หมวดหมู่
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม DIProm Creative Product
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม DIProm Creative Product ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โอกาสพิเศษ สำหรับผู้ประกอบการสิ่งทอและแฟชั่นรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพเสริมสร้างธุรกิจและเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ของคุณไม่ว่าคุณจะต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม โครงการนี้คือโอกาสสำหรับคุณ! พบกับทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะมอบคำแนะนำเฉพาะด้าน ให้คุณพร้อมสู้ในตลาดสิ่งทอและแฟชั่น พัฒนาสินค้าให้โดดเด่น เสริมความเป็นเอกลักษณ์ให้แบรนด์ เจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ คุณสมบัติ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs), OTOP (จดทะเบียนนิติบุคคล หรือทะเบียนพาณิชย์) ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ 4 ครั้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม ให้คำแนะนำด้านการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย งบสนับสนุนการจัดทำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึง 25 พฤศจิกายน 2567 ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณปริทัศน์ เชื้อประทุม 08 2151 9973
14 พ.ย. 2567
เชิญเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการเกษตรแปรรูปที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรอุตสาหกรรม สมัครเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : ยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป ด้านอาหารแปรรูป ผลไม้แปรรูป สมุนไพรแปรรูป ประโยชน์การเข้าร่วมโครงการ สำรวจ วิเคราะห์ประเมินวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ ออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ณ สถานประกอบการ ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูง ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ นำเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ รับสมัครแล้ววันนี้ รับจำนวนจำกัดเพียง 3 กิจการเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 09 2259 7605 (คุณสุมิตร) ipc7.dip.go.th
13 พ.ย. 2567
"Made by Thais" รมต.เอกนัฏ ชี้ทิศทางการพัฒนา SMEs ให้ดีพร้อม สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน ยกระดับวิสาหกิจไทยสู่เวทีการแข่งขันระดับโลก
กรุงเทพฯ 7 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ ”ทิศทางการพัฒนา SMEs ให้ดีพร้อม“ พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย คณะผู้บริหารสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” มุ่ง “เซฟ” SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน ร่วมกับสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยผ่าน 5 แนวทาง ดังนี้ 1) ปกป้อง SME ไทยจากคลื่นการลงทุนของบริษัทข้ามชาติและการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ 2) ยกระดับขีดความสามารถของ SME ไทยให้สามารถแข่งขันได้และทันต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3) ริเริ่มนิคมอุตสาหกรรม SME 4) ผลักดันการขับเคลื่อนมาตรการ “Made by Thais” และ “SME GP” และ 5) จัดตั้ง SME War Room เพื่อช่วย SME ไทยแก้ปัญหาให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัด และความท้าทายต่าง ๆ เพื่อเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้จากการส่งออก การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และพัฒนาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ การส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์สู่ยานยนต์แห่งอนาคต รวมถึงการยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุน Soft Power ของประเทศ จะเป็นส่วนสำคัญในการเร่งให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและพัฒนาให้เป็นผู้เล่นสำคัญในเวทีเศรษฐกิจโลกต่อไป ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของ SME ในฐานะฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทย จึงได้มีการกำหนดนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” เพื่อมุ่งเน้นการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ “สู้” เพื่อจัดการกากอุตสาหกรรมที่เป็นพิษ “เซฟ” เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย และ “สร้าง” เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้นโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ฯ” กระทรวงอุตสาหกรรมจะเดินหน้าเซฟ SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากลและเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมกับสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยที่ได้รวบรวมผู้ประกอบการขนาดย่อมในการขับเคลื่อนให้เป็นผู้ประกอบการกลางและขนาดใหญ่ เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ปกป้อง SME ไทยจากคลื่นการลงทุนของบริษัทข้ามชาติและการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ โดยการพิจารณากำหนด หรือ ปรับปรุง มาตรการ กฎระเบียบ และสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องให้มีความครอบคลุม สร้างระบบนิเวศการแข่งขันที่มีความเท่าเทียม โดยเฉพาะการตรวจบังคับด้านมาตรฐานสินค้า และสร้างความเท่าเทียมด้านภาษีระหว่างร้านค้าที่มีหน้าร้านในไทย ผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในไทยและผู้ประกอบการออนไลน์ต่างประเทศ 2) ยกระดับขีดความสามารถของ SME ไทยให้สามารถแข่งขันได้และทันต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านกลไกการส่งเสริมของกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานพันธมิตร โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ SME ไทยให้สามารถแข่งขันได้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานระดับกระทรวงและกรมที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนร่วมกัน 3) ริเริ่มนิคมอุตสาหกรรม SME เพื่อสนับสนุนการสร้างห่วงโซ่อุปทาน 4) ผลักดันการขับเคลื่อนมาตรการ “Made by Thais” และ “SME GP” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเลือกผลิตภัณฑ์ของ SME ไทยในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตลอดจนการอุปโภค บริโภคทั่วไป และ 5) จัดตั้ง SME War Room ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนกระบวนการยกระดับขีดความสามารถ แก้ไขปัญหา และสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันให้กับ SME ทั้งระบบ “ผมขอยืนยันว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการยกระดับ SME ไทยสู่เวทีการแข่งขันระดับโลก ผ่านการผลักดันนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ฯ” และกลไกการดำเนินงานสำคัญตามที่ได้กล่าวไป กระทรวงอุตสาหกรรมมองเห็นอนาคตที่ SME ไทยจะเป็นผู้นำในการสร้างนวัตกรรม เป็นต้นแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบกับความร่วมมือ และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ และภาคเอกชน จะทำให้ SME ไทยได้รับการยกระดับให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัด และความท้าทายต่าง ๆ เพื่อเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายเอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย
12 พ.ย. 2567
"รมต. เอกนัฏ" หนุน คพอ.ดีพร้อม เปิดหลักสูตร 5 Module ใหม่ ขยายรุ่น ครอบคลุมทั่วไทย ยึดโยงเครือข่าย Smart SMEs 13,000 ราย บริหารจัดการทุกมิติ เสริมพลังผู้นำดีพร้อม
กรุงเทพฯ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ผู้ประกอบการที่ผ่านหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) เข้าพบ นำโดยนายณัฐพล แสงฟ้า ประธาน คพอ. เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม” โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม เข้าร่วมหารือการขับเคลื่อนเครือข่าย คพอ.ดีพร้อม ณ อาคารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต หลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมของดีพร้อม เริ่มตั้งปี 2523 เป็นระยะเวลากว่า 44 ปี จำนวน 412 รุ่น มีผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ ทายาทธุรกิจ กว่า 13,000 ราย ที่ผ่านการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการทั่วประเทศให้มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกด้าน พร้อมเชื่อมโยงเครือข่าย แลกเปลี่ยนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ ทางผู้ประกอบการมีความต้องการให้เพิ่มหลักสูตรมากขึ้นจาก 12 รุ่นเป็น 20 รุ่น เพื่อพัฒนา SME ให้เป็น Smart SME และยกระดับธุรกิจให้เติบโต เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย มากยิ่งขึ้น โดยดีพร้อมจะเพิ่มหลักสูตรให้รองรับความต้องการของผู้ประกอบการและปรับหลักสูตรตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม” เน้นการบริหารจัดการในทุกมิติเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก และปรับรูปแบบการเรียนการสอนจาก Class room เป็น Sharing และ Coaching พร้อมดึงผู้ประกอบการใหม่เข้ามามีส่วนร่วมผ่าน 5 Module ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2) การบริหารจัดการในมิติต่าง ๆ 3) การเสริมสร้างพลังความเป็นผู้นำ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และ 5) การจัดทำแผนกลยุทธ์ธุรกิจ
