หมวดหมู่
กสอ. ติดอาวุธออนไลน์ SMEs ฝ่าวิกฤตโควิด-19 เสริมเทคนิคสร้างวิดีโอ เพิ่มยอดขายให้ปัง
กรุงเทพฯ 12 มิถุนายน 2563 – นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมทางออนไลน์ "สร้างวิดีโอแสนง่าย เพิ่มยอดขายให้ปัง ด้วยมือถือเครื่องเดียว" ร่วมด้วย นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ณ ห้อง Co-working space ชั้น 3 อาคาร กสอ. การอบรมดังกล่าวดำเนินงาน ภายใต้โครงการ “ปั้น SMEs ค้าออนไลน์สู้วิกฤตโควิด-19” ซึ่งเป็นคอร์สอบรมบนออนไลน์ไลฟ์สตรีม เพื่อเพิ่มทักษะให้กับผู้ประกอบการและประชาชนที่สนใจเรียนรู้เทคนิคการประกอบธุรกิจ รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน ดำเนินธุรกิจด้านการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อทดแทนในช่วงที่พฤติกรรมของคนไทยชะลอการซื้อผลิตภัณฑ์ตามสถานที่สาธารณะและร้านค้าต่าง ๆในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 โดยมีวิทยากรที่เชียวชาญด้าน Digital Marketing มาถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ในครั้งนี้ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
12 มิ.ย. 2563
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ Business Matching Event ผ่าน online application กับผู้ประกอบการญี่ปุ่น
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมกับ Organization for Small & Medium Enterprises and Regional Innovation, JAPAN (SMRJ) และ Shinkin Central Bank ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ Business Matching Event ผ่าน online application กับผู้ประกอบการญี่ปุ่น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย อุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้านชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร การแพทย์ วันที่และเวลา วันที่ 24 ส.ค. 63 - 4 ก.ย. 63 เวลา 9.00 - 16.30 น. (การคุยเจรจาบริษัทละ 40 นาที พัก 20 นาที) รูปแบบงาน คุยเจรจาแบบ 1 บริษัท ต่อ 1 บริษัท เพื่อเจรจาธุรกิจแบบลงรายละเอียด มีล่ามแปลภาษาญี่ปุ่น - ไทย สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 24 มิ.ย. 63 สมัครผ่าน Excel Form ได้ที่.- ทั้งนี้กรุณาส่งกลับที่อีเมล์ intercoop.dip@gmail.com ติดต่อสอบถาม คุณวรุตม์ และ คุณประภาพร กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน 02-202-4592
11 มิ.ย. 2563
ขอเชิญผู้ประกอบการ OTOP สมัครเข้าร่วมกิจกรรม OTOP ยั่งยืนด้วยการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (OTOP Go Green)
ขอเชิญผู้ประกอบการ OTOP สมัครเข้าร่วมกิจกรรม OTOP ยั่งยืนด้วยการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (OTOP Go Green) ภายใต้กิจกรรมยกระดับเสริมสร้างคุณภาพและมาตรฐานสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP มีระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดคล้องตามมาตรฐานและมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น สนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการยกระดับสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 26 มิ.ย. 2563
09 มิ.ย. 2563
รับสมัครผู้ประกอบการฯ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ที่มีอัตลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ (ภาคเหนือ) ภายใต้โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้ประกอบการฯ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ที่มีอัตลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ (ภาคเหนือ) ภายใต้โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการฯ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ OTOP วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจรายเดี่ยว ผู้ประกอบการชุมชนที่ขึ้นทะเบียน ช่องทางการติดต่อและสมัครเข้าร่วมโครงการ @ThaiPromDIProm northotop2
