ที.ที.คิทเช่นแวร์
พัฒนาไม่หยุด ต่อยอดคุณภาพ จากรุ่นสู่รุ่น ทุกสัปดาห์สินค้านับล้านชิ้นจาก ที.ที.คิทเช่นแวร์ ได้ส่งตรงถึง ลูกค้าอย่างตรงตามกำหนด เป็นเช่นนี้มากว่า 35 ปี ที่บริษัทได้จัดส่ง สินค้าคุณภาพจากรุ่นสู่รุ่นนับตั้งแต่รุ่นคุณพ่อของคุณสิทธิกร ทีรฆวงศ์ ซึ่งประกอบธุรกิจเทรดดิ้ง กระทั่งขยายกิจการมาเปิดโรงงานผลิต เป็นของตัวเองเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ที.ที.คิทเช่นแวร์ นั้นใส่ใจตั้งแต่ลูกค้าคนแรกจนถึงลูกค้าปัจจุบัน และยึดมั่นในเรื่อง “คุณภาพ” มาเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อยืนหยัดในธุรกิจ ที่มีการแข่งขันสูงโดยเฉพาะในเรื่องราคา คุณสิทธิกรเล่าให้ฟังว่า ด้วยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงให้ความสำคัญกับการผลิตให้ได้การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับอาหาร (FSSC 22000) รวมถึงมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ลำพังการ ได้มาตรฐานนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะสินค้าทุกชิ้นที่ผลิตในโรงงาน ของ ที.ที.คิทเช่นแวร์ ต้องมีคุณภาพที่ดีตลอดเวลา และต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายรวมถึงข้อกำหนดของลูกค้าอย่างเคร่งครัดอีกด้วย สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จบนแนวทางการยึดมั่นคุณภาพ ของ ที.ที.คิทเช่นแวร์ คือการได้รับความไว้วางใจให้เป็นหนึ่งในผู้ผลิต สินค้า Small ware อาทิ ช้อน ส้อม ให้กับแบรนด์ระดับโลกอย่าง KFC, Pizza hut, The Pizza Company, Starbucks เป็นต้น ทว่าจุดเปลี่ยนที่ทำให้คุณสิทธิกรต้องมองหาโซลูชั่นในการพัฒนาธุรกิจ อย่างเร่งด่วนเกิดขึ้นเนื่องจากภาวะการแข่งขันที่สูงมาก ๆ จากผลกระทบ ช่วงโควิด-19 เพราะร้านอาหารปิดการขายไปถึง 80%-90% ซึ่งกระทบกับยอดขายโดยตรง คุณสิทธิกรจึงตัดสินใจ เข้าร่วมโครงการกับดีพร้อมในหลายโครงการ ตั้งแต่ การอบรมความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ การบริหาร จัดการโรงงาน การบริหารจัดการโลจิสติกส์ ฯลฯ เนื่องจากระบบการผลิตของ ที.ที.คิทเช่นแวร์ เป็นการผลิต จำนวนมากเพื่อสต็อคสินค้าไว้พร้อมขาย พอประสบกับโควิด-19 ทำให้มีสินค้าตกค้างอยู่ในสต็อคเยอะมาก พอคุณสิทธิกรหันมาใช้แนวทาง Kanban ผสานกับระบบ ที่ได้รับการอบรมทําให้สามารถจัดการกับปัญหาสินค้าตกค้างในสต็อคได้มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจยังไปต่อ และแข่งขันได้ หากถามว่าอะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จที่ทำให้ ที.ที. คิทเช่นแวร์ สามารถยืนหยัดในธุรกิจที่มีการแข่งขัน อย่างรุนแรงได้ คำตอบคงหนีไม่พ้นคำว่า “คุณภาพ” ในราคาที่สมเหมาะสม บวกแนวคิดในการทำธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าและผู้บริโภคมาเป็นอันดับหนึ่ง ทำให้คุณสิทธิกรนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการต่าง ๆ ของดีพร้อม ไปต่อยอดและเติมเต็มการทำธุรกิจให้ สามารถส่งต่อ “คุณภาพ” ตามที่ลูกค้าต้องการ รวมถึง พัฒนาสินค้าและกระบวนการผลิตใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดยัง - บริษัท ที.ที.คิทเช่นแวร์ จำกัด - 486/15 ม. 9 ต.ในคลองบางปลากด อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 - www.ttkitchenwares.com - ornaprils@gmail.com - 09 6798 7889, 08 1852 2322 - TT kitchenwares : ผู้ผลิตช้อน ส้อม มีด พลาสติก ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
อุุบลเวลแพ็ค
จากการมองเห็นโอกาสธุรกิจในพื้นที่เมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งในขณะนั้นปริมาณการใช้ขวดพลาสติกในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงมีค่อนข้างสูง แต่โรงงานผลิตขวดที่ได้คุณภาพและมาตรฐานยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้คุณพงศ์ศักดิ์ อุรัจนานนท์ ได้เริ่มต้นสร้างและพัฒนา บริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด จนกลายเป็นโรงงานรับจ้างผลิตที่ครบวงจรและได้มาตรฐานเป็นเบอร์ต้นๆ ของพื้นที่ในปัจจุบัน บริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเข้าร่วมโครงการ 17.1-1 การปฏิรูปอุตสาหกรรมศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า ปีงบประมาณ 2564 