หมวดหมู่
ที่ปรึกษาฯ ดนัยณัฏฐ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน”
จ.ระนอง 15 พฤษภาคม 2567นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน” พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง นายโดม ถนอนบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายวัฒนา แก้วประจุ ผู้อำนวยการภาค 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นางสาวอุรัชญา เมธานันท์ เลขานุการ นายก อบจ. นายสุมิตร รักษา เลขานุการ นายก อบจ.ระนอง นายพรเทพ ผ่องศรี ที่ปรึกษานายก อบจ.ระนอง นายวรชัย แก้วแสงทอง สมาชิกสภาองค์การบริหารสํวนจังหวัดเขตอําเภอกะเปอร์ นายอมรพันธ์ ศรีรักษ์ ปลัดอาวุโสอำเภอกะเปอร์ นายสถาพร สิงห์แก้ว กำนันตำบลบ้านนา นายสวัสดิ์ สุดใจใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1-8 ตำบลบ้านนา และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1-7 ตำบลเชี่ยวเหลียง ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่ 6 ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ลงพื้นที่ดังกล่าว ดีพร้อมได้กำหนดหลักสูตร “การทำขนมโดนัท” รวมทั้งรวมกิจกรรมการทำโดนัท ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสสิ้น 150 คน โดยทำขนมโดนัท 2 รูปแบบ ได้แก่ โดนัทนมสด (คลุกน้ำตาล) และขนมโดนัทเค้ก (โดนัทลูกเกด/โดนัทฝอยทอง/โดนัทส้ม) โดยกิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งเป็นรากฐานของสังคม และส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย สร้างอาชีพให้ประชาชนที่สนใจ ตามแนวทางนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการ ยกระดับความสามารถสร้างการแข่งขัน และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน คาดว่ากิจกรรมดังกล่าวจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนได้กว่า 3 ล้านบาทต่อปี
19 พ.ค. 2567
ดีพร้อม ผนึกกำลัง กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ผลักดันผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกสู่เชิงพาณิชย์ หวังตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม คาดสร้างโอกาสธุรกิจเจาะกลุ่มผู้สูงอายุ
จ.เชียงใหม่ 15 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ยกระดับเกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) ภายใต้ โครงการยกระดับฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Creative LANNA Forward) พร้อมด้วย นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ สตอรี่ปิงริเวอร์ (STORIES PING RIVER) กิจกรรมดังกล่าว ดีพร้อม ได้ผนึกกำลังกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เดินหน้ายกระดับเกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) สู่เชิงพาณิชย์ 15 ผลิตภัณฑ์/กิจการ ตอบโจทย์เทรนด์บริโภคของคนรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เน้นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม คาดสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรแปรรูป ภายใต้แนวคิด “การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนทางธรรมชาติ และความมั่นคงทางอาหาร” หวังยกระดับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่สู่การขับเคลื่อนและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือในอนาคต
19 พ.ค. 2567
“รสอ.วัชรุน” ประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ เร่งพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล
กรุงเทพฯ 15 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมและบูรณาการอุตสาหกรรมและนวัตกรรมใหม่ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ในประเด็นเรื่อง “การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล” พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผู้แทนการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้แทนสถาบันอาหาร ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางสาวกุลวลี นพอมรบดี ประธานอนุกรรมาธิการฯ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 310 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา การประชุมดังกล่าว คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) การผลักดันการเพิ่มหน่วยงานในการรับรองมาตรฐานฮาลาล 2) การดำเนินการแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาการรับรองเครื่องหมายฮาลาล 3) การส่งเสริมให้ความรู้ผู้ประกอบการให้มีความเข้าใจในตลาดที่ส่งออก 4) หารือแนวทางในการเพิ่มความเชื่อถือให้แก่ต่างชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า และติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งกรมฮาลาล 5) การดำเนินงานเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อลดการใช้ LPG ในกระบวนการผลิตน้ำมันจากไม้กฤษณาของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้กฤษณาบ้านตะคร้อใต้ ตำบลบุฝ้าย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
19 พ.ค. 2567
“รสอ.วาที” ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน”