11 พ.ย. 2567
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการ และ AI
เชิญผู้ประกอบการ SMEs สมัครเข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม เพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการ และ AI ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โครงการที่จะทำให้คุณ การจัดการข้อมูลกิจการคุณให้เป็นระบบ สืบค้นไว ด้วยดิจิทัล เฉพาะสถานประกอบการในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ เท่านั้น ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2567 ถึง เดือนพฤษภาคม 2568 พบผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำ ดังนี้ วินิจฉัยปัญหาของกิจการ และระบบบริหารจัดการของสถานประกอบการ เลือกระบบดิจิทัลที่เหมาะสมกับปัญหาและสถานประกอบการ‼️ ติดตั้งระบบดิจิทัล พร้อมทั้งอบรมการใช้งานบุคลากรในองค์กร และผู้เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ จำนวน 4 MD (24 ชม.) จัดเก็บข้อมูล เปรียบเทียบผลก่อนและหลังปรับปรุง เป้าหมาย/ผลที่ได้จากกิจกรรม สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถลดเวลาการทำงาน ลดต้นทุน หรือ ลดของเสียหรือเพิ่มยอดขายหรือรายได้เพิ่ม หรือ ไม่น้อยกว่า 10% รับสมัครแล้ววันนี้ รับสมัครแล้ววันนี้ จำนวนจำกัดเพียง 6 กิจการเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 08 6465 0162 (พิจิตต์)
11 พ.ย. 2567
“รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ” ถก ซีเกท ผู้นำอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดดิสก์ ขานรับCircular Economy สู่ความยั่งยืน
กรุงเทพฯ 6 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นางสาวขวัญจิต สุดสวัสดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ประจำภูมิภาคอาเซียน บริษัท ซีเกท (ประเทศไทย) จำกัด และคณะเข้าพบ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมแนะนำบริษัทฯ การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย รวมทั้งรับทราบวิสัยทัศน์และนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม” หารือถึงฐานการผลิตในประเทศไทยของบริษัทฯ ที่จังหวัดนครราชสีมา สมุทรปราการ และความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในการถ่ายทอดความรู้และทักษะแรงงานไทยในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายอรรถวิชช สุวรรณภักดี ประธานที่ปรึกษาคณะทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมประชุม ณ อาคารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ถนนวิภาวดีรังสิต บริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟแบบครบวงจร เช่น การผลิตนาโนทรานส์ดิวเซอร์ การประกอบหัวอ่าน-เขียนและชุดหัวอ่าน-เขียนสำเร็จรูป การประกอบฮาร์ดไดรฟ์สำเร็จรูป การทดสอบคุณภาพ รวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีฐานการผลิต 2 แห่ง คือ โรงงานซีเกท (เทพารักษ์) เน้นกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักรที่สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในการประกอบชุดหัวอ่าน-เขียน (nano-recording head) และโรงงานซีเกท (โคราช) ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของอาเซียน และเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน โดยตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์และสิงคโปร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม“ สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การสร้าง Supply Chain หรือห่วงโซ่อุปทานให้เกิดขึ้นสู่ความยั่งยืน โดยมีการบูรณาการนโยบายในการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาเพิ่มมูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม นอกจากนี้ ควรมีการนำ Ecosystem ในการบริหารจัดการของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม โดยทางกระทรวงฯ ได้เร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ยกร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อบูรณาการภารกิจด้านการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมเป็นกฎหมายเฉพาะ แยกออกมาจากกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และเพิ่มภารกิจด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งดำเนินการจัดตั้งกองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรมขึ้น เพื่อรวมกองทุนทั้งหมดและจัดตั้งเป็นกองทุนที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนและพัฒนาการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ นอกจากนี้ ยังได้ชื่นชมบริษัท ซีเกท (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นต้นแบบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่ดี พร้อมให้ความร่วมมือกับทางกระทรวงอุตสาหกรรมในการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาแรงงานไทย พัฒนาบุคลากร และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สู่ปฏิรูปอุตสาหกรรมในอนาคต