ภายใต้กิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยี 3 Stage Rocket โดยเน้นการลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เทคโนโลยีสามารถเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น เดิมบริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด มีไลน์การผลิตขวดพลาสติกจำนวน 4 ไลน์แยกตามขนาดของขวด ซึ่งในไลน์การผลิตขวดขนาด 600 มิลลิลิตร จะมีชั่วโมงในการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง 3 กะ และของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการแยกเป็นหน้าเครื่องเป่าลมร้อนและหลัง เครื่องเป่าลมร้อน จากการตรวจสอบพบว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นเกิดทั้งหน้าเครื่องและหลังเครื่องเป่า ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป อย่างเช่น ขวดเป็นฝ้า ปีกบี้ ปากบวม เอวคอด เป่าแตก ขวดบุบ คอหนา ก้นเบี้ยว ก้นนูน/รั่วและอื่นๆ มีจำนวนค่อนข้างมาก ในการเก็บและบันทึกข้อมูลการผลิตจะบันทึกโดยพนักงานที่อยู่ในไลน์การผลิตนั้นๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้ข้อมูลอุบลเวลแพ็ค เสริมแกร่งเทคโนโลยี สู่บริษัทคุณภาพแห่งอีสานใต้ที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถที่จะประเมินประสิทธิภาพโดยรวม (Overall Equipment Effectiveness : OEE) ของการผลิตได้ และไม่สามารถทราบถึงปัญหาและการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตได้ถูกจุด สำหรับโครงการดังกล่าว นอกจากจะมีผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่มาร่วมวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตเทคโนโลยีและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังได้รับคำแนะนำในการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงได้รับการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอีกด้วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือบริษัทสามารถลดแรงงานคนลงได้ และสามารถลดต้นทุนและของเสียลงได้ 34.75 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 360,000 บาทต่อปี “ในส่วนของบริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด ได้รับการพัฒนาแมชชีน มอนิเตอริ่ง (Machine Monitoring) ซึ่งทำให้เราบริหารจัดการธุรกิจได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะเดิมทีถ้าเราจะดูประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร เราต้องเดินไปดูหน้าเครื่อง การแก้ไขหรือรับมือปัญหาจะทำได้ค่อนข้างยาก แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการมีผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำและพัฒนาระบบ IoT กับ Sensor ร่วมกัน เราก็สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรผ่านระบบ IoT ได้ทันที เห็นปัญหาและแก้ไขได้รวดเร็วขึ้น เมื่อรับรู้เร็วขึ้นของเสียก็จะน้อยลง เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน ลดของเสียเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจไปได้พร้อมๆ กัน” นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เสริมเขี้ยวเล็บและติดอาวุธทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการได้อย่างน่าสนใจ คุุณพงศ์์ศัักดิ์์ อุุรััจนานนท์ บริิษััท อุุบลเวลแพ็็ค จำำกััด 205 บ้้านดอนชาด ต.บุ่่งหวาย อ.วาริินชำราบ จ.อุบลราชธานี โทรศัพท์ 08 9511 4009, 08 8378 5005 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
EATSTRAW หลอดดูดน้ำกินได้ รับเทรนด์รักษ์โลก
หลอดพลาสติกเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ระดับโลก นั้นคือปัญหาขยะพลาสติก วงจรชีวิตของหลอดพลาสติก ที่ใช้ประโยชน์ไม่กี่นาที แต่ต้องใช้เวลา 200 ปีในการย่อยสลาย มีการประเมินว่าโดยเฉลี่ยคนเราใช้หลอดพลาสติกกันวันละ 1.5 หลอด ซึ่งเท่ากับว่าในประเทศไทยอาจมีการสร้างขยะที่เป็นหลอดมากถึง 100 ล้านชิ้นต่อวัน หรือปีละกว่า 35,000 ล้านชิ้น คุณสุรพร กัญจนานภานิช จึงผุดไอเดียหลอดกินได้ซึ่งมีความแปลกใหม่ รับเทรนด์รักษ์โลก เข้าร่วมกิจกรรมสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พัฒนาเป็น EATSTRAW หรือ หลอดดูดน้ำกินได้ ได้รับคำแนะนำองค์ความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้วัตถุดิบผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ คือไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ ทนความร้อนได้ 90 องศาเซลเซียส และใช้งานได้ 12 ชั่วโมง จากนั้นจะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ที่สำคัญสามารถรับประทานหลังจากการใช้งาน เพราะทำจากวัตถุดิบที่เป็น Food Grade ระดับ Premium ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาโรงงานผลิต และติดตั้งเครื่องจักร เตรียมแผนการตลาดวางจำหน่ายทั้งขายปลีกและขายส่ง ในประเทศและต่างประเทศ พร้อมจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ เจาะกลุ่มธุรกิจโรงแรม ตัวแทนจำหน่าย โดยหลอดแต่ละชิ้นแพ็กกระดาษกันชื้นทุกชิ้น เพื่อความสะอาด ปลอดภัย คุณสุรพรได้ตั้งเป้ายอดไว้ที่ 50 ล้านบาทภายในหนึ่งปี คุณสุรพร กัญจนานภานิช บริษัท กัญจนาพร (สยาม) จำกัด 888/15 หมู่บ้านภัสสร หมู่ 11 ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40000 09 5353 6599 https://www.kanjanaporn.com/ ที่มา : รายงานประจำปี 2562 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
24 มี.ค. 2563
กลุ่มตะกร้าสานพลาสติกบุษราพร พัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดออนไลน์ ยอดจำหน่ายเพิ่ม
จากจุดเริ่มต้นเป็นเพียงแม่ค้าที่รับซื้อผลิตภัณฑ์ตะกร้าจักสานไปจำหน่ายยังพื้นที่ต่าง ๆ กระทั่งใน พ.ศ. 2553 พลิกผันสู่ผู้ผลิตจากฝีมือคนในชุมชนในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มตะกร้าสานพลาสติกบุษราพร” ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก 50 คน ช่วยกันสร้างผลิตภัณฑ์หลากหลาย อาทิ ตะกร้าพลาสติก กล่องพลาสติก บ้านน้องหมา-น้องแมว ได้รับการตอบรับอย่างดี การันตีด้วยมาตรฐาน OTOP ระดับ 5 ดาว แต่การออกงานแสดงสินค้าทั้งเล็กใหญ่ปีละหลายครั้ง นอกจากพลังกายที่ต้องสูญเสีย ยังสูญเสียเวลาในด้านการผลิต สะท้อนไปถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ คุณบุษราพร วังคะฮาด ประธานกลุ่มฯ จึงหาวิธีแก้ปัญหา ด้วยการเข้าโครงการส่งเสริมการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานสากล เมื่อปี 2561 ซึ่งได้รับคำแนะนำทั้งด้านลดต้นทุนการผลิตลดความสูญเปล่า แก้ไขปัญหาด้านคุณภาพสินค้า รวมถึงการเข้าสู่กระบวนการขายบนโลกออนไลน์ ด้วยวิธีสร้างเพจเฟซบุ๊ก และไลน์กลุ่ม โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตะกร้าสานพลาสติกบุษราพร สามารถลดต้นทุนการผลิตลง 6 เปอร์เซ็นต์ มียอดขายเพิ่มขึ้น 30 - 40 เปอร์เซ็นต์ มีผู้ติดตามเฟซบุ๊กและไลน์กลุ่มเพิ่มขึ้น จากเดิม 60 เปอร์เซ็นต์ มีลูกค้าทั้งชาวไทยและส่งไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ ช่วยลดเวลาการเดินทางไปออกงานแสดงสินค้าต่างถิ่น แต่เพิ่มเวลาการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างเต็มศักยภาพ คุณบุษราพร วังคะฮาด กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตะกร้าสานพลาสติกบุษราพร บ้านชัยมงคล ต.โชคชัย อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร 49130 โทรศัพท์ 08-3012-6003, 08-8563-1159 https://m.facebook.com/boodsarahandmade ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561
บริหารต้นทุนที่ดีช่วยเพิ่มผลกำไร
จุดเริ่มต้นจากธุรกิจของครอบครัวในการรับฉีดพลาสติกให้กับลูกค้า โดยเน้นคุณภาพและมาตรฐานการผลิตเป็นสำคัญ สู่รุ่นลูกที่ปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารงานของนายสุทธิพงศ์ สุทธิวนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวนหลวงพลาสติก จำกัด หลังจากเข้ามาบริหารงาน คุณสุทธิพงศ์ พบว่า ปัญหาหลักของโรงงานคือขาดการควบคุมต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไป จนทำให้ได้รับผลกำไรน้อยกว่าที่ควรจะเป็น อีกทั้งหากขึ้นราคาสินค้าก็อาจจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภค บริษัทฯ จึงได้เข้าร่วมโครงการการบริหาร การผลิตเพื่อลดต้นทุน โดยมุ่งหวังที่จะมีองค์ความรู้ทางด้านการบริหารต้นทุนให้เพิ่มมากขึ้น เมื่อเข้าร่วมโครงการ บริษัทฯ ได้รับประโยชน์อย่างมากในการบริหารต้นทุน โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นที่ปรึกษามาช่วยแนะนำในเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงาน และขั้นตอนการผลิตสินค้า เช่น การลดค่าไฟฟ้าในกระบวนการผลิตสินค้า การติด Robot กับเครื่องฉีดพลาสติก ทำให้ได้ชิ้นงานเพิ่มขึ้น ผลที่ได้จากการปรับปรุง สามารถลดต้นทุนได้กว่า 10 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการลดต้นทุนนี้ได้ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีกำไรน้อย เกิดเป็นผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีกำไรในระดับที่ดีอยู่แล้วก็ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก คุณสุทธิพงศ์ สุทธิวนา บริษัท สวนหลวงพลาสติก จำกัด 7/6 หมู่ที่ 2 ซ.