หมวดหมู่
“เอกนัฏ” ควงปลัดอุตฯ ลงใต้ เดินหน้า “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ยกระดับอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่
จังหวัดภูเก็ต - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่กับ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เยี่ยมชมสถานประกอบการ SME และชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อพัฒนาศักยภาพสร้างความเท่าเทียมให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล สอดคล้องกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ในการให้ความสำคัญ “Save อุตสาหกรรมไทย” สู่การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค โดย SME มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกลไกหมุนเวียนรายได้และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ จากรายงานสถานการณ์ SME ไทย ของสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในปี 2566 พบว่า มีผู้ประกอบการกว่า 3.24 ล้านราย กระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และจากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต (สอจ.ภูเก็ต) จึงได้ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค ผ่านกิจกรรมสร้างงาน สร้างอาชีพ และการกระจายรายได้ ให้คำปรึกษาพัฒนาบรรจุภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ด้านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ยังได้จัดฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม หรือ คพอ.ดีพร้อม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะด้านการบริหารจัดการในทุกมิติผ่านกระบวนการฝึกอบรม ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจ สู่การพัฒนาศักยภาพให้สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ยังได้เชิญ ธพว. มาร่วมสำรวจพื้นที่ด้วยกันว่ามีกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมาเพื่อใช้ประกอบกิจการและให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและเทคโนโลยีได้ง่ายมากยิ่งขึ้น “ผมและคณะได้เยี่ยมชมย่านเมืองเก่าภูเก็ต ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตจะมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ได้แก่ จีน อินเดีย ยุโรป มุสลิม เข้ามาตั้งถิ่นฐาน และได้สร้างบ้านเป็นตึกแถว มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ"ชิโน-ยูโรเปียน" ทั้งสองสองฝั่งถนน ถือเป็นจุดท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมอันเกิดจากการผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมจนเกิดเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด โดย สอจ.ภูเก็ต ได้เข้าไปส่งเสริมในด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) การส่งเสริมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ อาทิ การทอเศษผ้าปาเต๊ะด้วยกระบวนการประยุกต์การทอเส้นด้าย การปักลูกปัดสีและเลื่อม สกรีน การเพ้นท์สีลายน้ำให้มีมิติผสมผสานศิลปะ สถาปัตยกรรมจีน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ไปเยี่ยมชมร้านคุณแม่จู้ของฝากเมืองภูเก็ต (บริษัท แม่จู้ จำกัด) ร้านค้าภูมิปัญญาไทย (DIS SHOP) รายแรกของภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประกอบกิจการทำขนมอบแห้ง น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกตาแดง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพื้นเมืองหลากหลายชนิดและของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ต โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ให้การรับรอง Green Industry ระดับที่ 1 “ความมุ่งมั่นสีเขียว” ให้กับบริษัทฯ ในความมุ่งมั่นของนโยบายเป้าหมายและแผนงานที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน” รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวต่อว่า ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในภูเก็ต โดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ เราเข้าใจถึงความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ประกอบการในโครงการสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม” หรือ คพอ.(ดีพร้อม) สำหรับภูเก็ตมีการดำเนินงานมาแล้วทั้งหมด 7 รุ่น ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการ และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ ก็พร้อมที่จะสนับสนุนในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ นอกจากนี้อุตสาหกรรมหลักของภูเก็ตคือภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจในพื้นที่ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางด้าน Soft Power ภูเก็ต คือ อาหาร อาคาร อาภรณ์ อารมณ์ โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรมและอาหาร การเชื่อมโยงพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอาหาร หรือการโปรโมทสินค้าท้องถิ่นและวัฒนธรรมผ่านเวทีนานาชาติสู่การขยายตลาดในกลุ่มนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นก้าวสำคัญในการผลักดัน Soft Power ของไทยสู่ตลาดโลก และยังสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรม เน้นการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตอย่างยั่งยืน สู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภูมิภาคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามกรอบแนวคิด BCG เพื่อให้สถานประกอบการหรือวิสาหกิจนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับผลิตภาพการผลิตและสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีการใช้ทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนอีกด้วย
15 ต.ค. 2567
"รองอธิบดีดวงดาว" ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ภาคอีสาน ครั้งที่ 1/68