11 พ.ย. 2567
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข่าร่วมกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการและ AI
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ SMEs สมัครเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการและAI ภายใต้โครงการ : เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติของผู้สมัคร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ภาคการผลิต ผู้ประกอบการในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ ตลอดจนการเพิ่มศักยภาพบุคลากรในสถานประกอบการให้มีความรู้ ทักษะและความสามารถในการใช้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ AI สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพียง กิจการ เท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณสุรางค์กูล 08 1287 7617
11 พ.ย. 2567
"อรรถวิชช์" ประชุม คกก.ปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตฯ ครั้งที่ 5/2567 ติดตามความคืบหน้าการร่าง กฎหมายการจัดการกากอุตสาหกรรม-ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และจัดตั้งกองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 4 พฤศจิกายน 2567 - นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ประชุมคณะกรรมการฯ โดยมีนางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวชิระ ไม้แพ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และคณะกรรมการฯ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมได้มีการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติกากอุตสาหกรรม พ.ศ. … ในประเด็นต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยได้มีการทบทวนหลักการและทำความเข้าใจในประเด็นที่ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ต้องการเข้าไปบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และในขณะเดียวกัน จะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนและผู้ประกอบการ จนมากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือจนได้ข้อยุติในเชิงหลักการทั้งหมดครบถ้วนทุกประเด็น ในขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการปรับปรุงในรายละเอียดของกฎหมาย ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม และ ในส่วนของกองทุน จนแล้วเสร็จเป็นกฎหมายร่างแรกเพื่อนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอน ในการตราพระราชบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้หารือถึงแนวทางการพัฒนากองทุนในกฎหมายดังกล่าว ได้แก่ “กองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน” ในประเด็นที่มาของรายได้ของกองทุนให้สอดคล้องกับภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งการปฏิรูปอุตสาหกรรมของประเทศ การช่วยเหลือผู้ประกอบการในเรื่องเงินทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรม โดยมีความเห็นในหลักการว่า กองทุนควรมีวัตถุประสงค์และอำนาจในการประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้แก่กองทุน เป็นการตรวจสอบ รับรอง หรือการเป็นตัวกลางในกิจกรรมสำคัญของภาคเอกชนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักการของกฎหมายกองทุน โดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบไปทำการศึกษาเพิ่มเติมและนำกลับมานำเสนอในการประชุมครั้งหน้า เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงร่างกฎหมายฉบับนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
06 พ.ย. 2567
"ดีพร้อม" ร่วมสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ”ตามข้อสั่งการ รมต.เอกนัฏ“ จัดทำเสื้อเกราะกันกระสุน และวัสดุต้นแบบแก้ปัญหาอุทกภัย ช่วยลดต้นทุนได้มากกว่าร้อยละ 50