08 มิ.ย. 2563
คิดเห็นแชร์ : "ฟื้นฟูเศรษฐกิจในไทย…ประเทศไทยเข้มแข็ง"
คอลัมน์ : คิดเห็นแชร์ (มติชนออนไลน์) ผู้เขียน : นายณัฐพล รังสิตพล (อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สวัสดีแฟน ๆ คิดเห็นแชร์ทุกท่านครับ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้แถลงข่าวเรื่อง “มาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรมไทย ดีพร้อมทันที 90 วัน” เพื่อเร่งฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งประเทศไทยและทั่วโลกต่างกำลังเผชิญ โดยหลายประเทศได้ใช้มาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ด้วยการลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศและลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศลงอย่างฉับพลัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากประเทศคู่ค้าของไทยมีกำลังซื้อลดลง ทำให้มีมูลค่าการส่งออกลดลง ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างชาติเลื่อนหรือยกเลิกการเดินทางไปต่างประเทศ การเดินทางเพื่อธุรกิจ (Business Trip) ลดลง อย่างไรก็ดี อาจเป็นข่าวดีที่มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อทั่วโลกลดลง แต่ก็ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นและพบว่ามีประเทศใหม่ ๆ ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งปรากฏการณ์นี้ คาดว่ามีผลยืดเยื้ออย่างน้อยถึงปี 2564 ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบจากการขายสินค้าหรือบริการลดลง ทำให้มีรายได้ลดลง ขาดสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ จึงต้องลดต้นทุนด้วยการลดจำนวนแรงงาน ทำให้แรงงานกลายเป็นคนตกงาน และคนเหล่านั้นเลือกที่จะกลับไปใช้ชีวิตและประกอบอาชีพตามต่างจังหวัดบ้านเกิดซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายและการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งจากพื้นฐานเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งคืออนาคตของประเทศ ผ่านการฟื้นฟูและส่งเสริม 4 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผล กระทบจากวิกฤตครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม คนว่างงานและนักศึกษาจบใหม่ ชุมชนและวิสาหกิจชุมชน และเกษตรกร เพื่อให้ก้าวสู่วิถีการดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่หรือที่เรียกว่า “นิว นอร์มอล” จึงเป็นที่มาในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตาม “มาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรมไทย ดีพร้อมทันที 90 วัน” โดยผมขอใช้โอกาสนี้แชร์ให้ทุกท่านได้ทราบรายละเอียดการฟื้นฟูและส่งเสริมทั้ง 4 กลุ่มเป้าหมายกันครับ เริ่มต้นที่กลุ่มแรก คือ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะพี่น้องเอสเอ็มอีซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย ที่ได้รับผลกระทบในหลายมิติ ทำให้ต้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูด้วยการแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง (Cash flow) ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ ปรับธุรกิจให้อยู่รอดในวิกฤตและเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้ความปกติวิถีใหม่ (New Normal) พร้อมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็น สร้างองค์ความรู้ที่ทันสมัย เช่น การปรับการตลาดรูปแบบใหม่ การเพิ่มผลิตภาพ มาตรฐาน และนวัตกรรม กลุ่มที่ 2 คือ คนว่างงานและนักศึกษาจบใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนคุณภาพที่เราต้องผลักดันให้มีช่องทางในการทำมาหากิน โดยใช้ทักษะและประสบการณ์ที่เคยทำงานในภาคอุตสาหกรรม ผ่านการพัฒนาให้กลุ่มคนเหล่านี้มีความเป็นผู้ประกอบการ สร้างอาชีพอิสระ และส่งเสริมให้สามารถเริ่มสร้างธุรกิจของตนเองได้ รวมถึงจะบ่มเพาะคนที่มีความฝันมีไอเดียอยากจะเริ่มทำธุรกิจหรือบริการตามที่ตนเองถนัดให้มีองค์ความรู้ในการทำธุรกิจ สร้างงาน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน กลุ่มที่ 3 คือ ชุมชนและวิสาหกิจชุมชน โดยจะเน้นสร้างความเข้มแข็งและการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในชุมชน ผ่านการยกระดับการค้า การผลิตและบริการ เพื่อให้พี่น้องในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตด้วยเครื่องจักรเครื่องทุ่นแรง เพิ่มประสิทธิภาพและการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้กับอุตสาหกรรมเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงเป็นที่บ่มเพาะนักธุรกิจอุตสาหกรรมชุมชนร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้วยการให้นักศึกษาที่มีไอเดียใหม่ๆ มีโอกาสเข้าไปฝึกงานในชุมชน เพื่อสร้างความเป็นนักธุรกิจอุตสาหกรรมชุมชน ต่อยอดจุดเด่นและจุดขายให้ชุมชน และอาจปรับรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนจากเดิมที่ดึงนักท่องเที่ยวให้เข้าพักโฮมสเตย์ในพื้นที่ เป็นการเที่ยวแบบ Day Trip เพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นให้คนไทยเที่ยวเมืองไทย กลุ่มสุดท้าย คือ เกษตรกร ซึ่งการทำเกษตรกรรมถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทย เราจึงต้องต่อยอดจุดแข็งด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ผ่านการยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็น “เกษตรอุตสาหกรรม” ด้วยการเพิ่มองค์ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจ การเงิน และการตลาด การใช้เครื่องจักร เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการทำเกษตรอุตสาหกรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยให้เป็น “นักธุรกิจเกษตร” ที่เข้มแข็ง “มาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรมไทย ดีพร้อมทันที 90 วัน” เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะช่วยฟื้นฟูและส่งเสริมเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยให้กลับมาเข้มแข็งจากภายใน ซึ่งหลังจากนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเสนอโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรองรับวิถีความปกติใหม่ โดยจะขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนกว่าล้านคน สร้างความเข้มแข็งให้โลคอลอีโคโนมี (Local Economy) หรือ “เศรษฐกิจในไทย” ต่อไป ที่มา https://www.matichon.co.th/economy/news_2217969
06 มิ.ย. 2563
“อธิบดีณัฐพล” ลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 42 พรรษา
กรุงเทพฯ 2 มิถุนายน 2563 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 42 พรรษา 3 มิถุนายน 2563 ณ บริเวณหน้าห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
04 มิ.ย. 2563
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 42 พรรษา
กรุงเทพฯ 2 มิถุนายน 2563 – นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 42 พรรษา 3 มิถุนายน 2563 ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
04 มิ.ย. 2563
กสอ. จัดบ่มเพาะผู้ประกอบการออนไลน์ เพื่อสามารถรับมือและบริหารธุรกิจให้ผ่านพ้นสภาวะวิกฤต COVID-19 และหวังสร้างที่ปรึกษาทางธุรกิจยุคใหม่
กรุงเทพฯ 1 มิถุนายน 2563 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์ หลักสูตร “การวางแผนและการบริหารเพื่อการอยู่รอดและเติบโตสำหรับผู้ประกอบการในภาวะวิกฤต” ร่วมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ณ ห้อง DIProm Co-Working Space ชั้น 3 อาคาร กสอ. การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้โครงการศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center : SSRC) โดยการอบรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meeting เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ได้รับความรู้ด้านการบริหารธุรกิจและสามารถพลิกฟื้นธุรกิจได้ รวมถึงสามารถวางแผนธุรกิจเพื่อรองรับต่อสถานการณ์วิกฤตในอนาคต ซึ่งมีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 ราย ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรม ดังกล่าว สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปให้คำปรึกษาแนะนำกับผู้ประกอบการรายอื่นได้เช่นเดียวกัน และยังสามารถพัฒนาตนเองเพื่อต่อยอดเป็นวิทยากรหรือที่ปรึกษาในเครือข่ายของ กสอ. เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ต่อไปได้ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