จ.อุบลราชธานี 4 ตุลาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1/2568 ประกอบไปด้วย 1) ผลการดำเนินงานในภาพรวมของเงินทุนหมุนเวียนฯ ศภ.4, ศภ.5, ศภ.6, และ ศภ.7 2) ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ครบระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี พร้อมทั้งเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาอนุมัติเงินกู้วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท รวมไปถึงพิจารณานำเสนอขออนุมัติตัดจำหน่ายหนี้สูญ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมประเภทดอกไม้ประดิษฐ์ อู่ซ่อมรถยนต์ และ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ณ ห้องประชุมผาแต้ม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
15 ต.ค. 2567
“ดีพร้อม” รับโจทย์ “รมต.เอกนัฏ” บูรณาการภาคเอกชน หารือเครือข่าย คพอ.ดีพร้อม ขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” พัฒนาหลักสูตร Upskill / Reskill ต่อยอดธุรกิจ
กรุงเทพ 3 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ. ดีพร้อม) ร่วมด้วย นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย และคณะผู้ประกอบการ พร้อมด้วย นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ. ดีพร้อม) ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่ง ดีพร้อม ได้เชื่อมโยงเครือข่าย คพอ.ดีพร้อม มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2523 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 44 ปี จำนวน 412 รุ่น เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพจากทั่วประเทศกว่า 13,000 ราย เกิดเชื่อมโยงเครือข่ายกันตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยน และการลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ในปี 2568 ดีพร้อม มีแผนที่จะ Upskill และ Reskill ปรับปรุงหลักสูตร คพอ.ดีพร้อม ให้ทันสมัยเท่าทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง พร้อมเชิญนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาให้ความรู้ และเพิ่มจำนวนรุ่นให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการในปัจจุบัน อีกทั้ง ยังมีการจัดงานเจรจาธุรกิจระหว่างสมาชิก คพอ.ดีพร้อม จำนวนไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ดีพร้อมวางแผนจัดประชุมกับ คพอ.ดีพร้อม ในทุกไตรมาส เพื่อเร่งพัฒนาต่อยอดธุรกิจ และสามารถสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการให้ครบคลุมทั่วประเทศ
15 ต.ค. 2567
"ปลัดฯ ณัฐพล" รับมอบถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม รับมอบถุงยังชีพ 1,958 ถุง จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย" เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการทั่วประเทศ
15 ต.ค. 2567
ภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงความยินดี ”อธิบดีดีพร้อม“ ในโอกาส ครม. ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2567 - นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมชาย เถื่อนสุวรรณ์ อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย และคณะผู้ประกอบการได้เข้าร่วมแสดงความยินดีแก่ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เนื่องในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) ณ ห้องอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter)
15 ต.ค. 2567
"ดีพร้อม" ร่วมแสดงความยินดี ต้อนรับอธิบดีใหม่ มุ่งขับเคลื่อนนโยบาย "การปฏิรูปอุตสาหกรรม"
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าสักการะองค์พระนารายณ์ พระภูมิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกราบพระพุทธรูปที่ประดิษฐาน ชั้น 6 ประจำอาคารกระทรวงอุตสาหกรรม และประจำอาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ก่อนเข้าห้องทำงานเป็นวันแรก เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมี นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมแสดงความยินดี ณ บริเวณองค์พระนารายณ์หน้ากระทรวงอุตสาหกรรม
15 ต.ค. 2567
"รองปลัดฯ ณัฏฐิญา รักษาราชการแทนอธิบดีดีพร้อม" ขานรับนโยบาย "เอกนัฏ" นำร่องดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 เป็นศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดันผลิตภัณฑ์ BCG ออกรายการ "ผู้หญิงยกกำลังแจ๋ว"
กรุงเทพฯ 2 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติในการร่วมบันทึกเทปรายการ "ผู้หญิงยกกำลังแจ๋ว" ในหัวข้อ ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 รองรับการเป็นศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม มีโรงงานต้นแบบให้บริการเครื่องจักร เพื่อทดลองการผลิต พร้อมส่งไม้ต่อผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์) ในการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย และสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของเอสเอ็มอีไทย ภายใต้โครงการยกระดับธุรกิจ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมี 4 พิธีกรผู้ดำเนินรายการ ได้แก่ คุณปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ (ปอ) คุณอภิสรา เกิดชูชื่น (ดาว) คุณณปภา ตันตระกูล (แพท) และคุณสุภาพร วงษ์ถ้วยทอง (บูม) ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย ในรายการดังกล่าวได้แนะนําจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) "Energy Bar plant-based" บาร์อัดแท่งให้พลังงานจากเศษเห็ดแครงที่เหลือทิ้ง 2) "Cacao Spread" จากโกโก้ที่ไม่สวย และจำหน่ายไม่ได้ราคามาสกัดเย็นพร้อมใส่สารความหวานจากกาเกา 3) "หมึกกรุบ" ขนมโปรตีนจากปีกปลาหมึกที่เหลือทิ้ง 4) "Super CoCoaBall" ผลิตภัณฑ์โกโก้แมส 90% มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และ 5) "ปลาทู bite" ที่มีโปรตีนและโอเมก้า 3 สูง จากก้างปลา หางปลา และหัวปลาที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตลูกชิ้น โดยมีกำหนดออกอากาศในวันที่ 10 ตุลาคม 2567 เวลา 08.00-08.25 น. รายการ “ผู้หญิงยกกำลังแจ๋ว “ ทางโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 Online ได้ที่เว็บไซต์ : http://www.ch3thailand.com หรือ https://www.youtube.com/@womanjaewch3490
15 ต.ค. 2567
"ปลัดฯ ณัฐพล" นำทีมกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมยินดีครบรอบ 22 ปี กพร.
