หมวดหมู่
เปิดประสบการณ์การนำเข้า-ส่งออกสินค้า กับผู้เชี่ยวชาญตัวจริงเสียงจริง
หลักสูตร Step by step ครบเครื่องเรื่องควรรู้ นำเข้า+ส่งออก สำหรับ SMEs (Import-Export) รุ่นที่ 4 ขอเชิญ : ท่านผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมเรียนรู้เส้นทางสู่ความสำเร็จสำหรับการส่งออกของธุรกิจยุคใหม่ ด้วยการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จัดโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผ่านกิจกรรมการฝึกอบรมถ่ายทอดจากผู้มีประสบการณ์ ในด้านต่างๆ อาทิ การสร้างกลยุทธ์ในองค์กรด้วยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เอกสารที่เกี่ยวข้องเเละการเลือกเทอมการส่งมอบ การเลือกตลาดเเละเส้นทางการขนส่ง กฏหมายการขายสินค้า online การคำนวณต้นทุนในการส่งออกและการตีความพิกัด การขนส่งสินค้าผ่านแดน การฝากสินค้าไปขายต่างประเทศและการขนส่งสินค้ากลับคืน วันที่ 16-18 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00–16.00 น. ณ โรงแรม แคนตารี่ เบย์ จังหวัดระยอง เข้าร่วมอบรม ลงทะเบียนออนไลน์ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณวิศรุฒ และ คุณธีรศักดิ์ 02 020 4510 081 467 0209
20 มิ.ย. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่สำรวจอาคาร สอจ.ฉะเชิงเทรา พร้อมรับฟังการนำเสนอแผนคำของบประมาณ ประจำปี 2567 เพื่อพิจารณาก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่
จ.ฉะเชิงเทรา 16 มิถุนายน 2566 เวลา 11.00 น. - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารจากหน่วยงานส่วนกลาง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพร้อมทั้งสำรวจอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ในบริเวณพื้นที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา (สอจ.ฉะเชิงเทรา) โดยมีนายสมชาย เถื่อนสุวรรณ์ อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา (อสจ.ฉะเชิงเทรา) ให้การต้อนรับและนำเสนอรายละเอียดคำของบประมาณ ประจำปี 2567 เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงาน บ้านพักข้าราชการ และสิ่งก่อสร้างของ สอจ.แห่งใหม่ อสจ.ฉะเชิงเทรา ได้รายงานว่า ปัจจุบัน สอจ.ฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่เลขที่ 18 ถนนจุลละนันทน์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อสร้างเมื่อปี 2532 บนพื้นที่ประมาณ 135 ตารางวา เป็นอาคารสูง 3 ชั้น จอดรถได้ประมาณ 4-5 คัน โดยห่างออกไป 50 เมตร ได้รับอนุญาตจากจังหวัดให้ใช้พื้นที่สำหรับจอดรถของเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการได้อีกประมาณ 14 คัน ซึ่งบริเวณโดยรอบหน่วยงานเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการต่าง ๆ โรงพยาบาล และโรงเรียน ทำให้ในช่วงเวลาเร่งด่วน เช้า และเย็น จะพบปัญหาการจราจรติดขัด ประกอบกับพื้นที่จอดรถของผู้รับบริการมีน้อยทำให้ไม่สะดวกในการรับบริการ นอกจากนี้ พื้นที่ สอจ. ยังมีบ้านพักเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 หลัง พื้นที่ประมาณ 68 ตารางวา ซึ่งอยู่ห่างออกไปอีกประมาณ 5 นาที มีอายุมากกว่า 30 ปี ปัจจุบันมีความชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาและได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างอาคารบริเวณใกล้เคียง ส่งผลต่อโครงสร้างอาคารบ้านพัก ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้มารับบริการและการทำงานของเจ้าหน้าที่ สอจ.ฉะเชิงเทรา จึงได้จัดทำคำของบประมาณ ประจำปี 2567 เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงาน พร้อมบ้านพักข้าราชการ และสิ่งปลูกสร้าง งบประมาณ 47,055,300 บาท ในตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเดิมเป็นโรงเรียนบ้านบางไผ่ที่ปิดทำการแล้ว มีขนาดพื้นที่ 4-2-61 ไร่ หน้ากว้าง 35 เมตร ด้านหลัง 51 เมตร ด้านข้างยาว 130 เมตร และ 190 เมตร อยู่ห่างจาก สอจ.ฉะเชิงเทราปัจจุบัน ประมาณ 6.8 กิโลเมตร ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่สำรวจอาคาร สอจ.ฉะเชิงเทรา ปัจจุบัน พื้นที่จอดรถที่ได้รับความอนุเคราะห์จากจังหวัด บ้านพักเจ้าหน้าที่ และพื้นที่ตั้งของอาคารแห่งใหม่ในตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อประกอบการพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นในการขอย้ายที่ทำการแห่งใหม่ ทั้งในด้านสถานที่ตั้ง การเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานต่าง ๆ และความสะดวกของผู้ประกอบการที่เข้ารับบริการ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
19 มิ.ย. 2566
