หมวดหมู่
เรื่อง เลื่อนกำหนดวัน เวลา และสถานที่ประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ 2 (พนักงานราชการ)
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง เลื่อนกำหนดวัน เวลา และสถานที่ประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ 2 รายละเอียดดังแนบ ประกาศเลื่อนการประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ 2
05 ม.ค. 2564
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะ ครรั้งที่ 2 กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการประเมิน
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะ ครั้งที่ 2 และกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการประเมิน รายละเอียดดังแนบ ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ ครั้งที่ 2 กำหนดวัน เวลา และสถานที่ประเมินความรู้ฯ ครั้งที่ 2 ใบแจ้งที่อยู่สำหรับเรียกให้รายงานตัวฯ พนักงานราชการ
25 ธ.ค. 2563
ขอเชิญสมัครเข้าโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Smart Corporate Logistics Strategy Management) ประจำปีงบประมาณ 2564
กิจกรรมของโครงการ (ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย) อบรมการสร้างกลยุทธ์หลักและการจัดทำแผนกลยุทธโลจิสจิกส์ อบรมการประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพโลจิสติกส์ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ประโยชน์ที่จะได้รับ มีแผนกลยุทธ์สำหรับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่สอดคล้องกับธุรกิจ ได้รับการปรับปรุงด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ได้รับองค์ความรู้ด้านการจัดการและพัฒนาปรับปรุงด้านโลจิสติกส์แบบยั่งยืน มีเครื่อข่ายผู้บริหารในภาคอุตสาหรรมต่าง ๆ กลุ่มอุตสาหรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี อุตสาหกรรมยางและพลาสติก อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง ดำเนินการโดย กองโลจิสติกส์ กลุ่มส่งเสริมโลจิสติกส์องค์กร 02 354 3172
23 ธ.ค. 2563
แม่ทัพ กสอ. ฟันธงปี 64 เป็นปีแห่ง “เอสเอมอี ดิสรับชั่น” เตรียมหนุน 3 นโยบายเร่งด่วน กระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ลบ.
กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ (17 ธันวาคม 2563) - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แถลงข่าว SMEs Disruption 2021 เปิดจุดเปลี่ยน ปี 64 เอสเอ็มอี ดีพร้อมโดยมี นายภาสกร ชัยรัตน์ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และสื่อมวลชนเข้าร่วม ณ ชั้น 22 อาคารเกษรทาวเวอร์ ราชประสงค์ ปทุมวัน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2564 กสอ. มุ่งเน้นส่งเสริมความเข้มแข็งอุตสาหกรรมไทย จึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานเร่งด่วน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างเต็มศักยภาพ ผ่าน นโยบาย “สติ : STI” ประกอบด้วย 3 ปัจจัยเร่งด่วนสำคัญ ได้แก่ 1. ทักษะเร่งด่วน หรือ Skill เร่งส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว แบ่งออกเป็น 3 ทักษะที่จำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบด้วย ทักษะวิชาตัวเบา (Lean) ผ่านการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ให้เหมาะสมกับรายได้ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถดำเนินการกิจได้ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนา ต่อยอดทักษะเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ทักษะการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการปรับใช้ในกระบวนการต่าง ๆ และทักษะความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าให้กับภาคอุตสาหกรรม โดย กสอ. จะขยายผลศูนย์ Mini Thai-IDC ไปยังภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ในระดับท้องถิ่นไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เครื่องมือเร่งด่วน หรือ Tools ที่จะเป็นตัวช่วยเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบไปด้วย แพลตฟอร์มออนไลน์ (DIProm มาร์เก็ตเพลส) รวบรวมผลิตภัณฑ์คุณภาพจากผู้ประกอบการที่ได้รับ การส่งเสริมจาก กสอ. เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค นิเวศอุตสาหกรรม โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายของผู้ประกอบการทั้งมิติเชิงอุตสาหกรรมและพื้นที่ เพื่อสร้างความร่วมมือ ต่อยอดองค์ความรู้ และการยกระดับอุตสาหกรรม เงินทุนเพื่อการประกอบการ ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการประกอบกิจการ อาทิ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย การสนับสนุนเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้งในกำกับของรัฐ และเอกชน รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากภาพเอกชน เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับการดำเนินธุรกิจและก่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจได้ในอนาคต 3. อุตสาหกรรมเร่งด่วน หรือ Industry ที่มุ่งเน้นคือเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านการยกระดับศักยภาพในภาคการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป การพัฒนานักธุรกิจเกษตร และการส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพและพัฒนาภาคการเกษตรให้มีศักยภาพรวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจสู่กระบวนการผลิตที่มีมูลค่าสูงต่อยอดขยายผลเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งการส่งเสริมวิสาหกิจให้มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ การส่งเสริมดังกล่าว กสอ. เตรียมปรับบทบาทเป็นโค้ชชิ่ง โดยการให้คำแนะนำเชิงลึกกับผู้ประกอบการ ปรับเปลี่ยนบทบาทมุ่งเน้นการส่งเสริมในเชิงรุกเป็นผู้ปั้นปรุงเปลี่ยนเอสเอ็มอีให้ดีพร้อม หรือ เอสเอ็มอีดิสรับเตอร์ เพื่อให้เกิดการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างทันท่วงที และขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยตั้งเป้าส่งเสริมไม่ต่ำกว่า 3,356 กิจการ ด้วยงบประมาณดำเนินการกว่า 500 ล้านบาท และคาดสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นหนึ่งในปัจจัยการขับเคลื่อนและกระตุ้น GDP ภาคอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ธ.ค. 2563
ขอเชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
เพระโลจิสติกส์ ไม่ใช่แค่การขนส่ง ลดต้นทุน บริหารจัดการได้ สุดยอดการอบรมตัวต่อตัว "ลดต้นทุน Logistics ธุรกิจแข่งขันได้ กำไรเพิ่ม" ด้วยเนื้อหาจัดเต็ม ตั้งแต่ทฤษฏีพื้นฐานต่าง ๆ จนผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาเชิงลึก ณ สถานประกอบการจริง 36 ชั่วโมง อบรมการสร้างกลยุทธ์หลักและการจัดทำแผนกลยุทธโลจิสจิกส์ อบรมการประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพโลจิสติกส์ มีผู้เชียวชาญให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ จำนวน 36 ชั่วโมง สอนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ คุณสมบัติ ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, ยโสธร เกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย เวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เครื่องจักรกล บรรจุภัณฑ์ เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ผู้ให้บริการโลจิสติกส์อุตสาหกรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากคุณเป็นคนหนึ่ง เพิ่มโอกาสการแข่งขันให้ธุรกิจคุณ ต้องไม่พลาดกิจกรรมนี้ พิเศษ ขยายเวลารับสมัครถึง 31 ธันวาคม 2563 (จำกัดเพียง 10 กิจการเท่านั้น) อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จำกัดเพียง 10 กิจการเท่านั้น ลงลึกถึงสถานประกอบการจริง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณเอ๋ 08-6465-0162 คุณกุ้ง 09-0295-2769
18 ธ.ค. 2563
ขอเชิญเลือกซื้อสินค้าคุณภาพ ของดีของเด่นทั่วไทย กับโซนตลาดดีพร้อม (DIProm Marketplace : ตลาด - ช็อป - สุข) ในงาน Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน "มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน"
พลาดไม่ได้กับ Mini Motor Show โปรสุดปัง รวมโปรโมชั่นจัดหนักจัดเต็มส่งท้ายปีจากค่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชั้นนำ พร้อมรับของแถมพิเศษอีกมากมาย พร้อมขบวน Food Truck หมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนตลอดทั้งงาน พบกัน วันที่ 22 - 25 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 - 19.00 น. บริเวณด้านหน้ากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 (เยื้องโรงพยาบาลรามาธิบดี) พิเศษ เอาใจขาช็อปออนไลน์ เลือกช็อปสินค้าคุณภาพก่อนใครที่ DIProm Marketplace
