หมวดหมู่
เชิญสมัครเข้าร่วมอบรมหลักสูตร นักนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (DIPROM AUTOMOTIVE NEXT-GEN)
เชิญเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร นักนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (DIPROM AUTOMOTIVE NEXT-GEN) ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ท่านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างพื้นฐาน สถานีชาร์จ ประเภทของยานยนต์ไฟฟ้า การแพ็คแบตเตอร์รี่ และการต่อวงจร BMS เป็นต้น ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขต ขอนแก่น รุ่นที่ 1 : 20-24 ธันวาคม 2567 รุ่นที่ 2 : 3-7 กุมภาพันธ์ 2568 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ SMEs, ทายาท SMEs, พนักงานของ SMEs, นักศึกษาชั้นปที่ 3-4, ผู้ที่พ่งจบการศึกษา, หรือบุคคลซึ่งสนใจในยานยนต์ไฟฟ้า จำกัดรุ่นละ 20 คนเท่านั้น ผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณวณิชยา จันทร์โสม (ตุ๊กอู) 08 4036 8591 คุณสุชญา คุณารัตน์ (มิน) 06 3546 8664
02 ธ.ค. 2567
"ปลัดณัฐพล" นำทีมดีพร้อมหารือแนวทางผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ สร้างพลังพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาอาหารและแฟชั่น
กรุงเทพฯ 19 พฤศจิกายน 2567 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาอาหารและแฟชั่น ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว ดีพร้อมได้นำเสนอร่างแผนการดำเนินงานตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผนวกกับการผลักดันนโยบายการเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ ดีพร้อมจึงเร่งขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาแฟชั่น ประกอบด้วย 1) การพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่นให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ในอุตสาหกรรมแฟชั่น 4 สาขา ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับไทย หัตถอุตสาหกรรมไทย เครื่องสำอางและความงามไทย 2) การส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล (Fashion Identity) ด้วยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่นให้มีองค์ความรู้และสามารถนำอัตลักษณ์ที่มีเพิ่มมูลค่าให้แบรนด์สินค้า และยกระดับผลิตภัณฑ์สู่การเป็น Hero Brand และ 3) การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างประเทศ ระหว่างช่างฝีมือ นักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้ง ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นสายมูมงคลเชื่อมโยงซอฟต์พาวเวอร์ไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการผลิต ผ่านความเชื่อ ความศรัทธา ศาสตร์แห่งความมงคลที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร ประกอบไปด้วย 1) การยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพอาหาร พร้อมได้ใบรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพผู้ปรุงอาหารมืออาชีพ (เชฟ) ได้ 2) การพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ด้วยการคัดเลือกชุมชนเพื่อนำมาเสริมองค์ความรู้สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อให้มีศักยภาพสู่การเป็น 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ต่อไปในอนาคต 3) การยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ และส่งเสริมให้ชุมชนใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าให้แก่อาหารชุมชน รวมถึงส่งเสริมการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรแต่ละภูมิภาคในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า และ 4) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพธุรกิจอาหาร ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล
28 พ.ย. 2567
"ดีพร้อม" เผยกลไกการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมตามเทรนด์ และทิศทางของโลกผ่านการส่งเสริม พัฒนา และเชื่อมโยงด้วยกิจกรรมดีพร้อม เร่งประเมินผลงานและเร่งเครื่องโครงการปฏิรูปอุตสาหกรรม ตามนโยบาย "รมต.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 18 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมวิพากษ์รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการของ กสอ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ร่วมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และระบบออนไลน์ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการรายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการต่อคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดย ทีมงานบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อให้รับทราบรายงานและนำไปปรับปรุง พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางเตรียมพร้อมในการปฏิบัติงานในอนาคตต่อไป ซึ่งในที่ประชุมได้มีการรายงานผลการดำเนินงานของดีพร้อมตามแนวนโยบายปี 2567 ประกอบด้วย 1) ด้านยกระดับศักยภาพภาคอุตสาหกรรม เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป 2) ด้านการส่งเสริมมูลค่าเพิ่มและโอกาสด้านการตลาด ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจ การนำ BCG Model มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ และ 3) ด้านการพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ทั้งนี้ ดีพร้อมมีแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ อาทิ 1) Digital Transformation ในการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก เช่น การนำ AI หรือ IoT เข้ามาช่วยปรับกระบวนการทำงาน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจให้กับเอสเอ็มอี 2) BCG Model ด้วยส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากความหลากหลายทางชีวภาพ และเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรและการหมุนเวียนนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากของเสียด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล พร้อมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถสร้างโอกาสในการจำหน่ายสินค้ารักษ์โลกในงานต่าง ๆ 3) Aging society ด้วยการเชื่อมโยงกับโครงการต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการรับรองมาตรฐานฮาลาล การยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม และการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์ 4) Soft power เป็นกลไกการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในด้านอาหารและแฟชั่น ตามเทรนด์ และทิศทางของโลกผ่านการส่งเสริม พัฒนา และเชื่อมโยงด้วยโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของดีพร้อม 5) Defence Industry มีการกำหนดผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่มีศักยภาพเบื้องต้นนำร่อง 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ยานพาหนะรบ การต่อเรือ อากาศยานไร้คนขับ อาวุธและปืนสำหรับป้องกันประเทศ รวมถึงอุปกรณ์กีฬา 6) Economic Corridor เพื่อเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค สร้างงานยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน 7) การส่งเสริมศักยภาพชุมชน โดยการบูรณาการทำงานร่วมกันกับภาคเอกชนด้าน S-Curve เพื่อผลักดันให้ธุรกิจและชุมชนเติบโตไปด้วยกัน 8) การเข้าถึงแหล่งทุนด้วยการขยายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงส่งเสริมผลักดันให้เอสเอ็มอีทำธุรกรรมการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นการสร้างข้อมูลดิจิทัล นอกจากนี้ ได้มีการเสนอข้อคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงาน อาทิ การคัดกรองและคัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ ให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดได้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ และป้องกันไม่ให้เกิดการพัฒนาทับซ้อน การนำอุตสาหกรรมเป้าหมายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานในโครงการ เช่น เกษตรอุตสาหกรรม เศรษฐกิจสูงวัย BCG Model การปรับตัวชี้วัดหลักให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรม การสนับสนุนการให้ผู้ประกอบการทำแผนธุรกิจ โดยการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดบูรณาการข้อมูล รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม และกระบวนการทำงานร่วมกัน อีกทั้ง ยังได้จัดทำคู่มือแนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการของหน่วยงานสำหรับบุคลากรของดีพร้อมด้ว
28 พ.ย. 2567
“อธิบดีดีพร้อม” รับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 ชู DIPROM BCG นโยบายสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่้ป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของ "รมต.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 19 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม The 4th International Conference on Environment, Livelihood, and Servicing ประจำปี 2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ทรงเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทรงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Sustainable Development through the Initiatives of the Chaipattana Foundation : Safeguarding Against Global Changes” ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” โดยมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ดำเนินการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชู DIPROM BCG เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม The 4th International Conference on Environment, Livelihood, and Servicing ประจำปี 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การจัดการน้ำเสียด้วยวิธีทางธรรมชาติตามแนวพระราชดำริ การรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเปิดโอกาสให้แก่นักวิจัยและนักศึกษาได้แสดงผลงานวิจัย สร้างเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม โดยในการประชุมครั้งนี้ จะมีหัวข้อการประชุมใน 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการปรับตัวของทรัพยากรธรรมชาติ การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติและมลพิษทางธรรมชาติ มาตรการลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์และการปรับตัวตามสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องจากนานาประเทศ อาทิ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน อเมริกา ออสเตรีย เครือรัฐออสเตรเลีย แคนนาดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว
28 พ.ย. 2567
เชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตร ติดอาวุธทางความคิด พิชิตธุรกิจใหม่ DIPROM CREATIVE & INNOVATION
เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม หลักสูตร ติดอาวุธทางความคิด พิชิตธุรกิจใหม่ DIPROM CREATIVE & INNOVATION ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : เร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เหมาะสำหรับ ผู้มีศักยภาพที่สนใจทำธุรกิจ อาทิ ข้าราชการ พนักงาน ผู้ประกอบการวิชาชีพอิสระ มีสัญชาติไทย อายุระหว่าง 20-65 ปี ทายาทกิจการที่เตรียมตัวจัดตั้งธุรกิจใหม่ ผู้ประกอบการใหม่ ดำเนินธุรกิจไม่เกิน 3 ปี โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงดังนี้ ฝึกอบรมวันที่ 23-25 ธันวาคม 2567 ฝึกอบรม 6-7 มกราคม 2568 ศึกษาดูงาน เสริมแรงบันดาลใจ พร้อมคัดเลือกผู้ประกอบการ เข้าสู่กิจกรรม กระตุ้นตลาดออนไลน์ รับสมัครแล้ว วันนี้ - 20 ธันวาคม 2567 จำกัดเพียง 35 ที่นั่งเท่านั้น ฟรีตลอดหลักสูตร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณสมเกียติ จันทร์เพ็ญมงคล นักวิชาการอุตสาหกรรม 08 6246 1388 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม https://www.youtube.com/@DIPROMCenter7 ipc7.dip.go.th/th 045 214 316
27 พ.ย. 2567