"รสอ.สุชาดา" ระดมขุนพลดีพร้อมเตรียมทำโครงการประจำปี 2568
กรุงเทพฯ 16 มิถุนายน 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมพิจารณา(ร่าง)ความเกี่ยวข้องภารกิจกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อยและเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมี คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามแนวทางของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่กำหนดให้หน่วยงานระดับกรมพิจารณาทบทวนความเกี่ยวข้องของภารกิจกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) และปัจจัยภายใต้ห่วงโซ่คุณค่า (Final value Chain) ฉบับแก้ไขปี 2568 ในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) กระบวนการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 2) บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานในการขับเคลื่อนตามแนวทางของ สศช. 3) การเกี่ยวข้องกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) และปัจจัยภายใต้ห่วงโซ่คุณค่า 4) การเสนอโครงการสำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และ 5) (ร่าง) โครงการสำคัญของ กสอ. เพื่อตอบโจทย์นโยบายรัฐบาล และนโยบาย MIND ของ อก. ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 มิ.ย. 2566
รองปลัดฯ ณัฏฐิญา นำทีม MIND เยี่ยมชุมชนตะเคียนเตี้ย หนึ่งในหมู่บ้านชุมชนดีพร้อมใกล้กรุง เด่นทั้งการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ของฝาก ของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์คุณภาพ
จ.ชลบุรี 15 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 น. - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) พร้อมด้วย นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) นางสาวอังศุมาลิน ฉัตรสุวรรณวารี อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี (อสจ.ชลบุรี) นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 และผู้บริหารจากหน่วยงานส่วนกลาง ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนตะเคียนเตี้ย โดยมี นางวันดี ประกอบธรรม ประธานชุมชนและผู้นำชุมชนตะเคียนเตี้ย ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม ณ ชุมชนตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง ชุมชนตะเคียนเตี้ย หนึ่งในหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (ชุมชนดีพร้อม) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยที่ผ่านมาได้รับการส่งเสริมจาก สอจ.ชลบุรี และ ศภ.9 กสอ. อย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเชื่อมโยงหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การออกแบบโลโก้สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น การพิมพ์ฉลากผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ โคโค่ อิโปโมอี้ โลชั่น โคโค่ อิโปโมอี้ ออยล์ ทรีตเม้นท์ และน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น 100% รวมทั้งได้เข้าร่วมโครงการชุมชนดีพร้อม เพื่อช่วยในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน แผนที่และกิจกรรมการท่องเที่ยว การบริหารจัดการชุมชนและการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ การเชื่อมโยงชุมชนจนเกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ ยังได้รับการพัฒนาในด้านการตลาดออนไลน์ เทคนิคการถ่ายรูปและวิดิโอ และสนับสนุนการสร้าง "แบรนด์ โคโค่คราฟ" การทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกมะพร้าว และการพัฒนาศักยภาพด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปัจจุบันสมาชิกมีการร่วมคิด ร่วมพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการสรรหากิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้กับผู้มาเยื่อน สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกกลุ่มมีอาชีพ มีรายได้ เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน "หมู่บ้านตะเคียนเตี้ย" เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่อนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม โดยพื้นที่บริเวณนี้อุดมสมบูรณ์มีน้ำตลอดปี ผู้คนจึงยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก วิถีชุมชนดำเนินมาอย่างเรียบง่าย ต่อมาได้มีการหันมาปลูกมะพร้าวกันมาขึ้นและยึดเป็นอาชีพหลักจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมะพร้าวได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อเขตเมืองขยายตัว เกิดโครงการอสังหาฯ ต่าง ๆ ชาวบ้านเริ่มขายที่แล้วไปอยู่ที่อื่น