มในระบบผลิต ภายในงานได้รับเกียรติจากนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมทั้งในพื้นที่ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เข้าร่วมงานกิจกรรมดังกล่าวด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
25 ก.ย. 2566
"ดีพร้อม" นำเทรนด์ ชู ผปก. อุตฯ การดูแลสุขภาพในงาน "ชวนชอป ชิล แชร์ในงาน DIPROM WELLNESS MARKET"
จ.ภูเก็ต 21 กันยายน 2566 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “DIPROM WELLNESS MARKET สุขภาพ ดีพร้อม” ร่วมด้วย ผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) กลุ่มผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมี นายชัยกมล พรหมทอง อุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต กล่าวตอนรับ ณ ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ อำเภอถลาง งานดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อรวมสินค้าและบริการด้านสุขภาพมาเสริฟนักท่องเที่ยว ตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพโลกเพื่อชาวไทยและต่างชาติสายดูแลสุขภาพ (Wellness) ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงได้ช้อปอย่างจุใจ พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษส่วนลดสูงสุดกว่า 10 - 30% ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการมุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้และส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ (DIPROM Wellness Industry) เพื่อส่งเสริม สร้างการรับรู้ และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพจากดีพร้อมให้เกิดการเชื่อมโยงและกระตุ้นให้เกิดกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นในประเทศไทย ตลอดจนการสนับสนุนโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยการเปิดพื้นที่ยกทัพขนสินค้าและบริการทางด้านสุขภาพของผู้ประกอบการมาจัดแสดงและจำหน่าย รสอ.วาทีฯ กล่าวว่า ดีพร้อม ได้เล็งเห็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นแนวโน้มที่ดีในอนาคตเนื่องจากประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในเรื่องมาตรฐานของ Wellness และเรื่องของทางการแพทย์ ที่สำคัญยังเป็นนโยบายหลักที่สำคัญของรัฐบาลที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้านสมุนไพร ด้านอาหาร ดีพร้อมจึงได้เล็งเห็นว่าสามารถนำผู้ประกอบการมาทดสอบตลาดในครั้งนี้ ก็จะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข็งขันให้สูงขึ้นและทำให้ผู้ประกอบการไทยมีลูกค้าได้เพิ่มมายิ่งขึ้น ตามแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพ นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าว ยังมียังมีกิจกรรม Workshop หัตถการแพทย์แผนไทย จากสมาคมแพทย์แผนไทยอันดามันภูเก็ต กิจกรรมนิทรรศการด้าน Wellness กิจกรรมบรรยายหัวข้อทิศทางและโอกาสทางธุรกิจ Wellness และหัวข้อ Automatic Wellness รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการขายและความบันเทิงต่าง ๆ โดยงานนี้จัดระหว่างวันที่ 21 - 22 กันยายน 2566 ณ ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ก.ย. 2566
ขอเชิญร่วมงาน "Ruby Night" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน ASEAN
ขอเชิญร่วมงาน "Ruby Night" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน ASEAN ดำเนินการโดย จังหวัด Fukuoka และ Shimane ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง Ruby Experts ที่บินตรงมาร่วมงานจากญี่ปุ่น นำโดย Mr. Yukihiro "Matz" Matsumoto ผู้คิดค้น Ruby Programming Language พร้อมรับสิทธิ์เข้าร่วมงานสัมมนาและสร้างเครือข่ายสุด Exclusive สถานที่จัดงาน โรงแรม Jasmine City สุขุมวิท 23 วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.30-22.00 น. สมัครเข้าร่วมงานฟรี ได้ที่ สอบถามเพิ่มเติม suda@mediator.co.th 02 392 3288
21 ก.ย. 2566
ขอเชิญชวน ชิม ชิลล์ ช้อป ที่กาดนัดดีพร้อม ครั้งที่ 7 ในธีม "กาดหมั้ว ครัวฮอม ดีพร้อมเจียงใหม่"
กาดนัดดีพร้อม ครั้งที่ 7 ชิม ชิลล์ ช้อป ที่กาดนัดดีพร้อม ที่เก่า เวลาเดิม เพิ่มเติมคือพบกับพ่อค้ากาด แม่ค้ากาดเจ้าใหม่ๆ เพิ่มด้วยน๊า ใครยังไม่ได้มา รีบเลยจ้า ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ถนนทุ่งโฮเต็ล ตำบลวัดเกต อำเถอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดทุกวันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2566 กาด ”แจก” กระเป๋าผ้าดีพร้อมสำหรับผู้มา ชิม ชิลล์ ช้อป และเช็คอิน กาดมี สินค้ามากมาย อาทิ ผัก สด ผลไม้สด สินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าชุมชน (ผ้า งานหัตถกรรม) สินค้ามือ 2 ต้นไม้ อาหารเครื่องดื่ม และ Food Truck รวมแล้ว กว่า 100 ร้านค้า กาดมี กิจกรรม work shop และกิจกรรมต่างๆ จากศูนย์เรียนรู้ภายในศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 เพื่อการสร้างอาชีพ เสริมรายได้ในอนาคต กาดมี โซนนั่งทานอาหารชิลล์ๆ