17 ธ.ค. 2563
กสอ. ดันองค์ความรู้ Upcycling สร้างสรรค์ของเหลือใช้ต่อยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์
กรุงเทพ 17 ธันวาคม 2563 – นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดโครงการ Upcycling for Sustainable Lifestyle โดยมี นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวรายงาน ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน โครงการดังกล่าว เป็นการเผยแพร่ให้ประชาชนได้เข้าใจกระบวนการ Upcycling ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง Reuse และ Recycle โดยการนำของเหลือใช้มาออกแบบเชิงสร้างสรรค์ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพ มูลค่าสูงขึ้น ช่วยลดปัญหาการเกิดขยะ และได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน วิเคราะห์ศักยภาพของสถานประกอบการในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ 1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เข้าสู่การดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน 2. เกิดการสร้างสินค้า Upcycling Product จากของเหลือใช้ในอุตสาหกรรม เศษวัสดุทางการเกษตร และวัสดุในท้องถิ่น 3. นำผลิตภัณฑ์ Upcycling ต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ “BCG” (Bio -Circular- Green Economy) ที่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่จะพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ไปพร้อมกัน โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว ที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไปเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 ธ.ค. 2563
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมแถลงข่าว กระทรวงอุตฯ จัดแคมเปญมอบของขวัญปีใหม่ 2564 ยกขบวนสินค้าราคาโรงงาน คาดมีเงินสะพัดกว่า 50 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 17 ธันวาคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมงานแถลงข่าว "กระทรวงอุตสาหกรรมมอบของขวัญปีใหม่เพื่อประชาชน ประจำปี 2564 และการจัดงาน Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน" โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวง และนางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมแถลงข่าว ร่วมด้วย คณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การจัดกิจกรรม Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน เป็นของขวัญที่กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งหวังที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน บรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) และเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่มากขึ้น ทำให้ประชาชนสามารถจับจ่ายสินค้าราคาโรงงาน และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยรวบรวมสินค้าอุปโภคบริโภคจากทั่วประเทศกว่า 400 ร้านค้า ลดราคากว่า 30-70% ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้นำผู้ประกอบการเข้าร่วมจัดจำหน่ายสินค้าในโซน SME OTOP คัดสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่จัดว่าเป็นสินค้าไทยเด่นมาจัดจำหน่าย พร้อมทั้งรถขายอาหารแบบเคลื่อนที่หรือฟู้ดทรัคจากร้านที่มีชื่อเสียงมาร่วมจำหน่าย จำนวน 5 คันต่อวัน นอกจากนี้ ได้นำค่ายรถยนต์กว่า 10 ค่ายมาจัดแสดงในงาน คือ โตโยต้า มาสด้า นิสสัน ซูซูกิ มิตซูบิชิ BMW BENZ MG ฮอนด้า และซูบารุ พร้อมโปรโมชั่นลดราคาพิเศษ โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 25 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 – 19.00 น. ณ บริเวณโดยรอบกระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 ซึ่งคาดว่าตลอดการจัดงานทั้ง 4 วัน จะมีเงินสะพัดมากกว่า 50 ล้านบาท ### PR. DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 ธ.ค. 2563
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมออนไลน์ หลักสูตร "SMEs รอบรู้เรื่องบัญชี วางแผนดีขอสินเชื่อกี่ที ไม่มีพลาด"
