หมวดหมู่
เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะฯ และกำหนดวัน เวลา สถานที่ในการประเมินฯ ต.นักวิชาการเงินและบัญชี ศภ.9 จ.ชลบุรี
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะเป็นพนักงานราชการทั่วไป และกำหนดวัน เวลา สถานที่ ในการประเมินสมรรถนะ ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี /Portals/0/สบก/กบ_สบก_/เอกสารแนบ/22-2556.pdf
05 ก.พ. 2556
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เป็นลูกจ้างชั่วคราว(เงินทุนหมุนเวียน)
ตามประกาศ " ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 " ลงวันที่ 25 มกราคม 2556 เรื่อง "รับสมัครเพื่อคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราว(เงินทุนหมุนเวียน) " ตำแหน่งนิติกร และ ตำแหน่งนักบัญชี นั้น บัดนี้ การรับสมัครได้สิ้นสุดลงแล้ว ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้ เอกสารแนบ
04 ก.พ. 2556
เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรม ศภ.10 จ.สุราษฎร์ธานี
เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรม ศภ.10 จ.สุราษฎร์ธานี /Portals/0/สบก/กบ_สบก_/เอกสารแนบ/20-2556.pdf
01 ก.พ. 2556
เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะเป็นพนักงานราชการทั่วไป และกำหนดวัน เวลา สถานที่ ในการประเมินสมรรถนะ ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรม ศภ.5
เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะเป็นพนักงานราชการทั่วไป และกำหนดวัน เวลา สถานที่ ในการประเมินสมรรถนะ ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรม ศภ.5 จ.ขอนแก่น /Portals/0/สบก/กบ_สบก_/เอกสารแนบ/19-2556.pdf
01 ก.พ. 2556
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง นักบัญชี จำนวน 1 อัตรา
ด้วย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 มีความประสงค์จะรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราว เพื่อปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 จังหวัดขอนแก่น ตำแหน่ง นักบัญชี จำนวน 1 อัตรา อัตราค่าจ้างเดือนละ 8,340 บาท และเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว เดือนละ 6,660 บาท ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1. เพศชายหรือหญิง อายุตั้งแต่ 23 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40 ปี 2. ได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี 3. สามารถใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม Word, Excel และ Power Point ได้เป็นอย่างดี ผู้สนใจขอและยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 เลขที่ 86 ถ.มิตรภาพ ต.สำราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4337-9296-9 ประกาศ
01 ก.พ. 2556
บริษัท เซาเทอลี่ จำกัด ลดความสูญเสีย = ลดต้นทุนและเวลา
สำหรับโลกธุรกิจแล้ว “เวลา” ก็นับเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้ “ต้นทุน” ที่เป็นตัวเงิน ก่อนหน้านี้ บริษัท เซาเทอลี่ จำกัด ผู้ผลิตงานเครื่องประดับเงินและทองคำป้อนตลาดยุโรปและออสเตรเลียต้องประสบปัญหาในกระบวนการผลิต เช่น สีของทองคำไม่ได้เฉดตามที่ลูกค้าต้องการ การผลิตบางออร์เดอร์เสียหายเกือบทั้งลอต ทำให้ต้องหล่อชิ้นงานซ้ำ ๆ และซ่อมชิ้นงานหลายครั้งกว่าจะผ่านตามความต้องการลูกค้าจึงทำได้ล่าช้าและเป็นปัญหาบ่อยครั้ง เมื่อปี 2556 จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ “การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ SMEs ในอุตสาหกรรมรายสาขา (ด้านการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ)” โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการผลิตโดยเน้นกระบวนการทำงานให้ดีขึ้นและลดปริมาณความสูญเสียประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งปัจจุบันแม้จะมีเครื่องจักรผลิตที่ทันสมัย แต่หลายขั้นตอนยังต้องอาศัยความรับผิดชอบ จากแรงงานเป็นสำคัญ โครงการจึงเน้นให้ความรู้ทางวิชาการเพื่อปรับฐานความรู้ให้กับพนักงานในแผนกต่าง ๆ ให้มีความรู้ด้านกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง และให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตตั้งแต่แม่พิมพ์ การติดต้นเทียนที่เหมาะสม การปรับทางเดินน้ำโลหะให้เหมาะกับดีไซน์ของชิ้นงาน การหล่อ การแต่งประกอบชิ้นงาน และกระบวนการชุบ รวมทั้งข้อควรระวังในการจัดหาวัตถุดิบและเครื่องจักร เนื่องจากพบว่าวัตถุดิบและเครื่องจักรมีผลต่อกระบวนการผลิตในบางออร์เดอร์ของบริษัท “การปลุกจิตวิญญาณ ปลุกความตื่นตัวของพนักงานเราที่มีร้อยกว่าชีวิตให้มีความระมัดระวังและใส่ใจมากขึ้น ซึ่งหลังจากการเข้าร่วมโครงการ บริษัทมีของเสียลดลงมาก ปริมาณการหล่อซ่อมและการซ่อมชิ้นงานลดลงอย่างชัดเจน สามารถส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด ส่งผลให้มีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นในที่สุด” คุณนุชนาถ นันทบุรุษ ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท เซาเทอลี่ จำกัด กล่าว เมื่อสามารถลดได้ทั้งต้นทุนและเวลา ศักยภาพการแข่งขันก็ย่อมจะผกผันไปในทางตรงกันข้าม คุณนุชนาถ นันทบุรุษ บริษัท เซาเทอลี่ จำกัด 16/23 ซ.ลุงสอง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 โทร. 038 053 850-1 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556
ไร่ชาโชคจำเริญ ก้าวสู่มาตรฐาน NOP
ธุรกิจชาเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีศักยภาพ นอกจากผู้บริโภคในประเทศไทยแล้ว ยังสามารถส่งออกไปยังประเทศที่มีวัฒนธรรมการดื่มชาซึ่งมีมากมาย ทั้งในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และยุโรป ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ จึงส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมชา หรือ “คลัสเตอร์ชา” ในอำเภอแม่สลอง จังหวัดเชียงราย อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งการที่พื้นที่อำเภอแม่สลองอยู่บนยอดดอยสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร ผสมผสานกับภูมิปัญญาในการปลูกและวิธีเก็บชาของคนในพื้นที่ที่มีมายาวนานกว่า 40 ปี เอื้อให้เกิดผลิตผลที่ดี แต่หากเสริมด้วยความรู้ในการจัดการให้ตรงตามมาตรฐานที่ตลาดโลกต้องการ ย่อมมีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น คุณจำเริญ ชีวินเฉลิมโชติ ผ่านบททดสอบชีวิตมาอย่างโชกโชน ก่อนมาทำธุรกิจไร่ชาในปี 2518 และเริ่มดีขึ้นในปี 2532 หลังจากได้ไปศึกษาดูงานที่ไต้หวัน และพบว่าชาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถเก็บผลผลิตได้ปีละหลายครั้ง “ใบชาโชคจำเริญ” เน้นผลิตชาคุณภาพสูง โดยมีการผลิตและจำหน่ายชากว่า 10 ชนิด อาทิ ชาเขียวอู่หลง ชาต้งติ่ง ชาอู่หลงก้านอ่อนใหม่ ชาอู่หลงเบอร์ 12 ชามรกต เจียวกู่หลาน ชาโสมอู่หลง ชาชิงชิง อู่หลง และอีกมากมาย ในปีที่ผ่านมาใบชาโชคจำเริญที่ได้รับการส่งเสริมจาก ศภ.1 จึงเป็นผู้ประกอบการ 1 ใน 11 ราย ที่ได้รับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (National Organic Program : NOP ) ของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดอเมริกาและยุโรปได้ด้วยการดื่มชาที่มิได้เพียงแค่ดับกระหาย แต่ยังแสดงถึงวัฒนธรรมอันละเอียดอ่อน ดังนั้นนอกเหนือจากคุณภาพของชาแล้ว คุณจำเริญ ยังให้ความสำคัญกับความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ทั้งแบบกล่อง ซอง ขวด ที่เน้นลวดลายธรรมชาติแบบจีนโบราณ เหมาะสำหรับการมอบให้เป็นของฝากหรือชุดของขวัญที่มาพร้อมกับชุดชงชาซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาด นับเป็นหนึ่งในอีกหลายความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชาอย่างไม่หยุดยั้ง และเรียนรู้การต่อยอดธุรกิจที่มิได้จำหน่ายเพียง “ใบชา” หากแต่จำหน่าย “วัฒนธรรมการดื่มชา” ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย คุณจำเริญ ชีวินเฉลิมโชติ บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด 5 หมู่ที่ 1 ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 57110 โทร. 053 765 114-9, 08 1883 4875 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556