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมแสดงความยินดีในเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ (กพร.) ครบรอบ 22 ปี โดยมี นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ เป็นประธานการจัดงาน ณ กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
15 ต.ค. 2567
“ดีพร้อม” ร่วมขับเคลื่อนนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรม ปรับปรุงกฎหมายเพื่ออุตสาหกรรมไทย
กรุงเทพฯ 30 กันยายน 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาในการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ และนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้การขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปอุตสาหกรรม บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม” เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้ง 14 ฉบับอย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินภารกิจเดิมและรองรับภารกิจใหม่ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต
15 ต.ค. 2567
รองปลัดฯ ณัฏฐิญา หนุน DIPROM “ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส” ดัน BCG ร่วมขับเคลื่อนในงาน ESG Symposium 2024: Driving Inclusive Green Transition
กรุงเทพฯ 30 กันยายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน ESG Symposium 2024: Driving Inclusive Green Transition ยิ่ง “เร่งเปลี่ยน” ยิ่ง “เพิ่มโอกาส” โดยมี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดงานพร้อมร่วมแสดงวิสัยทัศน์เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน พร้อมด้วย นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปูนซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหารของไทยเบฟเวอเรจ หน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหารภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ Hall 1 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยงาน ESG Symposium 2024 จัดขึ้นภายใต้ธีม “Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส” หลังจากครบ 1 ปีทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจ รวมทั้งผลักดัน “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทยให้เกิดขึ้นจริง ส่งเสริมการก่อสร้างสีเขียวด้วยปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ เอกชนจับมือจัดการแพคเกจจิ้งใช้แล้วผ่านโครงการรีไซเคิลแบบ Closed-Loop สนับสนุน SMEs เพิ่มโอกาสเข้าถึงความรู้เปลี่ยนธุรกิจสู่คาร์บอนต่ำ ผ่านโครงการ Go Together ได้นำข้อเสนอจากการหารือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1.Saraburi Sandbox โมเดลต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย 2. Circular Economy การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้คุ้มค่าสูงสุด 3.Just Transition การสนับสนุนทรัพยากรแก่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่าน 4.Technology for Decarbonization การพัฒนาเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ5. Sustainable Packaging Value Chain การจัดการแพคเกจจิ้งทั้งระบบอย่างยั่งยืน มานำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อร่วม-เร่ง-เปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ งาน ESG Symposium 2024 กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานในครั้งนี้ โดยออกบูธจัดแสดงการดําเนินโครงการ BCG DIPROM 2024 เพื่อแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมไทย ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG โดยแบ่งเป็น 3 โซนกิจกรรม ประกอบด้วย 1. โซนนิทรรศการ ได้แก่ โซน Bio Product เป็นการให้ความรู้และแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง จากความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น สมุนไพร ซุปเปอร์ และเส้นใย ภายใต้โมเดล Bio Economy โซน Upcycled Product เป็นการแสดงผลงาน การนําวัสดุเหลือใช้ หรือของเสีย มาเพิ่มมูลค่าเป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้โมเดล Circular Economy และโซน Carbon Footprint in Daily Life การแสดง Carbon Footprint ในชีวิตประจําวัน และผลิตภัณฑ์ รวมถึงแนวทางการพัฒนาของดีพร้อมในการยกระดับธุรกิจ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้โมเดล Green Economy 2. โซนกิจกรรม Exploration Game เป็นการประยุกต์แนวคิด B-C-G มาพัฒนาเป็นบอร์ดเกมส์ เพื่อสอดแทรกองค์ความรู้ด้าน BCG และ 3. โซนทดสอบตลาดของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย โซน Marketplace ร้านค้ากลุ่ม Sustainable Product และโซน Food Festival ร้านค้ากลุ่ม Food Innovation Product
15 ต.ค. 2567