ซินิเท็กซ์ อินดัสตรี้
ในแวดวงอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซินิเท็กซ์ อินดัสตรี้ ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำด้านการผลิตผ้าใบของไทย ที่มีประสบการณ์ร่วม 20 ปี โดยเฉพาะการทอและเคลือบด้วยพีวีซี ซึ่งบริษัทมีนวัตกรรมการผลิตที่เป็นมาตรฐานสากล สินค้ามีคุณภาพสูง และมีความหลากหลายโดนใจลูกค้าจากทั่วโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ จ.สมุทรปราการ และมีโรงงานตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี ธุรกิจส่งต่อมาถึงผู้บริหารรุ่น 2 คือ คุณพีระศักดิ์ ศรีรินทราชัย ที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนแผนกวิจัยและพัฒนา สำหรับรองรับลูกค้าแบบมาที่ซินิเท็กซ์ อินดัสตรี้ ที่เดียวตอบโจทย์ได้ครบทุกความต้องการ ส่งผลให้สามารถส่งออกผ้าใบโคลทติ้งไปยังตลาดต่างประเทศในสัดส่วนสูงถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ เช่น ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฯลฯ เพื่อนำไปผลิตเป็นเต็นท์ผ้าคลุมรถ ผ้าปูตามชายหาด ผ้าปูบ่อแก๊ส ฯลฯ แล้วแต่การต้องการใช้งานของลูกค้าแต่ละราย ขณะเดียวกันยังจัดตั้งแผนก Automation ขึ้นมา หลังจากประสบปัญหาแรงงานฝีมือด้านนีค่อนข้างหายากจึงพยายามมองหานวัตกรรมและเครื่องไม้เครื่องมือที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจพอสมควร การส่งออกทำได้ยากลำบากเมื่อมีการปิดประเทศ ในระหว่างที่ประคองธุรกิจให้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก นอกจากจะมีการปรับปรุงระบบการทำงานด้วยหลัก 5ส และหลักไคเซ็น ซินิเท็กซ์ อินดัสตรี้ คิดนอกกรอบต่อยอดความรู้สู่ยานยนต์ไฟฟ้าใช้สำหรับฉีดพ่นแอลกอฮอล์ คุณพีระศักดิ์ ยังสนใจส่งพนักงานเข้าร่วมอบรมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในกิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ ปีงบประมาณ 2564 “ผลลัพธ์ที่ได้คือ ต้นแบบยานยนต์ไฟฟ้าใช้สำหรับฉีดพ่นแอลกอฮอล์ ซึ่งแผนก Automation ได้ไอเดียจากการฉีดพ่นฆ่าเชื้อก่อนโหลดผ้าไปต่างประเทศ มาต่อยอดประดิษฐ์เป็นยานยนต์ไฟฟ้าตัวต้นแบบ โดยมีอาจารย์ประจำโครงการคอยให้คำปรึกษา ปัจจุบันมีการขยายผลด้วยการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าขึ้นมาเพื่อศึกษาและทดลองใช้ภายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นฉีดพ่นแอลกอฮอล์ ขนย้ายสารเคมี บรรทุกสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ จากโรงงานมาออฟฟิศหรือจากแผนกสู่แผนก รวมทั้งนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบการผลิตของโรงงานอย่างจริงจัง” แน่นอนว่า ซินิ เท็กซ์ อินดัสตรี้ ยืนหนึ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งในแง่ของเครื่องจักรและยอดขายในระดับภูมิภาค แต่ในสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน คุณพีระศักดิ์เผยว่า ความอดทนคือสิ่งสำคัญ นอกจากนี้คนทำธุรกิจยังต้องมีแนวคิดใหม่ๆ ตลอดเวลา ไม่ปิดกั้นตัวเองอยู่แต่ในกรอบเดิมๆ รวมทั้งแสวงหาโอกาสใหม่ๆ โดยต่อยอดจากต้นทุนความรู้ความเชี่ยวชาญที่มีอย่างเช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้านี้ หากประสบความสำเร็จก็มีความเป็นไปได้ที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายหรืออาจขยายเป็นธุรกิจใหม่ต่อไปในอนาคต คุุณพีีระศัักดิ์์ ศรีีริินทราชััย บริิษััท ซิินิิเท็็กซ์์ อิินดััสตรี้้ จำำกััด 889 หมู่่ 4 ถ.สายเกษตร ต.หนองใหญ่่ อ.หนองใหญ่่ จ.ชลบุุรีี 20190 โทรศัพท์ 0 3821 9721-3, 0 3821 9725-8 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