จ.ระนอง 14 พฤษภาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน” จำนวน 3 หลักสูตร ในพื้นที่ อำเภอกระบุรี อำเภอเมือง และอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง โดยมี นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 และนายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง ซึ่งเป็นหน่วยร่วมดำเนินการ ให้การต้อนรับ การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามการเตรียมความพร้อม การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน” จำนวน 3 หลักสูตร โดยจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15 - 16 พฤษภาคม 2567 หลักสูตรที่ 1 “การทำขนมโดนัท” ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง หลักสูตรที่ 2 “การทำผ้ามัดย้อม (ย้อมเย็น)” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และหลักสูตรที่ 3 “การทำผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียม” ณ อาคารอเนกประสงค์ (สระน้ำหนองใหญ่) หมู่ที่ 7 ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง นอกจากนี้ รสอ.วาทีฯ ได้ให้กำลังใจแก่ทีมเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM CENTER 10) ที่ได้ปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
19 พ.ค. 2567
“อสอ.ภาสกร” ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เตรียมผลักดันโกโก้ไทยสู่โกโก้ฮับ
จ.เชียงใหม่ 15 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้แทนผู้ประกอบการโกโก้ภาคเหนือ ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายธนา คุณารักษ์วงศ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท กานเวลา ช๊อคโกแลต จำกัด ผู้แทนผู้ประกอบการโกโก้ภาคเหนือ ให้การต้อนรับ ณ บริษัท กานเวลา ช๊อคโกแลต จำกัด ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ดีพร้อม ได้รับฟังปัญหาของ บริษัท กานเวลา ช๊อคโกแลต จำกัด ผู้แทนผู้ประกอบการโกโก้ภาคเหนือ อาทิ ปัญหาการปลูกกระจัดกระจาย ปัญหาราคาซื้อผลโกโก้ ปัญหาผังเมือง ปัญหาการขาดเครื่องมือ และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในการแปรรูป พร้อมขอสนับสนุนงบประมาณในการส่งตรวจการยื่นขอรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อย.) ตลอดจนการส่งเสริมการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมโกโก้ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมโกโก้ไทยให้พร้อมแข่งขันได้ในระดับสากล บริษัท กานเวลา ช๊อคโกแลต จำกัด เป็นผู้ผลิตช็อกโกแลต โดยเน้นวัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่ใช้ผลผลิตจากต้นโกโก้ที่ปลูกในไทย ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่เริ่มปลูกต้นโกโก้เมื่อหลายปีก่อน โดยมีความตั้งใจว่าอยากผลิตช็อกโกแลตไทยที่มีคุณภาพในระดับโลก จึงได้ศึกษา คันคว้า ทดลอง จนสุดท้ายสามารถค้นพบรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับผลผลิตในประเทศไทย จนเป็นที่มาเรียกผลลัพธ์นี้ว่า รสชาติและคุณภาพช็อกโกแลตในแบบของ “กานเวลา” ที่เริ่มต้นจากมาตรฐานการดูแลต้นโกโก้ ทั้งในสวนของกานเวลาและเกษตรกรผู้ปลูกที่ส่งผลผลิตให้ และเมื่อได้ผลผลิตมาแล้ว จึงออกแบบกระบวนการหมักเพื่อดึงรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ จนผลิตออกมาเป็นช็อกโกแลตด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน คุณภาพของสินค้าได้รับการยืนยันผ่านรางวัลในระดับนานาชาติ อาทิ International Rising Star Award ปี 2021 จาก Academy of Chocolate ประเทศอังกฤษ Quality Produce นอกจากนี้ อธิบดีภาสกรฯ ยังได้มอบแนวทางในการพัฒนาให้ความรู้ผู้ประกอบการโกโก้ โดยมุ่งเน้นพัฒนาเจรจาความร่วมมือกับจีนในการส่งออกเมล็ดโกโก้ พัฒนากระบวนการผลิต อีกทั้ง ยังมีการส่งเสริมในเชิงพาณิชย์ และสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการผลักดันอุตสาหกรรมโกโก้ต่อไปในอนาคต
19 พ.ค. 2567
"ดีพร้อม" เตรียมความพร้อมการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 15 พฤษภาคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานประชุมชี้แจงกิจกรรมการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือถึงการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งสมรรถนะร่วมสำหรับที่ปรึกษาอุตสาหกรรม คือ คุณสมบัติที่ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมทุกคนควรมีเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประกอบการจะได้รับคำปรึกษาแนะนำและบริการที่มีคุณภาพ โดยขอความร่วมมือหน่วยงานภายใต้สังกัดดีพร้อม ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เชิญชวนที่ปรึกษาสมัครเข้ารับการประเมินดังกล่าวฯ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้เข้ารับการประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม จะได้รับสิทธิ์เป็นผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาแนะนำออนไลน์แก่ผู้ประกอบการผ่านระบบให้บริการของดีพร้อม (DIPROM Service) ซึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับการสะสมผลงาน สร้างการรับรู้ เป็นที่รู้จัก อีกทั้ง ยังเพิ่มโอกาสในการได้รับการคัดเลือกรับงานของดีพร้อม หน่วยงานเครือข่าย และผู้ประกอบการอีกด้วย
19 พ.ค. 2567
ดีพร้อม ร่วมกับ เมติ สรุปผลสำเร็จโครงการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน IoT
กรุงเทพฯ 14 พฤษภาคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมสรุปผลสำเร็จโครงการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน IoT ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) และ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ เมติ (METI) ประเทศญี่ปุ่น โดยมี Ms.Kayo Matsumoto, Director of Techical Cooperation Division พร้อมคณะ ผู้แทนจากกระทรวงเมติประเทศญี่ปุ่น และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการสรุปผลความสำเร็จจากการที่กระทรวงเมติให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและงบประมาณในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation และโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน IoT ผ่านการอบรมหลักสูตร SMST ,LASI และ LIPE ซึ่งทางดีพร้อมมีแผนในการต่อยอดโครงการดังกล่าวในปี 2568 ต่อไป
19 พ.ค. 2567
"รสอ.ดวงดาว" ติดตามความคืบหน้าการจัดงานพิธีปิด คพอ. ภาคอีสาน
กรุงเทพฯ 14 พฤษภาคม 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ประชุมติดตามความคืบหน้าการจัดพิธีปิดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ภาคอีสาน โดยมี นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 นางรุ่งอรุณ เปี่ยมปัจจัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม รสอ. ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงานพิธีปิดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ในพื้นที่จังหวัดภาคอีสาน เป็นการดำเนินการ่วมกันระหว่างศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4, 5, 6 และ 7 โดยโครงการดังกล่าว เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การสร้างภาวะความเป็นผู้นำ และการเสริมองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจในหลากหลายด้าน เช่น ด้านการเงิน การตลาด การจัดทำแผนธุรกิจ และด้านดิจิทัล เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นนักธุรกิจที่พร้อมจะพัฒนาและรองรับการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และเกิดการเรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ สมาชิก คพอ. ยังได้สร้างเครือข่าย พร้อมเชื่อมโยงและจับคู่ธุรกิจ ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสในการต่อยอดธุรกิจหรือขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป
19 พ.ค. 2567
เชิญผู้ประกอบการที่สนใจสมัครเข้าร่วม "กิจกรรมเสริมแกร่งเพื่อสร้างศักยภาพให้เชื่อมโยง Soft Power"
เชิญสมัครเข้ารับการอบรมกิจกรรม เสริมแกร่งเพื่อสร้างศักยภาพให้เชื่อมโยง Soft Power ภายใต้โครงการ : พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการในพื้นที่ จังหวัดสงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หลักสูตร การสร้างการรับรู้เชื่อมโยงตลาด ทั้งในและต่างประเทศ Market Trend เพื่อเชื่อมโยง Soft Power การเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน การสร้างคุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน กิจกรรมศึกษาดูงาน 1 วัน เงื่อนไขการสมัคร ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการOTOP ผู้ประกอบการชุมชน นักออกแบบ นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 /ผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา เปิดรับสมัครวันนี้ถึง 31 พ.ค. 67 เท่านั้น จำนวน 150 คน อบรมฟรี ไม่มีค่าใช่จ่าย ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณกฤตยา (06 4391 6442) คุณรัตนาพร (08 2260 8782)
16 พ.ค. 2567
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมฝึกอบรม กิจกรรมเสริมแกร่งเพื่อสร้างศักยภาพให้เชื่อมโยง Soft power
ขอเชิญเข้าร่วมฝึกอบรมกิจกรรม เสริมแกร่งเพื่อสร้างศักยภาพให้เชื่อมโยง Soft power รุ่น 1 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 4-8 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรม เครสโค บุรีรัมย์ (CRESCO HOTEL BURIRUM) จังหวัดบุรีรัมย์ และศึกษาดูงาน ณ จังหวัดขอนแก่น โดยมีหลักสูตร ดังนี้ การสร้างการรับรู้เชื่อมโยงตลาด ทั้งในและต่างประเทศ (Market Trend โดยใช้แนวโน้มความต้องการของตลาดนำ) เพื่อเชื่อมโยง Soft Power การบริหารจัดการธุรกิจในโลกธุรกิจปัจจุบัน การเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน การสร้างคุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน กิจกรรมศึกษาดูงาน คุณสมบัติผู้เข้าอบรม บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการชุมชน ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน/OTOP นักออกแบบ นักศึกษาชั้นปี 3-4/ ผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา ผู้สนใจทั่วไป สิทธิพิเศษสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับสิทธิในการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โสรยา (08 4592 6794) ปพิชญา (08 4883 5019) วรพรรณ (06 5045 0425) สุมาลี (08 4878 7063)
16 พ.ค. 2567