หมวดหมู่
ดีพร้อม" ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานเครื่องดื่มดี ๆ ... ที่ทุกคนต้องมา
CRAFT DRINK by DIPROM ศาสตร์และศิลป์เครื่องดื่มไทย นำธุรกิจไกลสู่สากล ระหว่างวันที่ 5 - 10 กันยายน 2567 10.00 - 22.00 น. ณ ลานหน้าห้าง central wOrld มาร่วม ช้อป กาแฟ โกโก้ สุราชุมชน จากทั่วประเทศกว่า 120 ร้านค้า เชียร์ การแข่งขัน Cocoarista และ Speed Latte Art ชิม เมนูพิเศษ จากโชว์บาริสต้า ชื่อดัง ชมมินิคอนเสิร์ต จากศิลปินสุดฮอต และกิจกรรมความบันเทิงอีกมากมาย
26 ส.ค 2567
เชิญเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและบริการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น
ขอเชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและบริการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น Mobile Unit Business Consultant 2024 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายในกิจกรรมประกอบด้วย การแนะนำการให้บริการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 การให้บริการคำแนะนำด้านการบริหารจัดการธุรกิจ การผลิต การลดต้นทุน การตลาด การเงิน/บัญชี เงินทุนหมุนเวียน ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน โมเดลเศรษฐกิจ BCG การให้บริการข้อมูลศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไปที่เริ่มต้นธุรกิจ บุคคลทั่วไปที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว และอยากแก้ไขปัญหา พัฒนา ต่อยอดการดำเนินธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชน วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น.-16.00 น. ณ โรงแรมรอยัลฮิลล์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดนครนายก สนใจสมัคร หมายเหตุ การสมัครจะต้องเป็นสมาชิกระบบบริการดีพร้อมของกระทรวงอุตสาหกรรมแล้วเท่านั้น หากยังไม่เป็น สมัครง่ายๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย https://i.industry.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 06 4637 2752 (สุดาพร)
21 ส.ค 2567
เชิญเข้าร่วมงาน "CEO Business Meeting for Innovative Industry 2024/ Medical Equipment 2024"
ดีพร้อมและ SMRJ ขอเชิญชวน CEO ไทย เข้าร่วมงาน CEO Business Meeting for Innovative Industry 2024/ Medical Equipment 2024 รูปแบบออนไลน์ ในเดือนมกราคม 2568 งานดังกล่าวเป็นการเจรจาธุรกิจระหว่าง CEO ไทย-ญี่ปุ่นเพื่อโอกาสขยายธุรกิจสู่ตลาดญี่ปุ่น และเสริมสร้างเครือข่าย CEO ไทย-ญี่ปุ่น อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไอที เครื่องจักรอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ การดูแลสุขภาพ เข้าร่วมงานฯ ไม่มีค่าใช้จ่าย ฟรี มีบริการล่ามไทย-ญี่ปุ่น ฟรี ดาวน์โหลดใบสมัคร+รายละเอียดงาน ได้ที่ https://shorturl.at/FFabj ส่งแบบฟอร์มฯ พร้อมข้อมูลที่สมบูรณ์ ที่อีเมล์ intercoop.dip@gmail.com ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ทาง SMRJ ประเทศญี่ปุ่น จะแจ้งผลการคัดเลือกให้ทราบผ่านทางอีเมล์ต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 0 2430 6867 ต่อ 1414 intercoop.dip@gmail.com
20 ส.ค 2567
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีมพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2567 มุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 26 กรกฎาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2567 พร้อมด้วย นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะทำงานฯ ร่วมพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมที่เหมาะสม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบ Zoom Meeting ในการประชุมครั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้ร่วมกันพิจารณากรอบแนวคิด และทิศทางการทำงานตามนโยบาย “MIND” ที่มุ่งพัฒนา “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ ที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” และกำหนดกรอบรายละเอียดของเกณฑ์การพิจารณาต่าง ๆ ภายใต้แนวทางการปรับอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญในการยกระดับทุกองค์ประกอบของภาคอุตสาหกรรม ควบคู่กับการสร้างความเข้มแข็ง และการกระจายรายได้สู่ชุมชน ด้วย “หัว” และ “ใจ” เพื่อให้สามารถเฟ้นหาแบบอย่างโรงงานอุตสาหกรรม หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เก่งและดี สามารถอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างเป็นมิตร และยั่งยืน ดร.ณัฐพล กล่าวว่า การประชุมดังกล่าว ถือเป็นการเปิดตัวการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) อย่างเป็นทางการ โดยมุ่งเน้นการให้รางวัลกับสถานประกอบการที่มีความวิริยอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อุตสาหกรรมอื่น ๆ อันจะนำมาซึ่งการพัฒนามาตรฐาน และการประกอบการในด้านต่าง ๆ อย่างมีศักยภาพ รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ภายใต้ข้อกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 14 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม (The Prime Minister’s Best Industry Award) จำนวน 1 รางวัล ซึ่งคัดเลือกจากสถานประกอบการที่เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ประเภท และเป็นสถานประกอบการที่มีการพัฒนาศักยภาพขีดความสามรถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล และมีความเป็นเลิศทั้งในด้านการผลิต การบริหารจัดการ การตลาด และการลงทุน มีการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของตนเอง และสามารถสร้างการพัฒนาให้กับอุตสาหกรรมในภาพรวมได้อย่างชัดเจน 2. รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น (The Prime Minister’s Industry Award) แบ่งเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทการเพิ่มผลผลิต 2) ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3) ประเภทการบริหารความปลอดภัย 4) ประเภทการบริหารงานคุณภาพ 5) ประเภทการจัดการพลังงาน 6) ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 7) ประเภทอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 8) ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม และ 9) ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน 3. รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น (The Prime Minister’s Small and Medium Industry Award) แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทการบริหารจัดการที่ดี 2) ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 3) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม และ 4) ประเภทการบริหารธุรกิจสู่สากล ในปีนี้กระทรวงอุตสาหกรรมยังมีรางวัลพิเศษที่ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว คือ ทูตอุตสาหกรรมภาคเอกชน หรือ MIND Ambassador เพื่อมอบให้แก่สถานประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งในปีที่ผ่านมา บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม พร้อมตำแหน่ง ทูตอุตสาหกรรมภาคเอกชน (MIND Ambassador) โดยได้ร่วมดำเนินงานในการยกระดับภาคอุตสาหกรรม ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม อาทิ ให้การสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้น สร้างโอกาสให้เจ้าของไอเดียธุรกิจที่พร้อมจะเป็นผู้ประกอบการใหม่หรือวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สามารถช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบสถานประกอบการให้ดีขึ้น รวมถึงร่วมเป็นคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ดร.ณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเชิญชวนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมสมัครเข้ารับคัดเลือก “รางวัลอุตสาหกรรม” ประจำปี 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) รางวัลแห่งเกียรติยศภาคอุตสาหกรรมไทย ซึ่งผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติและผ่านการคัดเลือกจะได้รับประกาศเกียรติคุณและโล่รางวัลเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี สำหรับ “รางวัลอุตสาหกรรม” เป็นส่วนสำคัญในการสร้างรากฐานภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีความแข็งแกร่ง พัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก และสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้ง ยังเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าอุตสาหกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดสากล ตลอดจนพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป
14 ส.ค 2567
"รสอ. ดวงดาว" เปิดกิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการอัจฉริยะ (NEC DIPROM Business Partnerships) มุ่งสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
จ.เพชรบุรี 30 กรกฎาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการอัจฉริยะ (NEC DIPROM Business Partnerships) ภายใต้โครงการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วย ผู้ประกอบการจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจำนวน 40 คน โดยมี นางสาวเยาวนิจ แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการกลุ่มสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ กล่าวรายงาน ณ ซีไซด์ ซิตี้ ชะอำ กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างโอกาสในการจัดตั้งและขยายธุรกิจ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ประกอบไปด้วย การสร้างความคุ้นเคย (Networking) การก้าวสู่ภาวะความเป็นผู้นำ และ Business Matching รวมไปถึงการเสริมองค์ความรู้ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้จากการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการสร้างเครือข่ายธุรกิจ (Business Connection) แบบมืออาชีพสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและผลิตภาพเชิงธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการได้มีความพร้อมในการสร้างเครือข่ายธุรกิจ อันจะเป็นรากฐานที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
14 ส.ค 2567
"รสอ. วาที" ร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ครั้งที่ 5/2567
กรุงเทพฯ 30 กรกฎาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ครั้งที่ 5/2567 พร้อมด้วย คณะกรรมการและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงทห์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1) ขอรับรองเป็นองค์กรอาชีพ สมาคมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก 2) ขอรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานตามกฎหมาย 3) ร่างประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในหลายเรื่อง เช่น คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ วิธีการทดสอบ และอัตราค่าทดสอบในสาขาอาชีพต่าง ๆ 4) ประมาณการรายรับรายจ่ายกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน และแผนการปฏิบัติงานประจำปี นอกจากนี้ ยังได้รายงานความคืบหน้าของกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน และผลการพิจารณาอนุมัติการให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 รวมทั้งผลการให้กู้ยืมเงินและการชำระเงินกู้ยืมกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน และผลการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานของสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
14 ส.ค 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมงานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
กรุงเทพฯ 29 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะศรีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และนายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เข้าเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยรัฐบาลได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดงาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล สำหรับการจัดงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ครั้งนี้ รัฐบาลได้เชิญผู้ร่วมงานทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายต่างประเทศเช่นที่เคยเชิญในงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติฯ โดยเชิญผู้ได้รับเชิญพร้อมคู่สมรส จำนวนทั้งหมดประมาณ 1,956 คู่ ประกอบด้วย พระราชวงศ์ ส่วนราชการในพระองค์ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ อดีตนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมืองในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ทหาร/ตำรวจ ระดับเจ้ากรม หรือตำแหน่งหลักทางบริหารระดับพลโทขึ้นไป เอกอัครราชทูต เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยซึ่งมีถิ่นพำนักในต่างประเทศ กงสุลกิตติมศักดิ์ประเทศต่าง ๆ ประจำประเทศไทย และกงสุลอาชีพ ผู้แทนสหประชาชาติในประเทศไทย หัวหน้า/รองหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ประธานสภา/สมาคมต่าง ๆ / (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย) ประธานมูลนิธิ (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ (สื่อมวลชนและสื่อมวลชนต่างประเทศที่ประจำประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายภาคเอกชน
14 ส.ค 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมงานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
กรุงเทพฯ 29 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะศรีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และนายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เข้าเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยรัฐบาลได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดงาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล สำหรับการจัดงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ครั้งนี้ รัฐบาลได้เชิญผู้ร่วมงานทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายต่างประเทศเช่นที่เคยเชิญในงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติฯ โดยเชิญผู้ได้รับเชิญพร้อมคู่สมรส จำนวนทั้งหมดประมาณ 1,956 คู่ ประกอบด้วย พระราชวงศ์ ส่วนราชการในพระองค์ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ อดีตนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมืองในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ทหาร/ตำรวจ ระดับเจ้ากรม หรือตำแหน่งหลักทางบริหารระดับพลโทขึ้นไป เอกอัครราชทูต เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยซึ่งมีถิ่นพำนักในต่างประเทศ กงสุลกิตติมศักดิ์ประเทศต่าง ๆ ประจำประเทศไทย และกงสุลอาชีพ ผู้แทนสหประชาชาติในประเทศไทย หัวหน้า/รองหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ประธานสภา/สมาคมต่าง ๆ / (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย) ประธานมูลนิธิ (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ (สื่อมวลชนและสื่อมวลชนต่างประเทศที่ประจำประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายภาคเอกชน
14 ส.ค 2567
“ดีพร้อม” เดินหน้าดันโลจิสติกส์ไทยให้เป็นเลิศอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 26 กรกฎาคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานเสวนา “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน” โดยมีนางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรม พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ (รางน้ำ) กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่แนวปฏิบัติการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นเลิศ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการตลอดจนบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้ประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และสามารถปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ของสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ในปี 2567 ดีพร้อม มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ให้มีความสามารถในการยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการยกระดับมาตรฐาน และช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,800 ล้านบาท และแผนในปี 2568 จะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการ จำนวน 350 กิจการ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2,100 ล้านบาท
13 ส.ค 2567
"รสอ.วาที" ล่องใต้ มอบวุฒิบัตร “คพอ.ดีพร้อม” ดันศักยภาพการประกอบธุรกิจภาคใต้ให้ยั่งยืน
จ.สงขลา 26 กรกฎาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบวุฒิบัตรหลักสูตร “พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม)” ภายใต้โครงการการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านการบริหารจัดการ พร้อมด้วย นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นางจันทร์จิรา บางเสน อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา นายสุวิทย์ ตันรัตนากร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา นางสาวจิตจัณ สาระวิโรจน์ รองประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา ผศ.ดร.รัญชนา สินธวาลัย รองผู้อำนวยวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นางสาวชวัลลักษณ์ นุรักษ์ ผู้จัดการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดสงขลา นางสาวอัญชัน ไชยพงศ์ ผู้จัดการศูนย์กลุ่มจังหวัดให้บริการ SMEs ครบวงจร ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นางสาวจุฑามาศ ทองสุวรรณ์ ผู้จัดการส่วนสาขาภูมิภาค (จังหวัดสงขลา) สถาบันอาหาร โดยมี นายภควัต ศิริมหาชัย นายกสมาคมเอสเอ็มอีจังหวัดสงขลา กล่าวต้อนรับ นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย (FA SME) กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กล่าวรายงาน ณ โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ กิจกรรมดังกล่าว เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำองค์กร ระหว่าง คพอ.ดีพร้อม รุ่นที่ 410 จังหวัดชุมพร รุ่นที่ 411 จังหวัดสงขลา เครือข่ายผู้นำองค์กร จำนวน 10 หน่วยงาน และพิธีมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม ซึ่ง คพอ.ดีพร้อม เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและนโยบาย “Reshape The Future” โดยมีเป้าหมาย เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าสู่กระบวนการพัฒนาอย่างรอบด้าน ตั้งแต่กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ ไปจนถึงทักษะด้านการบริหารจัดการในทุกมิติ ผ่านกระบวนการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทย (Sharing Economy) ตลอดจนการเตรียมความพร้อม SMEs ในการพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจให้เติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
13 ส.ค 2567