ถ่านอัดแท่งป้าจงดี ต่อยอดสู่ศูนย์ท่องเที่ยวและศูนย์การเรียนรู้
การมีโอกาสได้เรียนรู้และดูงานการทำถ่านอัดแท่งจากโครงการหลวงเมื่อปี 2545 เป็นการจุดประกายให้กับคุณพ่อของ คุณเด่นนภา รัษฐปานะ ผู้ผลิตและทำตลาดถ่านอัดแท่งตรา “ป้าจงดี” ซึ่งได้พัฒนาคุณภาพจนสามารถวางจำหน่ายในห้างแมคโครทั่วประเทศ ยกระดับให้เป็นสินค้าโอทอปของปทุมธานี และสามารถส่งออกผ่านคู่ค้าไปจำหน่ายอยู่ในหลายประเทศ หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณเด่นนภาในฐานะทายาทเข้ามาช่วยคุณพ่อดูแลกิจการ ปัจจุบันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธัญญะเข้มแข็ง จังหวัดปทุมธานี ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี จนกระทั่งในปี 2553 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ เครื่องจักรและการผลิตเสียหาย จึงขอรับความช่วยเหลือจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เข้ามาดูแลเรื่องเครื่องจักร และรับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อนำมาปรับปรุงโรงงาน ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ปลายปี 2555 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2556 คุณเด่นนภายังมีโอกาสเข้าร่วมโครงการ “การพัฒนาทายาทวิสาหกิจชุมชนรุ่นใหม่” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการต่อยอดธุรกิจ เช่น การพัฒนา “ถ่านดูดกลิ่น” ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่มีการเติบโตสูงกว่า50-60% นอกจากนั้นยังมองเห็นโอกาสจากธุรกิจท่องเที่ยวด้วย “เราเปิดให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธัญญะเข้มแข็งเป็นศูนย์การเรียนรู้ และเป็นโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวหรือกลุ่มผู้สนใจมาศึกษาดูงานและสามารถพักค้างคืนเพื่อเรียนรู้กระบวนการผลิตได้อย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน ซึ่งสามารถรองรับผู้ศึกษาดูงานได้กลุ่มละประมาณ 50 คน” คุณเด่นนภาเล่าถึงธุรกิจที่เธอสานต่อจากพ่ออย่างมีชีวิตชีวา หากมองว่าถ่านคือถ่าน มันก็จะเป็นเพียงถ่าน แต่สำหรับวิสาหกิจชุมชนธัญญะเข้มแข็งแล้ว ถ่านและโรงผลิตถ่านคือห้องเรียนขนาดใหญ่ที่คนในชุมชนได้มาเรียนรู้และสร้างโอกาสร่วมกัน คุณเด่นนภา รัษฐปานะ “ถ่านอัดแท่งป้าจงดี” วิสาหกิจชุมชนธัญญะเข้มแข็ง 133/354 หมู่บ้านเอ็มพี คลอง 6 ถ.รังสิต-นครนายก ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 โทร. 0 2577 3253, 08 1458 5055 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556
นะโม น้ำมนต์ ฟาร์ม ปลูกผัก ปลูกธุรกิจ ปลูกสังคม
เมื่อตัดสินใจยุติธุรกิจด้านการจัดอีเวนต์และเอ็กซิบิชั่นเข้าสู่อาชีพใหม่ คุณอุไร เพ็ชรรัตน์ และทีมงานเล็กๆ ได้ลงมือพลิกฟื้นผืนดินว่างเปล่ากว่า 50 ไร่ ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เพื่อเตรียมปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics) พร้อมกันนั้นก็เตรียมความพร้อมตนเองเดินสายเรียนรู้การปลูกผักจากหน่วยงานต่างๆ หลายแห่งเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ คุณอุไรเปรียบแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นทั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนชีวิตและธุรกิจ เคยแม้แต่กระทั่งสูญเงินกว่า 7 แสนบาท จากการที่ไม่ได้เตรียมแผนการตลาดไว้ล่วงหน้าและอีกสารพันบททดสอบ ดังนั้นนอกจากองค์ความรู้ด้านการเกษตรแล้ว ความรู้ด้านธุรกิจก็สำคัญไม่แพ้กัน คุณอุไรจึงเข้าร่วมอบรม “โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC)” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เรียนรู้การเขียนแผนธุรกิจจากความเป็นจริง การคำนวณต้นทุน การบริหารงานต่างๆ ทำให้มีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น ปัจจุบันนอกจากพัฒนาการปลูกภายใต้โรงเรือนระบบ Evap (Evaporative Cooling Greenhouse) ซึ่งเป็นระบบการให้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและลดอุณหภูมิภายในให้ต่ำกว่าสภาพภายนอกโรงเรือน และสร้างแบรนด์ “Veggie Veggie by Namo Nammon Farm” แล้ว ยังได้เพิ่มช่องทางการตลาดที่เดิมเน้นจำหน่ายในย่านตลาดนัด มาขายผักสดจากฟาร์มส่งตรงถึงผู้บริโภค และพัฒนาเมนูผักพร้อมน้ำสลัดหลากหลายรสชาติวางขายในร้านเล็กๆ ของตนเองชื่อร้านว่า Veggie Veggie ย่านถนนพระอาทิตย์ เมื่อธุรกิจประสบความสำเร็จ คุณอุไรได้ถ่ายทอดความรู้นี้ไปยังนักเรียนและมอบอุปกรณ์สำหรับการปลูกผักเพื่อให้โรงเรียนมีอาหารที่สะอาดปลอดภัย อีกทั้งเป็นการฝึกให้เยาวชนมีความรับผิดชอบและสามารถพึ่งพาตนเองได้ เพราะเป้าหมายสำคัญในใจของคุณอุไรไม่ใช่เพียงการปลูกผัก แต่ยังร่วมปลูกสังคมให้งอกงามด้วย “เราเป็นเกษตรกร เป็นกิจการเล็กๆ เพื่อสังคม แต่วันหนึ่งจะทำให้คนเห็นว่า เราจะขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมเพื่อสังคมให้ได้” คุณอุไร เพ็ชรรัตน์ บริษัท นะโม น้ำมนต์ ฟาร์ม จำกัด 18/8 หมู่ที่ 2 ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120 โทร. 0 2282 5770, 08 9921 2839, 08 4916 0987 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556
เพิ่มสมรรถนะองค์กร ด้วยมุมมองบุคคลที่ 3
องค์กรชั้นนำที่มีความก้าวหน้ามักวางกลไกที่เปิดโอกาสให้มีองค์กรภายนอกหรือบุคคลที่ 3 เข้าร่วมวางแผนงาน เพื่อเสริมมุมมอง ให้คำแนะนำ รวมถึงประเมินตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อช่วยเสริมสมรรถนะให้ธุรกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงได้จัดทำโครงการ “การสร้างและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Service Provider : SP)” เพื่อสร้างที่ปรึกษาให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอที่จะให้บริการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม คุณอัษฎาวุธ แสงนภาเพ็ญ ได้เข้าร่วมโครงการและได้เป็นที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 2013 สาขาวินิจฉัยสถานประกอบการ โดยได้เข้าให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการแปรรูปยางพารา บริษัทแห่งนี้ได้เปิดทำการในปี 2545 เป็นบริษัทสาขาทำหน้าที่แปรรูปไม้ยางพาราเกรด A, B, C จำหน่ายให้บริษัทแม่ 100% บริษัทได้เข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 3 ปี โดยมีนโยบายที่จะสร้างบริษัทแห่งความสุขสำหรับทุกคนในองค์กร และต้องการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน จึงได้เข้าร่วมกิจกรรม “การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน(MDICP)” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทีมนักวินิจฉัยที่กรมฯ ได้พัฒนาได้วิเคราะห์ผลประกอบการ พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กิจการมีผลประกอบการติดลบ เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาแพงขึ้นจากการแข่งขันเพื่อแย่งกันซื้อไม้ท่อน ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบเทียบยอดขายสูงถึง 91% ขณะที่ราคาจำหน่าย by product ราคาต่ำลงจากเดิมมาก ทีมนักวิจัยจึงเริ่มวางแนวทางแก้ไขปัญหาคือ 1. การจัดทำเกณฑ์การรับซื้อไม้ท่อนและการควบคุมคุณภาพไม้ท่อน 2. การปรับปรุงวิธีการเลื่อยเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น พร้อมทั้งหาประเด็นเร่งด่วนที่ควรแก้ไข ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นแผนการปรับปรุงในปีที่ผ่านมา โดยผลปรากฏว่า หลังจากการเข้าร่วมโครงการ MDICP บริษัทสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตการแปรรูปไม้ได้สูงขึ้นเป็น 6 ft3/T คิดเป็นมูลค่า 3.6ล้านต่อปี นับเป็นผลสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างดียิ่ง คุณอัษฎาวุธ แสงนภาเพ็ญ 198 ถนนลาซาล แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 08 1553 2420 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556