04 มิ.ย. 2563
7 Big Data samples – การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในชีวิตประจำวัน
Big Data ได้เปลี่ยนแปลงและทำการปฏิวัติวิธีการทำงานของธุรกิจและองค์กรอย่างสิ้นเชิง โดยในวันนี้เราจะเจาะลึกแอพพลิเคชั่นของ Big Data ที่สำคัญในภาคและอุตสาหกรรมต่าง ๆ และเรียนรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากแอปพลิเคชันเหล่านี้อย่างไร ในยุคนี้ที่ทุกแง่มุมของชีวิตประจำวันของเราได้รับการเทคโนโลยีที่มี Big Data ที่ออกมาจากแหล่งดิจิตอลต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องพูดว่าเราเผชิญกับความท้าทายมากมายในการวิเคราะห์และศึกษาข้อมูลจำนวนมหาศาลด้วยเครื่องมือประมวลผลข้อมูลแบบดั้งเดิม เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้จึงได้มีการนำเสนอโซลูชั่น Big Data เช่น Hadoop เครื่องมือ Big Data เหล่านี้ช่วยให้ตระหนักถึงการใช้งานของ Big Data อย่างแท้จริง ซึ่งหลาย ๆ องค์กร ทั้งขนาดเล็กและใหญ่กำลังใช้ประโยชน์จากประโยชน์ที่ได้รับจากแอปพลิเคชัน Big Data โดยธุรกิจต่าง ๆพบว่าผลประโยชน์เหล่านี้สามารถช่วยให้พวกเขาเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจะมจะเต็มาดูรายละเอียดของ Big Data ที่มีชื่อเสียงพวกนั้นกันเลย Big Data ในอุตสาหกรรมการศึกษา อุตสาหกรรมการศึกษากำลังในขณะนี้ไปด้วยข้อมูลจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน วิชาหลักสูตรต่าง ๆ และผลลัพธ์ต่าง ๆ ซึ่งเราจะตระหนักได้ว่าการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลนี้อย่างเหมาะสมสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและการทำงานของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และหัวข้อต่อไปนี้เป็นบางส่วนของอุตสาหกรรมการศึกษาที่ได้รับผลจากการนำ Big Data มาใช้งาน โปรแกรมการเรียนรู้แบบกำหนดเองและแบบไดนามิก: โปรแกรมและรูปแบบที่กำหนดเองสำหรับแต่ละบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมบนฐานของประวัติการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อประโยชน์ของนักเรียนทุกคน สิ่งนี้ช่วยปรับปรุงผลการเรียนโดยรวมของนักเรียน ปรับมุมมองของหลักสูตรใหม่ ปรับมุมมองของเนื้อหาและหลักสูตรตามข้อมูลที่เก็บรวบรวมบนพื้นฐานของสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และดำเนินการตามขอบเขต โดยการตรวจสอบเวลาจริงขององค์ประกอบของหลักสูตรที่จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น ระบบการให้เกรด ความก้าวหน้าใหม่ในระบบการให้เกรด ซึ่งจะเป็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนที่เหมาะสมซึ่งจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เที่ยงตรงและถูกต้อง วางแผนสำหรับอาชีพในอนาคต การวิเคราะห์และศึกษาข้อมูลของนักเรียนทุกคนอย่างเหมาะสมจะช่วยในการทำความเข้าใจถึงความก้าวหน้า จุดแข็งหรือจุดอ่อน และความสนใจและอื่น ๆ ของนักเรียน มันจะช่วยในการวางแผนเกี่ยวกับอาชีพที่จะเหมาะสมที่สุดสำหรับนักเรียนในอนาคตอีกด้วย แอปพลิเคชันของ Big Data ได้จัดหาวิธีแก้ปัญหาให้กับข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบการศึกษานั่นคือ รูปแบบการเรียนแบบ E-Learning ( อีเลิร์นนิ่ง ) Big Data ในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ขณะนี้การดูแลสุขภาพเป็นอีกอุตสาหกรรมที่ต้องสร้างข้อมูลจำนวนมาก ต่อไปนี้เป็นวิธีการที่ข้อมูลขนาดให Big Data มีส่วนทำให้การดูแลสุขภาพ Big Data ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาเนื่องจากมีโอกาสน้อยที่จะต้องทำการวินิจฉัยที่ไม่จำเป็น ช่วยในการวิเคราะห์การแพร่ระบาดของโรคระบาดและช่วยในการตัดสินใจว่าจะใช้มาตรการป้องกันเพื่อลดผลกระทบจากสิ่งเดียวกันได้อย่างไร ช่วยหลีกเลี่ยงโรคที่ป้องกันได้โดยการตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้นและป้องกันไม่ให้มีการระบาดซึ่งจะทำให้การรักษาง่ายและมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยสามารถได้รับยาตามมาตรฐานจากการวินิจฉัยของแพทย์ได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่าง : อุปกรณ์และเซ็นเซอร์ที่สวมใส่ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพซึ่งสามารถตรวจสอบผลได้แบบเรียลไทม์และบันทึกผลสุขภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วย โดยหนึ่งในเทคโนโลยีนี้มาจาก Apple โดยได้คิดค้นสิ่งที่เรียกว่า Apple Health Kit, Care Kit และ Research Kit เป้าหมายหลักคือช่วยให้ผู้ใช้ iPhone สามารถจัดเก็บและเข้าถึงบันทึกสุขภาพแบบเรียลไทม์ของพวกเขาบนโทรศัพท์นั่นเอง Big Data ในอุตสาหกรรมของรัฐ รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ตามจะต้องมีการดำเนินการกับข้อมูลจำนวนมหาศาลในเกือบทุกวัน นั่นคือการติดตามบันทึกและฐานข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับประชาชน การเติบโตของประชากร แหล่งพลังงานการสำรวจทางภูมิศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ข้อมูลทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมจะช่วยให้รัฐบาลสามารถจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างเป็นระเบียบ เกี่ยวกับสวัสดิการ : - ช่วยในการตัดสินใจที่รวดเร็วและช่วยบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการทางการเมืองต่าง ๆ อีกด้วย - เพื่อช่วยระบุพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือโดยทันที - เพื่ออัพเดทข้อมูลในด้านการเกษตร โดยการติดตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่ทำกสิกรรมและปศุสัตว์ - เพื่อความมั่นคงของชาติ เช่น การว่างงาน การก่อการร้าย การสำรวจแหล่งพลังงานและอื่น ๆ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ : - Big Data ถูกนำมาใช้ในการเฝ้าระวังการคอรัปชั่น - ใช้ Big Data ในการตรวจสอบการเสียภาษีของประชาชน ตัวอย่าง : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ซึ่งดำเนินงานภายใต้เขตอำนาจของรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ Big Data เพื่อค้นหาการระบาดของโรคที่เกี่ยวกับอาหารเพื่อยับยั้งและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที Big Data ในอุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิง เมื่อผู้คนมีการใช้งานอุปกรณ์ดิจิตอลต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น การสร้างข้อมูลจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และนี่เป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ในอุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิง นอกเหนือจากนี้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สร้างข้อมูลจำนวนมหาศาล แม้ว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลนี้และพวกเขาก็สามารถใช้ประโยชน์จากมันเพื่อช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาเติบโตมากยิ่งขึ้น ผลประโยชน์บางส่วนที่เป็นผลมาจากการใช้งาน Big Data ในอุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิง : - วิเคราะห์ความเป็นไปของผู้ชม - การกำหนดเวลาที่เหมาะสมหรือตามความต้องการของกระแสข้อมูลสื่อในแพลตฟอร์มการกระจายสื่อดิจิทัล - รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทวิจารณ์ของลูกค้าและระบุความคิดเห็นทั้งแง่บวกและลบจากพวกเขา - การกำหนดเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพของโฆษณาสำหรับสื่อต่าง ๆ ตัวอย่าง : บริษัท