21 ก.ย. 2566
"อธิบดีใบน้อย" นำทีมดีพร้อม เปิดเมืองอันดามัน kick off Wellness City ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
จ.ภูเก็ต 20 กันยายน 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติมอบโล่เกียรติคุณและเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “ยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” (Wellness Go Up) ภายใต้กิจกรรม ดี-พร้อม-อัพ (UP) ยกระดับชุมชนด้วยการตลาดดิจิทัล (DIPROM-UP Digital Marketing) โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายชัยกมล พรหมทอง อุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ผู้แทนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพังงา ระนอง คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และกลุ่มผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ณ โรงแรม Seabed Grand Hotel Phuket ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต โครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้ทักษะด้านการตลาดออนไลน์ สร้างผู้ประกอบการยุคใหม่ให้ทันต่อโลกยุคดิจิทัล ด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจของ SMEs และวิสาหกิจอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้เชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ นำไปสู่การสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการยกระดับและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข็งขันของผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ดีพร้อมได้มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้กระแสโลกใหม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจำเป็นต้องอาศัยการสร้างสมดุลระหว่างความสามารถในการปรับตัวของ SMEs พร้อมหาวิธีการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยการยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” (Wellness Go Up) เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงการตลาดดิจิทัลที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันได้ทันท้วงที โดยนำองค์ความรู้และทักษะด้านการตลาดออนไลน์ไปปรับใช้กับธุรกิจโดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ที่ตอบโจทย์พื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเป้าหมายการเดินทางที่มีนักท่องเที่ยวทั่วโลกให้ความสนใจ อธิบดีใบน้อยฯ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ดีพร้อมได้ต่อยอดการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผู้ประกอบการชุมชนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดดิจิทัล และเตรียมความพร้อมให้ทันต่อการแข่งขันสู่ตลาดแนวใหม่และตลาดสากลอย่างยั่งยืน โดยจะมีการจัดอบรมครั้งในต่อไปที่ฝั่งอ่าวไทย ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ครอบคลุมผู้ประกอบการทั่วประเทศไทย พร้อมเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ Wellness Go Up เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงการตลาดดิจิทัลที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันได้ทันท้วงที ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ก.ย. 2566
ขอเชิญชวนผู้ประกอบและผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมรับฟังหลักสูตรพิเศษ
กองโลจิสติกส์ ร่วมกับ งาน LogiMAT Intelligent Warehouse ขอเชิญชวนผู้ประกอบและผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมรับฟังหลักสูตรพิเศษ จาก ดร.กฤษฎ์ ฉันทจิรพร ผู้ทรงคุณวุฒิกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กับเนื้อหาอัพเดทล่าสุดเรื่อง AI และเชิญชมเทคโนโลยีในงาน LogiMAT Intelligent Warehouse งานแสดงสินค้าด้านอินทราโลจิสติกส์ หนึ่งเดียวในอาเซียน ระหว่างวันที่ 25–27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 อิมแพ็ค ฮอลล์ 5–6 กรุงเทพฯ พบกับเจ้าของสินค้าตัวจริง สาธิตระบบกันให้เห็นสดๆ ขอคำแนะนำแก้ไขปัญหาการบริหารคลังสินค้าแบบครบวงจร ลงทะเบียน จองที่นั่งเข้าฟังฟรีก่อนเต็ม ได้ที่
20 ก.ย. 2566
ขอเรียนเชิญเข้าร่วมงาน “สุขภาพ ดีพร้อม” DIPROM Wellness Market
ขอเรียนเชิญเข้าร่วมงาน “สุขภาพ ดีพร้อม” DIPROM Wellness Market ดำเนินการโดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 10.00-21.30 น. ณ ลาน ProMall โรบินสันไลฟ์สไตล์ ถลาง ภูเก็ต สนใจเข้าร่วมพิธีเปิด และเข้าร่วมกิจกรรมในงาน เวลา 11.00 น. สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่
20 ก.ย. 2566