สามล้อซิ่ง
จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตอนเรียนมหาวิทยาลัยชั้นปี 1 ส่งผลให้ คุณวีระชาติ สีหาบง ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายท่อนล่างได้ แต่ด้วยแรงกายแรงใจที่ยังมีและต้องการทำให้ครอบครัวภูมิใจ ทำให้สังคมเห็นว่าผู้พิการก็สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองได้เหมือนกัน จึงตัดสินใจเปิดร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็ก ด้วยเงินทุนจากเบี้ยยังชีพผู้พิการเดือนละ 500 บาท โดยในช่วงแรกของการเริ่มต้นธุรกิจเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยต้องนั่งวีลแชร์ปะยาง เปลี่ยนยาง และซ่อมรถ ประกอบกับลูกค้าทั่วไปยังไม่มีความมั่นใจในฝีมือของเรา จนกระทั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 เข้ามาช่วยเหลือพร้อมโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งช่วยคิด ช่วยออกแบบ จัดหาอุปกรณ์ต้นแบบ เช่น ล้อ แบตเตอรี่ กระจังหน้า กระจกนิรภัย อะไหล่ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด รวมถึงพาบริษัทต่างๆ มาให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการทำธุรกิจ จนเราสามารถพัฒนาระบบถอยหลังและประตูท้ายรถที่ควบคุมการเปิดปิดด้วยระบบไฟฟ้าได้ในที่สุด ส่วนดีไซน์ของรถทีมีทั้งกระจกที่ปัดน้ำฝน ไฟส่องสว่าง สัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอย สัญญาณฉุกเฉิน ก็ได้รับการออกแบบมาอย่างดีไม่แพ้กัน “ปัจจุบันแบรนด์ของเราอยู่ในขั้นตอนรอการอนุมัติจากกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้รถที่ประกอบจากเราสามารถต่อทะเบียนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย” หลังจากเข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แบรนด์สามล้อซึ่งมีชื่อเสียงและทิศทางการเติบโตที่ดีมากยิ่งขึ้น จากปีหนึ่งที่เคยมีลูกค้ามาสั่งประกอบรถจักรยานยนต์สามล้อ (ระบบปกติ) เฉลี่ยปีละ 2 คัน กลายเป็นรถจักรยานยนต์สามล้อ (ระบบไฟฟ้า) เฉลี่ยเดือนละ 1 คัน ซึ่งสูงกว่าเดิมถึง 6 เท่า คุณวีระชาติได้ทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่าจะนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจและผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ ตรงตามความต้องการและงบประมาณของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น เช่น การเลือกประกอบหรือดัดแปลงเป็นส่วนๆ ไป เพราะลูกค้าบางคนอาจต้องการเพียงระบบถอยหลังไฟฟ้า บางคนอยากได้แค่หลังคา ก็ให้ลูกค้าได้เลือกในจุดที่ต้องการตามความเหมาะสมกับการใช้งานจริงให้ได้มากที่สุด “ผมเชื่อว่า ถ้าเราทำธุรกิจด้วยใจรัก ยังไงมันก็สามารถต่อยอดไปได้ ส่วนผลตอบแทนจะดีหรือไม่ดี อันนี้อยู่ที่ความตั้งใจและความพยายาม แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นรวย แต่อย่างน้อยเราจะมีความสุขอย่างแน่นอน” คุุณวีีระชาติิ สีีหาบง แบรนด์์ สามล้้อซิ่่ง 90/1 หมู่่ 8 ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่่น 40310 โทรศัพท์ 09 4918 1096 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565