จนทำให้ผืนป่ามะพร้าวลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ชาวตะเคียนเตี้ยจึงเกิดความคิดที่จะอนุรักษ์รักษาป่ามะพร้าวที่ยังคงเหลืออยู่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้คู่ชุมชน โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอด สร้างสรรค์เป็นกิจกรรม และ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีมะพร้าวเป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงวิถีชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การทำกาแฟมะพร้าว จากกาแฟที่ใช้นมเป็นส่วนผสม ก็ดัดแปลงน้ำมะพร้าวให้กลายเป็นท๊อปปิ้งบนกาแฟได้อย่างสวยงาม อร่อย ลงตัว หรือ การปั่นจักรยานเที่ยวชมวิถีชาวสวนมะพร้าว การปลอกเปลือกมะพร้าวที่ยังใช้แรงงานคนอยู่ เป็นต้น ชุมชนตะเคียนเตี้ย จึงถือว่าเป็นชุมชนของคนรักษ์มะพร้าวอย่างแท้จริง โอกาสนี้ รปอ.ณัฏฐิญา ได้ให้เกียรติมอบใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นและครีมทาผิว ให้กับชุมชนตะเคียนเตี้ย รวมทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมกับทางชุมชนตะเคียนเตี้ย ได้แก่ การจัดทำกระเป๋าพิมพ์ภาพด้วยลายดอกไม้ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะเป็นผู้ออกแบบ ผลิต และสามารถนำกลับไปเป็นของที่ระลึกได้ทันที การจัดทำพวงมโหตรหอมการบูร สำหรับนำไปแขวนบริเวณบ้านเพื่อความสวยงามแถมยังส่งกลิ่นหอมสร้างบรรยากาศที่สดชื่นได้ตลอดวัน และการจัดทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ที่ทุกคนที่มาเยือนสามารถรังสรรค์ด้วยจินตนาการและฝีมือของตนเอง สร้างความประทับใจให้กับทุกท่านที่มาสัมผัสและร่วมเติมเต็มประสบการณ์ในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
19 มิ.ย. 2566
ดีพร้อม ผนึกกำลัง SME D Bank พัฒนาผู้ประกอบการสู่มิติการเงินอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 16 มิถุนายน 2566 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ให้การต้อนรับ นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาผู้ประกอบการและลูกค้าสัมพันธ์ ทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระราม 6 (DIPROM Headquarter) SME D Bank และ DIPROM ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมดี อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน” จึงได้ร่วมกันหารือแนวทางบูรณาการการทำงานและข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน โดยให้สอดรับกับนโยบาย MIND 4 มิติ ของกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจ มิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม มิติที่ 3 การรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก มิติที่ 4 การกระจายรายได้ให้กับประชาชนและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพื่อเป็นแรงในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ ชุมชนและสังคมของประเทศไทยต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 มิ.ย. 2566
“รสอ.วัชรุน” ติดตามความคืบหน้าการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ จ.ลำปาง
กรุงเทพฯ 16 มิถุนายน 2566 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ "อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปั้นแต่ง โตไว ด้วยดีพร้อม" ปี 2566 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) จังหวัดลำปาง พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันแจ้งรายงานความคืบหน้าของการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ "อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปั่นแต่งโตไว ด้วยดีพร้อม" ในส่วนต่างๆ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์การจัดงานในพื้นที่จังหวัด แผนผังและรายละเอียดการจัดบูธทั้ง 9 โซน ลำดับกำหนดการและการจัดการแสดงในพิธีเปิด พร้อมร่วมกันหารือรายละเอียดเพิ่มเติมภายในงาน อาทิ กิจกรรม Business Matching เพื่อกระตุ้นการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ การแสดงต้นแบบเครื่องจักรเพื่อการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อลงพื้นที่ติดตั้งและตกแต่งสถานที่ของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ กิจกรรม “อุตสาหกรรมแฟร์” ดังกล่าว จะถูกจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) จ.ลำปาง ระหว่างวันที่ 23-30 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 มิ.ย. 2566
รสอ.สุชาดา” นำทีมดีพร้อมเดินหน้าสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ
กรุงเทพฯ 16 มิถุนายน 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมชี้แจงการดำเนินการสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงแนวทางการดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 ของดีพร้อม ตามกรอบกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบายระดับชาติและแผนฯที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งระดับขององค์กรคุณธรรมออกเป็น 3 ระดับ คือ องค์กรส่งเสริมคุณธรรม องค์กรพัฒนาคุณธรรม และองค์กรคุณธรรมต้นแบบ พร้อมติดตามการดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรมตัวชี้วัด ทั้งในส่วนที่ดำเนินการแล้วเสร็จและส่วนที่ต้องปรับปรุงพัฒนา เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการประเมินองค์กรคุณธรรมให้เป็นไปตามที่กำหนด และยกระดับสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 มิ.ย. 2566
ข่าวดี สำหรับสถานประกอบการ ในพื้นที่ จ.อุบลฯ ศรีสะเกษ ยโสธรและ จ.อำนาจเจริญ
ขอเชิญผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ เสริมสร้างการปรับตัวธุรกิจให้ดีพร้อม ในด้านการบริหารจัดการ มาตรฐานหรือผลิตภาพ ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : 5.1-1 การปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โครงการที่ มีผู้เชี่ยวชาญช่วยพัฒนาสถานประกอบการ ให้มีศักภาพ ในด้านการบริหารจัดการ ด้านมาตรฐานและด้านผลิตภาพ โดยการดำเนินงานดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยปัญหา และแนะนำในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจในด้านอาหารยุค Next normal ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการให้แนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ ในด้านการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอาหารในยุค Next normal ปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินงานของธุรกิจอาหาร เพิ่มผลิตภาพในยุค Next normal ให้คำแนะนำในด้านการบริหารและลดต้นทุน รับสมัครวันนี้ - 24 มิถุนายน 2566 รับจำนวนจำกัด เพียง กิจการเท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 097 165 994 6 (คุณฤติมา)
19 มิ.ย. 2566
รสอ.สุชาดา" เข้าร่วมประชุม 8th APF Strategic Planning Meeting กับสมาชิก APF 15 ประเทศเอเชีย
กรุงเทพฯ 15 มิถุนายน 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมการประชุม 8th APF Strategic Planning Meeting โดยมี สมาชิกสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก หรือ The Asian Packaging Federation (APF) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เข้าร่วม ณ ห้อง Amber 1 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยการประชุม 8th APF Strategic Planning Meeting ครั้งนี้ ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม มีวัตถุประสงค์ เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิก APF จาก 15 ประเทศในเอเชียในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลสถานะสมาชิกในปัจจุบัน ผลสรุปภาพรวมของงาน AsiaStar 2022 และแผนการจัดงาน AsiaStar 2023 ที่กำลังจะจัดขึ้นช่วงปลายปีที่ประเทศฟิลิปปินส์โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างข้อความเพื่อประชาสัมพันธ์ ตารางรายงานสถานภาพทางการเงินของ APF และ แผนตารางการประชุมต่างๆ ในปีถัดไป อาทิ การประชุม BOA ครั้งที่ 73 การประชุม GA ครั้งที่ 48 และ การประชุม strategic planning meeting ครั้งที่ 9 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 มิ.ย. 2566
ขอเชิญชวนวิสาหกิจที่สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการ (การเพิ่มผลิตภาพ) ลดต้นทุน ลดของเสีย ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ พัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต
ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการ : 8.1-1 การเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ดำเนินการโดย : ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติผู้สมัคร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนนิติบุคคลหรือทะเบียนพาณิชย์ในภาคอุตสาหกรรม ที่มีผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุหรือสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ เอกสารที่ใช้ประกอบการสมัคร ใบทะเบียนพาณิชย์ รูปถ่ายผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุที่ให้ความสนใจ ตั้งแต่วันนี้ - 15 มิถุนายน 2566 จำนวน 6 กิจการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม นายอัษฎาวุธ 086 391 8600
16 มิ.ย. 2566