Financial Literacy อบรมออนไลน์ หลักสูตร "SMEs รอบรู้เรื่องบัญชี วางแผนดีขอสินเชื่อกี่ที ไม่มีพลาด" กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กำหนดจัดกิจกรรมอบรมออนไลน์ หลักสูตร "SMEs รอบรู้เรื่องบัญชี วางแผนดีขอสินเชื่อกี่ที ไม่มีพลาด" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการเงินและการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มโอกาศในการขอสินเชื่อ และสามารถนำเงินมาลงทุนขยายธุรกิจหรือเป็นต้นทุนตั้งต้นในการทำธุรกิจ 1.ขั้นตอนการสมัคร 1.) สมัครเข้าร่วมโครงการ ผ่านเว็บไซต์ i.Industry.go.th เลือกเมนู สมัครสมาชิก 2.) เมนู บริการ เลือก Digital Service > สมัครกิจกรรม กสอ. > ชื่อกิจกรรม A264 กิจกรรมอบรมออนไลน์ หลักสูตร SMEs รอบรู้เรื่องบัญชี วางแผนดี ขอสินเชื่อกี่ที ไม่มีพลาด 2.เข้าอบรมออนไลน์ หลักสูตร SMEs รอบรู้เรื่องบัญชี วางแผนดี ขอสินเชื่อกี่ที ไม่มีพลาด ผ่าน www.dip-sme-academy.com กับกูรูระดับประเทศที่จะช่วยให้การขอสินเชื่อเป็นเรื่องง่าย 3.สำหรับผู้สนใจขอสินเชื่อกิจกรรมฝึกอบรมเชิงวิชาการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการด้านการเงิน (กรุงเทพและส่วนภูมิภาค) *ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ต้องผ่านการอบรมออนไลน์มาก่อน 4.ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแบบตัวต่อตัวจากผู้เชี่ยวชาญ *25 กิจการที่ได้รับการคัดเลือก 5.พิจารณาสินเชื่อสำหรับผู้ยื่นกู้กับเงินทุนหมุนเวียนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สิทธิประโยชน์ -วุฒิบัตร จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม -เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรม คุณสมบัติผู้สมัคร 1.) ผู้ประกอบการธุรกิจทั่วไปผู้ประกอบการจดทะเบียนการค้า หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนนิติบุคคล 2.) บุคคลทั่วไป หรือผู้ที่สนใจ สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป ผ่านทางเว็บไซต์ https://i.industry.go.th/ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : นางสาวอัญรินทร์ ฉัตรสิริศิลป์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ โทร. 094-662-6954
17 ธ.ค. 2563
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ฟันธงปี 64 เป็นปีแห่ง “เอสเอมอี ดิสรับชั่น” เตรียมหนุน 3 นโยบายเร่งด่วน กระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้าน
กรุงเทพฯ 17 ธันวาคม 2563 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชี้นโยบายเร่งด่วนปี 2564 มุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งอุตสาหกรรมไทย ผ่านปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะเร่งด่วน เครื่องมือเร่งด่วน และ อุตสาหกรรมเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการฝ่าคลื่นปฏิวัติเอสเอ็มอี หรือ SMEs Disruption ทั้งนี้ การส่งเสริมดังกล่าว กสอ. เตรียมปรับบทบาทเป็นโค้ชชิ่ง ให้คำแนะนำเชิงลึกกับผู้ประกอบการเปลี่ยนบทบาทมุ่งเน้นการส่งเสริมในเชิงรุกเป็นผู้ปั้นปรุงเปลี่ยนเอสเอ็มอีให้ดีพร้อม หรือ เอสเอ็มอีดิสรับเตอร์เพื่อให้เกิดการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างทันท่วงที และขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในไทยได้อย่างเต็มศักยภาพโดยตั้งเป้าส่งเสริมไม่ต่ำกว่า 3,356 กิจการ ด้วยงบประมาณดำเนินการกว่า 500 ล้านบาท และคาดสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า โควิด-19 ถือเป็นปัจจัยทั้งทางบวก และทางลบที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมทั่วโลกและเกิดคลื่นปฏิวัติเอสเอ็มอี หรือ SMEs Disruption ในปี 64 ที่สำคัญ ที่รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญและเร่งรัด การดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากที่ต้องได้รับการสนับสนุน ประกอบกับการดำเนินงานของ กสอ. ในปี 2563 ผ่านนโยบาย ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม พบว่ายังต้องยกระดับการส่งเสริมให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในไทย ดังนั้น กสอ. จึงกำหนดนโยบายการดำเนินงานในปี 2564 เร่งด่วน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างเต็มศักยภาพ ผ่าน นโยบาย “สติ : STI” ประกอบด้วย 3 ปัจจัยเร่งด่วนสำคัญ ได้แก่ ทักษะเร่งด่วน หรือ Skill ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องเร่งส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัว ได้อย่างรวดเร็ว