หมวดหมู่
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ปรับกลยุทธ์ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ปรับกลยุทธ์ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน ดำเนินการโดย : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม SME สาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป สาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป สาขาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ หรืออื่นๆ สิ่งที่จะได้รับ แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีดิจิทัล ปรับกลยุทธ์ธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า คู่มือการประเมินสมรรถนะสถานประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่สถานประกอบการ การรับสมัครเข้าร่วมโดยกรอกใบสมัคร สมัครเข้าระบบของ กรมส่งเสริม Login เข้าระบบของกรมส่งเสริม สมัครเข้าร่วม กิจกรรมปรับกลยุทธ์ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จำนวน 15 กิจการ เท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิญญู ปรอยกระโทก (08 6387 7809) นายธีระเดช ศักดิ์พิสุทธิพงศ์ (09 9369 6956) 02 547 5955
22 ม.ค. 2568
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ขององค์กรด้วยตนเอง
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมกิจกรรม การประเมินศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ขององค์กรด้วยตนเอง Self-Assessment of Logistics Performance ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับ? บุคลากรภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการที่มีกระบวนการผลิต มีความต้องการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กร ต้องการเตรียมความพร้อมในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประโยชน์ที่จะได้รับ ลดต้นทุนการจัดการโลจิสติกส์ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กร เตรียมความพร้อมในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัดเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณนัฐหทัย สมงาม 09 6953 2654 training@tni.ac.th
22 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" บูรณาการ DIPROM Center 5 เดินหน้า "สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย ด้วยหัวและใจ" ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
จ.ขอนแก่น 9 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ตรวจเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 (ศภ.5 กสอ.) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน โดยมี นางสาวจินดา ธนาดํารงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ถนนมิตรภาพ ตำบลสำราญ อำเภอเมือง การลงพื้นที่ดังกล่าว อสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้มอบแนวทางการดำเนินงานของดีพร้อม ด้วยการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานในสังกัด อก. ในเชิงพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยอาศัยกลไกของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ร่วมกับ ดีพร้อม ในการร่วมกันยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ ซึ่งมีเป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม 2) ยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน 3) เร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ 4) เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ และ 5) สนับสนุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ด้วยการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และให้ข้อมูลการส่งเสริมธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด BCG/ Net Zero รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM ITC) ด้วยการบูรณาการการใช้เครื่องจักรกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่ พร้อมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการ การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยความคิดสร้างสรรค์/อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ หรือ Soft Power การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน การจัดทำแผนธุรกิจ การใช้ประโยชน์จากอาคาร การปรับปรุงพื้นที่ให้น่าอยู่ การปล่อยสินเชื่อ DIPROM PAY ช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ การระบบ Ecosystem บูรณาการข้อมูลในพื้นที่ การส่งเสริมพัฒนาด้านวัสดุเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การส่งเสริมพัฒนาวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติ รวมถึงการทบทวนการเชื่อมโยงเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่อีกด้วย นอกจากนี้ ศภ.5 กสอ. ได้นำเสนอบทบาทและภารกิจของ ศภ.5 กสอ. พื้นที่รับผิดชอบ แผนและผลการดำเนินงาน พ.ศ. 2568 รวมถึงการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย การปล่อยสินเชื่อ การบริหารสินเชื่อ งานนิติกรรม แนวทางการดำเนินงานในอนาคต (ลด NPL) เป็นต้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนตามนโยบายดังกล่าวข้างต้นต่อไป
22 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" ดันร้านอาหารเชฟชุมชน ตอบโจทย์ซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหาร ด้วยการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