กรุงเทพฯ 28 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมประชุมแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศร่วมกับกับสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย นำโดยนายวิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย นายภานุรุจ มงคลบวรกิจ เลขาธิการสมาคม พร้อมด้วยนายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นายเจษฎา ถาวรศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือถึงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์) ในการปฏิรูปอุตสาหกรรม เสริมความเข้มแข็งของประเทศผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ ควบคู่ไปกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีการผลิตภายในประเทศ ซึ่งดีพร้อมขานรับนโยบายดังกล่าว โดยพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมต่อยอดงานวิจัยเกราะกันกระสุนผสมใยกัญชงให้ได้มาตรฐานและขยายผลเชิงพาณิชย์ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 50 คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 20 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในการให้คำปรึกษาแนะนำและแก้ไขให้สายพานที่ติดมากับหุ่นยนต์กู้ภัยจากต่างประเทศมาออกแบบทำใหม่ทดแทนตัวเก่า รวมทั้งสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและคลัสเตอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมยานต์รบ ช่วยรบ อุตสาหกรรมต่อเรือ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ ดีพร้อมยังได้หารือถึงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติ และได้ร่วมวางแนวทางในการจัดเตรียมอุปกรณ์ เตรียมความพร้อมด้านวัสดุต้นแบบในการทำอุปกรณ์ป้องกันอุทกภัย สามารถลดความเสียหายจากการเกิดอุทกภัยได้กว่า 3.1 พันล้านบาท ซึ่งมีจำเป็นต้องใช้แม่พิมพ์ในการผลิต และจัดทำต้นแบบให้สามารถรองรับอุทกภัยได้เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน โดยสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ตอบรับการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติ พร้อมมุ่งหวังในการส่งเสริมให้สมาชิกหรือผู้ประกอบการได้มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล สนับสนุนการใช้แม่พิมพ์ภายในประเทศ ป้องกันการนำเข้าจากต่างประเทศ
06 พ.ย. 2567
“ณัฏฐิญาฯ นำดีพร้อม“ จัดหนักกลั่นแผนบูรณาการซอฟต์พาวเวอร์ “ขายฝัน นพ.สุรพงษ์ - ดร.พันศักดิ์“ ซื้อแผนฯ ยันให้ดีพร้อมเดินหน้า 5 pillars รับโจทย์ "รมต.เอกนัฏ" เป็นเจ้าภาพแฟชั่นและอาหาร หนุนเศรษฐกิจไทยไปสู่โลก
กรุงเทพฯ 31 ตุลาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติครั้งที่ 1/2567 (ครั้งที่ 8 ) ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ได้รับมอบหมายให้ขับเคลื่อนแผนบูรณาการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นและอาหาร ได้รับนโยบายจาก นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมวัฒนธรรม ธุรกิจ และความเป็นไทยให้ก้าวสู่ Soft Power ในระดับสากลเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของประเทศไทย โดยแนวทางการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่ง “สร้างสรรค์ และต่อยอด” ให้เกิดเสน่ห์คุณค่าและเพิ่มมูลค่า แตกต่างด้วยอัตลักษณ์และทุนทางวัฒนธรรม เพิ่มทักษะ เทคนิคเชิงสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่า “โน้มน้าว” ให้เกิดการยอมรับเปิดใจ สร้างการยอมรับผ่านการรับรองมาตรฐานทั้งไทยและสากล ชักจูงให้เปิดใจผ่านการสร้างการรับรู้และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย กระตุ้นความต้องการผ่านการถ่ายทอดของผู้ที่มีชื่อเสียง และ “เผยแพร่” ให้เป็นที่รู้จักผ่านการจัดอีเวนท์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานเทศกาลประจำปีของไทย ตลอดจนสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น Social Media ทั้งนี้ รปอ.รก.อสอ. ณัฏฐิญา ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่ดีพร้อมได้รับการจัดสรรทั้งหมด ทั้งในส่วนของ Soft Power สาขาอาหารและแฟชั่น งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นสำหรับดำเนินงานในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทยและประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2568 ตลอดจนกล่าวถึงแนวทางการสร้างและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหารและแฟชั่นของดีพร้อม อันประกอบด้วย 5 เสาหลัก คือ 1) ศึกษาและพัฒนาทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรม อย่างสร้างสรรค์ 2) พัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อน Soft Power ไทย 3) พัฒนาธุรกิจ เพื่อยกระดับขีดความสามารถ ของ Soft Power ไทย 4) ส่งเสริม Soft Power ไทย สู่ระดับประเทศและระดับสากล 5) สนับสนุนปัจจัยเอื้อ ในการส่งเสริม Soft Power ไทย โดยมีเป้าประสงค์ให้เกิดภาพการบูรณาการทุกภาคส่วนในการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ทุกสาขาของประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสอดรับกับนโยบายรัฐบาลและตรงตามความต้องการในการแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง
06 พ.ย. 2567