โดยตลอดการดำเนินงานในปี 2563 ที่ผ่านมาพบว่าเอสเอ็มอีจำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างโอกาสในการประกอบธุรกิจ แบ่งออกเป็น 3 ทักษะที่จำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบด้วย ทักษะวิชาตัวเบา (Lean) ผ่านการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายได้ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถดำเนินการกิจได้ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาต่อยอดทักษะเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ทักษะการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการปรับใช้ในกระบวนการต่าง ๆ และทักษะความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าให้กับภาคอุตสาหกรรม โดย กสอ. จะขยายผลศูนย์ Mini Thai-IDC ไปยังภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ในระดับท้องถิ่นไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือเร่งด่วน หรือ Tools ที่จะเป็นตัวช่วยเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบไปด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ (DIProm มาร์เก็ตเพลส) รวบรวมผลิตภัณฑ์คุณภาพจากผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมจาก กสอ. เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค นิเวศอุตสาหกรรมโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายของผู้ประกอบการทั้งมิติเชิงอุตสาหกรรมและพื้นที่ เพื่อสร้างความร่วมมือ ต่อยอดองค์ความรู้ และการยกระดับอุตสาหกรรม เงินทุนเพื่อการประกอบการถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการประกอบกิจการ อาทิ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย การสนันสนุนเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้งในกำกับของรัฐ และเอกชน รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากภาพเอกชน เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับการดำเนินธุรกิจและก่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจได้ในอนาคต อุตสาหกรรมเร่งด่วน หรือ Industry ที่มุ่งเน้นคือเกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งจากข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มูลการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูประหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2563 อยู่ที่ 243,855 ล้านบาท ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับการสนับสนุนในระยะเวลาเร่งด่วน เพื่อให้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านการยกระดับศักยภาพในภาคการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป การพัฒนานักธุรกิจเกษตร และการส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพ และพัฒนาภาคการเกษตรให้มีศักยภาพรวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจสู่กระบวนการผลิต ที่มีมูลค่าสูงต่อยอดขยายผลเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งการส่งเสริมวิสาหกิจให้มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับความต้องการของผู้บริโภค สำหรับการดำเนินงานในปี 2563 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการที่ดำเนินการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการไปแล้ว จำนวน 1,731 กิจการ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี การดำเนินการส่งเสริมผู้ประกอบการในปี 2564 กสอ.จะปรับวิธีเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จากเดิมที่ทำหน้าที่โค้ชชิ่งให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการ เปลี่ยนบทบาทมามุ่งเน้นการส่งเสริมในเชิงรุก โดยการเป็นผู้ปั้นปรุงเปลี่ยนเอสเอ็มอีให้ดีพร้อม หรือ เอสเอ็มอีดิสรับเตอร์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างทันท่วงที โดยตั้งเป้าหมาย ส่งเสริมผู้ประกอบการทั่วประเทศ 3,356 กิจการ พัฒนาทักษะกับบุคลลากรในภาคอุตสาหกรรม 13,375 คน ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน 177 กลุ่ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพเพิ่มขึ้น 982 ผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจในไทยให้มีความเข้มแข็งด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย
17 ธ.ค. 2563