จ.ขอนแก่น 9 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวจินดา ธนาดํารงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ โรงแรมเลอ แคสเซีย จังหวัดขอนแก่น การฝึกอบรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร ซึ่งดีพร้อมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการและเลขานุการร่วม คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ จึงได้กำหนดแนวทางด้วยการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และ ต่อยอด โดยการใช้ “ความคิดสร้างสรรค์” และ “เทคโนโลยี” เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ 2) โน้มน้าว โดยการจูงใจให้เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้น เช่น Storytelling การเล่าเรื่องราวที่มีคุณค่า มีความหมาย หรือมีนัยยะสำคัญ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ หรือสิ่งต่าง ๆ และ 3) เผยแพร่ โดยการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือในการเผยแพร่ เช่น Influencer ซีรีส์ ละครย้อนยุค เป็นต้น จึงเป็นที่มาของ “การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ที่จะยกระดับศักยภาพพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบที่สามารถนำอัตลักษณ์หรือวัตถุดิบของชุมชนมาประยุกต์สร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอดผลิตภัณฑ์อาหาร สามารถเชื่อมโยงธุรกิจ รวมถึงเผยแพร่อัตลักษณ์วิถีชุมชน อันจะเป็นการสร้างแรงดึงดูดและกระตุ้นการท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างชาติ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ หลักสูตรในการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นการพัฒนาเมนู Amazing Thai Taste สู่เชิงพาณิชย์และการบริหารจัดการร้านอาหาร ประกอบด้วยองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) ด้านการยืดอายุและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 2) ด้านกฏ ระเบียบ และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ และ 4) ด้านการบริหารจัดการร้านอาหาร โดยมี คณะวิทยากรสถาบันอาหารและผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการให้ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
22 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" ร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินงานวันสตรีสากล 2568 ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 8 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย (Chief Gender Officer - CGO) ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินงานวันสตรีสากล ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมดรุณวิถี กรมกิจการเด็กและเยาวชน ชั้น 11 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำหรับการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานวันสตรีสากล จัดขึ้นเพื่อร่วมกันพิจารณาการรับรองผลรางวัลการคัดเลือกสตรี บุคคล และหน่วยงานองค์กรดีเด่นในสาขาต่าง ๆ เพื่อประกาศเกียรติคุณเนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2568 จำนวน 16 สาขา 79 รางวัล และเตรียมการจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี 2568 ซึ่งปีนี้กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 6 มีนาคม 2568 โดยวันสตรีสากลเป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย ทั้งนี้ การร่วมบูรณาการดังกล่าวของดีพร้อมสอดรับกับตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
22 ม.ค. 2568
“ดีพร้อม” เดินหน้าปฏิรูปอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “รมว.เอกนัฏ” อัพสกิลบุคลากรดีพร้อม ประเมินสถานประกอบการ ต่อยอดธุรกิจไทยอย่างยั่งยืน
จ.ปทุมธานี 7 มกราคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การใช้งาน Thailand i4.0 CheckUp” ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องบุษกร ชั้น 1 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในปัจจุบันกฎกติกาการค้าโลก รวมไปถึงข้อกีดกันการค้าต่าง ๆ และมาตรฐานด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มงวด ตลอดจนความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การค้าในตลาดโลกเกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ผู้ประกอบการที่อยู่รอดได้และเป็นผู้ชนะในเกมนี้จะต้องมีเทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตชั้นสูง มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และมีวัสดุเหลือทิ้งหรือขยะออกสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สอดรับกับนโยบาย กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินหน้าปฏิรูปอุตสาหกรรม โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและบิ๊กดาต้าประสานเข้ากับเทคโนโลยีเอไอ เพื่อปรับปรุงระบบการผลิตสามารถลดต้นทุนลงให้ได้มากที่สุด รวมทั้งสามารถพยากรณ์ทิศทางความต้องการของตลาดและแนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต โดยได้มอบหมาย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถพัฒนาและแข่งขันในโลกยุคปัจจุบันได้ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ และการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลมาใช้ในการกำหนดทิศทางในอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด อย่างไรก็ตาม การจะยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มจากการประเมินความพร้อมของธุรกิจตัวเองอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถวางกลยุทธ์ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร การลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือการพัฒนาทักษะของบุคลากรให้ตอบโจทย์อนาคต นอกจากนี้ การทราบถึงระดับความพร้อมขององค์กรในปัจจุบันยังช่วยลดความเสี่ยงในการเผชิญกับความล้มเหลว และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง องค์กรที่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นใจจะมีความได้เปรียบ และสามารถเดินหน้าสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายสุรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ภายใต้การนำของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ขานรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และมีบทบาทในการสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เล็งเห็นความสำคัญของการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมด้วยดิจิทัลและเป็นมาตรฐานกลางของประเทศในการชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย ผ่านการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การใช้งาน Thailand i4.0 CheckUp” ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รับความรู้ความเข้าใจในการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมของประเทศไทย สามารถพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์และประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ รวมถึงการนำทักษะความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการพัฒนาสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ประกอบการยกระดับสู่อุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ สำหรับหัวข้อหลักในหลักสูตรดังกล่าว ประกอบด้วย 1) ความหมายและความสำคัญของภาคอุตสาหกรรม 2) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม และ Industry Maturity Index ของประเทศไทย และ 3) นิยามและความหมายของมิติย่อย 1 – 17 ในระดับความพร้อม 1 ถึง 6 เพื่อทราบถึงคุณลักษณะของสถานประกอบการในระดับความพร้อมต่าง ๆ “ในการสัมมนาฯ ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ดีพร้อมให้มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมของประเทศไทย สามารถพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์และประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ รวมถึงการนำทักษะความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป” นายสุรพล กล่าวทิ้งท้าย
22 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" เดินหน้ากิจกรรม Train The Trainer ปั้นผู้สอน ส่งต่อทักษะเชฟอาหารไทยมืออาชีพสู่ชุมชน ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 6 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเป็นครูผู้สอน (Train The Trainer) รุ่น 3 - 5 ภายใต้โครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวรายงาน ณ ห้อง Grand Ballroom ช้ัน 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ครูผู้สอน ที่จะมีหน้าที่ไปพัฒนาทักษะให้กับผู้เข้าอบรมหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ โดยแบ่งการจัดอบรมเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 18 - 22 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา และช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 6 - 10 มกราคม 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเป็นผู้สอนอย่างมืออาชีพ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ การประเมินผล และการใช้เครื่องมือเพื่อการบริหารจัดการการอบรม ทั้งนี้ หลักสูตรการฝึกอบรมจะเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจและทักษะในการสื่อสารที่ดี อีกทั้งเสริมสร้างแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นการสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมครูผู้สอนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนได้ไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องในสาขาอาชีพอีกด้วย
22 ม.ค. 2568
กระทรวงอุตสาหกรรม จัดพิธีทำบุญตักบาตรรับปีใหม่ 2568 เพื่อความเป็นสิริมงคล
กรุงเทพฯ 6 มกราคม 2568 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง และถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์ จำนวน 18 รูป เนื่องในโอกาสวันขึ้นใหม่ พ.ศ. 2568 ณ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมสักการะพระนารายณ์ที่ประดิษฐานประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย
22 ม.ค. 2568
ปลัดฯ ณัฐพล นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2568
กรุงเทพฯ 1 มกราคม 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2568 เข้าร่วมด้วย ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
22 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" จับมือ "TAPMA" ผลักดันผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" ยกระดับภาคอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน
กรุงเทพฯ 27 ธันวาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมหารือกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย นำโดย นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย นายโกวิทย์ ว่องกลกิจศิลป์ อุปนายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย นางสาวอนุษฐา เชาว์วิศิษฐ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ดร.อัญชนา ส่วนมนทิระ ผู้จัดการสายงานธุรกิจ นางสาวมณฤนัญ เมธิธนศิล ผู้จัดการสายงานบริหาร พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมกันหารือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาป (ICE) และผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตลอดห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ทั้งนี้ จะร่วมมือกันสนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องด้วยการหาโอกาสใหม่ ๆ จากฐานอุตสาหกรรมเดิม และต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (S-Curve) เช่น เครื่องมือแพทย์ ระบบราง หรืออากาศยาน รวมทั้ง การสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการในกลุ่ม BEV เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงนโยบาย Last man standing ที่จะยังสนับสนุนการผลิตรถยนต์สันดาปควบคู่ยานยนต์ไฟฟ้า ร่วมกับการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในภาพรวม เพื่อกระตุ้นการผลิตภายในประเทศและสร้างความสามารถในการแข่งขัน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อผลักดันการต่อยอดนโยบายดังกล่าวต่อไป ในส่วนของสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) ได้นำเสนอการจัดงานแสดงสินค้าชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ไทย หรือ TAPA 2025 โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 5 เมษายน 2568 ซึ่งจะดำเนินการจัดกิจกรรมร่วมกับดีพร้อม เช่น การร่วมออกบูธนิทรรศการ คลินิกอุตสาหกรรมให้คำปรึกษาแนะนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม การจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบในกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการและผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย ให้ก้าวข้ามความท้าทายและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันสู่สากลอย่างแท้จริง
22 ม.ค. 2568