Spotify ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการสตรีมเพลงดิจิตัล ใช้การวิเคราะห์ Big Data และรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ทุกคนทั่วโลก จากนั้นใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์เพื่อให้คำแนะนำเพลงที่เหมาะสมกับผู้ฟัง Amazon Prime ที่ให้บริการวิดีโอเพลงและหนังสือ Kindle ในร้านค้าแบบครบวงจรก็ประสบความสำเร็จในการใช้ Big Data เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและนำมาประยุกต์เพื่อสามารถเสนอสินค้าที่เหมาะสมและตามความต้องการของลูกค้า Big Data ในรูปแบบการพยากรณ์อากาศ มีเซ็นเซอร์สภาพอากาศและดาวเทียมใช้งานอยู่ทั่วโลก มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนมากจากนั้นจึงใช้ข้อมูลนี้เพื่อตรวจสอบสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมจากเซ็นเซอร์และดาวเทียมเหล่านี้ก่อให้เกิด Big Data และสามารถนำไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น : - ในการพยากรณ์อากาศ - เพื่อศึกษาภาวะโลกร้อน - ทำความเข้าใจกับรูปแบบของภัยพิบัติทางธรรมชาติ - เพื่อเตรียมการที่จำเป็นในกรณีเกิดเหตุการณ์วิกฤต - เพื่อเตรียมความพร้อมใช้งานของน้ำที่ใช้ได้ทั่วโลก ตัวอย่าง : IBM Deep Thunder ซึ่งเป็นโครงการวิจัยโดย IBM ใช้การพยากรณ์อากาศผ่านการคำนวณประสิทธิภาพสูงของ Big Data และยังช่วยโตเกียวในการวิเคราะห์อากาศสำหรับการเตือนภัยธรรมชาติ Big Data ในอุตสาหกรรมการขนส่ง ตั้งแต่มีการนำ Big Data มาใช้ในระบบขนส่ง ซึ่งทำให้ระบบขนส่งมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น และต่อไปนี้คือตัวอย่างบางส่วนของรูปแบบที่ระบบ Big Data มีส่วนช่วยในการขนส่ง การวางแผนเส้นทาง : สามารถใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อทำความเข้าใจและประเมินความต้องการของผู้ใช้ในเส้นทางที่แตกต่างกันและในโหมดการขนส่งที่หลากหลายและใช้การวางแผนเส้นทางเพื่อลดเวลารอของผู้ใช้เส้นทางอีกด้วย การจัดการความแออัดและการควบคุมการจราจร : การใช้ Big Data ในการประเมินแบบเรียลไทม์ของความแออัดและรูปแบบการจราจรที่เป็นไปได้ ตัวอย่าง เช่น ใช้ Google Maps เพื่อค้นหาเส้นทางที่สะดวกและเลี่ยงรถติด ระดับความปลอดภัยของการจราจร : การใช้การประมวลผล Big Data แบบเรียลไทม์และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์เพื่อระบุพื้นที่เสี่ยงภัยจากอุบัติเหตุสามารถช่วยลดอุบัติเหตุและเพิ่มระดับความปลอดภัยของการจราจรอีกด้วย ตัวอย่าง : Uber มีการใช้ Big Data มาวิเคราะห์รูปแบบการขับของคนขับและสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับลูกค้าที่เรียกใช้บริการอีกด้วย ดังนั้น เมื่อลูกค้ามีการเรียกใช้บริการ Uber ระบบจะทำการวิเคราะห์และเรียกใช้คนขับรถที่เหมาะสมให้กับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อความพึงพอใจของลูกค้าและทำให้ลูกค้าเกิดความสะดวกสบายในการใช้งานอีกด้วย Big Data ในกลุ่มธนาคาร ปริมาณข้อมูลในธนาคารกำลังพุ่งสูงขึ้นทุกวินาที จากการวิเคราห์ของ GDC ข้อมูลนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 700% ภายในปี 2563 ซึ่งการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลนี้จะสามารถช่วยตรวจจับการดำเนินการที่ผิดกฎหมายใด ๆ ที่กำลังจะดำเนินการหรือกำลังดำเนินการอยู่ได้ เช่น : - การใช้บัตรเครดิตในทางที่ผิด - การใช้บัตรเดบิตในทางที่ผิด - การจัดการอันตรายของสินเชื่อร่วม - ความชัดเจนทางธุรกิจ - การเปลี่ยนแปลงสถิติลูกค้า - การฟอกเงิน - การลดความเสี่ยง ตัวอย่าง : ซอฟต์แวร์ต่อต้านการฟอกเงินเช่น SAS AML และ Actimize ถูกนำไปใช้งานโดยองค์กรทางการเงินต่าง ๆเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการตรวจจับธุรกรรมที่น่าสงสัยและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าได้อ่างดีเยี่ยม โดยองค์กรทางการเงินแห่งหนึ่งคือ Bank of America ได้เป็นลูกค้าของ SAS AML มานานกว่า 25 ปี
01 มิ.ย. 2563