เฉลิมพระเกียรติ 48 ถ.เฉลิมพระเกียรติ แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 0 2328 0297-8 โทรสาร 0 2328 0299 ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2558
เหรียญไทย อินเตอร์พลาส เปิดรับ ปรับเปลี่ยน สู่ความสำเร็จในอนาคต
เมื่อมีโอกาสได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท เหรียญไทย อินเตอร์พลาส จำกัด ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งในรูปแบบขวด กระปุก และฝา มากว่า 50 ปี โจทย์สำคัญที่ คุณนิพนธ์ จัยสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เหรียญไทย อินเตอร์พลาส จำกัด ได้รับคือการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่ฝังรากลึกมาอย่างยาวนาน ด้วยลักษณะการทำงานแบบครอบครัว บุคลากรในองค์กรเป็นคนรุ่นเก่าที่ห่างไกลจากเรื่องของการเปลี่ยนแปลง การนำปัจจัยภายนอกเข้ามาจึงทำให้มีแรงต้านค่อนข้างมากในช่วงแรก การเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ จึงเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยาก แต่หลังจากได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (Manufacturing Development to Improve Competitiveness Programme : MDICP) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เกิดแรงจูงใจ ในการพัฒนาและยกระดับองค์กรให้รับกับปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ความรู้ที่ได้จากโครงการได้ถูกนำมาอธิบายและถ่ายทอดให้แก่ผู้บริหารระดับสูง มีการเชิญผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ไปเยี่ยมชมองค์กรอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจและเห็นภาพที่ชัดเจนว่าแต่ละองค์กรมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการทำงานของบุคลากรทุกระดับ ซึ่งพบว่าได้ผลดีและมีการพัฒนาต่อยอด จนลูกค้ารายใหญ่ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด, บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด และพีแอนด์จี มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดจากสินค้าหลักเพิ่มขึ้นและสามารถดึงยอดขายจากคู่แข่งได้มากขึ้นอีกด้วย หลังจากองค์กรถูกขับเคลื่อน ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ โดยปีที่ผ่านมามียอดขายจากลูกค้าหลักเพิ่มขึ้น 53 ล้านบาท มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 12 ราย ได้การรับรองมาตรฐาน GMP มูลค่าการลดของเสีย 1.9 ล้านบาท จำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 ชิ้น ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 0.5 ล้านบาท มีการลงทุนขยายกิจการ 0.5 ล้านบาท และลงทุนด้านวิจัย สารสนเทศด้านเครื่องจักร 0.8 ล้านบาท รวมผลิตภาพเพิ่มขึ้น 56.7 ล้านบาท บริษัท เหรียญไทย อินเตอร์พลาส จำกัด ยังคงเดินหน้าเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันใน AEC แต่ด้วยความที่เป็นองค์กรเก่าแก่ บุคลากรจึงมีปัญหาเรื่องภาษา ในเบื้องต้นจึงต้องยกระดับความสามารถทางด้านภาษาก่อน รวมทั้งมองหาพันธมิตร เครือข่าย คู่ค้า ที่มีศักยภาพเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจไปด้วยกัน โดยยึด 3 ปัจจัยสำคัญ คือ ความเอาใจใส่ ความซื่อสัตย์ และความชัดเจน ซึ่งทำให้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าอย่างยาวนานและเชื่อมั่นว่าจะนำพาให้องค์กรเข้มแข็งได้ในอนาคต คุณนิพนธ์ จัยสิน บริษัท เหรียญไทย อินเตอร์พลาส จำกัด 4/4 หมู่ 11 ถ.เทพารักษ์ (ก.ม.15) ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทร. 0 2752 5020 โทรสาร. 0 2312 2164 เว็บไซต์ www.rianthai.co.th ที่มา : รายงานประจำปี 2557 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2557