“ดีพร้อม” เปิดบ้านต้อนรับหน่วยงานพันธมิตร สานต่อการพัฒนาเครือข่ายการส่งเสริมผู้ประกอบการไทย-ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยุคใหม่ ผลักดันเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นโตอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 19 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมการประชุมหารือและให้การต้อนรับ นายโนริอาอากิ โอกาวะ (Mr. Noriaki Okawa) ในการเข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo SME Support Center Japan) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo SME Support Center Japan) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) และได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ระหว่าง ดีพร้อม และศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ดีพร้อมและศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของทั้งสองประเทศ เช่น การแลกเปลี่ยนบุคลากร การจัดสัมมนาเชิงวิชาการ งานนิทรรศการการค้าและการลงทุน กิจกรรมการนำเสนอและจับคู่เชิงธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเป้าหมายต่าง ๆ ตลอดจนการประชุมหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานงานร่วมกันระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ ได้มีการพูดคุยสรุปผลเกี่ยวกับการดำเนินงานร่วมกันของทั้งสองหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือที่ผ่านมาและก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 ในปีปัจจุบัน ตลอดจนหารือเกี่ยวกับแนวทางการวางแผนการทำงานของทั้งสองหน่วยงานประจำปีงบประมาณใหม่ของประเทศญี่ปุ่น และความเชื่อมโยงกับปีงบประมาณใหม่ของประเทศไทย เพื่อให้เกิดแนวทางการบูรณาการไปสู่ภารกิจส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของทั้งสองประเทศ โดยในช่วงท้าย นายโนริอาอากิ โอกาวะ (Mr. Noriaki Okawa) เลขาธิการศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo SME Support Center Japan) ได้แสดงความขอบคุณในการเป็นพันธมิตรที่ดีตลอดมาของดีพร้อม และมีความยินดีที่จะร่วมมือและคอยสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ โดยหวังว่าจะเป็นการสานต่อภารกิจที่สำคัญในการดูแล ส่งเสริม พัฒนาผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ ตามที่ทั้งสองหน่วยงานมีความตั้งใจจะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่ และทำให้เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นได้เติบโตควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืนต่อไป
27 พ.ย. 2567
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม MDICP Step Up การพัฒนาการจัดการธุรกิจเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม MDICP Step Up การพัฒนาการจัดการธุรกิจเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterpris) ภาคการผลิตและบริการ ที่อยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สมุทรปราการ พบกับกิจกรรมดังต่อไปนี้ ได้รับการวินิจฉัยสถานประกอบการ เพื่อกำหนด Problem Statement และ Positioning ของกิจการ ได้รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึก โดยมีผู้เชี่ยวชาญประกบคู่แบบ 1 on 1 (สามารถเลือกได้ 2 แผนงานจากทั้งหมด 5 แผนงาน) (10 Man-days) ได้เข้าร่วมงาน Executive Leadership & Networking Program การพัฒนาศักยภาพของผู้นำและการสร้างเครือข่าย ได้รับการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการจัดทำ Business Plan ให้ตอบโจทย์บริบทของโลกยุคใหม่ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 ธันวาคม 2567 ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด 15 กิจการเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณกาญจนา 08 8636 5693
26 พ.ย. 2567
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม MDICP Step Out กิจกรรมการต่อยอดการพัฒนาการจัดการธุรกิจเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม MDICP Step Out การต่อยอดการพัฒนาการจัดการธุรกิจเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium Enterprise) ภาคการผลิตและบริการ อยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สมุทรปราการ พบกับกิจกรรมดังต่อไปนี้ Shindan วินิจฉัยสถานประกอบการเพื่อกำหนด Problem Statement & Positioning ของกิจการ Consulting ปรึกษาแนะนำเชิงลึก แบบ 1 on 1 (สามารถเลือกได้ 3 แผนงานจากทั้งหมด 8 แผนงาน) (15 Man-days) Executive Leadership & Networking Program Business Matching Business Planing การจัดทำ Business Plan ให้ตอบโจทย์บริบทของโลกยุคใหม่ สมัครได้ตั้งแต่ วันนี้ - 15 ธ.ค. 2567 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด 10 กิจการเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณกาญจนา 08 8636 5693
26 พ.ย. 2567
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม การส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน
ขอเชิญชวน สถานประกอบการ ภาคการผลิตเข้าร่วม กิจกรรม การส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : เสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 พื้นที่ : ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว จำนวนกิจกรรม : 10-11 manday วินิจฉัยสถานประกอบการ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำแนะนำเชิงลึก ระยะเวลาดำเนินการ : ตั้งแต่เดือนธันวาคม 67 - พฤษภาคม 68 ผลลัพธ์ : เพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุนโลจิสติกส์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 รับจำนวนจำกัด 20 สถานประกอบการ สมัครฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (โครงการจากภาครัฐ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 67 หมู่ที่ 1 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี นางสาวเรณู แซ่เตียว 09 4481 3444
25 พ.ย. 2567
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
สมัครเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : ยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและแปรรูปภาคอุตสาหกรรมเกษตรด้วยเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงที่เหมาะสมกับกิจการ เช่น เทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต เครื่องจักร ระบบเก็บข้อมูลและควบคุมการผลิต แนวทางการลดการสูญเปล่า กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้านเกษตรแปรรูป พื้นที่ดำเนินกิจกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี การดำเนินกิจกรรมในโครงการ รับสมัครคัดเลือกและจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนา พัฒนาและออกแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกิจการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการ นำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้พร้อมทดสอบ จัดทำคู่มือ แนวทางการขยายผล และสรุปข้อมูล รับจำนวนจำกัด สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 12 ธันวาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณสราวุธ (บิ๊ก) 08 7308 8881
25 พ.ย. 2567